“ธิดา”
เผยเยาวชนที่เข้าไปอยู่ในเรือนจำมี “เต้น” ดูแลก็เบาใจได้ระดับหนึ่ง / ตั้งคำถาม...เวทีรัฐสภาจะเป็นทางออกของประเทศไทยหรือเป็นกลไกของฝ่ายจารีตนิยม!
ยูดีดีนิวส์
: 27 ต.ค. 63 เล่าข่าวหน้าเรือนจำฯ กับ อ.ธิดา ผ่านการทำ Facebook
Live ที่แฟนเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 63
โดยประเด็นแรกที่ อ.ธิดากล่าวถึงคือวันนี้ได้เข้าเยี่ยม “ณัฐวุฒิ” แบบปกติ
ทำให้ได้เห็นหลายคนที่แม้จะอยู่ในช่วงกักตัวตามมาตรการโควิดแต่สามารถคุยกับทนายได้
(ญาติยังเยี่ยมไม่ได้) อาทิ เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์, ไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก,
คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นต้น
อ.ธิดากล่าวว่า
เท่าที่เห็นทุกคนที่ดิฉันพูดถึงก็ดูสุขภาพดี หน้าตายิ้มแย้ม
อีกอย่างคือทั้งเพนกวินและไมค์อยู่แดนเดียวกับคุณณัฐวุฒิ
ดังนั้นคุณณัฐวุฒิก็ดูแลพวกน้อง ๆ เยาวชนเหล่านี้แบบที่เคยทำ
และคุณณัฐวุฒิเคยบอกกับดิฉันว่าเขาจะไม่คุยเรื่องการเมืองอะไรลึก ๆ
เพราะถือว่าเป็นเรื่องของน้อง ๆ ที่เขาคิดตัดสินใจเอง
ซึ่งอาจารย์ก็ได้บอกไปว่าเป็นการดีแล้วเพนกวินจะได้ลดน้ำหนัก ณัฐวุฒิบอกว่า “จะลดน้ำหนักอะไรเพราะเพนกวินยังชอบกินขนมมาก”
อ.ธิดากล่าวต่อว่า
ความที่ว่าคนเสื้อแดงและนปช.ได้เจอสถานการณ์ที่ต้องเข้าไปอยู่ในที่คุมขังบ่อย ๆ ตลอดเวลา
ก็มีความเคยชินเป็นภาวะปกติ แต่สำหรับพวกน้อง ๆ
เยาวชนเหล่านี้ตัวดิฉันเองก็เป็นห่วง โดยเฉพาะ “รุ้ง ปนัสยา”
ซึ่งอยู่ในเรือนจำผู้หญิง แต่ดิฉันหวังว่าภาพที่เห็นรัฐมนตรีมาเยี่ยม
“รุ้ง-เพนกวิน-ไมค์”
ดิฉันดูแล้วก็รู้สึกสบายใจขึ้นว่าอย่างน้อยคงไม่มีการสัญญาว่าจะได้อะไร
แต่ในเชิงจิตวิทยาเราก็น่าจะพอเชื่อได้ว่าไม่มีการรังแกไม่มีการกลั่นแกล้งใด ๆ
ในทัศนะของดิฉัน
ส่วนคนที่ดิฉันไม่ได้เห็นก็คือ
คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข, เอกชัย หงส์กังวาน เพราะเขาคงไม่ได้มาพบทนายในเวลานั้น ๆ
แต่ทั้งสองคนถ้าพูดง่าย ๆ ก็เป็นศิษย์เก่า ก็คงมีความเคยชินระดับหนึ่ง
หมายถึงเรื่องร้าย ๆ มากก็คงไม่เกิดขึ้น
แต่จะสะดวกสบายและได้รับการดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ คงไม่ใช่อย่างนั้น
เพียงแต่อย่าให้มีกรณีของการข่มเหงรังแก
เพราะไม่ว่าจะคิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรก็ตาม
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้อง หรือการรังแกกันก็ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม
เมื่อก่อนในกลุ่มเสื้อแดงที่อยู่ในเรือนจำเป็นคนส่วนใหญ่ แล้วมีคนเสื้อเหลืองบางคน
เช่น คนที่ขับรถทับตำรวจ หรือมือปืนป็อบคอร์น
เท่าที่ดิฉันทราบเวลาที่เขาเข้าไปอยู่ในเรือนจำเขาก็กลัวนะ
แต่ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น ก็คือ “คนเสื้อแดง” ต่อให้เขาไม่ได้เป็นปัญญาชน
วิธีคิดของคนเสื้อแดงไม่ใช่วิธีคิดแบบอันธพาล เป็นวิธีคิดที่มุ่งสิ่งที่ดี ๆ
ให้เกิดขึ้นในประเทศนี้ ดังนั้นลักษณะอันธพาลที่จะไปทำร้ายคนอื่น
ดิฉันคิดว่าปกติก็ไม่เกิด เพราะงั้นเราจะพบว่าในม็อบของเยาวชนเท่าที่ดิฉันสังเกต
คนใส่เสื้อเหลืองเดินเข้าไปก็ได้
แม้กระทั่งทนายนกเขาที่เข้าไปอยู่กลางวงก็บอกว่าไม่มีปัญหาอะไร
สำหรับเยาวชนที่เข้าไปอยู่ในเรือนจำก็เบาใจได้ระดับหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามหลายคนก็ยังเรียนหนังสือก็ควรจะได้ออกไปเพื่อไปเรียนไปสอบ
แม้กระทั่งคนที่ไม่ได้เรียนก็ตาม
คือคนที่มีความคิดต่างทางการเมืองและไม่ได้ทำความผิดอะไร
ไม่สมควรจะมาอยู่ในเรือนจำ นี่เป็นทัศนะของดิฉัน
อ.ธิดายังกล่าวอีกว่า
ที่ผ่านมาแกนนำเสื้อแดงและคนเสื้อแดงก็เหมือน “พลีชีพ”
เพื่อความอยุติธรรมอันนี้มาโดยตลอด และยังไม่สิ้นสุด ยังมีคดีความอีกมากมาย
เพื่อที่จะให้สังคมมองเห็นว่าเพียงคนเห็นต่าง
เพียงคนออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยสันติ แล้วจะต้องติดคุกติดตะรางเป็นสิบ
ๆ ปี หรือแม้กระทั่งคดีแพ่งอะไรก็ตาม มันสมควรแล้วหรือ?
สำหรับสถานการณ์ทางการเมือง
อ.ธิดา ได้ตั้งประเด็นสนทนาในวันนี้คือ
เวทีรัฐสภาจะเป็นทางออกของประเทศไทยหรือจะเป็นกลไกของฝ่ายจารีตนิยม
อ.ธิดากล่าวว่า
วันก่อนที่นายกฯ บอกว่า “ถอย” โดยการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรงและเปิดรัฐสภา
ในทัศนะดิฉันนั้น ไม่ได้ถอยเลย!
“คุณยกเลิก
พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง เพราะว่ามันบังคับใช้ไม่ได้และถูกประณามจากทั่วโลก
มันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะคุณจะมาใช้กับเด็กที่ไม่มีอาวุธ
ไม่มีอะไรเลยและเป็นเยาวชนด้วย คุณใช้ไม่ได้ แม้กระทั่งคุณฉีดน้ำ ฉีดสี
ในขณะที่ตอนคุณปราบคนเสื้อแดง คุณยิงด้วยอาวุธจริง ทั้งจากที่ลับและที่แจ้ง
แล้วก็บอกว่าเป็นเขตใช้กระสุนจริงอย่างไม่มีความอายเลยว่ากระทำต่อประชาชนที่มือเปล่า”
อ.ธิดากล่าว
มาถึงขั้นนี้บอกว่า
“ถอย” ดิฉันว่า “ไม่ถอย” เพราะว่าญัตติที่รัฐบาลเสนอ
ไม่ใช่ญัตติที่เริ่มต้นด้วยข้อเรียกร้องของกลุ่มเยาวชน ประชาชน
เอาข้อเรียกร้องนั้นมาเพื่อศึกษาและแสดงความคิดเห็นเพื่อดูว่าประเทศจะหาทางออกยังไง?
มันไม่ได้เริ่มต้นด้วยอย่างนั้น
แต่มันเริ่มต้นด้วยญัตติที่ประมาณว่าจะหาเรื่องหาราวกับกลุ่มเยาวชนโดยที่ตั้งข้อหาซึ่งร้ายแรงมากในมาตรา
110 ถึงกับขั้นประทุษร้ายสมเด็จพระราชินี ซึ่งดิฉันคิดว่าประเด็นเหล่านี้จริง ๆ
แล้วต้องทำความจริงให้ปรากฎว่าปัญหามันเกิดจากอะไร แต่มันไม่ควรจะเป็นญัตติในรัฐสภา
รัฐสภามันต้องเป็นญัตติในการหาทางออกให้กับประเทศ ใช้เวลาให้เหมาะสม
ให้เกิดประโยชน์ แต่ถ้าคุณจะเอาเรื่องเด็ก คุณก็ต้องทำความจริงให้ปรากฏ!
นอกจากญัตติที่นำเสนอไม่สอดคล้องกับการหาทางออกของประเทศ
มันไม่ใช่ทางออกแล้ว (เป็นทางตรงข้าม) ผู้ที่ออกมาพูดคือ คุณไพบูลย์ นิติตะวัน,
คุณปารีณา ไกรคุปต์, คุณสิระ เจนจาคะ แปลว่าคนเหล่านี้ล้วนเป็นดาวยั่ว ดาวร้าย
ที่จะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น ใช่หรือเปล่า?
เพราะว่ามันไม่ได้เริ่มต้นด้วยการหาทางออกของประเทศ
แต่ประมาณว่ามาฟ้องร้องและอยากจะทำให้เรื่องขยายโดยการมาเอาผิดกับนักเรียน
นักศึกษา ประชาชน ในข้อหาร้ายแรงด้วยหรือเปล่า? อ.ธิดาตั้งคำถาม
ดิฉันคิดว่าการเปิดเวทีรัฐสภาครั้งนี้เป็นอย่างหลัง
คือไม่ใช่ทางออกประเทศ แต่เป็นกลไกของจารีตนิยมที่ต้องการขยายความขัดแย้ง
(ประมาณว่ามาฟ้องร้องในหมู่ประชาชน)
แล้วผลที่เกิดขึ้น
ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการหาทางออกประเทศ นำปัญหามาพิจารณา เช่น
ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปัญหานายกฯ ลาออกได้หรือไม่
ทำอย่างไรให้รัฐบาลเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชนและสามารถที่จะนำพาประเทศนี้ฟันฝ่าอุปสรรคไปได้
เพราะถ้ารัฐบาลไม่ได้เป็นที่เชื่อถือมันก็จะมีม็อบทุกวัน แต่ถ้ารัฐบาลน่าเชื่อถือ
ประเทศก็จะอยู่ในความสงบและหาทางออกประเทศ
ถ้ามันไม่ใช่หาทางออกประเทศ
แต่เป็นการรุกต่อฝ่ายผู้เห็นต่าง รุกต่อฝ่ายเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา
ที่ออกมาในข้อเสนอ 3 ข้อ คือข้อเสนอแรกให้หัวหน้ารัฐบาลลาออกเพราะประชาชนไม่เชื่อถือไม่ศรัทธาในการที่จะให้นำพาประเทศนี้
อันที่สองคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามญัตติเนื้อหาที่ประชาชนนำเสนอ
ส่วนอันที่สามก็คือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
อ.ธิดากล่าวว่า
ขอให้มองด้านบวก อย่ามองด้านลบ มองด้านบวกมันเป็นเส้นทางที่ดี
คือทางออกประเทศนี้ทำได้ไหม? ถ้ามองด้านบวกแล้วก็ช่วยกันเอา 3
ข้อเรียกร้องนี้มาพิจารณา ผลที่เกิดขึ้นก็คือทุกคนจะช่วยกันหาทางออกของประเทศ
ไม่ใช่แต่เวทีรัฐสภา เวทีนอกรัฐสภาด้วย ครูบาอาจารย์ กลุ่มชมรมต่าง ๆ
แม้กระทั่งม็อบทั้งสองฝ่ายช่วยกันหาทางออกของประเทศอย่างมีเหตุผล
แต่สิ่งนี้มันไม่เกิดขึ้นเพราะว่าถ้าเอาดาวยั่วและเอาญัตติแบบนี้ก็คือต้องการขยายความขัดแย้ง
อะไรจะเกิดขึ้น?
ดิฉันอยากจะฝากเตือนมายังส.ส.ทั้งหลายไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล
ให้คิดว่าถ้าเวทีรัฐสภาไม่ใช่ทางออก คนก็ต้องไปออกนอกรัฐสภา
อย่างครั้งที่แล้วมีแกนนำเยาวชนบอกว่าเขาผิดหวังมากกับเวทีรัฐสภารอบก่อน
ตอนที่โหวตเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ แล้วมันก็เป็นไปไม่ได้
ดังนั้นคนก็มาออกนอกรัฐสภา
เที่ยวนี้เป็นที่เที่ยวที่สองที่เวทีรัฐสภามีโอกาสที่จะหาทางออกให้กับประเทศ
หลายคนไม่ว่าจะเป็น ส.ส.รัฐบาลหรือ ส.ว. คุณคิดให้ดีนะว่าถ้าคุณแสดงตัวเป็นกลไกของจารีตนิยม
อำนาจนิยม คุณไม่ต้องการให้เสียงของประชาชนผู้เห็นต่างได้รับการปฏิบัติ เมื่อก่อนคุณเคยพูดถึงคำว่า
“เผด็จการรัฐสภา” ก็คือมีส.ส.มาจากการเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก เที่ยวนี้มี ส.ส.
มาจากการเลือกตั้งจำนวนหนึ่ง แต่มาจากการแต่งตั้งอีก 250 แล้ว ส.ส.
รัฐบาลนั้นมาด้วยกลไกอะไร ถามตัวเองซิ
อ.ธิดากล่าวว่า
เมื่อเป็นเช่นนี้คำถามว่ามันจะเป็น “เผด็จการรัฐสภา” ตัวจริงหรือเปล่า?
เพราะว่ามันอยู่ด้วยกับองค์กรโครงสร้างเดิม
อยู่ด้วยกับอำนาจซึ่งมีทั้งอำนาจทางกองทัพ อำนาจทางองค์กรอิสระ
อำนาจทางรัฐข้าราชการ
กระทั่งอำนาจในกระบวนการยุติธรรมซึ่งมีบทบาทเหนือกว่าที่ครอบงำประเทศ
มากไปกว่าการเป็นรัฐบาลด้วยซ้ำ
ถามว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้
ถ้ารัฐสภาเป็นกลไกอีกอันหนึ่งของฝ่ายจารีตนิยม อำนาจนิยม นอกจากที่ดิฉันพูดไปแล้ว
ปกติต่อให้คุณชนะในรัฐสภา
ฝั่งจารีตนิยม อำนาจนิยม ก็มีกลไกแบบที่ดิฉันพูดอยู่แล้วทั้งหมด
ทำให้เสียงข้างมากในรัฐสภาเดินต่อไม่ได้ รัฐบาลมาจากเสียงข้างมากก็เดินต่อไม่ได้
มาจากการเลือกตั้ง 2-3 รอบ ก็เดินต่อไม่ได้
แต่ตอนนี้คุณสามารถกุมกลไกรัฐสภาได้จำนวนหนึ่ง
ดังนั้นถ้ารัฐสภาครั้งนี้เป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญของฝ่ายจารีตนิยม
คำถามก็คือประชาชน
(คนเห็นต่าง) จะไปทางไหน? ก็อยู่นอกรัฐสภา!
แล้วพอนอกรัฐสภา...อะไรจะเกิดขึ้น?
ความรุนแรงมันอาจจะเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์อะไรก็ได้
ถึงแม้ว่าเขาจะหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด ดิฉันดูแล้ว...เยาวชนไม่ต้องการจะรบกับใครหรอก
แต่ดังที่ดิฉันเคยบอกว่ายิ่งไม่มีอะไร ยิ่งมีความจริงใจ มีความอ่อนเยาว์ในวัย
มันยิ่งเป็นอะไรที่น่ากลัว น่ากลัวกว่าคนที่มีนะ คนที่มีอาวุธ
มีเครื่องไม้เครื่องมือทุกอย่าง กับเด็กเล็ก ๆ ที่ไม่มีอะไร
ธรรมดาเราก็บอกว่าผู้ใหญ่ต้องไม่รังแกเด็ก อันนี้ไม่ใช่ผู้ใหญ่อย่างเดียว แต่มีกลไกทุกอย่าง
รังแกเด็ก แล้วมันเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลก
อย่าคิดแต่เพียงว่ามีอำนาจทุกอย่างแล้วทำกับประเทศไทยเหมือนในอดีตนะคะ เพราะว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว ถ้ายังไม่ปรับตัว ยังไม่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลก ดิฉันมองว่า ส.ส. ในรัฐสภาทุกวันนี้ ไม่ว่าคุณจะสังกัดพรรคอะไร ฝ่ายค้านหรือรัฐบาล คุณจะต้องถูกจารึกว่าคุณเป็น ส.ส. รุ่นที่ทำให้ประเทศชาติยับเยินและเกิดความเสียหายร้ายแรงในประเทศ...หรือเปล่า? เพราะว่าคุณมอง scenarioที่จะเกิดขึ้นว่าเกมในรัฐสภาจะทำให้ประชาชนต้องยกระดับการต่อสู้นอกรัฐสภามากขึ้นหรือเปล่า?
และเมื่อต่างฝ่ายต่างยกระดับการต่อสู้นอกรัฐสภา
ประเทศไทยก็หายนะ!
ดังนั้น คุณจะเป็น ส.ส. รุ่นที่ทำให้ประเทศหายนะ
หรือ คุณจะเป็น ส.ส. รุ่นที่แก้หายนะของประเทศ
คุณก็เลือกเอา!!! อ.ธิดากล่าวในที่สุด