ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
ภาพลักษณ์และสถานะการเมืองไทยในสังคมโลก
[กรณียุบพรรคและม.112]
ในรายการ
แลไปข้างหน้ากับธิดา ถาวรเศรษฐ EP.118
สวัสดีค่ะ
ไม่ได้พบกันนานกว่า 8 เดือน หลังจากที่ดิฉันได้รับการผ่าตัด
วันนี้ถือเป็นเวลาที่เราจะได้มาพบกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง
จะพยายามให้ได้พบถี่ขึ้นหลังจากเว้นไป 8 เดือน
ความจริงขณะนี้ประเทศไทยเรากำลังเผชิญวิกฤตทั้งการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม อย่างหนักมาก! แต่ในบรรดาวิกฤตทั้ง 3 วิกฤตนี้
ในทัศนะของดิฉัน วิกฤตที่สำคัญที่สุดและเป็นต้นเหตุของวิกฤตอื่น ๆ
ทั้งปวงคือวิกฤตทางการเมือง วันนี้ดิฉันจะพูดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมโลก
ก็คือ
“ภาพลักษณ์และสถานการณ์เมืองไทยในสังคมโลก”
เพราะดังที่ดิฉันได้พูดอยู่แล้วก็คือว่า การเมืองถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
เศรษฐกิจเราเคยล่มสลายในปี 2540 แต่ในขณะนั้นการเมืองเราดี
ประเทศเราก็สามารถเดินต่อได้ แม้สังคมของเราอ่อนแอมายาวนาน แต่ยามที่ประเทศมีพัฒนาการทางการเมืองที่ดีก็สามารถประคองและพยุงไปได้
เมื่อเราผ่านช่วงเวลาของการทำรัฐประหารยาวนานมาจนถึงบัดนี้
ซึ่งดิฉันถือว่าเป็นวิกฤตการเมืองที่ยาวนานค่อนข้างมาก ดังนั้น
เราก็ต้องมาสำรวจว่าสถานะของเราและภาพลักษณ์ของเราในสังคมโลกนั้นเป็นอย่างไร
เราจะพูดเป็นรูปธรรม ก็คือ การแสดงออกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แน่นอน
เขาคิด แต่เขาไม่พูด เรามีการทำรัฐประหารมายาวนาน การแซงก์ชั่นมันมีการแสดงออก
เช่น ไม่ขายอาวุธ ไม่ทำ FTA
อันมีผลเกี่ยวกับเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ ในทางการเมือง
สถานะของเราก็จะเป็นสถานะของกลุ่มประเทศเผด็จการ แต่อาจจะไม่สุดโต่งแบบเกาหลีเหนือ
ดังนี้เป็นต้น เราก็ต้องมาสำรวจว่า
ปฏิกิริยาที่เขาแสดงต่อเราหลังจากการเลือกตั้งแล้วก็มีการข้ามขั้วในปี 2566
แล้วมีปฏิกิริยาอย่างไร?
เราได้พบว่าในเวลาใกล้เคียงอันนี้
ปฏิกิริยาของชาวโลกและเป็นกลุ่มสำคัญ ๆ ต่อการเมืองไทย มี 4
กลุ่มที่ดิฉันจะพูดในวันนี้
อันแรกก็คือท่าทีของหัวหน้ากลุ่มใหญ่ของฝ่ายประชาธิปไตย
ก็คือ ประธานกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ชื่อ เบน คาร์ดิน
ได้มีการส่งจดหมายมาถึงรัฐบาลไทยเรียกว่าอย่างแรง
โดยแสดงความกังวลในกรณีที่จะมีการยุบพรรคก้าวไกล โดยเขากล่าวว่า
“ขอให้ไทยยึดมั่นในค่านิยมประชาธิปไตย”
คือแสดงสถานะของหัวหน้าฝ่ายของกลุ่มประเทศประชาธิปไตย
มีความเห็นต่อประเทศไทยในกรณีที่จะมีการยุบพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
“พรรคก้าวไกล” ในเวลาอันใกล้นี้
ขอให้เคารพเจตจำนงของประชาชนจำนวนมากที่สนับสนุนผู้สมัครของพรรค
และให้ยึดมั่นในค่านิยมประชาธิปไตย คือเขาเน้น “ค่านิยมประชาธิปไตย”
นี่ก็เป็นชุดที่หนึ่ง
กลุ่มที่
2 ก็เป็นกลุ่มที่ว่าไปก็คือของอาเซียน ก็เป็นรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR)
อันนี้มีปฏิกิริยาทั้งทางอินโดนีเซียและมาเลเซียที่แสดงออกในประเด็นที่จะมีการยุบพรรคก้าวไกลอีกเช่นกัน
ยื่นคำร้องในกรณีที่ กกต. ยื่นคำร้องยุบพรรคก้าวไกลต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ไปจนถึงประเด็นมาตรา 112 คือของสหรัฐฯ
นั้นเขาพูดในลักษณะยึดมั่นค่านิยมประชาธิปไตยเฉย ๆ ถือว่าการยุบพรรคก็ไม่ได้ให้คุณค่าประชาธิปไตย
แต่ว่าของรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR) พูดไปถึงกฎหมายอาญา
มาตรา 112 ทั้งยุบพรรคและทั้งเกี่ยวข้องกับประชาชน ถือว่ากฎหมายอันนี้เป็นเรื่องที่ขัดกับสามัญสำนึกและบ่อนเซาะกระบวนการทางรัฐสภา
สมาชิกรัฐสภาจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่างไรถ้าพรรคของเขาเสี่ยงที่จะถูกยุบตลอดเวลา
อันนี้เป็นคนมาเลเซียพูดด้วย คือนอกจากตัวประธานแล้ว
นี่เป็นปฏิกิริยาที่แรงสักหน่อย
นอกจากพูดถึงสถานะของสมาชิกรัฐสภาที่ถูกจัดการได้ง่าย
ก็ยังอ้างไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
ส่วนอันที่
3 ซึ่งดิฉันถือว่าสำคัญมาก ก็คือ เป็นผู้รายงานพิเศษของ UN
ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
ถือว่าเป็นผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแห่งการมีเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น
คือเขาส่งจดหมายเป็นทางการและให้ตอบภายใน 60 วัน ตอนนี้เลยแล้วค่ะ
เพราะเขาส่งมาตั้งแต่ 30 เมษายน 2567 ตอนนี้มันเลยมาจนถึงกรกฎาคม
เพราะเขาบอกเลยว่าถ้าคุณไม่ตอบ ผมจะเอาออกมาประจานนะ และมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อ
คือเป็นเรื่องเป็นราวเลย
คือให้รัฐบาลไทยตอบเกี่ยวกับข้อมูลความคิดเห็นที่มีการกล่าวหาในเรื่องการขัดต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและการยุบพรรคการเมือง
พูดง่าย ๆ ว่าคุณต้องตอบมาว่า ทำไมเหตุการณ์แบบนี้ถึงเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย
แล้วก็ให้เขียนข้อสรุปบนพื้นฐานทางกฎหมายด้วย
ว่านโนบายของพรรคก้าวไกลในการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112
ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร
และสอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างไร
เดี๋ยวดิฉันจะทบทวนเรื่องสถานะของเราในเวทีสหประชาชาติด้วย เพราะว่าอันนี้เขาพูดในฐานะตัวแทนของ UN ว่าด้วยเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชน แล้วก็พันธกรณีของประเทศไทยในการลงนามในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งดิฉันพูดอยู่บ่อย ๆ แล้วก็ให้ร่างข้อสรุปว่าจะทำได้อย่างไรที่จะให้ปฏิบัติตามกติกาเหล่านี้ได้ ดิฉันไม่อยากจะลงรายละเอียดเพราะมันจะยาว ก็คือเขามีเนื้อหาที่ไม่เห็นด้วยกับปฏิบัติการของรัฐไทย ไม่ได้เฉพาะรัฐบาลอย่างเดียวว่ากฎหมายที่มีอยู่นั้น มันขัดแย้งกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และขัดแย้งกับ ICCPR ข้อ 19 กับข้อ 22 ความจริงในทัศนะดิฉันมันผิดหมดแหละ ในเรื่องทั้งหมดเหล่านี้เขาไม่เห็นด้วย เขาต้องการให้ตอบอย่างเป็นเรื่องราวชัดเจน เขามีถ้อยคำที่รุนแรง
สรุปว่าเขามีความกังวลแนวทางปฏิบัติในการยุบพรรคการเมืองของประเทศไทย
ตั้งแต่ปี 2549 ประเทศไทยมีพรรคการเมืองที่ถูกยุบพรรคไปแล้วทั้งหมด 9 พรรค
เขาก็เลยขอเตือนรัฐบาลไทยให้คำนึงถึงความรับผิดชอบ
ในฐานะที่เป็นผู้ลงนามในกติการะหว่างประเทศไทยว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(ICCPR)
ดิฉันก็จะทบทวนว่าด้วยเรื่องเหล่านี้
คือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พอค่ายเผด็จการพ่ายแพ้ต่อฝั่งค่ายประชาธิปไตย ก็มีความพยายามที่จะทำให้เกิดกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ดังนั้นค่ายประชาธิปไตยก็พยามที่จะนำเสนอ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
อันนี้เกิดเมื่อ 10 ธันวาคม 2491 โดย มาดามรูสเวลท์ เราเป็น 1 ใน 48
ประเทศแรกที่ลงนาม แสดงว่าเราเป็นประชาธิปไตยจ๋า ความจริงตอนนั้นเรามีรัฐประหาร
2490 แต่ในปี 2491 ช่วงเวลานั้นก็ยังเป็นช่วงของ จอมพล ป.
เราอยากจะแสดงว่าเราไม่ใช่ประเทศที่อยู่ข้างเผด็จการนะ
เราอยู่ข้างฝ่ายประชาธิปไตยนะ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่แพ้สงครามด้วย อะไรประมาณนั้น เขาว่าอะไรก็เซ็นหมด
ส่วนอีกอันก็คือกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่เราเรียก
ICCPR ดิฉันพูดบ่อย เพราะว่าเราก็ไปลงนามกับเขาไว้ด้วยนะ เราเข้าเป็นภาคีเมื่อ
29 ตุลาคม 2539 และมีผลเมื่อเดือน 30 มกราคม 2540
ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติของเตือนว่า คุณลงนามนะ
คุณเป็นภาคีนะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยุบพรรคการเมืองและการลงโทษด้วยมาตรา
112 มันขัดกับกติการะหว่างประเทศนะ แล้วเขาให้ตอบภายใน 60 วัน
รัฐไทยไม่รู้จะตอบยังไง?
ดิฉันบอกได้เลยว่านายกฯ
จะตอบได้ยังงั้ย??? เพราะนายกฯ ก็ไม่ได้มีอำนาจจริง
อำนาจจริงของรัฐไทยมันยังไม่ใช่อำนาจของรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรี
ที่สำคัญคือมันไม่ใช่อำนาจของประชาชน
ความขัดแย้งหลักยังเป็นความขัดแย้งระหว่างจารีตอำนาจนิยมกับประชาชน ดังนั้น
เมื่อสหประชาชาติเขาถามมา ไม่รู้จะตอบยังไง? เพราะว่าดิฉันก็เชื่อว่ารัฐบาลเศรษฐาก็คงไม่ได้ยินดีที่จะให้ยุบพรรคก้าวไกลนะ
นี่มองในแง่ดีนะ แล้ว 9 พรรคการเมืองที่ถูกยุบ กลุ่มของไทยรักไทย พลังประชาชน
ไทยรักษาชาติ ถูกยุบมาเป็นลำดับ
นี่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมของระบอบประชาธิปไตย และมันไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหน
อย่างของยุโรป
นอกจากมีของสหประชาชาติแล้ว เขายังมีกติกาของเขาอีกต่างหากในเรื่องของการยุบพรรค
คือว่าด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน อย่างประเทศเยอรมันเขาก็เป็นห่วงมากเพราะว่าในอดีต
ประเทศของเขาทำให้เกิดสงครามโลก เกิดการพ่ายแพ้และมีความเสียหายมากมาย ดังนั้น
มาตรการป้องปรามในยุโรปจะยิ่งสูงมาก ไม่ต้องถึงสหประชาชาติ
แต่ของเรา
3 งานนี้ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าฝ่ายประชาธิปไตย ดิฉันพูดอย่างนั้นเลย ก็คือสหรัฐฯ
ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาอาเซียน และไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติ ซึ่งเป็นผู้รายงานพิเศษ คณะกรรมการว่าด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน
และเขาบอกว่าเขาจะส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย
คือจะประจาน หมายความว่าเขาจับตามองสถานะประเทศไทย เราต้องถามตัวเองว่าตอนนี้เขามองประเทศไทยว่าอย่างไร?
เขาก็มองว่าประเทศนี้เป็นผู้ป่วยทางการเมืองที่ยากจะเยียวยา ทางการเมือง
มีการยุบพรรค 9 ครั้ง ใน 2 ทศวรรษหลัง การทำรัฐประหาร 2 ครั้ง
มีกฎหมายซึ่งขัดแย้งกับหลักการสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ปฏิญญาสิทธิมนุษยชน แล้วก็กติการะหว่างประเทศ
มันมีทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มีหมด เพราะหลักการของสังคมโลกฝ่ายประชาธิปไตย
เขาต้องการให้ประชาชนมีอำนาจ ก็คล้าย ๆ กับที่เยาวชนชู 3 นิ้วนั่นแหละ
คือสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ คือยังรักกันด้วยนะ รักกันทั้ง ๆ ที่แตกต่างกัน
นั่นก็คือดำเนินไปอย่างสันติวิธี นี่จึงเป็นข้อเรียกร้องระดับโลก
ดังนั้น
ประเทศไหนที่อำนาจประชาชนมีเต็มที่ก็มีเกียรติภูมิในฝ่ายประชาธิปไตยสูงเด่น
เขาไม่ได้จัด ranking
นะ แต่นี่เป็นสิ่งที่อยู่ในความเข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเขาจะเทียบ
อินโดนีเซีย กับ พม่า เกรดมันก็ต้องต่างกันแล้ว อินโดนีเซีย
เขาเคยผ่านยุคที่มีปัญหาเรื่องทหาร เกาหลีใต้ ก็เหมือนกัน แต่ว่า 2 ประเทศนี้
โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ก็จะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น
เพราะภาพลักษณ์ของเขาทางการเมืองมีสถานะเป็นฝ่ายประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมากกว่าประเทศไทยแน่นอน
เราอาจจะบอกว่าเราดีกว่าพม่า
ก็ใช่! ก็อาจจะเป็นได้ แต่ก็ไม่แน่ เราอาจจะลดลงไปอยู่ในเกรดเดียวกัน
นี่คือสังคมโลกที่แสดงปฏิกิริยาต่อเราชัด ฝั่งยุโรปเขาอาจจะไม่สื่อสารอะไรมา
แต่ว่าดิฉันบอกได้เลยว่าเขาก็มี ranking ดังนั้น
การเมืองไทยและสถานะในเวทีโลก
ถ้าจัดลำดับที่ว่าอำนาจเป็นของประชาชนและการเมืองมีเสถียรภาพในระบอบประชาธิปไตย
เราอยู่ที่โหล่แน่นอน โหล่แน่ ๆ โหล่ยิ่งว่าคะแนน PISA ของเด็ก
ๆ อีก และนี่คือความจริงประเทศไทย คุณภาคภูมิใจมั้ย? เยาวชนภาคภูมิใจมั้ย?
ดังนั้น
การที่มีการต่อสู้ของประชาชนทั้งในฐานะพรรคการเมืองที่ต่อสู้ เช่น พรรคก้าวไกล นี่!
ดิฉันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับพรรคก้าวไกลนะ พูดในฐานะฝ่ายประชาชน
หรือประชาชนเยาวชนที่ยังต่อสู้ นี่คือเขากู้เกียรติภูมิของประเทศของสังคมไทยไม่ให้ถูกดูหมิ่น
และแม้กระทั่งประเทศพม่าที่คนเขายังต่อสู้อยู่
ดิฉันอยากจะถามว่าทำไมเขายังต่อสู้และยอมพลีชีพ
เพราะนี่ก็คือการกอบกู้เกียรติภูมิเพื่อตัวเขาเพื่ออนาคตของประเทศเขา
เพราะฉะนั้น
3 อย่างนี้เป็นการแสดงออกที่พูดตรง ๆ ว่าขนาดที่แล้วมาเขายังไม่อยากพูดอะไร
คุณทำรัฐประหาร อย่างมากเขาบอกว่าผมไม่ขายอาวุธให้คุณ ผมไม่ค้าขายกับคุณ
แต่เขาก็ไม่มายื่นโนตีส (Notice) แต่เมื่อมีพัฒนาการว่ามีการเลือกตั้งและจะมีการยุบพรรค
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคที่เกิดขึ้นใหม่และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากที่สุด
นี่แสดงถึงจุดอันตรายว่าสถานะของไทยในสังคมโลกและการเมืองไทย
ภาพลักษณ์ของเราสายตาสังคมโลกนั้นมันตกต่ำมาก
ดิฉันมองว่าทั้งรัฐบาล
ทั้งสถาบันตุลาการ และแม้กระทั่งจะใช้คำว่า “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”
ไม่น่าจะภาคภูมิใจกับสภาวะอันนี้ที่พูดตรง ๆ
ว่าเขามองเราอย่างไม่ให้เกียรติและอาจจะเหยียดหยามด้วย คุณพอใจหรือ?
อันสุดท้ายก็คือเราจะมีการประชุม
ซึ่งดิฉันอยากจะถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
ก็คือศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย
(AACC) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 17-21 กันยายน 2567 ภายใต้หัวข้อหลัก
“ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่า
ในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน”
ซึ่งจะมีประธานศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าจากประเทศสมาชิก 18-19 ประเทศ จาก
21 ประเทศ เดินทางมาเยือนไทยพร้อมผู้ติดตามราว 350 คน
และไม่ใช่แค่นั้น
ยังมีองค์กรซึ่งไม่ได้อยู่ในเอเชีย
หมายถึงว่าเกี่ยวข้องกับสถาบันศาลรัฐธรรมนูญในระดับโลกก็มาประชุมด้วย
เป็นสมาชิกของการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโลก (World Conference on Constitutional
Justice : WCCJ) รวมทั้งภูมิภาคแอฟริกา (CCJA)
ภูมิภาคยุโรป (CECC) ภูมิภาคไอเบอโร-อเมริกา (CIC) และภูมิภาคยูเรเซีย (EACRB) เวลา present ข่าว ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่าไทยได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคและยอมรับในระดับสากล
ดิฉันว่าเป็นการมองโลกสวยไปหน่อย! คือเขาไม่ขัดข้องที่คุณจัดประชุม
และนี่คงจัดล่วงหน้ามาตั้งนาน
เขาอาจจะลืมไปแล้วว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยยุบพรรคมาหลายพรรค
แต่ดิฉันอยากจะทราบว่าในฐานะที่เราเป็นประธานสมาคม
AACC และเป็นเจ้าภาพการประชุม แล้วคุณจะต้องออกประกาศปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok
Declaration) ซึ่งต้องเป็นเอกสารรับรองจากสมาชิกจำนวน 21 ประเทศ
ว่ามีความตกลงร่วมกันในการพัฒนาความร่วมมือปรับให้ใช้หลักนิติธรรม หลักประชาธิปไตย
และหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ให้บรรลุเป้าหมายความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญที่ยั่งยืน ขอโทษ!!! ถ้าในเดือนกันยายนนี้มีการยุบพรรคก้าวไกล ดิฉันอยากจะถามว่า คุณจะทำ Bangkok
Declaration ได้อย่างไร? อยากถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นสิทธิ์ของท่าน แต่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกแล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญไทย
ซึ่งอาจจะไม่ใช่รุ่นนี้ ได้ยุบพรรคการเมืองมาแล้วถึง 9 พรรค
มันไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่น่าชื่นชมเลย มันมีแต่ว่าในเวลานี้ในฐานะเจ้าภาพ และจะมี
Bangkok Declaration คุณจะกู้สถานภาพ
กู้เกียรติภูมิของศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร?
ในความคิดของดิฉัน
ยังมีเวลา เพราะว่าถ้ามีการยุบพรรคก่อน
คำถามต้องมีจากตัวแทนของศาลรัฐธรรมนูญนานาประเทศที่มาในประเทศไทย
ซึ่งอย่างที่บอกว่าจะประชุม 17-21 กันยายนนี้ มันน่าจะเป็นเวลาใกล้เคียงกัน
คุณอาจจะตัดสินหรือคุณจะลากไปประชุมทีหลัง ถ้าคุณลากไปทีหลัง 17-21 กันยายน
ทั้งที่คุณออก Bangkok
Declaration มีความหมายอะไร
แปลว่าคุณก็ไม่สนใจแม้กระทั่งสิ่งที่เป็นปฏิญญากรุงเทพมหานครของศาลรัฐธรรมนูญไทย
ในฐานะเจ้าภาพศาลรัฐธรรมนูญของเอเชีย
แล้วถ้าเราตัดสินก่อน
อันนี้เราพูดเหมือนประชาชนทั่วไปนะว่ามันมีธงยุบพรรค ถ้าตัดสินให้ยุบพรรคก่อน
ยิ่งมีปัญหา ตัดสินหลัง เขาไปกันหมดแล้ว ก็มีปัญหาเหมือนกัน
ก็ต้องถูกนินทาเหมือนกัน สถาบันตุลาการและศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันตุลาการทั้งหมด ในทัศนะดิฉัน
มันจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายของความอดทนของประชาชน!
ประชาชนอดทนต่อการคุกคามประชาธิปไตยโดยมีการทำรัฐประหาร
อดทนในการสืบทอดอำนาจได้ แม้กระทั่งการรวมตัวของประชาชนตาม ICCPR
ในการเรียกร้อง ในการเปลี่ยนแปลง
ในการปรับปรุงอย่างสันติวิธีและโดยวิถีทางรัฐสภานั้น ถ้าไม่อาจทำได้
แล้วคุณจะให้เป็นอนาธิปไตย คุณจะไม่ให้สันติวิธี คุณจะเอาอย่างพม่าหรือ?
ดิฉันไม่ได้ถามศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียวนะ
ดิฉันถามรัฐไทยทั้งหมดและผู้ที่กุมอำนาจทั้งหมด คุณจะเอาอย่างนั้นหรือ
ความจริงคนไทยนี่อดทนมากนะ น่ารักมาก แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่
ดิฉันเศร้าใจมากเมื่อเห็นคนรุ่นใหม่ถูกจัดการ
ดิฉันเสียใจประหนึ่งเหมือนหวนย้อนไปในช่วง 6ตุลา19 ดิฉันคิดไปถึงตอน 6ตุลา19
ที่คนหนุ่มสาวถูกจัดการอย่างโหดเหี้ยมในสนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่การจัดการอย่างโหดเหี้ยมด้วยการใช้อาวุธและความรุนแรงนั้นมันก็เป็นรูปแบบหนึ่ง
แต่รูปแบบของการใช้กฎหมายก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งรุนแรงและอำมหิตไม่น้อย
ในการที่จะจำขังเยาวชนนับสิบ ๆ ปีและไม่ให้ประกันตัว ดิฉันถือว่านี่คือวิกฤตการเมือง
และนี่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น วันนี้ที่ดิฉันพูดก็คือปฏิกิริยามาจากภายนอก
ไม่ใช่ภายในนะคะ
เพราะฉะนั้น
ถ้าเรามองว่าวิกฤตการเมืองภายใน มองไปข้างหน้าว่าจะมีฉากทัศน์อะไรเกิดขึ้น น่ากลัว!
แต่สำหรับประเทศไทย สถานะของเราจะตกต่ำอย่างถึงที่สุดในสังคมโลก
ในฐานะอารยชนและการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดิฉันขอเรียนเอาไว้ ใครอาย/ไม่อาย
ก็ไม่รู้ แต่ว่าดิฉันอาย และก็รู้สึกเสียใจกับตัวเองว่าผ่านเวลามาตั้งนาน
สถานะทางการเมืองของเรา ทั้ง ๆ ที่มีประชาชนต่อสู้มาตลอด แต่วิกฤตยังคงอยู่
แต่เอาเถอะ
ดิฉันยังมีความเชื่อมั่นในประชาชนว่า ยังจะมีการต่อสู้เพื่อรักษาศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของคนไทยต่อไป
ไม่ใช่ว่าจะให้ย่ำยีจนนับศตวรรษ เพราะนี่อีกไม่กี่ปีก็จะครบ 100 ปี
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ดิฉันยังมีความหวังว่าฝั่งจารีตอำนาจนิยมน่าจะมีความเข้าใจและมีความฉลาดที่จะมองเห็นว่าถ้าคุณไม่ปรับตัว
คุณอยากให้ประเทศไทยเป็นแบบพม่ามั้ย? พม่าเขามีความเชื่อมั่นว่าเขายึดอำนาจแล้ว
คล้าย ๆ ของไทยนะ เขาจะทำอย่างดีที่สุด เวลามีการเลือกตั้งแล้วเขาต้องได้รับชัยชนะ
ปรากฏว่าไม่ใช่!
เมืองไทยก็เช่นกัน
เพราะฉะนั้น
ปรากฏการณ์ที่ฝั่งโลกภายนอกกระทำต่อสังคมไทย อันนี้มันแรงสุด ๆ แล้วนะคะ
ก็เป็นเรื่องที่ดิฉันอยากจะฝากฝั่งจารีตด้วย เพราะดิฉันไม่อยากให้ประเทศไทยเป็นเหมือนพม่าค่ะ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #แลไปข้างหน้ากับธิดาถาวรเศรษฐ #ยุบพรรค #มาตรา112