วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564

#จะนะรักษ์ถิ่น และแนวร่วมฯ เคลื่อนขบวนจากหน้า UN มุ่งหน้าทำเนียบ เจอตร.สกัดเข้มไม่ให้ผ่านมัฆวานฯ ยอมเลี่ยงไม่ปะทะเบี่ยงเส้นทาง ไปได้แค่กลางสะพานชมัยฯ ปักหลักรอฟังมติครม.พรุ่งนี้

 


#จะนะรักษ์ถิ่น และแนวร่วมฯ เคลื่อนขบวนจากหน้า UN มุ่งหน้าทำเนียบ เจอตร.สกัดเข้มไม่ให้ผ่านมัฆวานฯ ยอมเลี่ยงไม่ปะทะเบี่ยงเส้นทาง ไปได้แค่กลางสะพานชมัยฯ ปักหลักรอฟังมติครม.พรุ่งนี้ 


วันนี้ (13 ธ.ค. 64) ตามที่เครือข่าย #จะนะรักษ์ถิ่น ได้ประกาศว่าจะเคลื่อนขบวนพร้อมแนวร่วมกว่า 20 เครือข่าย ไปทวงสัญญาจากรัฐบาลที่ได้เซ็นไว้เมื่อปี 63 โดยจะไปทำเนียบรัฐบาล ประตู 1 


ซึ่งก่อนเคลื่อนขบวน เวลา 14.00 น. ได้ทำพิฮายัดธีละหมาดก่อน


จากนั้นจึงจัดแถวตั้งขบวนนำหน้าโดยชาวบ้านจะนะ ถือธงเขียวเป็นสัญลักษณ์ และตามด้วยแนวร่วมเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ โดยมีนักศึกษาและเยาวชนมาคล้องแขนช่วยเป็นการ์ดให้ตลอดแนว


14.30 น. โดยประมาณ เริ่มเคลื่อนขบวนโดยต้องการข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์ แต่จนท.ตร.ได้ตั้งแนวสกัดกั้นโดย ตร.สน.นางเลิ้ง ได้ประกาศห้ามการชุมนุม และให้เปลี่ยนเส้นทางเพราะไม่อยากให้ผ่านสถานที่สำคัญ


เวลา 15.19 น. ไครียะห์ เป็นตัวแทนชาวบ้านจะนะ เจรจากับตร. แต่ไม่เป็นผล ชาวบ้านจะนะ 


15.27 น. เครือข่าย #จะนะรักษ์ถิ่น ประกาศยอมถอยไม่ปะทะกับเจ้าหน้าที่ เลือกที่จะเบี่ยงขวาเพื่อเคลื่อนต่อไปให้ถึงประตู 1 ทำเนียบรัฐบาลตามความตั้งใจ โดยเลี้ยวขวาเลียบคลองผดุงฯ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนนครสวรรค์ ผ่านแยกเทวกรรม เลี้ยวซ้ายผ่านแยกนางเลิ้ง มุ่งหน้าสะพานชมัยมรุเชฐ


ในที่สุดกลุ่มผู้ชุมนุม ชาวบ้านจะนะเพื่อนกระบวนมาใกล้ทำเนียบรัฐบาลที่สุดแค่เชิงสะพานชมัยฯ เนื่องจากจนท.ตร.และกองร้อยน้ำหวานตั้งแนวรับถึง 3 ชั้น ไม่ยอมให้ผ่านไปถึงทำเนียบรัฐบาลได้ แม้มีการผลักดันกันเล็กน้อย สุดท้าย กลุ่มผู้ชุมนุมตัดสินใจ ปักหลักตั้งหมู่บ้าน ชาวทะเลตรงกลางสะพานชมัยมรุเชฐ พร้อมทั้งผลัดกันปราศรัยถึงความเดือดร้อนและผลกระทบที่เกิดจากโครงการของรัฐบาลที่ไม่ยอมฟังเสียงของชาวบ้านท้องถิ่น


ต่อมา เมื่อเวลา 17.00 น. นายสมบูรณ์ คำแหง แกนนำเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ได้ประเชิญชวนผู้นำแต่ละกลุ่มร่วมประชุมหารือ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินในขั้นตอนต่อว่าจะทำเช่นไร


กระทั่งเวลา 18.30 น. นายสมบูรณ์ ได้ออกมาแถลงต่อสื่อมวลชนหลังหารือว่า หลังเคลื่อนขบวนจากยูเอ็นมาปักหลักชุมนุมที่สะพานชมัยมรุเชฐ ทำเนียบรัฐบาล โดยยืนยันว่า จะขอใช้พื้นที่เพื่อปักหลักพักค้างบริเวณนี้ เพื่อรอฟังมติของคณะรัฐมตรีในวันพรุ่งนี้ ซึ่งย้ำว่า มติของครม.ที่ต้องการในวันพรุ่งนี้คือ จะต้องมีการอนุมัติให้ตั้งนักวิชาการมาการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA ของโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ และให้ยกเลิกมติของครม.เกี่ยวกับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ 3 ครั้งก่อนหน้านี้


โดยนักวิชาการที่ตั้งขึ้นมา จะต้องเป็นกลางและเป็นนักวิชาการที่ทุกฝ่ายยอมรับในมาตรฐาน เพราะมองว่า โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ใหญ่มาก ใช้พื้นที่กว่า 20,000 ไร่ กินพื้นที่ประมงพื้นบ้าน ดังนั้นการไปเอาพื้นที่โดยอ้างกระบวนการ อ้างอำนาจรัฐ จึงมองว่าควรจะเคารพสิทธิกับชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้นกระบวนการที่เสนอ ควรใช้นักวิชาการในภาคใต้เข้ามาศึกษา ว่าควรมีโรงงานแค่ไหน ใช้พื้นที่เท่าไร มลพิษที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ซึ่งหากมีการศึกษาก่อนก็จะเป็นมาตรฐานสากลที่ยอมรับได้ เมื่อได้คำตอบแล้วรัฐบาลค่อยมาศึกษา และพิจารณาอีกครั้งว่า นิคมอุตสาหกรรมจะนะควรสร้างหรือไม่ และเชื่อว่านี้จะเป็นทางออกของความขัดแย้งในพื้นที่ได้


สำหรับกิจกรรมในวันนี้ จะมีการเสวนา ชำแหละปัญหาชาวบ้านในรัฐบาลประยุทธ์ จากเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงผลกระทบในช่วง 6-7 ปีภายใต้รัฐบาลชุดนี้ 


พร้อมทั้งยังเสนอไปรัฐบาลว่าหากมีความจริงใจ ก็อยากให้ถ่ายทอดการประชุมคณะรัฐมนตรีแบบออนไลน์มาให้เครือข่ายจะนะ ได้รับทราบ เพื่อให้ได้รับรู้ว่าจะมีการหารือในประเด็นโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะหรือไม่ด้วย


นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า หากถูกสลายการชุมนุมอีกครั้ง ก็คงต้องยอมรับสภาพ แต่อยากเรียกร้องไปยังสื่อมวลชนให้เรียกร้องสิทธิการทำหน้าที่ของตนเองด้วย เพราะครั้งที่ผ่านมาสื่อมวลชนถูกกันออกจากพื้นที่


#ม็อบ13ธันวา64 #saveจะนะ

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์