ถอดการตอบคำถามของ
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ใน clubhouse
ของกลุ่ม Social Recap เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม
2564
หัวข้อ
“คนรุ่นใหม่ถาม อาจารย์ธิดาตอบ ทุกเรื่องราวที่เด็ก ๆ อยากรู้"
คำถาม : องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะนำพาไปสู่เป้าหมายที่เรียกร้อง
ควรมีอะไรบ้าง?
อันแรกเขาต้องมี
“ชุดความคิด” ที่ชัดเจน มีเป้าหมาย มีแนวทาง มีหนทางในการต่อสู้
ก็คือมีวิธีการว่าจะดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างไร คือต้องมีชุดความคิด
ซึ่งเป้าหมายจะเป็นการเมืองการปกครองที่พึงประสงค์ สังคมและเศรษฐกิจที่พึงประสงค์
นี่ยกตัวอย่างนะ เราอาจจะเห็นมีความแตกต่างกันบ้างก็ไม่ได้มากมาย
อาจารย์เห็นบางกลุ่มก็เอียง ประกาศลักษณะสังคมนิยมก็มี
แต่เข้าใจว่าคนส่วนใหญ่และด้านหลักก็คือเสรีประชาธิปไตย เพราะว่ามันเป็นเส้นทางที่ยังไงมันก้าวหน้ากว่าจารีต
และมันก็ต้องเป็นการที่เข้าใจวิเคราะห์สังคมให้ถูกว่าสังคมไทยขณะนี้เป็นสังคมที่มีการเมืองการปกครองแบบไหน
มีเศรษฐกิจแบบไหน และมีสังคมแบบไหน และที่เราต้องการคืออะไร
เราต้องการเป็นเสรีประชาธิปไตย ต้องการที่เขาระบุมา พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ให้รัฐบาลชุดนี้ออกไป อะไรอย่างนี้ เขียนรัฐธรรมนูญ
นี่ก็ถือว่าเป็นชุดความคิดที่แสดงออกเป็นเป้าหมาย
แต่ชุดความคิดจริง
ๆ มันไม่ใช่เพียง 3 ข้อ มันต้องมีความเข้าใจชัดเจนของระบบสังคมที่อาจารย์พูด
จะทำให้เวลาทำงานเรื่องแนวร่วมกับเรื่องมวลชน สามารถที่จะมีความเข้าใจและยืดหยุ่นได้
ว่าเส้นทางที่เดินไปข้างหน้า
ถ้าเป็นแนวทางเดียวกันจะเข้าใจรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างไร
แล้วมันจะเดินไปด้วยกันได้ เพราะฉะนั้นต้องมีชุดความคิด
ชุดความคิดที่เป็นเป้าหมายแนวทาง พูดง่าย ๆ ว่าเป็นยุทธศาสตร์ด้วยเลย
เป็นยุทธศาสตร์ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร คืออันนี้เป็นการต่อสู้ทางการเมือง
มันไม่ใช่เรื่องของการต่อสู้ทางเศรษฐกิจเดี่ยว ๆ หรือการเรียกร้องค่าแรง
การต่อสู้ทางการเมืองมันเป็นเรื่องระยะยาว มันไม่ใช่เรื่องที่ว่าจบได้วันเดียว
มันต้องสู้มาระยะยาว ซึ่งอันที่จริงตั้งแต่ 2475 จนมาถึง ณ บัดนี้
ระบอบประชาธิปไตยที่เราต้องการแบบอารยประเทศก็คืออำนาจเป็นของประชาชนจริงมันยังไม่บรรลุเลย
แล้วนี่มันกี่ปีมาแล้ว อีกไม่เท่าไหร่จะเป็นร้อยปีละ
นี่แค่เพียงระบอบประชาธิปไตยอย่างเดียวนะ
ส่วนคนที่จะเลยไปแนวคิดสังคมนิยมมันต้องผ่านเส้นทางนี้ก่อน นอกจากคุณจะไปปฏิวัติสังคมนิยม
ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้!
ทีนี้ถ้าวิเคราะห์ว่ามันเป็นสังคมแบบไหน
ถ้ามันยังไม่เป็นประชาธิปไตยเลย มันยังเป็น พูดง่าย ๆ ว่าเป็นราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ
แต่ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน สมมุตินะ อันนี้นี่คิดแบบเหมือนยุค
2475 ก็คืออำนาจยังไม่ได้เป็นของประชาชน อันนี้มันก็อาจจะเน้นหนักไปแบบหนึ่ง
หรือถ้าเราคิดว่ามันเป็นประชาธิปไตยแต่ว่ามันถูกช่วงชิงอำนาจไปโดยขุนศึกขุนนางหรือว่านายทุนผูกขาดจำนวนหนึ่ง
แนวความคิดแบบนี้ก็จะเป็นการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยที่มีอยู่ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนประสงค์เพื่อให้ได้เป้าหมายที่การเมืองการปกครองที่เป็นระบอบประชาธิปไตยจริง
นี่อาจารย์ยกตัวอย่าง แต่ว่าอาจารย์ก็จะไม่ไปชี้นำนะ เพราะว่าอาจารย์ว่าเยาวชนเขาก็มีวิธีคิดของเขาอยู่แล้ว
ก็แสดงออกมาพอสมควร
ทีนี้หนึ่งต้องมีชุดความคิด
ชุดความคิดที่เราพูดเมื่อกี้จะเป็นเป้าหมาย
เป็นแนวทางยุทธศาสตร์ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง
คือถ้าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงนะ จบเลย! ในทัศนะอาจารย์นะ
คุณต้องปรับให้สอดคล้องกับความเป็นจริง นี่เป็นวิทยาศาสตร์ แล้วก็เป็นปรัชญา ซึ่งอาจารย์ก็ยังเชื่อว่ามันถูกอยู่
ก็เป็นปรัชญาเรียกว่าวัตถุนิยมวิภาษวิธีแหละ คือทุกอย่างต้องสอดคล้องความเป็นจริง
ถ้าไม่งั้นคุณทำไม่สำเร็จ เพราะมันไม่ใช่คุณคิดเอาเองอัตวิสัย คือต้องทำแบบภววิสัย
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจสังคมไทย เข้าใจเรื่องราวของผู้คน ถ้าพูดเป็นประมาณว่าต้องเข้าใจว่าในสังคมไทยนั้นมีคนอยู่กี่กลุ่ม
และอยู่ในพลังอำนาจขนาดไหน และก็มีแนวความคิดและมีบทบาทอย่างไร
ถ้าเราเข้าใจตรงจุดนี้ในการที่อยากจะเปลี่ยนแปลงสังคม
ถ้าพูดง่าย ๆ ก็ “รู้เขารู้เรา” หรือถ้าพูดให้เป็นหลักปรัชญาก็คือ ต้องสอดคล้องกับภววิสัย
ไม่ใช่อัตวิสัย ฝันหวานอยากจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ อันนั้นจะไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญแรกคือมีชุดความคิดต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงแล้วก็มียุทธศาสตร์
องค์ประกอบถัดมาก็น่าจะเป็นองค์ประกอบชุด
“การนำ” เป็นการนำที่เป็นองค์กรหรือกลุ่ม อันนี้มันคงไม่ใช่การนำโดยบุคคล
เป็นการนำโดยองค์กรว่ามันจะมีการนำอย่างไร
ฉะนั้นภาพที่เราเห็นตอนนี้มันก็จะมีกลุ่มต่าง ๆ ถือว่าไม่ใช่เป็นองค์กรเดียว
แต่ถ้าชุดความคิดเป็นชุดเดียวกัน แล้วยังมีการนำของหลายกลุ่ม
อาจารย์ว่ามันก็ยังโอเคนะ มันควรมีเอกภาพสักอย่างหนึ่งในทางความคิด
ชุดทางความคิดก็ยังดี ถึงแม้จะมีองค์กรหลายกลุ่ม ก็ถือว่าเป็นการผลัดกันทำ
แบ่งกันทำ ใครถนัดทางไหน ใครถนัดศิลปะ ใครถนัดทางวัฒนธรรม
ใครถนัดทางขี่มอเตอร์ไซด์มันก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นต้องมีชุดการนำองค์กร
ถัดมาเรื่องที่สามก็ต้องมี
“การจัดตั้ง” องค์ประกอบอีกอย่างคือต้องมีการจัดตั้ง เพื่อทำให้ชุดความคิดและการขับเคลื่อนของการนำมันสามารถเกิดขึ้นได้
การจัดตั้งกับการบริหารงานก็แล้วแต่ว่าแต่ละส่วนอาจจะถือเป็นอันเดียวกัน
เป็นการบริหาร ซึ่งการบริหารมีหลายอย่างในการขับเคลื่อน บริหารหาทุน
บริหารคอนเทนต์ในการทำงาน ที่สำคัญก็คือมันต้องมีการจัดตั้งระดับหนึ่งถ้าเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน
แต่ถ้าสู้แบบวันสองวันอันนั้นไม่จำเป็นต้องมีการจัดตั้ง
นี่อาจารย์ก็พูดหลักใหญ่
ๆ คือขณะนี้เท่าที่ดูเยาวชนเขามีหลายชุด มีกลุ่มนั้นกลุ่มนี้
ซึ่งอย่างที่บอกว่ามันก็มีทั้งข้อดีและข้ออ่อน ข้อดีก็คือถ้ากลุ่มหนึ่งมีปัญหาอีกกลุ่มหนึ่งก็ยังขับเคลื่อนได้
มันไม่ใช่ว่ามีกลุ่มเดียว พอมีปัญหาก็ไม่มีคนทำงานเลย
ถ้าชุดความคิดแนวทางตรงนี้ชัดเจน แล้วก็ต้องรู้ยุทธศาสตร์
อย่างที่อาจารย์บอกว่ามันไม่ใช่วันเดียวจบนะ อันนี้มันยืดเยื้อ อาจารย์ก็พูดหลัก ๆ
ว่าองค์ประกอบก็ต้องมีอย่างนี้แหละ แล้วก็เรื่องที่สี่ มันต้องมี “ผู้ปฏิบัติงาน”
อีกอันก็คือมีชุดการนำ ชุดการนำก็ควรจะเป็นการนำไม่ใช่นำเดี่ยวนะ
ถ้านำเดี่ยวก็ถูกเก็บเข้าเรือนจำหรือถูกลอบฆ่าก็จบ
เพราะฉะนั้นการนำก็ต้องเป็นการนำรวมหมู่ ไม่ใช่การนำเดี่ยว
แล้วถ้าการนำเดี่ยวแบบวีรชนเอกชนคือโดดเด่นเฉพาะบุคคลมันก็ง่ายที่จะเสียหาย
เพราะว่าไม่มีคนที่สมบูรณ์แบบ อาจจะมีความสามารถในการปราศรัย
แต่อาจจะไม่รอบด้านในเรื่องอื่น และอาจจะไม่ได้เท่าทัน
เพราะว่าการต่อสู้ทางการเมืองเป็นการต่อสู้ถึงเลือดเนื้อ
มันไม่ได้เสียหายเฉพาะผู้นำนะ มันเสียหายทั้งขบวน
ดังนั้น
เพื่อมีหลักประกันก็คือแต่ละองค์กรมันควรจะมีคณะในการทำ
แล้วก็ยังมีคณะผู้ปฏิบัติงาน
เมื่อกี้ที่อาจารย์พูดว่ามีการจัดตั้งแล้วก็มีผู้ปฏิบัติงาน มีแต่แกนนำ
ไม่มีคนทำงาน ไม่มีการแบ่งงานกันทำ และไม่มีคนไปเคลื่อนไหวมวลชน จัดตั้งมวลชน
มันก็ได้แบบถ้าแดดเผามันก็หมด ถ้าเป็นน้ำฝนมันไม่ได้ขุนบ่อเอาไว้
มันไม่มีการจัดตั้งเอาไว้ ซึ่งการจัดตั้งนี้ก็สำคัญมาก
แต่ว่าถ้าในอดีตของคนเสื้อแดงนั้นเราลำบากเพราะว่ามันมีส่วนงานกอ.รมน.
ที่มาคอยจัดการ โดยเฉพาะแกนนำต่างจังหวัดกระดิกตัวยากมาก
เมื่อมันเป็นยุทธศาสตร์ที่ยืดเยื้อ
จริง ๆ มันจะเปิดหมดก็คงไม่ถูก จะต้องมีคนที่ไม่ต้องออกมาโผล่
สมัยนี้เขาเรียกบางคนหิวแสง มันก็มีแกนนำเก๊ ๆ นะ หิวแสงเนี่ย
ของเสื้อแดงก็มีส่วนหนึ่ง แต่ว่าเป็นแกนนำที่เขาไม่ได้หิวแสง ทำงาน
แต่ก็ถูกจัดการส่วนหนึ่ง ดังนั้นมันก็เลยยากลำบาก แต่ว่ามันก็ต้องมี
เหมือนครั้งที่แล้วที่อาจารย์พูดว่าคนสงสัยว่าทำไมมาแล้วก็มาได้เยอะ
มันก็ต้องมีเครือข่ายของการจัดตั้งในลักษณะที่ทั่วประเทศ
แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นการจัดตั้งแบบองค์กรปฏิวัตินะ
ถ้าเป็นองค์กรปฏิวัติเครือข่ายการจัดตั้งปิดลับ
100% เพราะถ้าเปิดเผยถูกจับหมด อันนั้นก็ถือว่าเป็นการทำงานลับ
แต่ของเรามันจะลับ ๆ ล่อ ๆ ในส่วนต่างจังหวัด บางส่วนก็เรียกว่าไม่จริง
มีการจัดตั้งมาแข่ง อย่างอาจารย์ยกตัวอย่างก็ได้ของเสื้อแดงนะ อาจารย์จะไม่พูดถึงเยาวชนมากนักในส่วนรายละเอียด
พูดในสิ่งที่มันเกิดขึ้นแล้วกับคนเสื้อแดง
อย่างเช่นมีการพยายามจะทำหมู่บ้านเสื้อแดง หลายเจ้าเลย
แล้วก็มีบางเจ้าเห็นไหมที่ออกมาเชียร์รัฐบาล จริง ๆ ตอนทำก็เก๊นะ ไม่ใช่ของจริง
พูดตรง ๆ ว่าเอาใจฝั่งนาย ไม่ใช่ของจริง คนอ้วน ๆ
ที่ออกมาพูดเรื่องหมู่บ้านเสื้อแดงอะไรนั่นแหละ แล้วก็เอาคนมาต่อต้านฝ่ายประชาธิปไตยเวลาพูดอะไร
ก็คู่หูกับคุณแรมโบ้ เขาก็พยายามจัดตั้งแข่งนะ
แล้วก็มีหลายส่วนที่เป็นนักการเมืองก็พยายามจัดตั้งเป็นกลุ่มเป็นองค์กรคนเสื้อแดงมาแข่ง
แล้วมันไม่ใช่ของจริง คือมันไม่ใช่นักต่อสู้จริง
เพราะฉะนั้นการจัดตั้งมันก็มีจริง
มีปลอม มันก็ไม่ง่าย
แต่ว่าถ้าถามว่าถ้าต้องการจะขยับขยายและให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้ที่ยืดเยื้อมันก็เป็นเรื่องจำเป็น
แต่ถ้าเป็นการต่อสู้อย่างรวดเร็วแล้วก็ใช้วิธีว่ายิงเหมือนกับยิงจากออนไลน์หรือส่วนในกรุงเทพฯ
ออกไป ก็ถือว่าคนรุ่นใหม่รับรู้เร็ว ไม่จำเป็นต้องมีการจัดตั้งเป็นแกนเฉพาะ
นี่ก็ทำได้ระดับหนึ่ง แต่ว่าถ้ามีได้ก็ดี
เพราะบางครั้งการขับเคลื่อนมันต้องมีคนเป็นแกนนำในพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น
สมมุติคาร์ม็อบ ก็มีบางจังหวัดที่มีคนเสื้อแดงที่ทำได้
เพราะลำพังเยาวชนเขาก็จัดคาร์ม็อบอาจจะไม่สะดวก แต่ว่าเขาอาจจะมาปราศรัยสะดวก
มาติดป้ายแสดงกิจกรรมสะดวก แต่ว่าถ้าเอาคนมาแล้วก็เป็นขบวนใหญ่ ๆ
อย่างนี้ต้องเป็นแกนนำเก่า หรือว่าเป็นแกนนำใหม่ที่สร้างขึ้นมา
ดังนั้น
ชุดความคิดที่ถูกต้อง ชุดการนำที่ถูกต้อง
ชุดการบริหารงานจัดตั้งที่ถูกต้องมันก็เป็นภารกิจที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ
ที่จำเป็น
#ธิดาถาวรเศรษฐ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์