ยูดีดีนิวส์ : 21 พ.ค. 63 ในการกล่าวรำลึก 10 ปี เหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เมษา - พฤษภา 53 ที่ห้องประชุมศูนย์ข่าวยูดีดีนิวส์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น นอกจากจะมีอดีตแกนนำนปช.ในปี 53 มากล่าวแล้ว ยังมีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหมู่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย นั้นก็คือ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ "จ่านิว" นั่นเอง
ซึ่งสิรวิชญ์ได้เล่าเรื่องราวในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้นว่าตนทำอะไรอยู่ และขณะนี้คิดเห็นอย่างไร โดยมีความว่า
สวัสดีพ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกท่าน
ในวันนี้ครบรอบเหตุการณ์ 10 ปีพอดี ความจริงผมเองอาจจะไม่ได้เตรียมอะไรมาพูดมากนัก
10 ปี จะว่านานก็นาน จะว่าไม่นานมันก็ไม่นานนะครับ 10
ปีนี่คือการที่เปลี่ยนจากช่วงชีวิตคนคนหนึ่ง อย่างผมตอนนั้นผมอายุ 18 วันนี้ก็จะ
28 ก็อายุทุกท่านก็ล่วงเลยมาเหมือนกัน
ในวันนั้นในช่วง
เมษา – พฤษภา ปี 2553 ตอนนั้นก็เป็นช่วงปิดเทอม ผมก็ทำงานอยู่แถวศูนย์สิริกิติ์
หลังเลิกงานก็ได้มีแว๊บ ๆ มาฟังปราศรัยบ้าง
เพราะกะเวลารถเมล์คันสุดท้ายจะหมดก็กลับบ้าน อาจจะไม่ได้อยู่ประจำเวที
บางวันแกนนำที่อยากจะฟังไม่มา แต่รถเมล์คันสุดท้ายเรามาก็ต้องกลับก่อน เราก็ไป
ตอนนั้นก็ยอมรับว่าไปโดยที่เราก็ไม่คิดว่า...เอาน่ามันยุคใหม่สมัยนี้แล้ว
มันไม่มีใครมาไล่ยิงไล่ฆ่าฟาดฟันประชาชน ก็ไปด้วยความคิดแบบนั้น
เราก็ไม่คิดจนกระทั่งเมื่อก่อนก็จะนั่งรถจากคลองเตยก็จะนั่งรถเมล์สาย
47 กันไป ในวันนี้กำลังรอรถเมล์ช่วงเมษาที่ราชดำเนิน
สักพักหนึ่งกระเป๋ารถเมล์บอกว่ารถเมล์ไปไม่ถึงแล้ว ไม่ต้องไปแล้ว เขายิงกันตูมตาม
ๆ จะไปให้เขายิงเหรอ วันนั้นก็เลยไม่ได้ไป ก็เลยต้องกลับ พอช่วงที่มีเวทีราชประสงค์ก็แวะไปบ้าง
ช่วงนั้นก็ต้องเดินไป แต่ว่าช่วงท้าย ๆ ของเหตุการณ์ก็ไม่ได้เข้าไปแถวนั้นเลย
เนื่องจากตอนนั้นเริ่มมีการปิดพื้นที่กันระดับหนึ่ง
ช่วงนั้นก็ได้แต่ติดตามสถานการณ์
แล้วก็รับรู้ว่ามันมีความพยายามสร้างทั้งความหวาดกลัว
สร้างทั้งความเกลียดชัง จนผมเองก็ไม่เคยคิดว่าการที่เรามีทั้งรัฐบาล
โอเตผมก็ไม่ได้เป็นคนที่ ก็เหมือนทุกท่าน เราก็ไม่โอเค
เราก็เอือมระอากับรัฐบาลในตอนนั้น และเราก็เห็นอีกอย่างหนึ่งว่ารัฐบาลกับกองทัพซึ่งเราก็คอยเสียภาษีอากรให้เขามาทำหน้าที่ในการดูแล
บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้ประชาชน กลายเป็นว่าเขาจะนำเม็ดเงินภาษีนั้นมาทั้งสร้างความเกลียดชังและนำมาเข่นฆ่าประชาชน
โอเคครับมันไม่แปลกในประวัติโลกการต่อสู้ทางการเมืองย่อมมีการบาดเจ็บล้มตายกันเสมอ
แต่เราอยู่ในยุคที่เราบอกว่าเราเห็นประวัติศาสตร์เหล่านั้นมาแล้ว
แต่คนจำนวนหนึ่งนั้นเขาก็ยังเลือกที่จะใช้วิธีการแบบนี้
แม้กระทั่งในยุคสมัยที่ในตอนนั้นอาจจะไม่มีโซเชียลมีเดียว เฟสบุ๊ค
อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้
แต่ภาพที่มันเห็นมันก็ย่อมจะค้านกับสายตากับสิ่งที่เราคาดหวังว่า
โลกมนุษย์ในยุคปัจจุบันการเข่นฆ่ามันต้องไม่เกิดขึ้นแล้ว การเข่นฆ่าเพราะความเห็นต่าง
การเข่นฆ่าเพราะความแตกต่างทางการเมือง มันทำไมถึงเกิดขึ้น
นี่คือสิ่งที่เราเห็นมาโดยตลอด
แล้วเราก็ไม่รู้ว่าท้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยยุคสมัย
จะเรียกว่าสมัยใหม่ก็ได้ หรือสมัยปัจจุบันก็ได้ เพราะ 10 ปีเองถ้าเทียบในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์โลก ก็ไม่ได้ยาวนาน แต่กลายเป็นว่าเราต้องมาพบเจอกับเหตุการณ์ที่คล้าย
ๆ กับเหตุการณ์การสังหารประชาชนกลางเมืองอย่างนี้
และท้ายที่สุด
คนเหล่านี้นอกจากจะใช้ความโหดเหี้ยมอำมหิต ยังใช้ความเกลียดชัง คล้าย ๆ
กับเป็นการฆ่าประชาชนทางอ้อมให้เกิดความแตกแยก การแบ่งฝั่งอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้
และมันก็ทำให้คนจำนวนหนึ่งหน้ามืดมนตาบอดในการที่จะไม่รับรู้รับทราบความจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
และจะเชื่อแต่ในความจริงที่ถูกกรอกมา แล้วก็จะเกลียดชังคนอื่นต่อไป
ผมคิดว่าผมเองก็พยายามจะบอกว่าสังคมไทยคงจะต้องหาโอกาสในการก้าวผ่านความขัดแย้งในลักษณะนี้
จุดเริ่มต้นของการทำลายล้างฟาดฟันทางการเมืองขนาดใหญ่อย่างที่เกิดขึ้นอย่างในรวันดามันใช้เวลาบ่มเพาะกัน
20 ปีนะครับ เท่ากับ 10 ปีของประเทศไทยหรือ 13 ปี จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของเรามันยังแค่ครึ่งหนึ่งของการก่อระยะไปสู่การสร้างความขัดแย้งทางการเมืองขนาดใหญ่
ผมคิดว่ากับพวกเรากันเอง
ผมว่าพวกเรารู้กันอยู่แล้วว่าสิ่งที่เราควรจะทำคืออะไร
ในการที่จะเรียกร้องประชาธิปไตย
มีคนถามว่าเหตุใด
ในฐานะตอนนั้นผมเองก็เหมือนกับคนทำงานแล้วก็เหมือนคนใช้แรงงาน
แล้วรู้ว่าการที่เราจะออกมาเรียกร้องเราต้องออกมาเรียกร้องในฐานะสิทธิของประชาชน
เพราะท้ายที่สุดก็ต้องย้อนกลับมามองที่ตัวเรา เราก็คือประชาชน เหตุใดเราต้องไปเรียกร้องสิทธิให้กับพวกอภิสิทธิ์ชน คำว่า “คนดี”
ที่เขาว่านั้นมันก็คืออภิสิทธิ์ชนที่ไม่ต้องการการตรวจสอบ ไม่ต้องการถูกตรวจสอบ
และเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ทำชั่วได้โดยที่ลอยนวล ลอยหน้าลอยตา
และมีอำนาจอยู่ได้ทุกวันนี้ครับ นี่แหละครับคือ “คนดี” ของพวกเขา
ผมคิดว่าพวกเราเองคงต้องช่วยกัน
วินาทีนี้ผมว่าคงต้องช่วยกันที่จะดึงคนจำนวนนี้ออกมาจากวาทกรรม “คนดี” แบบนั้น “คนดี”
ต้องไม่ใช่แบบนั้น “คนดี” ต้องไม่ใช่ความหมายแคบแบบที่พวกเขาสร้างขึ้นมา
และเราก็ไม่ใช่ “คนเลว” เราเรียกร้องสิทธิของเรา เราต้องการให้สิทธินี้สำหรับทุกคน
ถ้าพูดกันอย่างแฟร์
ๆ เหตุการณ์วันนั้นข้อเรียกร้องที่เรียกร้องกันเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมพูดตรง ๆ
นะครับ แม้กระทั่งฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองที่แสดงความเกลียดชังต่อทุกท่าน
สุดท้ายเขาก็ได้สิทธิได้เสียงนั้นด้วย
นี่แหละครับคือความไม่ตระหนักรู้ของพวกเขาที่จะสร้างความขัดแย้ง ความรุนแรง
และเขาก็ยังย้อนกลับมาที่จะทำลายกระบวนการประชาธิปไตยต่อไป จากที่ล้มลุกคลุกคลานอยู่
มันก็ยิ่งกว่าล้มลุกคลุกคลาน
เหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา
ก็พยายามจะบอกกับบางคนที่ไม่ได้ผ่านเหตุการณ์ว่า “เราไม่ควรจะลืม”
อย่างน้อยก็ต้องไม่ลืมว่าฝั่งที่ไม่ต้องการประชาธิปไตยนั้น
เขามีความโหดเหี้ยมอำมหิต รุนแรง จนกระทั่งผมเองก็ต้องมาเจอกับตัวเองอยู่หลายครั้ง
ไม่น้อย ซึ่งเราก็ต้องเฝ้าระวัง และเราก็ต้องรู้สรุปว่าจุดยืนของเราต้องหนักแน่น
เพื่อไม่ให้สิ่งที่วีรชนเหล่านั้นสูญเปล่าไป ผมเชื่อว่าลึก ๆ
คงไม่มีใครอยากจะต้องมาตายทางการเมือง ทุกคนก็อยากจะเห็น
อยากจะอยู่ได้เห็นการที่บ้านเมืองของเราได้เป็นประชาธิปไตย
เราก็อยากจะเห็นในวันนั้น แต่บางคนเขาไม่มีโอกาสได้เห็นแล้ว
ฉะนั้นสิ่งที่พวกเราต้องทำต่อไปนั่นก็คือ
ทำความฝัน ความต้องการของเขาให้ลุล่วง แม้ว่ามันจะยาวนาน
ในหลายที่ทั่วโลกการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชนนั้นใช้เวลาร่วมเกือบร้อยปี
แต่ผมคิดว่าสังคมไทยคงไม่ต้องใช้เวลาเป็นร้อยปี เรามีบทเรียน เราเรียนรู้
เราเจ็บปวดกันมาพอสมควรแล้ว มากเลยละครับไม่พอสมควรเลย
ผมคิดว่าหลังจากนี้ต่อไปคนทั้งสังคมไทยเองจะต้องมองอยู่ที่หลักการ
อยู่ที่ข้อเรียกร้อง ความจริงข้อเรียกร้องคนเสื้อแดงก็อยู่บนฐานของระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยซะด้วยซ้ำ
นั่นคือรูปแบบ แต่กลายเป็นว่าในวันนี้เราถูกสร้าง ผมเองก็ถูกตีกระแสว่าเป็นฝ่ายโน้น
ฝ่ายอะไรต่าง ๆ นานา ซึ่งก็เข้าใจว่านี่คือสิ่งที่เราถูกกระทำ
ดังนั้นผมคิดว่าสิ่งหนึ่งคือเราต้องทำให้คนในสังคมต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของการใช้ข้อมูลเท็จโจมตีเรา
และในการสร้างความเกลียดชัง ซึ่งถ้าสังคมไทยยังมีการสร้างความเกลียดชังจากฝ่ายผู้มีอำนาจอยู่อย่างทุกวันนี้
ท้ายที่สุดเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษา
พฤษภา ปี 53 จะไม่เป็นครั้งสุดท้ายแน่ ๆ ซึ่งเราก็ไม่อยากจะให้เกิด
หลายท่านก็อยู่ในเหตุการณ์วันนั้น รู้ว่ามันเจ็บปวดรวดร้าวขนาดไหน
ญาติพี่น้องที่ต้องสูญเสียไปแต่ละวันแต่ละวินาทีมันเจ็บปวดยังไง แม้ว่าหลายคนอาจจะบอกว่าเราทำได้แค่การรำลึก...หรือเปล่า?
มีคนบอกผมว่าเธอจะมารำลึกทำไม
10 ปีแล้ว ก็ยังจับใครไม่ได้
ผมบอกไม่ต้องกลัวครับ
ฆาตกรมันลอยนวลอยู่ในทำเนียบรัฐบาลตั้งหลายตัว!!!
เรารู้ตัวแล้วครับ
ดังนั้นผมคิดว่าการรำลึกนี่แหละครับจะทำให้คนที่สูญเสียยังมีตัวตนอยู่
และผมก็คิดว่าอย่างน้อยเราก็ทำให้เขาไม่สูญสลายไปในสายลมอย่างเช่นหลายเหตุการณ์การสูญเสีย
การถูกทำลายล้าง ถูกฆ่าฟันกันในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลายเหตุการณ์ “ถูกทำให้ลืม”
และที่สำคัญเราต้องทำให้เหตุการณ์นี้ “ไม่ถูกลืม” และต้องถูกเป็นที่จดจำ
ในหลายที่แม้ต้องใช้เวลาตามตัวฆาตกรที่เห็นอยู่เป็น
ๆ 30, 40 ปี เราก็ต้องทำ อย่างเช่นชัยชนะของคนในเมืองกวางจูที่เกาหลีใต้
ในตอนแรกเขาก็มองว่าเป็นความพ่ายแพ้ที่เขาต้องถูกรัฐบาลปราบปราม ถูกจับกุม
สุดท้ายสิ่งที่เขาทำนั่นก็คือการพยายามที่จะรำลึกและพูดถึงไม่หายไป
ผมคิดว่าสิ่งนี้ทุกท่านก็ช่วยกันทำมา และเราก็ต้องมีภารกิจตั้งว่าความเป็นธรรมจะต้องได้
คนที่ทำต้องถูกลงโทษ มิฉะนั้นเหตุการณ์เหล่านั้นก็จะเวียนมาอีก
ก็ขอแสดงความรำลึกถึงผู้ต่อสู้
ทั้งวีรชนที่ได้ล่วงลับไปแล้ว และวีรชนที่ยังมีลมหายใจ ที่จะช่วยกันต่อสู้และทำให้สิ่งสำคัญที่ผมและหลายท่านที่เรายังออกมาทำกันอยู่
เรายังยืนหยัดอยู่ตรงนี้ เราไม่ต้องการทำให้สิทธิของประชาชนมันสูญหายไป และทำให้รู้ว่า
“ประชาชนฆ่าได้แต่หยามไม่ได้” และประชาชนที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไข
แม้จะตายแต่จิตวิญญาณของประชาชนยังอยู่ ขอบคุณครับ สิรวิชญ์กล่าวในตอนท้าย.