วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ธิดา ถาวรเศรษฐ : การวางแนวทางการขับเคลื่อนฝั่งประชาธิปไตย พลังและพลวัตรของเยาวชน ในความเห็นของอาจารย์นั้นเป็นอย่างไร?

 


ถอดการตอบคำถามของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ใน clubhouse ของกลุ่ม Social Recap เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564

หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ถาม อาจารย์ธิดาตอบ ทุกเรื่องราวที่เด็ก ๆ อยากรู้"


คำถาม : การวางแนวทางการขับเคลื่อนฝั่งประชาธิปไตย พลังและพลวัตรของเยาวชน ในความเห็นของอาจารย์นั้นเป็นอย่างไรครับ?


อ.ธิดา : ก็จะตอบแยกเป็น 2 ส่วน คือโดยทางหลักการกับในสิ่งที่เกิดเป็นจริงในประเทศ


โดยทางหลักการก็คือ การเรียกร้องประชาธิปไตยแล้วก็นำโดยเยาวชน พลังของเยาวชนจะมีข้อดีอยู่มาก เพราะว่าข้อแรกเป็นกลุ่มคนที่สามารถสามัคคีกับกลุ่มคนและชนชั้นต่าง ๆ ได้ดี ทั้งในประเทศและในสังคมโลก เพราะว่าสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจ ได้รับความเห็นอกเห็นใจง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่เขาเจริญแล้ว คนส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางและปัญญาชน ดังนั้นก็มีแนวโน้มที่จะเข้าใจ เห็นใจ และประสงค์จะช่วยเหลือเยาวชนและปัญญาชนบ้านเราค่อนข้างมาก ซึ่งเห็นว่ามันต่างกับคนเสื้อแดง เราจะเห็นว่านี่คือข้อดีโดยทฤษฎีของคนชั้นกลางปัญญาชน นี่ในข้อแรก สามารถสามัคคีกับกลุ่มคนชนชั้นต่าง ๆ แล้วเสียงดัง คือคนชั้นกลางปัญญาชนเสียงดังกว่า คือสมมุติว่าเขาออกมาเรียกร้อง ยกตัวอย่างเช่นขณะนี้เพียงแค่เรื่องวางเสลี่ยงเสียงก็ดังมาก คือตั้งใจจะวางเบาหรือเปล่าไม่รู้ แต่เสียงดังมาก ในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นกับมวลชนพื้นฐาน มันจะมีเสียงอยู่ในสังคมน้อยกว่า อันนั้นก็คือข้อแรก เสียงดังและมีพลังต่อกลุ่มคนและชนชั้นต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือคนเกรงใจ ว่างั้นเถอะ


ภาพจากมติชน : การชุมนุมของเยาวชนปลดแอก
จ.เชียงใหม่ 19 ก.ค. 63

อันที่สองก็คือการปรับตัวและความรับรู้เร็ว อันนี้โดยหลักการนะคะ เพราะว่าเขาสามารถที่จะรับรู้เรื่องราว ยกตัวอย่างเช่น การตื่นตัวของเขาที่มีการอ่านเรื่องราวใหม่ ๆ ที่มีการเขียนโดยอาจารย์นักวิชาการที่ก้าวหน้า นี่ยกตัวอย่างนะ เพราะฉะนั้นโดยหลักทฤษฎีคือความเข้าใจ ความรับรู้ปัญหาเร็ว แล้วก็สามารถใช้เทคโนโลยีช่วย ทำให้ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้รับค่อนข้างเร็ว ซึ่งอันนี้มันก็ดีกว่าการขับเคลื่อนของมวลชนพื้นฐาน อย่างเช่นมาใช้คลับเฮ้าส์ อันนี้มันก็เป็นเวทีของปัญญาชนชนชั้นกลางไม่ใช่เวทีของมวลชนพื้นฐาน นี่ก็เป็นข้อดีซึ่งในบ้านเราข้อดีสองข้อนี้ก็ได้ใช้มาก


อันที่สามก็มีลักษณะของการจัดตั้งโดยธรรมชาติอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ลาดกระบัง อะไรต่างหรือเหล่านี้ หรือโรงเรียนเตรียมฯ หรือโรงเรียนสวนกุหลาบ คือลักษณะองค์กรของการศึกษาเป็นลักษณะการจัดตั้ง ดังนั้นเราจะเห็นอย่างช่วง 14ตุลา การขับเคลื่อนก็ขับเคลื่อนเป็นมหาวิทยาลัย เป็นโรงเรียน สามารถขับเคลื่อนได้ง่าย อันนี้นี่ก็เรียกว่าเป็นพูดถึงข้อดี แต่ข้อด้อยก็มี ต้องพูดด้วย


ข้อด้อยก็มี ก็คือว่าอาจจะอดทนต่อการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนานยากสักหน่อย เพราะว่ามีผลประโยชน์ มีภาระที่ต้องทำ เช่น ต้องเรียน อาจจะมีความใฝ่ฝันส่วนตัวด้วย อะไรอย่างนี้ การอดทนต่อความยากลำบากก็อาจจะไม่มากพอ อันนี้มันเป็นเชิงทฤษฎีนะ ไม่ได้หมายถึงในบ้านเรา


อีกอันก็มีลักษณะบางทีก็เรียกว่าลักษณะเสรี คือจะทำตามใจของตัวเอง ไม่ชอบอยู่ใต้การสั่งการ คือถ้างานไม่สำเร็จก็ท้อถอยง่าย ถ้างานสำเร็จก็มีความภาคภูมิใจ บางทีมันก็จะล้นเป็นเชิงวีรชนเอกชน นี่อาจารย์พูดถึงทฤษฎีนะ ในเรื่องพลังของเยาวชนและการปรับตัวมันมีทั้งด้านบวก ด้านลบ


แต่ว่าเวลามาดูในบ้านเราก็พบว่ามันก็เป็นไปตามนี้ แต่ว่าในอดีตเป็นปัญญาชนรุ่นก่อน เวลาเราพูดถึงการทำรัฐประหารปี 49 นี่ยกตัวอย่าง ปรากฏว่าปัญญาชนไทยไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎี ไม่ได้ตื่นตัวที่จะมาต่อต้านรัฐประหาร นั่นคือในอดีต ส่วนในปัจจุบันนี้ปัญญาชนไทย เยาวชนไทย ทำได้ดี ทำได้ดีมาก ๆ โดยที่ว่าไม่ได้มีการจัดตั้งขององค์กรนำที่เข้มแข็งพอ เพราะเริ่มต้นพวกเขาก็แยกกลุ่มกัน มีแนวร่วมธรรมศาสตร์ มีปลดแอก ซึ่งก็เรียกว่าภาวะการนำไม่เป็นองค์เอกภาพ มันดีที่ว่าเป็นเอกภาพในแนวทาง แต่อาจจะไม่เป็นเอกภาพในทางการขับเคลื่อนและการจัดตั้ง เพราะฉะนั้นมันก็จะมีปัญหาที่ว่ามันอาจจะเป็นกลุ่มย่อยหรือว่าอาจจะมี พอเกิดเป็นกลุ่มมาก ๆ โดยทฤษฎีมันก็อาจจะมีการพึงพอใจในเฉพาะส่วนของตัวเอง อาจจะมีทำให้การนำไม่เป็นเอกภาพ หรือกระทั่งเป็นไปได้จนกระทั่งช่วงชิงการนำ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ นี่ก็อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง


ภาพจากมติชน : พิราบขาวแห่งเสรี ม็อบประชาชนปลดแอก
16 ส.ค. 63

แต่อาจารย์มองว่าในปัญหาในประเทศไทยในขณะนี้เยาวชนทำได้ดี เพราะว่าโดนปราบโดนจัดการค่อนข้างมาก แต่ว่าความที่ว่ามันมีหลายหัว ก็ทำให้การขับเคลื่อนกลุ่มต่าง ๆ เกิดกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยขึ้นมา มันก็สามารถขับเคลื่อนได้ เพราะฉะนั้นเวลาฝั่งทางรัฐบาลเผด็จการจะจัดการ เวลาเขาจัดการเขาก็นึกว่าเขาจัดการได้ แต่เอาเข้าจริงมันก็มีกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ซึ่งข้ออ่อนก็กลายเป็นแก้ปัญหากลายเป็นข้อดีไปได้ และยกตัวอย่าง อย่างเช่น ในขณะนี้อย่างจุฬาฯ มันก็เปิดแนวรบใหม่ด้านวัฒนธรรม เช่น วางเสลี่ยง แล้วก็อาจจะมีไปจนถึงยกเลิกงานบอลประเพณี อันนี้เป็นแนวรบใหญ่อีกแนวหนึ่งซึ่งสำคัญมากในความคิดอาจารย์ คือการต่อสู้ไม่ใช่แต่เพียงคุณไปขับเคลื่อนอยู่บนท้องถนนหรือไปปราศรัยโจมตี แต่สิ่งที่สำคัญจะทำให้คนในสังคมขับเคลื่อนไปอย่างมาก ก็คือมีคนเห็นด้วยมาก และเราต้องต่อสู้กับความคิดจารีตเก่าที่มันกล่อมเกลาประชาชนเอาไว้มาก ไอ้ความคิดแบบเก่า ๆทำให้คนถูกครอบงำ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา หรือว่าครอบครัว หรือว่าสังคม มีความเชื่อเก่า ๆ นี่ยกตัวอย่างเช่นเรื่องวางเสลี่ยง อันนี้เราจะเห็นชัดเลย เพราะฉะนั้น ภารกิจอันนี้เราก็จะเห็นว่ามันประมาณว่าก็ต้องแบ่งกันทำ ไม่ต้องไปคิดว่านี่เป็นการชิงการนำ เพราะว่ามันทำได้หลายบริบท หลายปริมณฑล ส่วนพวกเยาวชนที่ประเภทเยาวชนมวลชนพื้นฐานซึ่งเขาไม่แฮปปี้กับตำรวจ เขาก็ไปมีทางออกอีกแบบหนึ่ง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ นี่ก็คือสิ่งทีเกิดขึ้น


เพราะฉะนั้นโดยภาพรวมก็คือ ข้อดีที่เยาวชนลุกขึ้นมาแล้วก็มีพลังค่อนข้างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าเราเห็นเมื่อปี 63 ถ้าเราเอาจำนวนคนที่มาชุมนุม มันมากอย่างแบบที่เรียกว่าถ้าหลังจากการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงแล้ว อันนี้เป็นอันที่มากที่สุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือคนส่วนมากเป็นปัญญาชน ชนชั้นกลางและเป็นคนเมือง ซึ่งต่างกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง เราน่าจะถือได้ว่าหลัง 14ตุลาแล้ว การขับเคลื่อนอันนี้เป็นการขับเคลื่อนที่มีพลัง แล้วมีลักษณะก้าวหน้าทั้งข้อเรียกร้องต่าง ๆ และการปรับตัว การไม่มีแกนนำบ้าง มีรูปแบบหลายรูปแบบ


ถ้าถาม อาจารย์ก็มองว่ามีพลังมาก แล้วก็มีการปรับตัว แล้วก็ทำให้ข้อด้อยที่ไม่มีการนำเป็นหนึ่งเดียวกลายเป็นข้อดี ก็คือสามารถแบ่งกันทำงาน ในแต่ละพื้นที่และในปริมณฑลอย่างที่อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องของจุฬาฯ อันนี้ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่ดี น่าชื่นชม เพียงแต่ว่าปัญหาขณะนี้ก็คือเจอศึกหนักในการถูกปราบปรามจับกุมคุมขังไม่ให้ประกันตัว ซึ่งอาจารย์เศร้าใจมาก


ภาพจากข่าวสด : ม็อบ29พฤศจิกา63 ราษฎรมุ่งหน้าราบ 11

เพราะฉะนั้นโดยภาพรวมในข้อแรก อาจารย์ก็จะบอกว่าปัญญาชนไทยทำได้ดีกว่าทฤษฎี คือทำได้ดีกว่าและข้ออ่อนก็สามารถแก้ไขได้ แต่ว่าจะได้นานแค่ไหน จะท้อถอยมั้ยถ้าสถานการณ์ยืดเยื้อยาวนาน ก็ต้องดูต่อไปค่ะ


แต่มีสิ่งหนึ่งก็คือว่าถ้าเขาจะแก้ข้ออ่อนด้วยอีกอันหนึ่งก็คือว่า ถ้ามันเป็นงานที่ถูกปราบปรามจับกุมคุมขัง เขาจะมีแต่ตลาดของปัญญาชน ชนชั้นกลางไม่ได้ เขาต้องสามารถที่จะทำให้มวลชนพื้นฐานและแนวร่วม อย่างเช่น คน Gen X, Babyboom อะไรอย่างนี้ ก็คือไม่ใช่มีแต่ Z หรือว่า Y ส่วนหนึ่ง คน Gen X ก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ ก็ดึงมาได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมวลชนพื้นฐานคนเสื้อแดง คนจนเมือง ขณะนี้มันลำบากเพราะว่าเขาลำบากเรื่องโควิด เขาลำบากเรื่องเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นพลังของเยาวชน และการปรับ และการขยายตัว และก็ต่อสู้กับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงจะทำเฉพาะปัญญาชนอย่างเดียวไม่ได้ มิฉะนั้นมันก็จะเกิดปัญหาแบบ 6ตุลา ซึ่งมีแต่พลังนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่มีประชาชนเลย นี่ยกตัวอย่างอันนั้นนะ พูดถึงการถูกปราบ คือรัฐจะพยายามแยกมวลชนพื้นฐานและประชาชนออกไป แต่ว่าตอนนี้เขายังทำไม่ได้หรอก เพราะว่าที่มันทำให้มีปัญหาก็คือโควิดนั่นแหละ เพราะว่ามวลชนพื้นฐานเขาสู้มายาวนานนะ ความทรหดอดทน เพียงแต่ว่าตอนนี้หลายคนก็แก่ แล้วก็ลำบาก โดยเฉพาะโควิดทำให้ออกมาร่วมไม่ได้ดีเท่าไหร่ ก็ต้องหวังคน Gen Y, Gen Z แล้วก็คนชั้นกลาง แต่อาจารย์ว่ามวลชนพื้นฐาน,คนเสื้อแดงเขาตื่นรู้มานานแล้ว อันนี้เป็นต้นทุนที่ดีให้กับเยาวชน คือมากันเป็นแถว มาเอง ไม่ต้องมีใครไปเรียกเขาก็มากันเอง


#ธิดาถาวรเศรษฐ

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์