หลังจากคอป.
ซึ่งมีนายคณิต ณ นคร เป็นประธานกรรมการ ได้เผยแพร่
รายงานฉบับสมบูรณ์
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ
(คอป.)
กรกฎาคม
2553 - กรกฎาคม 2555
ฉบับเต็มดูที่
http://www.thaipublica.org/…/Final-Report-TRCT_17-9-12_2.pdf
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. (ในขณะนั้น) ได้ออกหนังสือฉบับที่ 1 โต้รายงาน คอป.
โดยเบื้องต้นพบว่า
รายงานของคอป.ฉบับนี้เต็มไปด้วยอคติและการเกลียดชังคนเสื้อแดงและซ่อนระหว่างบรรทัดโจมตีคุณทักษิณ ชินวัตรว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทั้งปวง
พยายามสร้างความชอบธรรมให้กับอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ, สุเทพ เทือกสุบรรณ
ในการใช้การทหารระดับรุนแรงสูงสุดต่อประชาชนและจงใจลดความน่าเชื่อถือในขบวนการต่อสู้ของประชาชนที่ใช้สันติวิธีในการต่อสู้แท้จริง
#10ปีพฤษภา53
#10ปีพฤษภา53ถามหาฆาตกร
สำหรับข้อโต้แย้งประเด็นต่าง ๆ ในจดหมายมีรายละเอียดดังนี้
ความเห็นต่อรายงานคอป.
และองค์กรคอป. (ฉบับที่ 1)
การก่อตั้งคอป.
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อส่งเสริมให้เกิดความปรองดองแห่งชาติ (Truth
for reconciliation commission Thailand) เริ่มจาก 8 มิถุนายน 2553
ในเวลาหลังปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนหมาด ๆ
เลือดยังไม่ทันแห้ง
แล้วเริ่มต้นได้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2553 – 16 กรกฎาคม 2555
2
ปีแห่งการค้นคว้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามชื่อคณะกรรมการ กล่าวได้ว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง มิหนำซ้ำยังเป็นเหตุแห่งความร้าวฉานรอบใหม่ด้วยเมื่อได้ฟังและอ่านรายงานทั้งหมดของคอป.
ความผิดพลาดแรกที่ทำให้คณะกรรมการนี้ไม่อาจบรรลุเป้าหมมายที่ดีได้มาจากจุดเริ่มต้นของคณะกรรมการ
1. การก่อตั้งคอป.
ในเวลาที่ผู้ปราบปรามประชาชนเป็นรัฐบาล
เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งเอง
นี่ไม่ชอบด้วยหลักการแห่งการก่อตั้ง TRC
ของสากล
เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ปราบปรามประชาชนจะตั้งคณะกรรมการที่จะมาลงโทษตนเอง
คณิต ณ นคร
มีประวัติออกจากพรรคไทยรับไทยในระยะเริ่มต้น
แน่นอนต้องไม่แยกจากไปด้วยความรักแน่นอน
ต่อมายังเป็นประธานคตน. (คณะ กรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความ เสียหายต่อชีวิต
ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน)
ที่ตั้งขึ้นในยุครัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์
จุลานนท์และคตน. ก็ได้ชี้ไว้ในรายงานการศึกษาเบื้องต้นว่า น่าเชื่อว่ารัฐบาลทักษิณมีความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
(Crime against Humanity) ได้เกิดขึ้น เผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้อาศัยรายงานนี้ฟ้องร้องต่อ ICC อ.คณิต ณ นครได้อาศัยรายงานคอป.
แสดงทัศนะโต้แย้งดร.เฉลิม
อยู่บำรุงที่ออกรายการเมื่อ 30 มิถุนายน 2555
และอ้างว่าชี้แจงความจริงในหนังสือคอป. 385/2555 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555
และชี้แจงไปยังนายกรัฐมนตรีด้วยตามหนังสือคอป.386/2555 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555
นี่แม้แต่รายงานคอป.ฉบับนี้ยังบันทึกข้อโต้แย้งลงไป แสดงถึงทัศนคติด้านลบต่ออดีตนายกทักษิณ ชินวัตร
และแสดงถึงการนำความคิดส่วนตนมาปนในรายงานคอป.ฉบับนี้
นอกจากนั้นยังอ้างความคิดเห็นส่วนตนที่ได้ให้สัมภาษณ์มาหลายครั้งเกี่ยวกับปัญหาที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญละเมิดหลักนิติธรรม ในกรณีคดีที่พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ถูกกล่าวหาทำผิดมาตรา 295 ในรัฐธรรมนูญ 2540
คดีที่เรียกกันว่า “ซุกหุ้น” ว่าเป็นสาเหตุแห่งปัญหาประเทศที่ไม่ลงโทษพ.ต.ท.
ดร.ทักษิณว่าเป็นผู้ผิด
และได้เคยระบุไว้ว่าดร.ทักษิณต้องเสียสละไม่กลับประเทศ เพียงเท่านี้ก็แสดงถึงทัศนคติด้านลบและเลือกข้างชัดเจน ไม่สมควรที่จะอยู่ในฐานะประธานคอป. การพยายามเดินสายเจรจากับแกนนำคนเสื้อแดงและคนในพรรคเพื่อไทย
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่ายเพื่อให้การทำงานได้ราบรื่น
เมื่อพูดถึงประธานคอป.
ก็จำเป็นต้องพูดถึงประธานอนุกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริง สมชาย
หอมลออ เป็นที่ชัดเจนว่าได้แสดงความเห็นอยู่ในกลุ่มของผู้ไม่คัดค้านรัฐประหาร อาจมีเครดิตดีในฐานะทำงาน NGO ระหว่างประเทศซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกับ
NGO ทั่วไป
และปัญญาชนทั่วไปที่มีความเกลียดชังคุณทักษิณในฐานะ “ทุนสามานย์”
และละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอ้างคดี “ฆ่าตัดตอน” 2,500 คน อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเกิดขึ้นของคอป.
ในยุคผู้ปราบปรามประชาชนมีอำนาจและเป็นผู้แต่งตั้ง ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ผิดพลาด เพราะโดยทั่วไปคณะคอป.หรือ TRC
ในโลกนี้ล้วนเกิดขึ้นในระยะเวลาที่ฝ่ายประชาชนผู้ถูกกระทำได้อำนาจรัฐแท้จริง จึงจะเกิดคอป.หรือ TRC
ที่สามารถค้นคว้าความจริงเพื่อประชาชนได้
หาไม่ก็จะเป็นคอป. ที่บิดเบือนความจริง
ทำให้ความจริงพร่ามัวหรือสร้างความชอบธรรมในการปราบปรามประชาชน
2. ไม่ได้เริ่มต้นจากความเป็นจริงทางภาวะวิสัย ไม่ได้เริ่มจากการตาย การบาดเจ็บของประชาชน แต่เริ่มด้วยความเชื่อว่าการชุมนุมของประชาชนไม่ชอบธรรม มีความรุนแรง
มีการใช้อาวุธ มีชายชุดดำ ข้อมูลที่นำมาอ้างถึงจึงเป็นไปเพื่อสนับสนุนความเชื่อนี้เพราะความจริงทางภาวะวิสัยมีหนึ่งเดียว
แต่คอป.ทำความเชื่อของตนและศอฉ.ให้กลายเป็นความจริง
3. การกำหนดยุทธศาสตร์
4 มิติ
3.1 Truth
seeking การตรวจสอบค้นหาความจริงในประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในห้วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
2553
รวมถึงประเด็นจากเหตุปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
3.2 การเยียวยาฟื้นฟู
3.3
การศึกษาวิสัยรากหญ้าปัญหาความขัดแย้ง
3.4
การสร้างความปรองดอง
เราเห็นว่าสอบไม่ผ่าน
ไม่มีหลักการในกระบวนการค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง น่าตำหนิที่สุด
โดยเน้นความเชื่อว่าผู้ชุมนุมมีการใช้อาวุธและมีชายชุดดำ
ใช้ข้อมูลที่ไม่อาจอ้างที่มาและอ้างผู้สังเกตุการณ์ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ทหารเป็นด้านหลัก ไม่มีหลักการ (Methodology) แบ่งประเภทที่มาของข้อมูล
ให้ข้อมูลรอบด้าน
ไม่มีการวางลำดับชั้นความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น ฝ่ายทหารและฝ่ายผู้ชุมนุมในแต่ละเหตุการณ์ จำนวนมากใช้ข้อมูลศอฉ. และเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะขัดแย้งกับการสืบสวนสอบสวน ประจักษ์พยานวัตถุพยานที่แสดงให้เห็นชัดในคำวินิจฉัยศาลกรณีนายพัน คำกอง
ซึ่งชัดเจนว่ามีการยิงจากทหารโดยไม่มีชายชุดดำ ไม่มีการต่อสู้ของผู้ชุมนุม (ไม่มีผู้ชุมนุมด้วยซ้ำในจุดนั้น) ในวันที่ 14 บริเวณราชปรารภ
4. อคติแห่งเนื้อหา ในรายงานเสนอด้านลบของผู้ชุมนุมทั้งสิ้น ไม่มีการนำเสนอด้านบวก ด้านการตั้งองค์กรนปช.
แนวทางนโยบายเป็นสันติวิธี
และการขอโทษเมื่อมีความผิดพลาด
การคืนอาวุธให้เจ้าหน้าที่
การตรวจสอบจับกุมผู้ติดอาวุธเข้าในที่ชุมนุม การปฏิบัติผ่อนปรนให้กับข้อเรียกร้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับพื้นที่การชุมนุมและกาiจราจร ยอมถอยจากหน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลายอย่างถูกบิดเบือน เอาคำปราศรัยในเวลาต่าง ๆ
กันมานำเสนอในความรุนแรง แต่ที่พูด 99% เรื่องดี ๆ ไม่นำเสนอ
เบื้องต้นเพียงย่อ
ๆ
แค่นี้ก็จะเห็นว่ารายงานของคอป.ฉบับนี้เต็มไปด้วยอคติและการเกลียดชังคนเสื้อแดงและซ่อนระหว่างบรรทัดโจมตีคุณทักษิณ ชินวัตรว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทั้งปวง แม้จะมีคำแนะนำดี ๆ บ้างก็ตาม
ก็ถูกลบไปด้วยรายงานแห่งอคติที่พยายามสร้างความชอบธรรมให้กับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,
สุเทพ เทือกสุบรรณ
ในการใช้การทหารระดับรุนแรงสูงสุดต่อประชาชนและจงใจลดความน่าเชื่อถือในขบวนการต่อสู้ของประชาชนที่ใช้สันติวิธีในการต่อสู้แท้จริง คดี 98 ศพและผู้บาดเจ็บ 2,000
คนจะฟ้องร้องคอป.ต่อสาธารณชนได้ในไม่ช้านี้
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
ประธานนปช.(แดงทั้งแผ่นดิน)
19 กันยายน 2555