‘เพื่อไทย’ ยันการแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.บางแบบ ขัด กม. เป็นการแบ่งเขตแบบ ‘พิลึกพิลั่น’ ยันเพื่อไทยพร้อมสู้ทุกกติกาเพื่อประชาชน
วันที่
14 มีนาคม 2566 เวลา 10.30 น. พรรคเพื่อไทยแถลงข่าว การแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.
ในเขตพื้นที่ กทม.โดยนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาคกรุงเทพมหานคร (กทม.)
พรรคเพื่อไทย,
น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย ,
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.เขตคลองสามวา พรรคเพื่อไทย
ร่วมแถลงข่าว
นายวิชาญ
มีนชัยนันท์ ประธานภาค กทม.พรรคเพื่อไทย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม 33 เขต เป็นที่จับจ้องของทุกพรรคการเมือง
ดังนั้นพื้นที่การแบ่งเขตต้องคำนึงถึงกฎหมาย ตาม พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส.ปี 2561
มาตรา 29 ที่ต้องคำนึงถึงการยึดเขตปกครองเป็นหลัก
ต้องยึดโยงในการเดินทางให้ความสะดวกกับประชาชนมากที่สุด รวมถึงต้องแบ่งเขต
ที่ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
จะต้องไม่สร้างความสับสนให้กับประชาชน แบบที่ 1 เป็นแบบที่เหมาะสม ทั้งนี้ครั้งที่แล้วเพื่อไทยได้ท้วงติง
กกต.ไปแล้ว โดยยืนยันว่าแบบที่ 1 และ 2 จะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เป็นเขตเลือกตั้งร่วมอำเภอต่างๆเป็นเขตเลือกตั้ง ไม่ได้คำนึงถึงประชากร
ยกตัวอย่างกรณีเขตมีนบุรี เขตฝั่งธนบุรี
ทำให้เกณฑ์ประชากรการเลือกตั้งมีความสับสนวุ่นวาย
เขตเดียวแต่มีการแบ่งแขวง ส.ส.
และประชาชนไม่ได้อะไร ซึ่งจะสร้างความสับสนให้กับผู้อำนวยการเขต ข้าราชการ
ที่จะต้องไปดูแลในพื้นที่การเลือกตั้งด้วย
ซึ่งจะสร้างความสับสนให้กับผู้อำนวยการเขต ข้าราชการ
ที่จะต้องไปดูแลในพื้นที่การเลือกตั้งด้วย
“การจัดแบบนี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น
จะทำให้บัตรเสียเยอะที่สุด การแบ่งเขตแบบที่ 1-2
หากมีคนไปร้องเรียนแล้วประกาศผลการเลือกตั้งไม่ได้ การเลือกตั้งอาจจะกลายเป็นโมฆะ
ถ้าเกิดเช่นนี้ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งจะรับผิดชอบอย่างไร” นายวิชาญ
กล่าวทิ้งท้าย
นายจิรายุ
ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.เขตคลองสามวา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า
พรรคเพื่อไทยไม่ได้ไปตีตนไปก่อนไข้ แต่เป็นการให้ข้อสังเกตต่อ กกต.
ที่จะออกกฎระเบียบหลังจากนี้ ตนยกตัวอย่างเขตคลองสามวามี 5 แขวง วันนี้ 2
แขวงถูกผลักไปที่เขตหนองจอก
ทั้งนี้การคิดคำนวณหน่วยเลือกตั้ง และการนับคะแนนหน่วยเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะนับคะแนนที่ใด
นอกจากนี้กรณีบัตรเสียจะเกิดปัญหาอย่างมาก จะเป็นการตัดสิทธิ์พี่น้องประชาชน
พรรคเพื่อไทยพร้อมลงในสนาม แม้เราเคยโดนความไม่สะดวกในกติการการเลือกตั้งมาตลอด 15
ปี
ที่ผ่านมาการเลือกผู้แทนราษฎร
ไม่มีเหตุผลกลใดที่จะต้องเปลี่ยนแปลงมากไปกว่านี้
ฝากไปถึง กกต. หากประกาศเป็นเช่นนั้นจริง
ขอให้ได้ประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน และเน้นย้ำข้าราชการ ตำรวจ
หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน
“พรรคเพื่อไทยพร้อม
ไม่ว่าท่านจะมัดมือ มัดแขน ปิดหู ปิดตา ล่ามโซ่เอาไว้ เราจะไปยืนในที่สว่าง
ให้กับพี่น้องประชาชนใน กทม.เลือกทั้ง 33 เขต” นายจิรายุ กล่าวทิ้งท้าย
น.ส.ธีรรัตน์
สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า
เป็นความกังวลใจของผู้ที่ทำงานทางการเมืองส่งไปถึง กกต. กทม. ที่มีการแบ่งเขตการเลือกตั้งของกรุงเทพ
4 แบบ โดย กกต. เลือกแบบที่ 1 จาก 6 แบบ
ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยได้แสดงความคิดเห็นและพรรคการเมืองอื่นได้ส่งความคิดเห็นไป
กกต. ให้เลือกแบบที่เหมาะสม และเป็นธรรมมากที่สุด
ล่าสุด กกต. ได้ออกแบบมาใหม่อีก 4 แบบ ถือเป็นกระบวนการที่อาจไม่ชอบมาพากล เป็นการแบ่งเขตแบบพิลึกพิลั่น หลักการแบ่งเขตควรจะเป็นไปตาม พ.ร.ป.เลือกตั้ง
ส.ส. ปี 2561 ตามมาตรา 29 ที่การแบ่งเขต จะต้องเป็นการรวมเขตที่เป็นเขตใหญ่ๆ
เข้าด้วยกัน ยึดหลักการมีพื้นที่ติดต่อกัน
เพื่อที่จะให้เกิดความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วย ไม่ใช่การรวมแขวงเข้าด้วยกัน มิเช่นนั้น ส.ส.
จะกลายเป็น ส.ส.แขวงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อน ความลำบาก
ความสับสนให้กับประชาชนที่จะต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นอย่างมาก และขอตั้งข้อสังเกตว่า
อาจจะเป็นช่องทางที่ผู้ที่ไม่มีความโปร่งใส
หรือตั้งใจทุจริตการเลือกตั้งจะเกิดช่องโหว่ในการกระทำการนั้น ๆ ได้ อย่างล่าสุดที่มีข่าวบัตรประชาชนใบเดียว
แต่มีหลายรายชื่อ ซึ่งน่าสงสัยว่าเหตุใดเกิดขึ้นในช่วงนี้
ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตไปถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว
การแบ่งเขตของ
กกต. เข้าทางกลุ่มผู้มีอำนาจเป็นหลักหรือไม่
ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้น กกต. ยังกลับหลังทันที
ที่จะทำประโยชน์ให้คิดถึงส่วนรวมของประชาชนส่วนใหญ่ให้มากกว่าคิดถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
กกต.เป็นองค์กรอิสระที่จะต้องไม่อยู่ภายใต้อำนาจใดๆ วันนี้ศักดิ์ศรีของการกระทำของท่านจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า
พี่น้องประชาชนจะให้ความเคารพ และยอมรับ อยู่ที่ตัวท่านเอง
การแบ่งเขตจะต้องเป็นไปโดยหลักของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด”
น.ส.ธีรรัตน์ กล่าว
“ขอให้
กกต. ได้คำนึงถึงประโยชน์ของพี่น้องประชาชนอย่างสูงสุด
สำหรับแบบที่พรรคเพื่อไทยเห็นว่ามีความเห็นและเป็นไปได้คือแบบที่ 3 แบบที่ 4
เรายังหวังว่า กกต.จะรับฟังความคิดเห็นเหล่านี้ หาก
กกต.ยังไม่เห็นความสำคัญของประชาชน เราพร้อมที่จะลงการเลือกตั้งในกฎกติกาที่ กกต.
กำหนด” น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย