วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ธิดา ถาวรเศรษฐ : บทเรียน 6 ตุลา 19 (เขียนเมื่อ 1 ต.ค. 59)





ธิดา ถาวรเศรษฐ : บทเรียน 6 ตุลา  19 (เขียนเมื่อ 1 ต.ค. 59)


บทเรียน 6 ตุลาคม 2519

 

ก. ปัจจัยผลักดันของฝ่ายอนุรักษ์นิยมเพื่อปราบปรามนักศึกษาประชาชน

      1.   ปัจจัยภายนอกประเทศ

สถานการณ์โลกและภาวะสงครามของประเทศอินโดจีนที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์รุกคืบจนใกล้ได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาลฝ่ายขวาที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกา

2.   ปัจจัยภายในประเทศ

2.1  สถานการณ์ในประเทศที่มีการต่อสู้ด้วยอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกำลังเติบใหญ่ โดยอาศัยสถานการณ์สากลและสถานการณ์ตื่นตัวทางการเมืองของฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายซ้ายในประเทศ

2.2  สถานการณ์ของการตื่นตัวของประชาชนในประเทศและปัญญาชนในมหาวิทยาลัยที่เติบใหญ่หลัง 14 ตุลา 16  ทั้งนักศึกษา, กรรมกร, ชาวนา, พนักงานรัฐวิสาหกิจ  มีการประท้วงเรียกร้องทางเศรษฐกิจและค่าแรง  ตลอดจนการเผยแพร่หนังสือของฝ่ายซ้ายในเมือง

 

ข. ความขัดแย้งในสังคม

ฝ่ายชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม ขวาจัดสุดขั้ว ขัดแย้งกับนักศึกษา, ประชาชน, ผู้ใช้แรงงานพลังก้าวหน้าที่เติบใหญ่หลัง 14 ตุลา 16 ผนึกกำลังทั้งภาครัฐ, ข้าราชการ และนอกภาครัฐ  ทั้งมีการจัดตั้งมวลชนฝ่ายขวาเพื่อดำเนินการปราบปรามฝ่ายก้าวหน้าอย่างรุนแรงโดยใช้การวางแผนตั้งแต่ 2516 เป็นต้นมา

 

ค. การปราบปรามของฝ่ายขวาโดยชูคำขวัญ “ขวาพิฆาตซ้าย”

ฝ่ายพรรคการเมือง - มีฝ่ายขวาประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย

สื่อมวลชน           - สถานีวิทยุยานเกราะ, บางกอกโพสต์, ดาวสยาม 

ฝ่ายมวลชน         - นวพล, กระทิงแดง, ลูกเสือขาวบ้าน

ฝ่ายรัฐ               - หน่วยงานความมั่นคง, ตำรวจ, ทหาร, ข้าราชการ

                          โดยที่กองทัพไม่แสดงตัวในการปราบปรามแต่

                          ทำการรัฐประหารทันทีเพื่อเปลี่ยนประเทศเป็น

                          เผด็จการเต็มใบละครึ่งใบในเวลาต่อมา

 

ง. กระบวนการปราบปราม

1. ใช้สื่อและกลุ่มองค์กรมวลชนจัดตั้งของหน่วยงานความมั่นคงทางทหาร, ตำรวจ เป็นหัวหอกกองหน้า

2. ใช้กระบวนการใส่ร้ายป้ายสีว่านักศึกษาเป็นพวกดูหมิ่นสถาบัน โดยแสดงละครแต่งหน้าคล้ายและมีการแขวนคอ ซึ่งเป็นเรื่องเท็จ เพราะนักศึกษาแสดงเรื่องพนักงานไฟฟ้าถูกฆ่าแขวนคอ

3. ใช้การใส่ร้ายป้ายสีว่านักศึกษาที่ชุมนุมในธรรมศาสตร์เป็นคอมมิวนิสต์ เป็นคนญวน ฯลฯ มีอาวุธ มีอุโมงค์ลับใต้ดิน

4. ใช้มวลชนนำตำรวจตระเวนชายแดนล้อมปราบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการทารุณ ป่าเถื่อน และจับกุมคุมขัง 

 

จ. ปัจจัยความสำเร็จของผู้ปราบปราม

เนื่องจากฝ่ายขวาจัดใช้อำนาจรัฐและกลไกความมั่นคง  รวมทั้งผนึกกำลังทุกส่วนเพื่อขจัดฝ่ายซ้าย  และมีลักษณะกว้างขวาง  มีการจัดตั้งตลอดเวลาหลัง 14 ตุลา 16  สามารถทำลายและแยกสลายองค์กรฝ่ายก้าวหน้าได้

 

ฉ. จุดอ่อนของผู้ถูกปราบปราม

-  รัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ร่วมมือกับประชาชนในการยับยั้งความรุนแรงจริงจัง

-   มีภาวะแย่งการนำในหมู่นักศึกษา ประชาชน และโจมตีกันเองภายใน

ทำให้การจัดตั้งของฝ่ายก้าวหน้าแตกแยก ไม่มีพลัง

-  ไม่มีการนำที่เข้มแข็งและสอดคล้องความเป็นจริงของสังคม

-   องค์กรนักศึกษาและประชาชนที่ก้าวหน้าถูกโดดเดี่ยวจากประชาชนส่วนใหญ่ ฝ่ายก้าวหน้าบางส่วนดำเนินการสุ่มเสี่ยง  ทำให้เสียแนวร่วม


ภาพเหตุการณ์บางส่วนเมื่อ 6 ตุลาคม 2519