วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เป่าเค้ก 92 ปี อภิวัฒน์สยาม พิพิธภัณฑ์สามัญชน ชวน #อ่านออกเสียง อภิสัฒน์สยาม อ่านหนังสือ 2475 โยงเหตุการณ์ปัจจุบันประชาธิปไตยถอยหลัง ย่ำอยู่กับที่ หรือเดินหน้าต่อ

 


เป่าเค้ก 92 ปี อภิวัฒน์สยาม พิพิธภัณฑ์สามัญชน ชวน #อ่านออกเสียง อภิสัฒน์สยาม อ่านหนังสือ 2475 โยงเหตุการณ์ปัจจุบันประชาธิปไตยถอยหลัง ย่ำอยู่กับที่ หรือเดินหน้าต่อ 


เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 ที่อาคาร All Rise สำนักงาน iLaw รัชดา-ลาดพร้าว พิพิธภัณฑ์สามัญชน จัดกิจกรรม ‘อ่านออกเสียง อภิวัฒน์สยาม Reading before the dawn of June 24’ เพื่อร่วมรำลึก 92 ปี แห่งการอภิวัฒน์สยามในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ ผ่านการอ่านออกเสียงหนังสือ และวรรณกรรม ที่แวดล้อมการอภิวัฒน์ 2475


เวลา 16.30 น. ฉายภาพยนตร์ 'ความทรงจำของสามัญชน' ที่ดำเนินเรื่องราว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยภูเขียว หลักฐานการตื่นรู้ร่วมสมัยของคนในพื้นที่ ตั้งอยู่กลางเมืองตั้งแต่ปี 2484 


จากนั้น 17.00 น. เป็นกิจกรรม #อ่านออกเสียง อ่านหนังสือ 2475 อาทิ ราษฎรปฏิวัติ (2565) ณัฐพล ใจจริง, สายธารประวัติศาสตร์ ประชาธิปไตยไทย (2551) สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (รวมเล่ม) (2559) ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล, 2475 ราษฎรพลิกแผ่นดิน (2564) นริศ จรัสจรรยาวงศ์, ราษฎรธิปไตย (2562) ศรัญญู เทพสงเคราะห์, กบฎบวรเดช เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475 (2559) ณัฐพล ใจจริง, ลาก่อนรัฐธรรมนูญ (2522) ศรีบูรพา, สี่แผ่นดิน (2554) มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช


นายอานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ฯให้ความสำคัญเห็นความสำคัญกับวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเราสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ว่าใครจะมีความเห็นว่าชิงสุกก่อนห่ามหรือว่าเป็นเวลาที่สมควรเป็น เรื่องความคิดเห็นที่ยังดีเบตกันได้ทางวิชาการ แล้วก็ทางความเห็นทางการเมือง ก็เป็นเรื่องปกติที่จะถกเถียงกันได้


กิจกรรมนี้จัดวันนี้วันเดียว คือมีนิทรรศการแสดงของสะสมเกี่ยวกับคณะราษฎรที่หายากคือ เหรียญปราบกบฏ และกระดุมฉลองวันชาติ 2484 และเป็นของที่ทำขึ้นมาใหม่ เช่น เสื้อเสียดสี เสื้อล้อการเมือง หนังสือประวัติศาสตร์ 


อย่างไรก็ตาม มองว่างานรำลึกในลักษณะที่เป็นการไปรำลึกก็คงมีคนจัดกันอยู่แล้ว วันนี้พิพิธภัณฑ์สามัญชน ก็เลยอยากจะชวนมาอ่านหนังสือ ด้วยการอ่านออกเสียง 


ทั้งยังมีการบาลานซ์หนังสือที่เล่าจากมุมนิยมเจ้า เช่น เจ้าฟ้าประชาธิปก ราชัญผู้นิราศ ของนายหนหวย ที่มีการวิจารณ์คณะราษฎร, สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ของ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล เป็นมุมมองของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ และงานวิชาการใหม่ ๆ หลายเล่ม” 


นอกจากนี้ก็ยังมีช่วง Talk ชวนอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้าน 2475 ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ และผศ.สิทธารถ ศรีโคตร อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มานั่งพูดคุย โดยผศ.ศรัญญู ผู้เขียน ราษฎรธิปไตย การเมือง อำนาจและทรงจำของ (คณะ) ราษฎร ก็ได้ชวนอาจารย์มาอ่านในเรื่องที่อาจจะโยงกับปัจจุบัน รวมถึงอนุสาวรีย์ที่เกิดขึ้นในยุคคณะราษฎร โดยอ.ศรัณญู ได้ไปสังเกตการณ์ เหตุการณ์ในขณะที่มีการรื้อถอนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เมื่อพฤศจิกายน 2559 ที่เคยอยู่ตรงวงเวียนหลักสี่ อาจารย์ก็จะนำมาเล่าให้


นอกจากนี้ ผศ.สิทธารถ ได้แต่งตัวเต็มยศสมัยคณะราษฎร รวมถึงนำแผ่นเสียงโบราณ แผ่นครั่งเพลงชาติไทย ก็คือเพลงชาติไทยที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้นำมาเปิดให้ฟังในเวอร์ชั่นแผ่นเสียงโบราณ และชวนพูดคุยเกี่ยวกับที่มาที่ไปของเพลงชาติและความสำคัญของเพลงชาติที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 2475 หรือเหตุการณ์หลังจากนั้น นายอานนท์กล่าว 


จากนั้น เป็นกิจกรรมสนทนารำลึก 2475 กับ ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ และผศ.สิทธารถ ศรีโคตร อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อนที่จะร่วมเป่าเค้ก 92 ปี วันอภิวัฒน์สยาม (ล่วงหน้า) และยุติกิจกรรมในเวลา 19.10 น. 


ติดตามบรรยากาศทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/share/v/AC2Ud3YjQ4vHMeSx/?mibextid=oFDknk

และ

https://www.youtube.com/live/FsiJc3MsLaM?si=l99Lm_x0iT-5TALr


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #92ปีอภิวัฒน์สยาม