วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

จดหมายจากเรือนจำ #ขนุนสิรภพ ถาม ตนและอีกหลายคนอยู่ในทุกกระบวนการพิจารณาคดี เหตุใดถึงไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว บอกจะเข้มแข็งจนถึงสันที่ออกไผตามรอยความฝัน

 


จดหมายจากเรือนจำ #ขนุนสิรภพ ถาม ตนและอีกหลายคนอยู่ในทุกกระบวนการพิจารณาคดี เหตุใดถึงไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว บอกจะเข้มแข็งจนถึงสันที่ออกไผตามรอยความฝัน 


วันนี้ (4 ก.ค. 67) เฟสบุ๊ค panusaya sithijirawattanakul โพสข้อความ “ทุกอย่างจะไปต่อได้ต้องเริ่มจากการประกันตัว” 04.07.2024 #จดหมายนักโทษการเมือง #ขนุนสิรภพ #ปล่อยเพื่อนเรา #นิรโทษกรรมประชาชน


ก่อนโพสรูปจดหมาย พร้อมข้อความระบุว่า


4/07/2024 ภาวะที่กำลังดำเนินอยู่หากนิยามง่าย ๆ คงสรุปได้แค่สองประโยค ได้แก่ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” และ “น้ำท่วมปาก” ปฎิเสธไม่ได้ว่านี่คือภาวะที่เป็นอยู่ของสังคมไทย หากพูดถึงแม้การปล่อยตัว/ประกันตัวเพื่อสู้คดีอย่างถึงที่สุด เป็นสิ่งที่พึงได้รับ แต่ในเวลานี้สิ่งที่เป็นอยู่ อยู่นอกเหนือขอบเขตความเข้าใจของตัวผม


ในวันนี้วันที่ 101 ผมยังคงไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเหตุใดผมและหลายคนถึงไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งที่ไม่เคยกระทำผิดซ้ำหรือกระทำการที่ผิดต่อเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับศาล ผมดำเนินการด้วยความบริสุทธิ์ใจมาโดยตลอด นับแต่วันแรกในนัดส่งฟ้อง ถึงนัดฟังคำพิพากษาในศาลชั้นต้น ผมอยู่ในทุกกระบวนการพิจารณาคดี ถึงทุกวันนี้ผมยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงยังคงได้รับสิทธิในการประกันตัว 


อย่างที่บอกในทุกครั้ง ผมมีความฝัน ฝันถึงอนาคต ทั้งในด้านการศึกษา การงาน และการได้อยู่ร่วมกับครอบครัว ทุกอย่างจะไปต่อได้ต้องเริ่มจากการประกันตัว แต่ถ้าสูงสุดเห็นเป็นการนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง ทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้ถ้าหากกระบวนการยุติธรรม ยุติธรรมดั่งที่ทุกฝ่ายเคยนำเสนอในหลากหลายเวที ทั้งในประเด็นนิติรัฐ นิติธรรม หากพูดให้ถึงที่สุด หากทุกอย่างอยู่ในร่องในรอย จดหมายทุกฉบับจะไม่เกิดขึ้น ผมไม่ได้อยู่ในสถานที่แห่งนี้ ผมอยากกลับบ้าน กลับไปอยู่ในห้องเรียนคุ้นเคย ผมหวังอย่างยิ่งในการประกันครั้งถัดไป ตัวผมจะได้รับอิสรภาพ ในตอนนี้คงเป็นสิ่งเดียวแล้วที่เป็นความหวังของผม


ท้ายที่สุดแล้วอนาคตจะเป็นอย่างไรเราไม่อาจทราบได้ ทั้งในเรื่องการประกันตัวหรือในส่วนของร่างนิรโทษฯ แต่ผมจะเข้มแข็งอย่างถึงที่สุดเพื่อรอให้ถึงวันนั้น วันที่ผมจะได้ออกไปตามรอยความฝัน


ด้วยความเคารพจิตวิญญาณราษฎร 

สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ


สำหรับ สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ หรือขนุน เคยจัดกิจกรรมกลุ่ม ‘มศว คนรุ่นเปลี่ยน’ ปัจจุบันอายุ 23 ปี จบการศึกษาจาก ภาควิชารัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2567 ในคดีมาตรา 112 ซึ่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก 2 ปี จากกรณีปราศรัยในการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563 


โดยมีการยื่นขอประกันตัว 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการพิจาณาปล่อยตัว ซึ่งครั้งล่าสุด ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์ ประกาศวางเดิมพัน โดยใช้ตำแหน่งวิชาการ ยื่นขอสิทธิประกัน 'ขนุน สิรภพ' ให้กลับไปเรียนปริญญาโทต่อและให้เหตุผลที่เชื่อว่าขนุน ไม่คิดหนีแน่นอน แต่ที่สุดก็ถูกยกคำร้องการขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยศาลระบุว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ซึ่งการไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ส่งผลให้ 'ขนุน สิรภพ' ขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ขนุนสิรภพ #มาตรา112 #คืนสิทธิประกันตัวประชาชน

“ศุภณัฐ” จี้นายกฯ ตอบ มติครม.แก้กฎหมาย เตรียมเปิดช่องให้ต่างชาติถือครองอสังหาฯ 99 ปี หวังช่วยกลุ่มทุน ถามประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร ด้าน “ชาดา” ตีมึน อ้างมติ ครม. แค่ให้ศึกษาผลกระทบ

 


ศุภณัฐ” จี้นายกฯ ตอบ มติครม.แก้กฎหมาย เตรียมเปิดช่องให้ต่างชาติถือครองอสังหาฯ 99 ปี หวังช่วยกลุ่มทุน ถามประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร ด้าน “ชาดา” ตีมึน อ้างมติ ครม. แค่ให้ศึกษาผลกระทบ

 

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ เขต 9 พรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้สดถามนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องมาตรการช่วยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ระบายสต๊อกและให้ต่างชาติถือคอนโดจาก 49% เป็น 75% และขยายทรัพย์อิงสิทธิ์จาก 30 ปีเป็น 99 ปี โดยนายกฯ มอบหมาย อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมอบหมายให้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย ตอบแทน

 

ศุภณัฐกล่าวว่า วันนี้ตั้งใจถามนายกฯ และหวังว่านายกฯ จะมาตอบด้วยตัวเอง เพราะเป็นนายกฯ มาหนึ่งปีแล้ว แต่ไม่เคยตอบกระทู้สดของ สส. ก้าวไกลแม้แต่กระทู้เดียว อ้างว่าติดภารกิจทุกครั้ง โดยที่ตั้งคำถามวันนี้เป็นประเด็นร้อนที่สังคมกังวลมากเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยและคนไทยทุกคน ในฐานะนายกฯ เป็นหัวหน้า ครม. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหา เป็นอดีต CEO บริษัทอสังหา เคยขายคอนโด ยอดขายดีเยี่ยม ต่างชาติซื้อเยอะ ท่านน่าจะรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น แต่กลับไม่มาตอบ

 

คำถามข้อแรกเกี่ยวกับมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ที่เห็นชอบตามที่ ภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะรักษาการนายกฯ ในวันนั้น เสนอตามที่ ครม. มีมติเมื่อ 9 เมษายน 2567 เรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับมหภาค ตลอดจนดึงดูดนักลงทุนขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จึงขอให้กระทรวงมหาดไทย

(1) พิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาของทรัพย์อิงสิทธิ ตาม พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ 2562 โดยกำหนดให้ทรัพย์อิงสิทธิมีกำหนดเวลาได้ไม่เกิน 99 ปี จากเดิม 30 ปี และ

(2) พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิ์คนต่างด้าว สามารถถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด จากเดิม 49% เป็นไม่เกิน 75% ได้ โดยหากมีความจำเป็นต้องตราหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายประการใดเพื่อรองรับ ขอให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการตามขั้นตอนโดยเร็ว โดยให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดและเสนอ ครม. โดยเร็ว

 

คำถามคือ การที่นายกฯ ไม่เข้าประชุมและให้รองนายกฯ ภูมิธรรมนั่งหัวโต๊ะ ครม. วันนั้น เป็นเพราะอะไร หรือเพราะนายกฯ กลัวโดนครหาว่ากำลังเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนธุรกิจเดิมที่ท่านเคยเป็นอดีต CEO หรือไม่ และเมื่อ ครม. มีมติสั่งกระทรวงมหาดไทยไปแก้กฎหมาย ได้ระบุชัดเจนเลยว่าต้องแก้ พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ์ และ พ.ร.บ.อาคารชุด นั่นแปลว่า ครม. มีธงอยู่แล้วใช่หรือไม่ว่าจะแก้ไข กฎหมายนี้

 

ดังนั้นนี่ไม่ใช่การศึกษา หมายความว่า ครม. ต้องทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นดีไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร ถึงสั่งให้แก้กฎหมาย จึงขอให้อธิบายประชาชนว่า ปัจจุบันต่างชาติถือคอนโดทั้งประเทศแค่ 16% มีเพียงบางโครงการเท่านั้นที่ถือชนเพดาน 49% เช่นนั้นทำไมเราต้องแก้จาก 49% เป็น 75% นี่เป็นการเอาความเสี่ยงของประเทศไปแลก เพื่อจะช่วยบางโครงการขายโครงการได้มากขึ้นหรือไม่

 

นอกจากนั้น ทราบหรือไม่ว่าการถือกรรมสิทธิ์คอนโดไม่เกิน 49% นับกันอย่างไร ทรัพย์อิงสิทธิ์ 99 ปี ต่างจากการเช่า 99 ปีอย่างไร ทำไมต้อง 99 ปี ขอให้อธิบายเพื่อพิสูจน์ว่ารัฐมนตรีที่นั่งอยู่ใน ครม. มีความรู้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ รวมถึงชี้แจงที่มาที่ไปของมติ ครม. นี้ ใครเป็นต้นคิดเอาเรื่องเข้า และนายกฯ หายไปไหน ทำไมต้องรีบร้อนอยากจะแก้กฎหมายโดยเร่งด่วนเช่นนี้

 

ด้านชาดาลุกขึ้นตอบว่า ในวันที่มีมติ ครม. เมื่อเดือนมิถุนายน ตนก็ไม่อยู่ในที่ประชุม เพราะลาไปร่วมพิธีฮัจญ์ แต่ได้รับนโยบายจาก รมว.มหาดไทย ให้ไปศึกษาผลได้ผลเสีย ไม่ได้ให้ทำ ขณะนี้กรมที่ดินกำลังดำเนินการ ส่วนที่นายกฯ ไม่เข้าประชุมวันนั้น อาจติดภารกิจ สำหรับเรื่องทรัพย์อิงสิทธิ์เป็นเรื่องซับซ้อนตนคงอธิบายทั้งหมดไม่ได้ “เรียนด้วยความเคารพ ท่านเข้าใจที่ผมตอบหรือไม่ เพราะผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจตัวเอง”

 

จากนั้นศุภณัฐกล่าวว่า รมว.มหาดไทยไม่ควรให้ชาดามาตอบ หากไม่อยู่ในที่ประชุม ครม. วันนั้น และชาดากำกับดูแลกรมที่ดิน เรื่องทรัพย์อิงสิทธิ์เป็นเรื่องที่ควรต้องทราบ อย่างไรก็ตามยืนยันว่ามติ ครม. ไม่ได้เขียนว่า “ศึกษาผลกระทบ” มีแต่บอกว่าให้ไปพิจารณาทบทวนแก้ พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ ชัดเจนว่ามีเป้าหมายจะเอา 75% และ 99 ปี

 

ผมเข้าใจว่าพอเป็นเผือกร้อนโยนมาที่ท่านอนุทิน ท่านก็เลยไปปรับและแถลงออกมาว่าเดี๋ยวจะศึกษาผลกระทบ แต่นี่ไม่ใช่คำสั่ง ครม. เพราะคำสั่งคือให้ไปแก้กฎหมายเลย จึงขอแนะนำให้รัฐมนตรีชาดาเสนอ ครม. เพื่อแก้ไขยกเลิกมติเดิม ส่วนเรื่องที่ต่างชาติถือครองคอนโดเพียง 16% ท่านก็ไม่ได้ตอบผมว่าถ้าเช่นนั้นเราจะแก้จาก 49% เป็น 75% เพื่ออะไร” สส.กรุงเทพฯ เขต 9 กล่าว

 

ศุภณัฐถามต่อว่า ประเด็นต่อมาคือเรื่องผลกระทบ ทุกวันนี้ราคาบ้านและราคาที่ดินแพงขึ้น หลายคนอยากซื้อบ้านก็โดนปฏิเสธสินเชื่อ รายได้ประชาชนโตไม่ทันราคาอสังหา คนรุ่นใหม่ไม่กล้าแต่งงานหรือมีลูก เพราะรายได้ไม่พอ ค่าแรงไม่ขึ้น แต่ข้าวของแพงขึ้นทุกวัน คนไทยจำนวนมากอยากมีบ้านอยู่แต่ไม่มีปัญญาซื้อ แต่รัฐบาลกลับสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาแย่งซื้อที่ดินแย่งซื้อบ้านแข่งกับคนไทย โดยอ้างคำว่า “เช่า” บังหน้า ทั้งที่การเช่า 99 ปี อาจเรียกว่าชั่วลูกชั่วหลานได้เลย แทนที่จะทำให้คนไทยลืมตาอ้าปากมีที่ดินเป็นของตัวเอง

 

บ้าน 3 ล้านบาทสำหรับคนไทย เป็นเรื่องยากมาก จะเป็นเจ้าของบ้านสักครั้งหนึ่งในชีวิต บางคนจนตายก็ไม่ได้เป็น เจ้าของบ้านผ่อนไม่ไหว ใช้จ่ายทั่วไปก็ไม่พอ แต่สำหรับชาวต่างชาติมันง่ายเหมือนกระดิกนิ้ว 3 ล้านบาทของเขาคือเศษเงิน ซื้อเสร็จก็ปล่อยให้คนไทยเช่าต่อ ความต่างทางรายได้จึงเป็นตัวแปรที่ทำไมเราจำเป็นต้องปกป้องคนไทย ไม่รังแกคนไทยแล้วหานโยบายเพื่อไปช่วยกลุ่มทุนอย่างไม่สนใจอะไรเลย” ศุภณัฐกล่าว

 

สำหรับนัยสำคัญของการแก้ พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ์นั้น ทรัพย์อิงสิทธิ์คือ Leasehold เป็นรูปแบบการเช่าแต่เสมือนการขายจริง เป็นเจ้าของจริง กล่าวคือ ถ้าได้ทำสัญญาที่ดินไว้แบบทรัพย์อิงสิทธิ์ ไม่ว่าจะก่อสร้างทำโรงงาน ปลูกทุเรียน ทำคอนโด หรือทำอะไรก็ได้หมด ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของเดิม จะเอาที่ดินไปค้ำธนาคาร ขายต่อเช่าช่วงก็ทำได้ ตายไปแล้วให้เป็นมรดกลูกหลานที่ต่างประเทศก็ทำได้ ทุกอย่างของทรัพย์อิงสิทธิ์เหมือนเป็นเจ้าของที่ดินทันที เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินได้ 99 ปี สิ่งที่สำคัญคือการเช่าแบบทรัพย์อิงสิทธิ์ จะไม่ถูกจำกัดสิทธิ์เรื่องกรรมสิทธิ์การถือครองคอนโดของต่างด้าวที่ 49% หมายความว่า หากคอนโดทุกชั้นทำเป็นทรัพย์อิงสิทธิ์ 99 ปี ทั้งตึกก็จะเป็นของต่างชาติได้

 

ถ้ากฎหมายนี้ออกมาเมื่อไร เราจะเห็นเซลล์แมนบินไปขายที่ดิน ขายคอนโดยกตึกยกแปลงให้ต่างชาติ ไม่จำเป็นต้องขายทีละห้อง นี่คือนโยบายให้ต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ เข้ามาถือครองและปั่นราคาโดยไม่มีมาตรการใดรองรับ คิดแบบลวกๆ ไม่รอบคอบ แล้วมาอ้างว่าให้ไปศึกษา ทั้งที่จริงมติ ครม. สั่งให้ไปแก้กฎหมาย จึงต้องถามไปยังรัฐบาลว่าการที่ต่างชาติถือครองอสังหาเยอะๆ โดยไม่ได้บอกว่าถือครองแล้วจะลงทุนอะไรเพิ่มบ้าง ใครได้ประโยชน์ ระหว่างบริษัทอสังหาหรือคนไทยที่จ่ายภาษีให้พวกท่านนั่งอยู่ตรงนี้”

 

ศุภณัฐกล่าวต่อว่า รัฐบาลบอกว่าจะกลัวอะไรที่ดินอยู่ในเมืองไทย ไม่ได้ไปไหน ตนก็ไม่ได้คิดว่าที่ดินจะบินออกจากประเทศไทยไปอยู่ที่อื่น แต่ตนกลัวว่าวันหนึ่งคนไทยต้องเช่าที่ดินต่อจากต่างชาติ ที่ดินเป็นของจำกัด ผลิตซ้ำไม่ได้ เราไม่มีที่ดินไว้ขายได้ขนาดนั้น วันนี้ถ้าเปิดเสรีเป็น leasehold ต่างชาติจะหิ้วเงินมาจ่าย เหมาได้เลยในใจกลางเมือง หลายแปลงซื้อได้ไม่ยาก

 

ยกตัวอย่างประเทศแคนาดา มีการเปิดตลาดให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือความสามารถของคนแคนาดาที่จะซื้อบ้านของตัวเองลดน้อยลง ทั้งที่แคนาดาเป็นประเทศที่เจริญแล้วและร่ำรวย คนแคนาดาต้องจ่ายเงินค่าเช่าบ้านเพิ่มจากอดีต 4,000 บาทต่อเดือนโดยเฉลี่ย

ดังนั้นถ้ารัฐคิดแต่จะช่วยกลุ่มทุนอสังหาแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่มีมาตรการรองรับ คนไทยจะลำบาก

 

คำถามที่สองของตนคือ การที่ ครม. สั่งแก้กฎหมายนั้น ท่านทราบผลดีผลเสียของการแก้ ดีพอแล้วหรือไม่ ทำไมไม่ถามประชาชนสักคำว่าเห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายนี้ รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือคนไทยให้มีบ้านมีที่ดินง่ายขึ้นหรือไม่ และมีแนวทางช่วยให้ราคาที่อยู่อาศัยถูกลงได้บ้างหรือไม่ รวมถึงการให้ต่างชาติถือที่ดิน 99 ปี จะทำให้คนไทยรวยขึ้นจนมีบ้านเป็นของตัวเองได้จริงหรือไม่ หรือสุดท้ายทำให้แค่บริษัทอสังหารวยขึ้นกันแน่

 

ส่วนคำถามที่สาม ศุภณัฐเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า หากรัฐมนตรีอ้างว่าเป็นการศึกษา ตนขอแนะนำว่าเรื่องนี้ควรทำเป็นมาตรการระยะสั้น กำหนดเฉพาะบางพื้นที่บางโครงการ หรือถ้าจะแก้ปัญหาคอนโดโอเวอร์ซัพพลาย ก็ให้กำหนดเฉพาะโครงการที่ผลิตออกมาก่อนที่มีสิทธิ์ทำได้ หรือกำหนดอาชีพว่าผู้ซื้อต้องเป็นอย่างไร ซื้อแล้วต้องแลกกับการลงทุนอีกเท่าไหร่ในธุรกิจกลุ่มใดที่เป็นธุรกิจเป้าหมายของรัฐบาล หรือการกำหนดภาษีโอนของต่างชาติที่ต้องแพงมากกว่าภาษีโอนของคนไทย มีกำหนดระยะเวลาการถือขั้นต่ำเพื่อไม่ให้เกิดการปั่นอสังหาริมทรัพย์ หรือนำเงินบางส่วนที่ได้จากภาษีเพิ่มเติมนั้นมาอุดหนุนให้คนไทยมีบ้านเพิ่มมากขึ้น

 

ปกติการลงทุนของบริษัทอสังหานั้น ต้องก็มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี นั่นหมายความว่าเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วก่อนทำโครงการ บริษัทอสังหาคาดว่าเศรษฐกิจจะดี จึงผลิตคอนโดออกมาเยอะจนโอเวอร์ซัพพลาย แต่พอมารัฐบาลเศรษฐา เศรษฐกิจแย่ลงหรือไม่ ทำไมบริษัทอสังหาจึงต้องยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมในเรื่องเหล่านี้

 

สรุปแล้วที่มาที่ไปทั้งหมดที่เราต้องมาแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มความเสี่ยงให้กับประเทศไทย เป็นเพราะบริษัทอสังหาอยากระบายสต๊อกจึงมาร้องนายกฯ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และนายกฯ ใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้นในการออก 7 มาตรการเพื่อช่วยเหลือ บางคนออกมาบอกว่าจะช่วยกระตุ้น GDP ได้ 1.5-1.7% จะมียอดโอนซื้ออสังหามหาศาล เป็นการลงทุนใหม่ เงินทุนจะสะพัดหลายแสนล้าน คำถามคือตอนนี้ผ่านมา 1 ไตรมาส ถ้าดีขึ้นอย่างที่อ้างตาม 7 มาตรการ แล้วรัฐบาลจะมาทำเรื่องนี้ต่ออีกทำไม

 

ตนยืนยันว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ แต่ไม่ใช่เพียงจะช่วยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยแลกกับผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ การกระตุ้นเศรษฐกิจต้องไม่ทำให้ประเทศเสียหาย ไม่ทำให้ประชาชนลำบากมากยิ่งขึ้นจากราคาที่อยู่อาศัยที่แพงขึ้น คำถามคือวันนี้เราได้ข้อสรุปแล้วใช่หรือไม่ว่า 7 มาตรการที่นายกฯ ออกไปก่อนหน้านี้ ไม่ได้ผลตามเป้าหมาย จึงต้องออกนโยบายให้ต่างชาติมาช่วยอีกแรงหนึ่ง ตัวเลข GDP ที่มโนไว้ว่าจะโต ก็ล้มเหลวใช่หรือไม่ ขอให้รัฐมนตรีช่วยสรุปความคืบหน้าของ 7 มาตรการช่วยภาคอสังหาที่ออกมาเมื่อเดือนเมษายน ว่าดีหรือแย่อย่างไร นี่คือคำถามสุดท้าย

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ประชุมสภา #ต่างชาติซื้อคอนโด

“ทนายแจม” ถาม รมว.ยุติธรรม ข้อเท็จจริงกรณี ‘บุ้ง เนติพร’ เสียชีวิต เรียกร้องความชัดเจนแนวทางปฏิรูปเรือนจำ ด้าน “ทวี” ยัน “ราชทัณฑ์” ทำตามมาตรฐานสากล

 


ทนายแจม” ถาม รมว.ยุติธรรม ข้อเท็จจริงกรณี ‘บุ้ง เนติพร’ เสียชีวิต เรียกร้องความชัดเจนแนวทางปฏิรูปเรือนจำ ด้าน “ทวี” ยัน “ราชทัณฑ์” ทำตามมาตรฐานสากล

 

วันที่ 4 มิถุนายน 2567 ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์​ สส.กรุงเทพฯ เขต 11 พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นตั้งกระทู้ถาม รมว.ยุติธรรม กรณีการเสียชีวิตของบุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่คลุมเครือและไม่ชัดเจนถึงกระบวนการรักษาชีวิตระหว่างที่ถูกฝากขังภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม โดยศศินันท์ไล่เรียงไทม์ไลน์และสถานการณ์ต่างๆ ระหว่างการอภิปราย ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 เนติพรได้ถูกถอนประกันตัวในคดีอาญามาตรา 112 และถูกตัดสินให้จำคุกในคดีละเมิดอำนาจศาล 1 เดือน

 

ศศินันท์กล่าวว่าเนติพรถูกศาลตัดสินจำคุก 1 เดือนในข้อหาละเมิดอำนาจศาล ซึ่งคดีดังกล่าวจะพ้นโทษในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ แต่เพราะในวันเดียวกันเอง ซึ่งก็คือวันที่ 26 มกราคม ศาลสั่งถอนประกันคดีมาตรา 112 หมายความว่าระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ บุ้ง เนติพร อยู่ในเรือนจำ ในฐานะถูกฝากขังระหว่างการพิจารณาคดี และเมื่อคดียังไม่สิ้นสุด ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ต่อมาวันที่ 27 มกราคม หลังจากถูกตัดสินจำคุก บุ้งได้ประกาศเรื่องอดอาหารจนอาการทรุดลงเรื่อย ๆ และวันที่ 14 พฤษภาคม บุ้งเสียชีวิตระหว่างที่ถูกควบคุมตัว

 

หลังการเสียชีวิตของบุ้ง เนติพร กรมราชทัณฑ์ได้ออกมาชี้แจง ระบุกับผู้สื่อข่าวว่าทางกระทรวงยุติธรรมจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและจะให้ความร่วมมือกับญาติในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตนจึงต้องการสอบถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมว่าสิ่งที่กรมราชทัณฑ์ได้แถลงมานั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ สืบเนื่องจากข้อมูลที่ตนได้จาก กมธ.การกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มีการเรียกหน่วยงานเข้ามาชี้แจง มีข้อมูล 2 ชุด ข้อมูลชุดแรกเป็นข้อมูลไทม์ไลน์การเสียชีวิตของคุณบุ้ง ที่กรมราชทัณฑ์ชี้แจงใน กมธ. ข้อมูลชุดที่สอง คือไทม์ไลน์การเสียชีวิตที่ได้มาจากกล้องวงจรปิด

 

ข้อเท็จจริงประการแรก คือการแถลงของกรมราชทัณฑ์ไม่ตรงกับข้อมูลที่ได้ชี้แจงในห้อง กมธ. ซึ่งจากข้อมูลต่างๆ ที่ไล่เรียงมา สามารถเป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดว่ามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยของกรมราชทัณฑ์มีปัญหาแน่นอน และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนยืนยันว่าการประกันตัวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของระบบยุติธรรมของไทยนั้นมีปัญหา จึงอยากได้ยินคำตอบจากรัฐมนตรีในคำถามแรก ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตของบุ้ง เนติพร คืออะไร กระบวนการการกู้ชีพที่เกิดขึ้น เพราะเหตุใดถึงไม่มีการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) รวมถึงเวลาเสียชีวิตที่แท้จริงคือเวลาไหน และกรมราชทัณฑ์จะมีการรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตครั้งนี้อย่างไร

 

นอกจากนี้ ศศินันท์ยังยกประสบการณ์การเป็นทนายให้กับนักโทษการเมืองหลายคนที่ถูกฝากขังก่อนมีคำตัดสิน กรณีการเสียชีวิตของบุ้ง เนติพร สะท้อนการดูแลผู้ต้องหาในเรือนจำและยังมีกรณีสุ่มเสี่ยงอีกหลายกรณีที่เข้าข่ายไม่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานที่มนุษย์คนหนึ่งคนได้รับ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับปรุงและยกระดับการทำงาน

 

ศศินันท์ ยังได้ย้ำไปยัง รมว.ยุติธรรม ด้วยว่า ขณะนี้ทางกระทรวงเองก็ยังไม่มีกำหนดที่ชัดเจนว่าจะมีแถลงการณ์เรื่องการปฏิรูปเรือนจำเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างไร การคุมขังไม่ได้ต้องการแค่จะลงโทษเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเตรียมความพร้อมกลับให้ผู้ถูกคุมขังกลับมาสู่สังคมด้วยในอนาคตด้วย นี่คือการเปลี่ยนตั้งแต่วิธีคิด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ

 

ยินดีที่เห็นท่านรัฐมนตรีมีความตั้งใจจะปฏิรูปเรือนจำ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับนักโทษในคดีการเมือง ซึ่งตอนนี้มีหลายคนมาก และกำลังจะเข้าไปอีกหลายคน อยู่ในระหว่างการควบคุมดูแลของกรมราชทัณฑ์ ดิฉันไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียใครอีก เรื่องนี้ไม่ได้สำคัญว่าจะเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองคนใด จะเห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำหรือไม่ แต่สำคัญที่ว่ากระบวนการของกรมราชทัณฑ์ในการดูแลผู้ต้องหาในเรือนจำ กำลังมองผู้ต้องหาเป็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่หรือไม่” ศศินันท์ถามสรุปไปยัง รมว.ยุติธรรม

 

ด้านพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ชี้แจงว่า การเสียชีวิตของบุ้ง เป็นการเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ต้องมีการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ โดยให้อัยการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน พร้อมด้วยแพทย์ที่ไม่ใช่ของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งเมื่อชันสูตรพลิกศพแล้ว กระบวนการทำสำนวนทั้งหมด จะต้องเปิดโอกาสให้ญาติพี่น้อง หรือทนายความเข้าร่วมทั้งกระบวนการ สามารถเพิ่มพยานในชั้นการพิจารณาของศาลได้ ทั้งนี้เท่าที่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตของบุ้ง ทางสาขานิติเวช โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระบุว่า เกิดจากการเสียสมดุลเกลือแร่ในเลือดร่วมกับโรคหัวใจโต โดยกรณีนี้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จำนวน8ราย ที่ตั้งโดยกระทรวงยุติธรรม ได้ขยายเวลาการสอบสวนออกไปอีก30วัน แต่คณะกรรมการฯได้ทำความเห็นเบื้องต้นออกมาว่า เป็นการเสียชีวิตตามธรรมชาติ ไม่ปรากฎร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด อ้างอิงจากใบมรณบัตร และการตรวจพิสูจน์จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ประกอบกับกล้องวงจรปิดในคืนวันเกิดเหตุ พบว่า บุ้งได้นอนหลับพักผ่อนเป็นปกติ ภายในฝ่ายปกครองของผู้ต้องขังหญิง

 

จากนั้นในช่วงเช้าเวลา 06.12น. ของวันที่14พ.ค. บุ้งได้ลุกขึ้นมานั่งที่เตียงผู้ป่วย เริ่มคว่ำหน้าลง และมีการชักกระตุก เจ้าหน้าที่จึงได้กดกริ่งและแจ้งผู้ควบคุมเข้าไป จนสรุปเห็นควรส่งให้แพทย์มาร่วมกันดำเนินการ ถ้าถามว่าบุ้งเสียชีวิตที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ หรือโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ในรายงานระบุว่าเสียชีวิตที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แต่ในระหว่างการช่วยยื้อชีวิตอาจเป็นปรากฎการณ์เหมือนการเสียชีวิตแล้ว

 

ดังนั้นขอให้เชื่อมั่นว่า ตามมาตรา 150 ของการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ เราเปิดโอกาสให้สามี ภรรยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ญาติของผู้ตาย สามารถยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติมต่อศาลฯได้ ยืนยันว่าการดำเนินการของกรมราชทัณฑ์เป็นไปตามวิชาชีพ ตามมาตรฐานสากล ตามหลักทางการแพทย์ ทั้งนี้รายละเอียดอย่างเป็นทางการขอให้รอคำสั่งจากศาลฯที่ถือเป็นที่สุด และมีความเที่ยงธรรม” รมว.ยุติธรรม ระบุ

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ก้าวไกล #กระทรวงยุติธรรม #บุ้งเนติพร #บุ้งทะลุวัง #กรมราชทัณฑ์

พิพากษาจำคุก “บังเอิญ” 1 ปี ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา พ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ผิด พ.ร.บ.โบราณสถานฯ-พ.ร.บ.ความสะอาด

 


พิพากษาจำคุก “บังเอิญ” 1 ปี ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา พ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ผิด พ.ร.บ.โบราณสถานฯ-พ.ร.บ.ความสะอาด

 

วันนี้ (4 กรกฎาคม 2567 ) เวลา 9.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อ.1264/2566 พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายศุทธวีร์ หรือ บังเอิญ อายุ 26 ปี ซึ่งพ่นสีสเปรย์ใส่กำแพงรั้วพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระแก้ว เป็นจำเลยในความผิดฐาน ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งและขูดขีด เขียน พ่นสี หรือให้ปรากฏด้วยประการใด ๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใด ๆ ที่กำแพงที่ติดกับถนนหรือในที่สาธารณะ

 

กรณีเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566 เวลาประมาณ 17.40 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกตรวจในพื้นที่รับผิดชอบเมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุได้พบนายศุทธวีร์ ผู้กำลังพ่นสีสเปรย์อยู่บริเวณกำแพงรั้วพระบรมมาราชวังอฝั่งถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม.โดยมีพวกของผู้ต้องหาทำหน้าที่ถ่ายภาพเคลื่อนไหวบันทึกไว้ ขณะที่นายศุทธวีร์กำลังพ่นสีอยู่นั้น ตำรวจจึงได้เข้าจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางกระป๋องสีสเปรย์ ส่งพนักงานสอบสวนสน.พระราชวังดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนคนอื่นหลบหนีไปได้ เหตุเกิดที่ กำแพงรั้วพระบรมมาราชวังอฝั่งถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร

 

โดยช่วงเช้าวันนี้ นายศุทธวีร์ จำเลยและทนายความ เดินทางมาฟังคำพิพากษา

 

ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 14,32 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 4,12,36 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ มาตรา 4 32 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทลงโทษที่หนักที่สุด ฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถานและขูด ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือ รูปรอยใดๆ ที่กำแพงที่ติดถนนหรือที่สาธารณะ ให้จำคุก นายศุทธวีร์ จำเลย 1 ปี แต่คำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์อยู่บ้างลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 8 เดือน ไม่รอลงอาญา ริบกระป๋องสีสเปรย์ของกลาง จำนวน 2 กระป๋อง ข้อหาอื่นให้ยก

 

ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลประกันตัวในชั้นอุทธรณ์

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #พ่นสีวัดพระแก้ว #โบราณสถาน

ก้าวไกลยื่นญัตติด่วน หวังรัฐสภามีมติให้ ครม.ทบทวน “คำถามประชามติ” เรื่องรัฐธรรมนูญ ก่อนรัฐสภาแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติเสร็จ และ ครม.เคาะคำถามอย่างเป็นทางการ

 


ก้าวไกลยื่นญัตติด่วน หวังรัฐสภามีมติให้ ครม.ทบทวน “คำถามประชามติ” เรื่องรัฐธรรมนูญ ก่อนรัฐสภาแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติเสร็จ และ ครม.เคาะคำถามอย่างเป็นทางการ

 

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ที่อาคารรัฐสภา พรรคก้าวไกล นำโดย พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ยื่นญัตติด่วนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบการทำประชามติเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยคำถามที่ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ”

 

พริษฐ์กล่าวว่า สาเหตุที่พรรคก้าวไกลยื่นเสนอญัตตินี้ เพราะเมื่อย้อนกลับไปวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางเกี่ยวกับการทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเห็นว่าควรมีการทำประชามติทั้งหมด 3 ครั้ง และควรให้คำถามประชามติในครั้งที่ 1 เป็นคำถามที่ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”

 

พรรคก้าวไกลยืนยันอย่างหนักแน่นว่าเราสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เรามีความกังวลว่าการตั้งคำถามในลักษณะดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สะดุดและไม่ประสบความสำเร็จ ด้วย 3 เหตุผล คือ

 

1. คำถามประชามติที่คณะรัฐมนตรีเสนอเป็นการถาม 2 ประเด็นใน 1 คำถาม โดยมีการบรรจุเงื่อนไขหรือรายละเอียดปลีกย่อยในตัวคำถาม ซึ่งอาจทำให้ประชาชนบางคนที่เห็นด้วยกับบางส่วนของคำถาม แต่ไม่เห็นด้วยกับอีกบางส่วนของคำถาม (เช่น เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขเรื่องหมวด 1 และ หมวด 2) มีความลังเลใจว่าควรจะลงมติเช่นไรที่สะท้อนเจตจำนงหรือจุดยืนของตนเอง ทำให้ในบรรดาคนที่อยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจไม่ใช่ทุกคนที่จะลงคะแนน “เห็นชอบ” เหมือนกันอย่างเป็นเอกภาพ

 

2. คำถามประชามติที่คณะรัฐมนตรีเสนอเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประสบปัญหาในเชิงกฎหมาย เพราะในเมื่อเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแต่ละหมวดมีความสัมพันธ์กันโดยธรรมชาติ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจมีการยกร่างเนื้อหาบางส่วนในหมวด 3 เป็นต้นไป ที่ทำให้เกิดความจำเป็นทางกฎหมายที่จะต้องแก้ไขบางข้อความในหมวด 1 และ หมวด 2 ให้สอดคล้องกันกับหมวดอื่นๆ แต่การแก้ไขดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้พร้อมๆ กัน หากไม่เปิดให้มีการแก้ไขข้อความในหมวด 1 และหมวด 2 ในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

3. คำถามประชามติที่คณะรัฐมนตรีเสนอเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่สามารถแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างทางการเมืองในบริบทปัจจุบันได้ เพราะในเมื่อเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐธรรมนูญคือการออกแบบกติกาการเมืองที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายท่ามกลางความเห็นที่แตกต่าง การปิดกั้นข้อเสนอจากประชาชนเกี่ยวกับการปรับปรุงเนื้อหาในหมวด 1 และหมวด 2 (ที่ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหรือรูปแบบรัฐ) อาจเพิ่มความเสี่ยงที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่ถูกมองว่าสะท้อนฉันทามติใหม่ของประชาชนทุกคนได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ก็ไม่ได้ห้ามเรื่องการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ไว้ รวมถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ก็มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาในหมวด 1 และหมวด 2 มาโดยตลอด

 

ดังนั้น เพื่อเสนอคำถามประชามติที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว พรรคก้าวไกลจึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ประชามติ พ.ศ. 2564 มาตรา 9(4) เพื่อเสนอญัตติด่วนให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยคำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ” ซึ่งเงื่อนไขเรื่องการไม่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองและรูปแบบรัฐ เป็นเงื่อนไขที่ถูกล็อกไว้อยู่แล้วในรัฐธรรมนูญมาตรา 255

 

พริษฐ์กล่าวว่า ตนเข้าใจว่ารัฐบาลมีจุดยืนที่ต่างกับพรรคก้าวไกลในเรื่องการล็อกหมวด 1 และหมวด 2 แต่หากรัฐบาลเลือกใช้คำถามประชามติตามที่พรรคก้าวไกลเสนอ และประชามติดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ขั้นตอนถัดไปคือการที่คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภาจะต้องเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับรายละเอียดการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา (เช่น จำนวน ที่มา และอำนาจของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)) ซึ่งในขั้นตอนนี้ หากรัฐบาลประสงค์ รัฐบาลสามารถเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ได้ว่า สสร. มีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกหมวด ยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งก็สอดคล้องกับรายละเอียดของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคเพื่อไทยเคยเสนอเข้าสู่รัฐสภา

 

ดังนั้น การเลือกคำถามประชามติที่พรรคก้าวไกลเสนอในวันนี้ จะทำให้รัฐบาลยังคงเลือกที่จะล็อกหมวด 1 และหมวด 2 ได้เช่นเดิมตามจุดยืนของรัฐบาล แต่จะช่วยลดความเสี่ยงที่ประชามติรอบแรกจะไม่ผ่าน

 

พริษฐ์กล่าวต่อไปว่า สาเหตุที่พรรคก้าวไกลต้องเสนอญัตตินี้เป็นญัตติด่วน เพราะหากย้อนกลับไปวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติว่าจะไม่เดินหน้าจัดทำประชามติครั้งแรกและประกาศคำถามประชามติอย่างเป็นทางการ จนกว่าการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติจะแล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อวานนี้ในการประชุมนัดแรกของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ ทางคณะกรรมาธิการได้กำหนดว่าจะพิจารณาร่างแก้ไขให้เสร็จในชั้นกรรมาธิการภายในปลายเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนจะกลับเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2-3 ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2567

 

ดังนั้น เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาและลงมติเรื่องคำถามประชามติให้เสร็จสิ้นตามกระบวนการ ทันเวลาก่อนที่ร่างแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติจะประกาศบังคับใช้ และก่อนที่ ครม. จะประกาศคำถามประชามติอย่างเป็นทางการ พรรคก้าวไกลจึงจำเป็นต้องเสนอญัตตินี้เป็นญัตติด่วน เพราะหากเสนอเป็นญัตติทั่วไปก็อาจจะต้องรอเวลาอีกหลายเดือนหรือเป็นปีก่อนจะได้รับการพิจารณา

 

พริษฐ์กล่าวทิ้งท้ายว่า พรรคก้าวไกลหวังว่าญัตติดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรค และจากสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ เพื่อให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประสบความสำเร็จ

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ก้าวไกล #ประชามติ #รัฐธรรมนูญ

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

จดหมายจากเรือนจำ ฉบับวันที่ 3 ก.ค. 67 "ขนุน" วาดภาพสายรุ้ง จดจำจากความรู้สึก หลัง "อานนท์" ชวนมองสายรุ้ง วินาทีนั้นอิ่มเอม และมีความหวัง

 


จดหมายจากเรือนจำ ฉบับวันที่ 3 ก.ค. 67 "ขนุน" วาดภาพสายรุ้ง จดจำจากความรู้สึก หลัง "อานนท์" ชวนมองสายรุ้ง วินาทีนั้นอิ่มเอม และมีความหวัง


วันนี้ (3 กรกฎาคม 2567) เฟสบุ๊ค panusaya sithijirawattanakul โพสรูปจดหมาย พร้อมข้อความระบุว่า


สวัสดีทุกท่าน ภาพที่เห็นผมวาดจากสายตาที่จดจำความรู้สึกของเช้ามืดเมื่อวานก่อน ขณะอาบน้ำกับทนายอานนท์ แกมองขึ้นไปบนฟ้าพร้อมเรียกผม “ขนุน” ก่อนให้ผมหันไปเห็นรุ้งที่อยู่ตรงหน้า สายรุ้งยามเช้าหลังพายุฝนจากไป วินาทีนั้นทั้งรู้สึกอิ่มเอม และมีความหวังต่ออนาคตที่ไม่แน่นอนในข้างหน้า


รุ้งที่ปรากฏเป็นทั้งจุดเริ่มต้นของทุกเหตุการณ์ ทั้งยังอยู่เคียงข้างเรา หวังว่าเราจะร่วมเดินกันไปยังปลายทางของสายรุ้งได้ในเร็ววัน ทุกวันยังคงมีหวังเสมอ


ด้วยความเคารพจิตวิญญาณราษฎร

สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ


สำหรับ สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ หรือขนุน เคยจัดกิจกรรมกลุ่ม ‘มศว คนรุ่นเปลี่ยน’ ปัจจุบันอายุ 23 ปี จบการศึกษาจาก ภาควิชารัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2567 ในคดีมาตรา 112 ซึ่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก 2 ปี จากกรณีปราศรัยในการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563 


โดยมีการยื่นขอประกันตัว 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการพิจาณาปล่อยตัว ซึ่งครั้งล่าสุด ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์ ประกาศวางเดิมพัน โดยใช้ตำแหน่งวิชาการ ยื่นขอสิทธิประกัน 'ขนุน สิรภพ' ให้กลับไปเรียนปริญญาโทต่อและให้เหตุผลที่เชื่อว่าขนุน ไม่คิดหนีแน่นอน แต่ที่สุดก็ถูกยกคำร้องการขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยศาลระบุว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ซึ่งการไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ส่งผลให้ 'ขนุน สิรภพ' ขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ขนุนสิรภพ #มาตรา112 #คืนสิทธิประกันตัวประชาชน

“ปิยบุตร” เร่ง กกต. ประกาศรับรองผลเลือก สว.ก่อน ค่อยสอยทีหลัง ชี้ ถึงเวลาแล้วที่ไทยควรเหลือสภาเดี่ยว เหตุลองมา 90 ปี ก็ยังไม่ตอบโจทย์

 


ปิยบุตร” เร่ง กกต. ประกาศรับรองผลเลือก สว. ก่อน ค่อยสอยทีหลัง ชี้ ถึงเวลาแล้วที่ไทยควรเหลือสภาเดี่ยว เหตุลองมา 90 ปี ก็ยังไม่ตอบโจทย์

 

วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวถึงการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า ผลที่ออกมาแปลกประหลาดมาก และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่อยากได้ สว. ที่มาจากหลากหลายอาชีพ ถึงเวลาที่ควรคิดทบทวนว่าควรออกแบบที่มา สว.อย่างไร และเป็นไปได้หรือไม่ ที่ควรจะเหลือสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเลือกมาแล้ว เห็นว่า แม้มีการร้องเรียนเรื่องคุณสมบัติจำนวนมาก แต่ก็เป็นเรื่องของตัวบุคคล ดังนั้น การที่จะนำไปสู่โมฆะทั้งระบบคงเป็นไปไม่ได้ และใครที่คิดฝันว่า อยากให้ สว. 250 คน รักษาการไปเรื่อย ๆ คิดว่าเป็นการฝันเกินไป และเชื่อว่าอีกไม่นานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คงจะรับรอง และให้ สว.ชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่

 

ส่วนตัวก็มองว่าควรรับรองก่อนแล้วค่อยสอยทีหลัง เพราะแม้ประกาศไปแล้วก็ยังมีช่องทางตรวจสอบได้ภายหลัง โดยเฉพาะกรณีคุณสมบัติต้องห้าม ก็ร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ และถ้ามีการทุจริตก็ไปร้องที่ศาลฎีกา ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้การเมืองสะดุด โดยควรตรวจสอบเป็นรายบุคคล ใครมีปัญหาก็ตามไปตรวจสอบ ซึ่งมีช่องทางทั้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกา” นายปิยบุตร กล่าว

 

เมื่อถามว่าเมื่อมี สว.แล้วควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ สว. หรือไม่ นายปิยบุตร กล่าวว่า การจะเปลี่ยนที่มาของ สว. หรือยกเลิกการมี สว.จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยต้องอาศัยเสียง สว. ในการโหวต ซึ่งอาจจะเป็นปัญหา และคงต้องไปหวังการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เข้ามา แต่ตอนนี้ก็ต้องรณรงค์ทางความคิดกันไปก่อน ว่า ถ้ายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเปลี่ยนที่มาของ สว. หรือจะยกเลิกไปเลย แต่ครั้งนี้เมื่อเลือกมาแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อ

 

ผมมีจุดยืนมาตลอดว่าประเทศไทยถึงเวลาแล้วควรจะมีสภาฯเพียงสภาเดียว และการตรวจสอบถ่วงดุลกับสภาฯ สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นกลไกของการแบ่งสรรปันส่วน การคัดเลือกองค์กรอิสระ ที่ยุติธรรมกับทุกฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายเสนอมาด้วยจำนวนที่เท่าเทียมกัน โดยฝ่ายค้านเสนอมาส่วนหนึ่งและฝ่ายรัฐบาลเสนอมาส่วนหนึ่ง แล้วมาหาข้อยุติร่วมกัน ด้วยคะแนนเสียงที่สูงมาก ก็เชื่อว่า ไม่มีใครยึดองค์กรอิสระได้ จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะยกเลิก สว. และมีสภาเดี่ยว เพราะเราเคยทดลองมี สว.มา 90 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่ ปี 2475 ทั้งการแต่งตั้ง การเลือกตั้ง และการคัดสรร แต่ก็ไม่ตอบโจทย์ จึงควรคิดทบทวนว่าเรากลับมาใช้สภาเดี่ยว เหมือนกับหลายประเทศ” นายปิยบุตร กล่าว

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #สว67 #กกต

ศาล รธน. รอผลการตรวจพยานหลักฐานของ “กกต.-ก้าวไกล” 9 ก.ค. นี้ และนัดพิจารณาต่อในวันที่ 17 ก.ค. เวลา 9.30 น.

 


ศาล รธน. รอผลการตรวจพยานหลักฐานของ “กกต.-ก้าวไกล” 9 ก.ค. นี้ และนัดพิจารณาต่อในวันที่ 17 ก.ค. เวลา 9.30 น.


วันนี้ (3 กรกฎาคม 2567) ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) โดย นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้อง) มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าลักษณะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่

3/2567


จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกต้อง และห้าทมิให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชยัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 วรรคสอง และมาตรา 94 วรรคสอง


ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้ว เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้รอฟังผลการตรวจพยานหลักฐานของคู่กรณีในวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2567 กำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 นาฬิกา


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ศาลรัฐธรรมนูญ #ยุบพรรค #พรรคก้าวไกล #ก้าวไกล



"พิธา" ทวงสัญญา “นายกฯ-ครม.-สส.” ทำตามสัญญา ใน MOU ปี 66 ผลักดัน 3 เรื่อง รัฐสภาก้าวหน้า - นิรโทษฯ - ปฏิรูปกองทัพ ให้สำเร็จ

 


"พิธา" ทวงสัญญา “นายกฯ-ครม.-สส.” ทำตามสัญญา ใน MOU ปี 66 ผลักดัน 3 เรื่อง รัฐสภาก้าวหน้า - นิรโทษฯ - ปฏิรูปกองทัพ ให้สำเร็จ

 

วันนี้ (3 กรกฎาคม 2567) เวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมได้เปิดโอกาสให้สส.หารือถึงปัญหาความเดือนร้อนของพี่น้องประชาชน และประเด็นต่างๆ โดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หารือว่า ขอฝากไปยังนายกรัฐมนตรี ครม. สส. และพรรคการเมือง ให้ร่วมผลักดันตามที่ได้สัญญาไว้ในบันทึกความเข้าใจ หรือMOU ที่พรรคการเมืองต่างๆทำร่วมกันเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 66 หรือ 1 ปีที่ผ่านมา อาจไม่ใช่MOUจัดตั้งรัฐบาลที่เราทำได้ไม่สำเร็จ แต่เป็นMOUที่เกี่ยวข้องกับการร่วมเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งประธานสภาฯและรองประธานสภาฯ 2 คน ที่ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่ง

 

นายพิธา กล่าวว่า ขอให้ผลักดัน 3 ประเด็นคือ

 

1. การทำให้รัฐสภาไทยก้าวหน้า โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพและเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง

 

2. ความคืบหน้านิรโทษกรรมคดีการเมืองเพื่อความยุติธรรม นิติรัฐ นิติธรรม แก้วิกฤตการเมือง และคนไทยที่เห็นต่าง ไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องลี้ภัย

 

3. แก้ไขกฎหมายเพื่อปฏิรูปกองทัพ อันได้แก่ร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่ ร่างพ.ร.บ.กฎอัยการศึก และร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งขณะติดอยู่ที่นายกฯ เพราะถูกตีความว่าเป็นกฎหมายการเงิน ทั้งหมดเพื่อปฏิรูปกองทัพให้ทันสมัย และเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง


ทั้งหมดเป็นเนื้อหาในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่พวกเราพรรคการเมืองต่างๆ เคยทำร่วมกันเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ไม่ใช่ MOU จัดตั้งรัฐบาล แต่เป็น MOU ที่เกี่ยวกับการยื่นเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งประธานสภาและรองประธานสภาทั้งสองท่านที่ยังดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน พร้อมสัญญาในการผลักดันวาระที่ก้าวหน้าเพื่อประชาชน

 

ดังนั้น ขอปรึกษาประธานสภาเพื่อฝากไปยังนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ผู้แทนราษฎร และพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้ร่วมผลักดันวาระเหล่านี้ตามที่เคยสัญญาไว้ เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ก้าวไกล #พิธาลิ้มเจริญรัตน์ #ประชุมสภา

“เผ่าภูมิ” ชูโมเดล “SEFI” เจาะพื้นที่เมืองรองลงถึงระดับตำบล ด้วยข้อมูล 88 ด้าน 6 มิติ บนเวที World Bank

 


“เผ่าภูมิ” ชูโมเดล “SEFI” เจาะพื้นที่เมืองรองลงถึงระดับตำบล ด้วยข้อมูล 88 ด้าน 6 มิติ บนเวที World Bank


วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ดร. เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาเปิดงาน “Unlocking the Growth Potential of Secondary Cities” ซึ่งจัดโดย World Bank เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 โดยกล่าวว่า กระทรวงการคลังต้องการปลุกศักยภาพเมืองรอง โดยให้ความสำคัญกับนโยบายลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ โดยได้จัดทำดัชนีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ (Spatial Economic Fundamental Index) หรือชื่อย่อว่า “SEFI” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้านเศรษฐกิจ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ และข้อมูลปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องชี้จำนวน 88 เครื่องชี้ ครอบคลุม 6 มิติ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข การศึกษา เสถียรภาพเศรษฐกิจ ความท้าทายทางทรัพยากรมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยสามารถวิเคราะห์ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในเชิงพื้นที่ได้ถึง “ระดับอำเภอและตำบล” ทำให้สามารถจัดลำดับความเร่งด่วนของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ได้ ทำให้สามารถวางแผนจัดทำนโยบายการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทั้งนี้ SEFI สะท้อนว่าเมืองหลักมีความพร้อมของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจสูงกว่าเมืองรองอย่างชัดเจน ค่า SEFI เฉลี่ยเมืองหลักอยู่ที่ 0.081 ในขณะที่เมืองรองเฉลี่ยอยู่ที่ -0.046 ซึ่งโมเดลนี้จะมีตัวเลขในทุกอำเภอ ทุกตำบล ทำให้ SEFI สามารถใช้ในการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของเมืองรองเพื่อทำมามาตรการในการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นการต่อยอดจุดแข็งและการแก้ไขจุดอ่อนของเมืองรอง เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งเป็นต้นแบบโมเดลของกระทรวงการคลังในการลดความเหลื่อมล้ำแบบตรงจุด ตรงพื้นที่ ตรงความต้องการ


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ 

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ศาลอาญาให้ประกันตัว "ปฏิมา" โดยเห็นว่าไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี วางหลักทรัพย์ 50,000 บ. จากกองทุนราษฎรประสงค์

 


ศาลอาญาให้ประกันตัว "ปฏิมา" โดยเห็นว่าไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี วางหลักทรัพย์ 50,000 บ. จากกองทุนราษฎรประสงค์ 


วันนี้ (2 ก.ค. 67) ตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีของ บุ๊ค ธนายุทธ, ปฏิมา และ พรพจน์ กรณีถูกกล่าวหาว่าปาระเบิดปิงปองบริเวณหน้าบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงคืนวันที่ 10 เม.ย. 65


ศาลเห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีนี้คือเกิดหลุมบนสนามหญ้าเท่านั้น จึงเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษหนักเกินไป จึงควรกำหนดใหม่ แก้โทษจำคุกจาก 1 ปี ลดเหลือจำคุก 6 เดือน  


แต่เห็นว่าไม่ควรรอการลงโทษ เนื่องจากการกระทำเป็นการสร้างสถานการณ์ ก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินราชการ


หลังฟังคำพิพากษา นิว ปฏิมาได้ถูกควบคุมตัว ระหว่างยื่นประกันในชั้นฎีกา


ล่าสุดเวลา 15.41 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว "ปฏิมา" ระหว่างฎีกา โดยเห็นว่าไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี ศาลให้วางหลักทรัพย์ประกัน 5 หมื่นบาท โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ และได้รับการปล่อยตัว โดยมีเพื่อนสนิทพร้อมมวลชนรอต้อนรับ


ส่วนพรพจน์นั้นถูกขังระหว่างสอบสวนจนเกินกำหนดโทษดังกล่าวแล้ว จึงไม่ต้องถูกคุมขังอีก ส่วนธนายุทธถูกขังในคดีอื่นอยู่


ในคดีนี้ ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 20 มิ.ย. 2566 โดย ธนายุทธ ณ อยุธยา หรือ “บุ๊ค” ศิลปินแร็ปเปอร์วง Eleven Finger พร้อม ปฏิมา และ พรพจน์ แจ้งกระจ่าง ถูกอัยการสั่งฟ้องในข้อหา “ร่วมกันทำให้เกิดระเบิด, พกพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร” จากเหตุถูกกล่าวหากรณีปาระเบิดปิงปองบริเวณบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงคืนวันที่ 10 เม.ย. 2565


สำหรับคดีนี้ “พรพจน์” ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจในวันที่ 12 เม.ย. 2565 และถูกนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง ภายหลังจากที่ศาลไม่อนุญาตประกันตัว เขาได้ถูกคุมขังจนวันที่ 20 ก.พ. 2566 จึงได้รับการประกันตัว รวมถูกขังไป 315 วัน


ขณะที่ “ปฎิมา” เคยถูกคุมขังภายหลังถูกเชิญสอบปากคำในฐานะพยาน ก่อนตำรวจแจ้งข้อหาและนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขังเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2565 จนได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 65 รวมถูกขังมาแล้ว 47 วัน 


ข้อมูล : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์







มวลชนให้กำลังใจ อานนท์-บุ๊ค-เก็ท ถูกนำตัวกลับเรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังจากถูกเบิกตัวมาศาลในช่วงเช้า

 


มวลชนให้กำลังใจ อานนท์-บุ๊ค-เก็ท ถูกนำตัวกลับเรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังจากถูกเบิกตัวมาศาลในช่วงเช้า 


วันนี้ (2 ก.ค. 67) ช่วงเย็นที่ผ่านมา ณ ศาลอาญารัชดา มวลชลร่วมส่งกำลังใจให้ อานนท์ นำภา เก็ท โสภณ และบุ๊ค ธนายุทธ ขณะถูกนำตัวกลับเรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังจากถูกเบิกตัวมาขึ้นศาล


สำหรับ อานนท์ นำภา ถูกเบิกตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาเป็นทนายในคดีราษฎรอีสาน ชุมนุม 13 ต.ค 63


ด้านเก็ท โสภณ นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ถูกเบิกตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาสืบพยานในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา #มาตรา112 และ พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ จากกรณีปราศรัยในกิจกรรม เหตุจากการปราศรัยในกิจกรรมวันแรงงานสากล #แจกน้ำยาให้หมามันกิน จัดโดยกลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2565 โดย 


ขณะที่ บุ๊ค ธนายุทธ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีของ บุ๊ค ธนายุทธ, ปฏิมา และ พรพจน์ กรณีถูกกล่าวหาว่าปาระเบิดปิงปองบริเวณหน้าบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงคืนวันที่ 10 เม.ย. 65


ศาลเห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีนี้คือเกิดหลุมบนสนามหญ้าเท่านั้น จึงเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษหนักเกินไป จึงควรกำหนดใหม่ แก้โทษจำคุกจาก 1 ปี ลดเหลือจำคุก 6 เดือน  


ด้านทั้ง 3 คน ยังกำลังใจดี กล่าวขอบคุณพี่น้องมวลชนทุก ๆ คนที่มาให้กำลังใจในวันนี้


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #คืนสิทธิประกันตัวประชาชน










พิพากษาจำคุก บุ๊ค-ปฏิมา-พรพจน์ 6 เดือน ถูกกล่าวหาว่าปาระเบิดปิงปองหน้าบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ พรพจน์ถูกขังเกินจำนวนโทษแล้ว ด้านบุ๊ค ถูกขังในคดีอื่นอยู่ ขณะนี้ทำเรื่องประกัน ปฏิมา

 


พิพากษาจำคุก บุ๊ค-ปฏิมา-พรพจน์ 6 เดือน ถูกกล่าวหาว่าปาระเบิดปิงปองหน้าบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ พรพจน์ถูกขังเกินจำนวนโทษแล้ว ด้านบุ๊ค ถูกขังในคดีอื่นอยู่ ขณะนี้ทำเรื่องประกัน ปฏิมา

 

วันนี้ (2 กรกฎาคม 2567) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานผ่าน X ระบุว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีของ บุ๊ค ธนายุทธ, ปฏิมา และ พรพจน์ กรณีถูกกล่าวหาว่าปาระเบิดปิงปองบริเวณหน้าบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงคืนวันที่ 10 เม.ย. 65

 

ศาลเห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีนี้คือเกิดหลุมบนสนามหญ้าเท่านั้น จึงเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษหนักเกินไป จึงควรกำหนดใหม่ แก้โทษจำคุกจาก 1 ปี ลดเหลือจำคุก 6 เดือน

 

แต่เห็นว่าไม่ควรรอการลงโทษ เนื่องจากการกระทำเป็นการสร้างสถานการณ์ ก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินราชการ

 

หลังฟังคำพิพากษา ปฏิมาได้ถูกควบคุมตัว และอยู่ระหว่างยื่นประกันในชั้นฎีกา ส่วนพรพจน์นั้นถูกขังระหว่างสอบสวนจนเกินกำหนดโทษดังกล่าวแล้ว จึงไม่ต้องถูกคุมขังอีก ส่วนธนายุทธถูกขังในคดีอื่นอยู่

 

สำหรับคดีนี้ศูนย์ทนายฯได้ระบุว่าพรพจน์” ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจในวันที่ 12 เม.ย. 2565 และถูกนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง ภายหลังจากที่ศาลไม่อนุญาตประกันตัว เขาได้ถูกคุมขังจนวันที่ 20 ก.พ. 2566 จึงได้รับการประกันตัว รวมถูกขังไป 315 วัน ขณะที่ “ปฏิมา” เคยถูกคุมขังภายหลังถูกเชิญสอบปากคำในฐานะพยาน ก่อนตำรวจแจ้งข้อหาและนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขังเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2565 จนได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 65 รวมถูกขังมาแล้ว 47 วัน

 

อัยการมีคำสั่งฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2565 กล่าวหาว่าจําเลยทั้งสามได้ร่วมกันพาระเบิดปิงปองไม่ทราบขนาดและจำนวน อันเป็นอาวุธตามกฎหมาย ติดตัวไปบริเวณหน้ากองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กมหาดเล็กรักษาพระองค์ อันเป็นในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและร่วมกันกระทำให้ระเบิดปิงปองเกิดการระเบิดขึ้น โดยการโยนระเบิดปิงปองดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดหลุมระเบิดบนสนามหญ้า อันเป็นการร่วมกันกระทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของกองพันทหารราบที่ 1 ผู้เสียหาย

 

คดีนี้มีนัดสืบพยานในช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยในวันที่ 25 เม.ย. 2566 ซึ่งเป็นนัดสืบพยานวันแรก จำเลยทั้งสามได้ตัดสินใจเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพตามข้อกล่าวหา ศาลจึงกำหนดนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 20 มิ.ย. 2566

 

เวลา 10.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาโดยสรุป ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามระยะเวลา 1 ปี ไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221 “ร่วมกันทำให้เกิดระเบิด” และปรับ 500 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เรื่องการพกพาอาวุธไปในเมือง

 

ภายหลังมีคำพิพากษา ทนายความได้ยื่นประกันตัวทั้ง 3 คน โดยศาลอาญามีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาคำสั่งประกันตัว ทำให้พรพจน์และธนายุทธถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่ปฏิมาถูกส่งตัวไปยังทัณฑสถานหญิงกลาง เพื่อรอฟังผลการประกันตัวต่อไป

 

ต่อมาวันที่ 22 มิ.ย. 2566 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวทั้งสามคน โดยใช้หลักทรัพย์คนละ 1 แสนบาท เท่ากับที่เคยวางไว้ในศาลชั้นต้น

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์