วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566

เครือข่ายแรงงานฯ จัดกิจกรรม 'แรงงานรวมพลสตรีสากล 66' เรียกร้องและผลักดันสิทธิแรงงาน -สังคม - เศรษฐกิจ-การเมือง เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของแรงงานหญิงและแรงงานที่มีความหลากหลายทางเพศ

 


เครือข่ายแรงงานฯ จัดกิจกรรม 'แรงงานรวมพลสตรีสากล 66' เรียกร้องและผลักดันสิทธิแรงงาน -สังคม - เศรษฐกิจ-การเมือง เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของแรงงานหญิงและแรงงานที่มีความหลากหลายทางเพศ

 

วันนี้ (8 มี.ค. 66) เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิมนุษยชนจัดกิจกรรม “แรงงานรวมพลสตรีสากล 66” โดยเจ้าหน้าที่นำรั้วมากั้นทำให้ไม่สามารถเข้าไปจัดกิจกรรมที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาลได้ พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.นางเลิ้ง สน.ดุสิต ชุดควบคุมฝูงชน ทั้งตำรวจหญิงกระจายกำลังโดยรอบ

 

ทำให้ทางเครือข่ายแรงฯ จึงได้นำรถเครื่องขยายเสียง มาจอดบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ซึ่งมีตัวแทนจากกลุ่ม ต่าง ๆ อาทิ กลุ่มสหภาพแรงงาน , กลุ่ม สภาพแรงงานรังสิตและใกล้เคียง , กลุ่ม We fair , กลุ่มคนทำทาง , กลุ่มสมาพันธ์สิ่งทอ ฯลฯ สลับกันขึ้นกล่าวปราศรัย

 

สำหรับบรรยากาศ ระหว่างที่มีการปราศรัย กลุ่มแรงงานบางส่วน ยืนแถวหน้ากระดานเรียกหนึ่ง โดยฉากหลังเป็นทำเนียบรัฐบาล พร้อมทั้งชูป้ายข้อความเรียกร้อง การแจกผ้าอนามัยฟรี สิทธิลาคลอด สิทธิจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน รวมถึงรัฐสวัสดิการ การเรียกร้องลดค่าครองชีพ การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ร่วมถึงประเด็นการเมือง สนับสนุน 3 ข้อเรียกร้อง #ตะวันแบม

 

ทั้งนี้ภายหลังการปราศรัยแล้วเสร็จ ธนพร วิจันทร์ หรือ ไหม จากเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ได้ขึ้นกล่าวส่งท้ายกิจกรรมระบุว่า

 

เนื่องในวันสตรีสากล เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ขอแสดงความสนับสนุน เป็นกำลังใจให้กับหญิงนักสู้ทางการเมือง นักสหภาพแรงงาน และนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีทุกท่าน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผ่านกิจกรรม #ยืนหยุดขัง 112 วินาที หน้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมส่งเสียงต่อรัฐบาลปัจจุบัน รวมถึงพรรคการเมืองทุกพรรค ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงการเลือกตั้งที่จะถึง ดังนี้

 

1. ข้อเรียกร้องเพื่อทวงคืนสิทธิแรงงาน

- ยกเลิก พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เพื่อยกเลิกความผิดและคืนสิทธิแรงงานให้พนักงานค้าบริการทางเพศ (sex worker)

- ขยายสิทธิลาคลอดโดยได้รับค่าตอบแทนเป็น 180 วัน ให้พ่อและแม่แบ่งกันได้

- เพิ่มวันลาป่วยให้กับผู้ปวดท้องประจำเดือน และให้กำหนดวันสตรีสากลของทุกปีเป็นวันหยุดด้วย

- ยกเลิกการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานด้วยเหตุแห่งเพศ เช่น การไล่พนักงานที่ตั้งครรภ์ออกจากงาน

- คุ้มครองสิทธิแรงงานของคนทำงานบ้าน (domestic worker) และแรงงานแพลตฟอร์ม เช่น ไรเดอร์ส่งอาหาร โดยให้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน และเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 33

- ปฏิรูปคณะกรรมการประกันสังคมให้โปร่งใส ผู้ประกันตนทุกคนมีสิทธิเลือกตั้งตัวแทนคณะกรรมการได้

- แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 287 จัดระบบสื่อบันเทิงทางเพศและเซ็กส์ทอยให้ถูกกฎหมาย

 

2. ข้อเรียกร้องเพื่อทวงคืนสิทธิทางสังคม

- ลดค่าครองชีพแรงงานและประชาชนหญิงด้วยการจัดสวัสดิการผ้าอนามัยฟรี

- จัดให้มีสวัสดิการประชาชนตามช่วงอายุ ได้แก่ เด็ก 0-6 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รายละ 3,000 บาทต่อเดือน รวมถึงจัดให้มีการอุดหนุนรายได้สำหรับผู้ดูแลสมาชิกครอบครัวในบ้าน (care worker) ด้วย

- ขยายสถานบริกรรัฐที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ปลอดภัยฟรีสำหรับผู้ท้องไม่พร้อม ตามงบประมาณสนับสนุนของ สปสช. รายละ 3,000 บาท และยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่ระบุความผิดผู้ยุติการตั้งครรภ์ทุกกรณี

- เพิ่มศูนย์เด็กเล็กในชุมชนและที่ทำงาน

- ปฏิรูปพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาของคนทุกเพศ เช่น เปีดทางให้ผู้หญิงบวชภิกษุณีได้

- รับรองสิทธิสมรสเท่าเทียมสำหรับคนทุกเพศ

- แก้ไข พ.ร.บ. รับรองอัตลักษณ์ฯ ให้รับรองสิทธิของบุคคลนอนไบนารี่ด้วยการระบุเพศสภาพ "X" และยกเลิกกฎระเบียบควบคุมอัตลักษณ์ทางเพศทุกกรณี เช่น ยกเลิกการบังคับทรงผมนักเรียน ยกเลิกการบังคับแต่งเครื่องแบบตามเพศกำเนิดของข้าราชการ

 

3. ข้อเรียกร้องเพื่อทวงคืนสิทธิทางการเมือง

- คืนสิทธิการประกันตัวให้นักสู้ทางการเมืองทุกคน

- ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม รวมถึงยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

- ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และยกเลิกวัฒนธรรมความรุนแรงต่อทหารชั้นผู้น้อย

- รัฐบาลไทยต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน #วันสตรีสากล