วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เลขา กกต . พอใจภาพรวมการเลือก สว. ระดับประเทศ รอบแรกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยอมรับใช้เวลามากกว่าที่คาดไว้เนื่องจาก ต้องผ่านคะแนน ถึง 10 ครั้ง ต่อ 1 ใบ คาดรอบบ่ายเสร็จไม่เกิน 2 ทุ่ม

 


เลขา กกต . พอใจภาพรวมการเลือก สว. ระดับประเทศ รอบแรกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยอมรับ ใช้เวลามากกว่าที่คาดไว้เนื่องจาก ต้องผ่านคะแนน ถึง 10 ครั้ง ต่อ 1 ใบ คาดรอบบ่ายเสร็จไม่เกิน 2 ทุ่ม


วันที่ 26 มิถุนายน 2567 นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง แถลงภาพรวมการเลือก สว.ระดับประเทศในรอบแรกว่า ขอขอบคุณผู้มีสิทธิ์ทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือเป็นไปด้วยดี มีผู้สังเกตุการจากเอกชน สถานทูต ผู้ตรวจการเลือกตั้งจากทุกกลุ่ม มาดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในทุกกลุ่มมีกล้องวงจรปิดเพื่อบันทึกเหตุการณ์ ซึ่งหากผู้สมัครไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอาจไปใช้สิทธิ์ในช่องทางอื่นนอกเหนือจากนี้ได้


ส่วนที่การเลือกต้องใช้เวลางานเนื่องจากบัตรลงคะแนน 1 บัตรต้องมีการอ่านคะแนนทั้งหมด 10 ครั้ง จึงใช้เวลามากพอสมควร เลยเวลาที่ประเมินไว้ สำหรับการเลือกในภาคฝ่ายจากการประเมินคาดว่าจะสามารถเสร็จสิ้นได้ในเวลา 20:00 น เนื่องจากแต่ละกลุ่มมีผู้ลงคะแนนทั้งหมด 40 คนและลงคะแนนได้ 5 คะแนน แต่อาจจะใช้เวลาในการขานคะแนนซึ่งสามารถทักท้วงได้ตามสิทธิ์ของแต่ละท่าน แต่พบว่ามีการทักท้วงหลังจากที่มีการนับคะแนนไปแล้วซึ่งทาง กกต.ได้มีการบันทึกไว้และให้ผู้สมัครสามารถไปเช็คสิทธิ์ในช่องทางศาลได้


ผู้สื่อข่าวจึงสอบถาม ถึงการถ่ายทอดภาพกล้องวงจรปิดภายในสถานที่การคัดเลือก ซึ่งมีการตัดภาพสลับกล้องไปมาและไม่ได้ยินเสียงกระบวนการคัดเลือกภายใน ทำให้ไม่สามารถติดตามสถานการณ์ได้อย่างสะดวก รวมถึงการติดประกาศรายชื่อผู้ผ่านการเลือกในรอบแรกซึ่งติดบนบอร์ดในห้อง สถานที่การเลือกทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถมองเห็นได้ นายแสวง กล่าวว่า การติดประกาศรายชื่อนั้นเป็นการประกาศโดยทั่วไปและติดในสถานที่ ที่ทำการเลือกจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ในส่วนของกล้องวงจรปิดได้ติดตั้งไว้เพื่อคุ้มครองผู้สมัครและเจ้าหน้าที่ หากผู้มีสิทธิ์ได้ยื่นคำร้องต่อศาล ศาลจะมีการไต่สวนและได้เรียกภาพวงจรปิดเป็นหลักฐานซึ่งจะมีทั้งภาพและเสียง ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และใช้เป็นหลักฐานมาโดยตลอด เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ส่วนการถ่ายทอดออกมาภายนอกสถานที่เลือก เจตนาเพื่อให้เห็นภาพบรรยากาศภายในเท่านั้น


นอกจากนี้สื่อมวลชนได้สอบถามถึงกรณีที่มีผู้สมัครบางกลุ่มแต่งตัวคล้ายกัน ซึ่งไม่มั่นใจว่ามีการนัดแนะกันหรือไม่ ซึ่งเลขาธิการกกต. เคยบอกไว้ว่าหากพบว่ามีหลักฐานการทุจริต แล้วจะไปสอยที่หลังอ้างอิงกฎหมายอะไร นายแสวง กล่าวว่าการแต่งกาย เหมือนกับวันสมัครบางคนมาจากหมู่บ้านเดียวกันบริษัทเดียวกันจึงแต่งการคล้ายกัน จึงยังไม่มีความผิดส่วนจะมีความผิดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง พร้อมยกตัวอย่างในกรณีผู้สมัครเรียนนัดพบกันที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ที่ทางเจ้าหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบว่าใครเป็นคนจองสถานที่จ่ายค่าอาหารค่าโรงแรม ซึ่งเชื่อว่า ทางโรงแรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหากพบว่ามีการจัดเลี้ยงหรือให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย ตรงไหนมาตรา 60 กำหนดไว้ว่าหากประกาศผลการเลือกไปแล้วพบว่ามีผู้สมัคร คนใดทำให้การเลือกเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม จะต้องส่งเรื่องต่อศาลฎีกา ซึ่งหากศาลรับ เรื่องไว้แล้วจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #สว67