แลไปข้างหน้า กับ ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.76
ตอน : การนินทาและการต่อสู้สันติวิธีในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
วันนี้เราก็คงจะมาพูดคุยเรื่องราวของประเทศนี้
แต่ด้วยความสำนึกว่าเป็นประเทศที่ไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน
เพราะฉะนั้นดิฉันต้องมีรูปการณ์จิตสำนึกใหม่ว่า
ขณะนี้เราอยู่ในการปกครองที่ไม่ใช่ประบอบประชาธิปไตย
ดังนั้นมันจึงเป็นปัญหาที่ว่าเมื่อกลุ่มเยาวชนมีการนำเสนอในการเปลี่ยนแปลงประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นการขับไล่ผู้บริหาร คือนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงกติกาประเทศเป็นให้มีรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
หรือไม่ว่าจะมีข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตาม
แต่ว่ามันถูกตีความหมายไปในทิศทางซึ่งทำให้เราเข้าใจได้ว่านี่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น ดิฉันก็จำเป็นที่จะต้องลองนำเสนอว่า ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น
การต่อสู้ของประชาชน การพูดถึงผู้ปกครอง เขาทำแบบไหนกันบ้าง
ในการสนทนารอบที่แล้วดิฉันได้เล่าเรื่องนิทานไปแล้วเรื่องหนึ่ง
ในนิทานเรื่องนั้นมันก็มีความเกี่ยวข้องกับวันนี้ที่ดิฉันอาจจะพูดถึงนิทานเรื่องใหม่
นิทานเรื่องที่แล้ว พูดถึงเรื่องฉลองพระองค์ชุดใหม่ของพระราชา
นี่ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงความคิดเห็นต่อผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งเป็นมีลักษณะทั่วโลก ฉลองพระองค์ชุดใหม่ของพระราชาเป็นการนำเสนอของนักประพันธ์ต่างประเทศ
ซึ่งดิฉันกำลังจะเล่าเรื่องที่สองว่าน่าจะเป็นที่มา คือเป็นนิทานกรีกที่ “ฮันส์
ครินเตียน แอนเดอร์เซน” อาจจะมีแรงบันดาลใจมาจากเรื่องนี้ก็ได้
ฉลองพระองค์ชุดใหม่ของพระราชา
ในเรื่องนั้นถ้าพูดแบบนิทานอีสปก็ประมาณสอนให้รู้ว่า
ผู้ที่อยู่แวดล้อมพระราชาหรือแม้กระทั่งประชาชนก็กลัวพระราชอำนาจจนไม่มีใครกล้าพูดความเป็นจริง
กลายเป็นว่าพระราชาก็กลายเป็นเหยื่อของผู้ที่หลอกลวงว่าผู้มีบุญญาธิการเท่านั้นจึงจะมองเห็นเสื้อผ้าที่เขาแกล้งทำเป็นทอและมีความสวยงาม
นิทานเรื่องนั้นสอนให้รู้ว่าขุนนางผู้ประจบสอพลอทั้งหลาย
เกรงว่าตัวเองนั้นไม่อยู่ในสถานะที่เหมาะสม
เพราะว่าช่างตัดเสื้อเขาขู่เอาไว้แล้วว่าเฉพาะผู้ที่อยู่ในที่ที่เหมาะสมและมีบุญญาธิการจึงจะมองเห็นความสวยงามวิจิตรพิสดารของฉลองพระองค์ที่เขากำลังถักทอ
จนกลายที่สุดว่าก็สามารถหลอกพระราชาให้มีการออกมาในท้องถนน
ประชาชนส่วนหนึ่งรวมทั้งขุนนางด้วยก็บอกว่าสวยงาม มีแต่เด็ก ๆ
ที่เหมือนลูกวัวไม่กลัวเสือ เด็ก ๆ ที่ซื่อ ๆ ตรง ๆ ก็ร้องตะโกน “พระราชาแก้ผ้า”
ทีนี้
เรื่องนั้นในภาษาอังกฤษเขาพูดถึง Emperor น่าจะหมายถึงพระเจ้าไกเซอร์ด้วยซ้ำ
ณ บัดนี้เรามาดูสถานการณ์ในประเทศเรา
ซึ่งจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและปัญหาการที่เยาวชนที่ได้รับโทษทัณฑ์
นี่ดิฉันพูดต่อจากรอบที่แล้วนะคะ ที่ไม่ได้รับการประกันตัว
หรือแม้กระทั่งเป็นการประกันตัวแบบมีเงื่อนไขมากมายจนกระทั่งติดกำไลอีเอ็ม
ซึ่งตรงนี้เป็นการตอกย้ำให้เราเห็นเลยว่านี่มันไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแน่นอน
ดิฉันก็อยากจะสนใจว่า
ถ้าอย่างนั้นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในการต่อสู้สันติวิธีนั้น
ประชาชนใช้รูปแบบอะไรบ้าง? เพราะฉะนั้นที่ดิฉันจะคุยในวันนี้ก็คือ
“การนินทาและการต่อสู้สันติวิธีในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์”
ดิฉันก็ขออ้างถึงคำพูดของ
อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และความจริงของคนอื่น ๆ ด้วยที่บอกว่า
ที่แล้วมาบ้านเมืองเราก็ใช้การนินทา ถ้าเวลาพูดถึงผู้ปกครอง
พูดถึงพระเจ้าแผ่นดินในอดีต แม้กระทั่งมาจนถึงปัจจุบัน คือพูดในที่ลับ กึ่งลับ
ถ้าพูดสรรเสริญเขาก็ไม่เรียกนินทา เพราะฉะนั้นเขาถึงมีคำว่า “สรรเสริญ” และ
“นินทา”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ต้องใช้คำว่า “โหนเจ้า” ทั้งหลายนั่นแหละ
นินทาเก่งตัวเอ้เลย แม้กระทั่งในกลุ่มรอยัลลิสต์ด้วยกันเอง
หรือในกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยกันเองในยุคโบราณ ก็นินทา คือพูดในที่ลับกันเป็นจำนวนมาก
อันนี้ อ.นิธิ รวมทั้งคนอื่น ๆ และรวมทั้งที่ดิฉันได้ยิน
คือคนที่รู้เรื่องดีก็จะแสดงความรู้ในที่ลับ
เพราะฉะนั้นรูปแบบหนึ่งก็เป็นการนินทา
นินทาในกลุ่ม แล้วก็นินทาไปต่อ ๆ
รูปแบบที่สองก็คือ เป็นการเล่นละคร ร้องเพลง
เขียนบทกวี แล้วก็ร้องกันต่อ ๆ เหมือนในแผ่นดินจีนหรือในยุโรป
ก็คือเป็นการนินทาหรือการให้ข้อมูลในรูปแบบของวรรณกรรม กวี บทเพลง อันนี้มีมาก
รูปแบบที่สาม ซึ่งที่จริงควรจะเป็นรูปแบบที่สอง
ขออภัยแต่ว่าไม่เป็นไร อันนี้ก็คือ “นิทาน” นิทานนี้ได้ผลมาก
แล้วนิทานมันเผยแพร่ไปทั่วโลก คุณจะเห็นนิทานอีสป หรือนิทานที่ ฮันส ครินเทียน
แอนเดอร์เซน ที่เอามาเล่าให้ฟังเรื่องพระราชากับฉลองพระองค์ชุดใหม่
แล้วก็กลายเป็นเด็กมาตะโกนกันตามท้องถนนว่า “พระราชาแก้ผ้า”
อันนี้ไม่ใช่เป็นรูปแบบการนินทาในกลุ่มนะ แต่เป็นการเล่านิทาน มันก็ดังไปทั่วโลก
เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่เอ่ยชื่อ แต่เป็นรูปแบบในเชิงพฤติกรรม
จริง
ๆ อันนี้มันเป็นการให้แง่คิด แต่ว่าถ้าสมมุติว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้น
สมมุติในเหตุการณ์ยุคของอันนั้นเขาน่าจะมุ่งหมายไปถึงพระเจ้าไกเซอร์ เขาใช้คำว่า Emperor เขาไม่ได้ใช้คำว่า
King ด้วยซ้ำ อันนั้นมันก็อาจจะชัดเจน
แต่เวลามันออกมาทั่วโลกมันก็เป็นเรื่องสอนใจทั่วโลกว่า พวกขุนนางพลอยพยัก
ขี้ข้าพลอยพยักทั้งหลาย ชี้นกบอกว่าไม้ ก็ว่าไม้ไปตามวาจา ก็คือต้องตามนั้นแหละ
เพราะฉะนั้นพอพูดเรื่องนิทาน
ดิฉันก็จะขอแทรกเรื่องของนิทานอันเป็นที่มาของเรื่องพระราชากับฉลองพระองค์ชุดใหม่
ขอเล่านิทานเรื่องที่สองย่อ ๆ อันนี้เป็นนิทานกรีกเกี่ยวกับปัญหาเรื่องของการนินทาในอดีต
แล้วเป็นการบอกให้รู้ว่าความลับไม่มีในโลก บางคนก็บอกว่านิทานกรีกเรื่องนี้น่าจะเป้นแรงบันดาลใจของ
ฮันส ครินเทียน แอนเดอร์เซน ที่พูดเรื่องพระราชากับฉลองพระองค์ชุดใหม่
แต่ดิฉันว่ามันก็มีนัยยะแตกต่างนะ ก็ลองฟังดูก็คือว่า
“เทพเจ้าอพอลโล่”
ซึ่งเขาเก่งทางเป็นศิลปิน
เมื่อมีการแข่งขันกับเทพที่มีลักษณะครึ่งคนครึ่งสัตว์ชื่อ “เทพแพน” แข่งขันดนตรี
และ “กษัตริย์ไมดาส” ซึ่งเป็นตัวละครของกษัตริย์ในนิทานนี้
ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้น นี่เป็นเรื่องประมาณว่า
เวลาเทพเจ้าหรือกษัตริย์พูดอย่างไร? คนอื่นก็ตามอย่างนั้น
ไม่ได้คำนึงว่าความจริงเป็นอย่างไรเหมือนเรื่องฉลองพระองค์ฯ ทีนี้มาเรื่องนี้ก็คือแข่งดนตรี
แน่นอน
คนที่อยู่ ณ ที่นั้นก็บอกว่า “เทพเจ้าอพอลโล่” เข้าใจว่าเล่นเครื่องดนตรี harp (เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของตะวันตกมีเสียงเกิดขึ้นจากการใช้นิ้วดีด)
แต่ว่า “เทพแพน” น่าจะเล่นเครื่องดนตรี flute ที่มาจากต้นอ้อ
(เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้) และ “กษัตริย์ไมดาส”
ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ฟัง
ทุกคนบอกว่า
“เทพอพอลโล่” เล่นดนตรีเยี่ยมยอดกว่า “เทพแพน” แต่ว่า“กษัตริย์ไมดาส”
ไม่รู้ว่าคิดอย่างไร บอกว่า “เทพแพน” เป่า flute เพราะกว่า harp ของ “เทพอพอลโล่” ดังนั้นเทพอพอลโล่จึงบอกว่าหูของกษัตริย์ไมดาสนั้นไม่ดี
ก็เลยสาปให้หูของกษัตริย์ไมดาสค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น ๆ จนกระทั่งเป็นหูลา
หนึ่งก็คือคนเอาใจเทพอพอลโล่
กลายเป็นว่าไม่รู้ล่ะว่าใครเพราะกว่า แต่ว่าเทพอพอลโล่เพราะกว่า
หรือว่าอาจจะจริงก็ได้ แต่ปัญหามันอยู่ที่กษัตริย์ไมดาส พอมีหูเป็นลาแล้วจะทำยังไง?
ก็ต้องซ่อน นี่คือปัญหาการซ่อนความลับ!
เพราะฉะนั้น
มันก็มีนิทานอยู่ 2 แบบ แบบหนึ่งก็คือช่างตัดหมวก อีกแบบหนึ่งก็คือช่างตัดผม
ที่รู้ความลับนี้ว่ากษัตริย์ไมดาสต้องใส่หมวกซ่อนเอาไว้ตลอดเพื่อไม่ให้เห็นหูที่เป็นหูลา
จะทำยังไงดี? จะไปขึ้นเวทีพูดที่ไหนก็ไม่ได้เพราะเป็นคนเก็บความลับ อึดอัดมาก!!!
การเก็บความลับนี่อึดอัดมาก!!! สุดท้ายก็ต้องไปขุดหลุม
แล้วก็ไปตะโกนใส่หลุม แต่สมัยนี้จะตะโกนใส่ที่ไหน?
คือตะโกนใส่หลุมกะว่าไม่มีใครได้ยิน แต่นี่คือนิทาน ไปตะโกนใส่หลุมแล้วก็กลบเอาไว้
ซึ่งไม่รู้ว่าขุดกี่หลุมนะ คงไม่ใช่หลุมเดียว แล้วตะโกนไปตะโกนมา ในที่สุดต้นอ้อต้นแขมอะไรต่าง
ๆ ที่ประมาณถ้าเทียบก็คืออาจจะเป็นคนที่ได้ยิน มันก็กระจายไปทั่ว
หรืออีกอันหนึ่งก็บอกว่าได้ไปทำให้มันมีเสียงกังวานไปไกล ๆ
จนในที่สุดเรื่องที่กษัตริย์ไมดาสมีหูเป็นลาก็กลายเป็นเรื่องที่รู้ทั่วไปทั้งหมด
ถ้าพูดแบบนิทานอีสปก็บอกนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าความลับไม่มีในโลก
การนินทา กับการพยายามพูดในที่คิดว่าเป็นที่ลับ
แต่ปรากฎว่ามันก็สามารถกระจายไปในที่กว้างได้
นี่คือรูปแบบการต่อสู้รูปแบบหนึ่งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คือ ด้วยสันติวิธีนะ
ที่ทำอยู่
ถามว่ามีงานเขียนของเรา
หรือของประเทศต่าง ๆ ในของประเทศต่าง ๆ ก็มีเยอะอยู่
โดยเฉพาะประเทศที่เขาไม่มีการจำกัด
ในของเรานั้นประวัติศาสตร์และงานเขียนก็มีลักษณะกบฏไม่ได้
อีกอย่างหนึ่งก็คือในสมัยโบราณของเรา เขียนแม้กระทั่งพระคัมภีร์อะไรก็ต้องเขียนใส่ใบลาน
แล้วก็จารึกในก้อนหิน แล้วมันจะไปเขียนนินทาหรือว่าไม่ได้
คนจารึกในหินก็ต้องมีแต่เจ้า ยกตัวอย่างเช่น ศิลาจารึกของเรา
หรือว่าของกษัตริย์เขมร ดังนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น
การเขียนมีข้อจำกัดสำหรับประชาชน มันก็เป็นการร้องเพลง เป็นเพลงบอกเป็นอะไรต่าง ๆ
เหล่านี้ งานนินทาจึงมีขีดจำกัด
เพราะฉะนั้นงานนิทานกับงานแสดงมันจึงกลายเป็นเรื่องที่คนในยุคโบราณในการสู้สันติวิธีจะทำแบบนี้
ทีนี้พอมาในยุคที่งานเขียนมันพัฒนาขึ้นมาได้
โดยเฉพาะในยุคอินเตอร์เน็ต การนินทามันก็เป็นการเสนอข้อมูล
มันไม่ใช่การนินทานในกลุ่ม มันก็จะเป็นการเสนอข้อมูลได้มากมาย ในขณะนี้คุณจะทำ Tik Tok คุณจะเขียนใน
Telegram คุณจะเขียนใน Twitter ในอะไรต่าง
ๆ ซึ่ง กสทช. ก็อาจจะไปตามได้ยาก แต่ว่าขณะนี้ทางรัฐบาล
กลุ่มกองทัพพวกที่ทำหน้าที่ในการสืบเรื่องพวกนี้ แทนที่จะไปทำเรื่องโกงประชาชนนะ
ปรากฏเรื่องโกงประชาชนไม่ได้ผล ปล่อยให้ประชาชนถูกโกง
แต่พยายามมาจับว่ามีใครนินทาว่าร้ายผู้ปกครองและเรื่องที่จะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในความหมายของเขา โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์เขาจะ
sensitive ขนาดแต่งตัวใส่เสื้อครอปท็อปก็มีปัญหาได้ นี่ยกตัวอย่างดังนี้เป็นต้น
นี่คือรูปแบบของการนินทาในสมัยโบราณ
ที่ว่าที่เรามาในปัจจุบันนี้ก็คือมีรูปแบบการให้ข้อมูล การเขียนเอกสาร
การเขียนหนังสือ การทำวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ดี ๆ อย่างเช่น “ขุนศึก ศักดินา
พญาอินทรี” ก็มาจากวิทยานิพนธ์ ไม่ใช่ว่าเขาจะปล่อยให้ได้นะ
อันนี้ก็ได้ยินว่าจะฟ้องร้องกันมากมาย อาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาก็โดน
ดิฉันว่าเล่มใหม่นี่จะโดนมั้ย? “กว่าจะครองอำนาจนำ” โดย อาสา คำภา นี่ยกตัวอย่าง
มันก็มีงานวิทยานิพนธ์และงานให้ข้อมูล
เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งกลุ่มเยาวชนเขาได้ตื่นรู้ เพราะว่ามันเป็นความจริงที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียน
ไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ในประวัติศาสตร์ฉบับที่เป็นทางการ
แต่ว่ามันเป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่องที่ทำให้เขาเข้าใจ ดังนั้น
เขาไม่สามารถจะทนอยู่กับสิ่งที่ไม่จริง สิ่งที่บิดเบือน
สิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อประเทศชาติประชาชนได้ มันจึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยการขับเคลื่อนของประชาชน
โดยเฉพาะในกรณีของสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็คือข้อเสนอการปฏิรูป
แต่ว่าถ้าอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าเราเข้าใจ มันคือการล้มล้าง! กลายเป็นเรื่องเช่นนั้น
ถ้าเป็นโบราณมันใช้คำว่า
“นินทา” มันไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อมูลที่แตกต่าง
ซึ่งในปัจจุบันเป็นการเสนอข้อมูลที่ต้องมีการอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเป็นเรื่องจริง
เพราะว่าสามารถที่จะสืบสาวราวเรื่องได้ บางเรื่องนิดเดียวก็เอามาจับผิดอย่าง
“ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” แต่อันนี้เขาแก้แล้ว
จากวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นการตีความที่แตกต่างกันนิดเดียวของ อาจารย์ณัฐพล ใจจริง
ซึ่งทำงานมาก่อนหน้านี้มาก ดิฉันตามงานของอาจารย์ณัฐพลมาหลายปีแล้ว 5-6
ปีที่แล้วก็มีงานออกมาเป็นลำดับ ซึ่งอยู่ในศิลปะวัฒนธรรมส่วนหนึ่งด้วย
ต่อมาก็เป็นพวกฟ้าเดียวกัน
.
นี่กคือรูปแบบของงานสันติวิธีในการต่อสู้
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มีความหมายมากในเรื่องความคิด
ความคิดต้องมาก่อนการกระทำและรูปการจิตสำนึก เพราะฉะนั้น
ดิฉันคิดว่าการต่อสู้ในเชิงวัฒนธรรม แต่เราไม่ใช้รูปแบบการนินทา
รูปแบบการให้ข้อมูลอันนี้ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง
แต่สิ่งที่เยาวชนเสนอในประเด็นของการปฏิรูป ระหว่างการนินทาว่าร้าย
การเสนอข้อมูลความจริงเพื่อเป้าหมายของการปฏิรูปกับการกบฏ 3
เรื่องนี้ตามที่ดิฉันพูดมันแตกต่างกัน
ที่มีการเสนอข้อมูลแล้วก็มีการจัดเวทีเพื่อการปฏิรูปสถาบันฯ
ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องสร้างสรรค์ แต่ว่าเมื่อมันไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
มันไม่ได้อยู่ในระบอบที่ให้สิทธิเสรีภาพภและความเท่าเทียมของประชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง สิทธิมนุษยชน
สิ่งเหล่านี้ไม่มีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ดังนั้น
เราจึงต้องเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวานนี้ที่รู้งออกมาจากเรือนจำ
คำพูดของรุ้งตอนที่เดินทางออกมา เพราะว่าเขาจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากวันนี้ไปก็ประมาณ
40 กว่าวันไปจนถึงวันที่ 12 ม.ค. 65 รุ้งก็พูดว่า ขณะนี้เขาเข้าใจแล้วว่า
“เราคือนักโทษโดยสมบูรณ์” ดิฉันว่าเป็นคำพูดซึ่งลึกซึ้ง แปลว่าเขาตระหนักแล้วว่าเขาถูกตัดสินไปแล้ว
เป็นนักโทษโดยสมบูรณ์ ก็คือไม่ใช่จากความคิดซื่อ ๆ ตรง ๆ
ว่าถูกกล่าวหาและยังไม่ได้ตัดสิน แต่ตอนนี้ก็คือถูกตัดสินไปแล้ว ทำไมตัดสินไปแล้ว?
เพราะมันคนละระบอบ
ระบอบนี้ไม่มีสิทธิทางการเมือง!
ไม่มีสิทธิพลเมือง!
ไม่มีสิทธิมนุษยชน!
ไม่ได้เป็นไปตามกฎกติกาสากลระหว่างประเทศ!
ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องถือว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ที่ยังไม่มีความผิด!
แต่ว่าคำพูดของรุ้งและการปฏิบัติที่ไม่ให้ประกันตัวสำหรับแต่ละคดี
ก็คือว่า “เป็นนักโทษโดยสมบูรณ์”
ดิฉันก็คิดว่า
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แม้แต่ถ้าเราเอาพูดแบบคนโบราณ
แม้กระทั่งฝ่ายเรียกว่าฝ่ายราชสกุลด้วยกัน พวกเจ้าด้วยกัน
เวลามีการแต่งโคลงโลกนิติ ดิฉันก็จำได้ว่าถ้าเราพูดเรื่องนินทานะ
ถ้าคิดว่ามันเป็นการนินทาและเป็นการนินทาที่ดังเกินไป ซึ่งจริง ๆ มันไม่ใช่
ในระบอบประชาธิปไตยเขาไม่ได้เรียกว่าเป็นการนินทา
แต่มันต้องเป็นข้อมูลความเป็นจริงซึ่งไม่เป็นเท็จที่ดิฉันเคยกล่าวแล้ว
เป็นประโยชน์กับประเทศชาติประชาชน และเป็นไปโดยรัฐธรรมนูญ
ถ้าจะเติมอีกก็เป็นไปตามหลักการสิทธิพลเมืองระหว่างประเทศ
คนโบราณกันเองพูดถึงโคลงโลกนิติ
ถ้าจำได้ก็คือ "ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน ห้ามสุริยะแสงจันทร์ ส่องไซร้ ห้ามอายุให้หัน
คืนเล่า ห้ามดังนี้ไว้ได้ จึงห้ามนินทา" นี่เป็นของยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แปลว่า “นินทา” ห้ามไม่ได้ แต่ในระบอบประชาธิปไตย เราไม่พูดเรื่องนินทา
เราพูดถึงเรื่องสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันว่า
ความคิดที่สร้างสรรค์ ความคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ก้าวหน้านั้น
มันเป็นเรื่องถูกต้องค่ะ แต่ตอนนี้พวกเขากลายเป็นนักโทษสมบูรณ์แบบแล้วค่ะ.
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์