จุดเปลี่ยนชีวิต
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ที่ทำให้เรียกร้องประชาธิปไตย
(โดย
Bright
TV)
14
ตุลา มันเปลี่ยนชีวิตอาจารย์ไปพอสมควรเพราะเห็นนักเรียนอาชีวะที่วิ่งไปแล้วถูกยิง
ซึ่งก่อนจะไปเราห้ามเขาแล้ว เขาก็บอกว่า “ถ้ามันไม่มีการสูญเสียก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนเปลง”
มันเปลี่ยนชีวิตอาจารย์ เปลี่ยนความคิดอาจารย์ไปทั้งหมดเลยว่า
"ถ้าคนอื่นเขายอมสละชีวิตได้แล้วเราจะไปมุ่งหาความเจริญก้าวหน้าส่วนตัวของเราได้อย่างไร?"
แต่ในช่วง
14 ตุลา อาจารย์เป็นอาจารย์เด็ก ๆ เพิ่งจบปริญญาโทใหม่ ๆ
เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชาวค่ายมหิดล นักศึกษาแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เหล่านี้ก็จะรู้จัก
ซึ่งช่วงก่อน 14 ตุลาเล็กน้อย “งานค่าย” กำลังกำลังรุ่งเรือง
หลังจากนั้นก็มาสู่การเมือง
เพราะฉะนั้นช่วง
14 ตุลา 16 ถึง 6 ตุลา 19 อาจารย์ก็ลงพื้นที่ชาวนาชาวไร่ไปพร้อมกับพวกนักศึกษา
อย่างเช่น วงกรรมาชน เป็นต้น ก็ยิ่งไปเห็นสภาพของสังคมซึ่งเราไม่คิดว่าคนจะทำกับคนได้
คือประมาณว่าชาวนาชาวไร่เขาถูกโกงที่ดิน ตอนนั้นราคาข้าวมันแพง
เขาอยากได้ที่ดินคืน การโกงก็คือการกู้เงินนอกระบบง่าย ๆ ที่ปั๊มหัวแม่มือบนกระดาษเปล่าแล้วผู้ให้กู้ไปเขียนเอง
มันเป็นเรื่องที่โหดเหี้ยมมาก ซึ่งเรานึกไม่ถึงว่ามันจะเป็นอย่างนี้
หลังจากนั้นกระบวนการนักศึกษาก็ถูกสาดโคลนว่าจะไปวางระเบิดที่โน่นที่นี่
มันก็เป็น “เฮดสปีด” คล้าย ๆ เหมือนที่คนเสื้อแดงโดนกระทำว่าเป็นพวกใช้ความรุนแรง
เป็นพวกคอมมิวนิสต์ เป็นพวกมีระเบิด หรืออะไรต่าง ๆ
แรก ๆ 14 ตุลา ยังไม่เจอข้อหาคอมมิวนิสต์เท่าไหร่ แต่พอหลังไปจากนั้นก็เริ่มมีวาทกรรมที่เป็น “เฮดสปีด” เหล่านี้มากขึ้น จึงทำให้อาจารย์ยิ่งรู้สึกว่าชีวิตการเมืองของคนไทยมันไม่ปกติ มันจำเป็นที่ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนช่วยกัน คนที่สูญเสียชีวิตก่อนหน้านี้ก็มาก พอมา 14 ตุลา มา 6 ตุลา ยิ่งหนัก
นี่จึงทำให้ชีวิตอาจารย์ซึ่งปกติเป็นคนชอบประวัติศาสตร์ ชอบท่องเที่ยว ชอบสนุกสนาน
เพราะอาจารย์ก็เป็นคนสนุกสนานมีเพื่อนมาก
มันเลยต้องเปลี่ยนกลับมาสนใจและก็มาทุ่มเทให้กับการเมือง
เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราทำให้เรารู้สึกว่าเราจะเมินเฉยมันไม่ได้
เราจะปล่อยให้ประเทศเป็นอย่างนี้โดยที่เราเห็นแก่ตัวไปเอาดีทางราชการ เพราะอาจารย์มีตำแหน่งอยู่แล้ว อาจารย์ไม่ได้เดือดร้อนอะไร
มันจึงเป็นที่มาจนถึงทุกวันนี้.