อดีตลูกจ้างโรงงาน
3 บริษัท ถูกนายจ้างลอยแพ ไร้เงินชดเชย เดินขบวนไปทำเนียบ ก่อนหารือ “สมคิด
เชื้อคง” ได้ข้อยุติ 4 เม.ย. 67 นำเรื่องเข้าที่ประชุม
ครม.เสนองบฯ กลาง ช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้างที่ถูกลอยแพ
วานนี้
(5 มีนาคม 2567) “เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน”
นำโดย ธนพร วิจันทร์ นำอดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท
ประกอบด้วย แอลฟ่าสปินนิ่ง เอเอ็มซีสปินนิ่ง บอดี้แฟชั่น
ที่ชนะคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แต่กระทรวงแรงงานกลับไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย
ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ดอกเบี้ย เงินโบนัส ฯลฯ ตามคำสั่งศาลและพนักงานตรวจแรงงานได้
บางคดีคนงานชนะไปตั้งแต่ปี 2562 จนปัจจุบัน 2567 ยังไม่ได้รับค่าชดเชย
โดยมีการตั้งขบวนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ก่อนที่ 10.40
น. ขบวนได้เดินเท้าไปตามเส้นทางถนนนครสวรรค์ แยกนางเลิ้ง
และมุ่งตรงไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง 'เศรษฐา
ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีให้แก้ไขปัญหากรณีถูกนายจ้างลอยแพ
เครือข่ายแรงงานฯ
ให้รายละเอียดว่า คนงานตัดเย็บทั้ง 3 โรงงาน ได้แก่
โรงงานบอดี้แฟชั่น จำนวน 1,174 คน, โรงงานแอลฟ่าสปิ่นนิ่ง
จำนวน 132 คน, และโรงงานเอเอ็มซีสปินนิ่ง
153 คน รวมเกือบ 1,500 คน
ทยอยถูกเลิกจ้างต่อเนื่องหลังบริษัทปิดการตั้งแต่ปี 2562-2566 นายจ้างทั้ง 3 บริษัทปฏิเสธที่จะจ่ายเงินให้คนงานตามกฎหมาย
แต่เยาะเย้ยว่า "ถ้าอยากได้เงินก็ไปฟ้องเอา"
ระหว่างนี้คนงานไม่ได้ละเลยสิทธิ
แต่ตบเท้าขึ้นศาลแรงงานและพบพนักงานตรวจแรงงานอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งผ่านมาหลายปี คนงานทั้ง 3 โรงงานก็ชนะคดีและชนะคำตัดสินของพนักงานตรวจแรงงานในที่สุด
เครือข่ายแรงงานฯ
ระบุด้วยว่ากระบวนการที่ผ่านมาไม่ง่ายเลย ทั้งกินเวลานาน และมีต้นทุนสูง
เพื่อแลกกับค่าชดเชยและค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ศาลมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย รวม 3 โรงงาน
279 ล้านบาท เงินจำนวนนี้อาจฟังดูเยอะ แต่สำหรับคนงานราว 1,500
คน เงินจำนวนนี้คิดเป็นคนละไม่ถึง 2 แสนบาทเท่านั้น
สำหรับการทำงานอย่างขันแข็งมาตลอดหลายปี
ที่ผ่านมา
คนงานพยายามติดต่อรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานเพื่อให้ช่วยติดต่อกับนายจ้างให้เร่งรัดสั่งจ่าย
แต่ก็ไม่เป็นผล ทั้งที่โรงงานบอดี้แฟชั่นเป็นผู้ผลิตชุดชั้นในแบรนด์ระดับโลก เช่น Victoria's Secrets,
Triumph, Huber ส่วนโรงงานแอลฟ่าสปินนิ่งและเอเอ็มซีสปิ่นนิ่งก็ยังดำเนินธุรกิจในไทยต่อเนื่องอย่างหน้าชื่นตาบาน
ส่วนกระทรวงแรงงานก็นิ่งเฉย ไม่ได้ช่วยอะไรมาตลอดหลายปี
พวกเขาถูกโกงเงินโดยนายจ้าง
และถูกหักหลังซ้ำโดยกระทรวงแรงงาน เครื่อข่ายแรงงานฯ เผย
ด้านตัวแทนคนงานได้ฝากข้อความถึงนายพิพัฒน์
รัชกิจประการ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานว่า
กระทรวงแรงงานต้องมีหน้าที่เร่งรัดติดตามนายจ้าง
และในขณะเดียวกันก็ต้องอนุมติงบกลาง 279 ล้านมาสำรองจ่ายเป็นค่าชดเชยให้คนงานก่อน
เพราะไม่สามารถรอเงินจากนายจ้างได้อีกแล้ว
กระทรวงแรงงานต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้ดูแลสวัสดิภาพของคนงาน
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ในคำแถลงข้อเรียกร้องของกลุ่มอดีตลูกจ้างทั้ง 3 บริษัทได้ขอให้รัฐบาลช่วยเร่งอนุมัติจ่ายเงินงบกลางหรือเงินอื่นใดในการเยียวยาคนงานทั้ง
3 บริษัทในอัตราตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานก่อน
จากนั้นให้ดำเนินคดีต่อนายจ้างทั้ง 3 บริษัทเพื่อนำเงินจากนายจ้างมาใช้คืนกับรัฐบาล
ในข้อเรียกร้องอ้างถึงผลการประชุมร่วมกันระว่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานกับทางกระทรวงแรงงานโดยมีพิพัฒน์
รัชกิจประการ รัฐมนตรีและอารี ไกรนรา เลานุการรัฐมนตรีร่วมประชุมด้วยไปเมื่อ 22 ธ.ค.2566
จนได้ข้อสรุปที่จะต้องมีการดำเนินการ 2 ข้อดังนี้
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในวันที่
28 ธ.ค.2566 เพื่อแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์อัตราเงินที่จะจ่าย และระยะเวลาการจ่าย พ.ศ.2565
ในอัตราที่สูงขึ้นจากระเบียบเดิม
กระทรวงแรงงานจะเสนอคณะรัฐมนตรี
เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นมาจ่ายให้แก่ลูกจ้้างทั้ง 3 บริษัท
เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินตามสิทธิครบถ้วนตามกฎหมายโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้
เวลา 12.45
น. ขบวนเดินเท้าของลูกจ้างถูกสกัดมาเดินมาถึงเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ
หน้าทำเนียบรัฐบาล โดยเจ้าหน้าทีาตำรวจนำรั้วแผงเหล็ก และรถกระบะตำรวจขวางกั้นไว้
รวมทั้งมีตำรวจยืนเป็นแนวแผงกั้นอีกที ทำให้ขบวนลูกจ้างต้องหยุดปักหลักที่เชิงสะพานชมัยฯ
ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอะรุ
กระทั่ง
เวลา 17.40
น. นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
และมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เชิญตัวแทนอดีตลูกจ้างทั้ง 3
บริษัท ประกอบด้วย เอเอ็มซีสปินนิ่ง อัลฟ่าสปินนิ่ง และบอดี้แฟชั่น
รวมถึงธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงฯ จำนวนแล้วประมาณ 10 คน
เข้าไปหารือร่วมตัวแทนรัฐบาลเพื่อหาทางออกแก้ไขปัญหากรณีแรงงานถูกลอยแพ
และไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ค่าชดเชย โบนัส เงินค่าล่วงเวลา และอื่น ๆ
ที่นายจ้างค้างจ่าย และที่เหลือนั่งรอฟังข่าวที่บริเวณเชิงสะพาน
มีการให้ตัวแทนอดีตลูกจ้างแต่ละบริษัทสลับสับเปลี่ยนกันปราศรัย
และร้องรำทำเพลงเกี่ยวกับแรงงานเพื่อเป็นการผ่อนคลายบรรยากาศ
จนเวลาผ่านไปกว่า
2 ชั่วโมง ขบวนแรงงานที่ปักหลักเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ
เกิดความกังวลใจที่ตัวแทนเข้าไปพูดคุยด้านในและยังไม่แจ้งข่าวออกมา
จึงได้รยมตัวกันเดินขยับป่านแนวรั้วกั้นเจ้าหน้าที่
และเกิดวิวาทะกับเจ้าหน้าที่เล็กน้อยแต่ไม่มีเหตุชุลมุน ก่อนที่จะผ่านไปด้วยดี
โดยเวลาประมาณ
20.50 น. ตัวแทนแรงงานที่ได้เข้าหารือกับตัวแทนฝ่ายรัฐบาลเสร็จสิ้นแล้ว
ได้เดินออกมาแจ้งข่าวที่เชิงสะพานชมัยมรุเชฐ
ธนพร
วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน หนึ่งในตัวแทนที่ได้ร่วมหารือระบุว่า
เจรจาจบตั้งแต่ 18.00
น. แต่ทำเอกสารประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า
โดยที่ช้าเนื่องจากเจ้าหน้าที่พิมพ์เอกสารช้า ซึ่งทางแกนนำก็รู้สึกหงุดหงิดเช่นกัน
เพราะเป็นแค่เอกสารหน้าเดียว
สำหรับผลการหารือเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาแรงงานถูกนายจ้างต่างชาติลอยแพ
มีรายละเอียดดังนี้
1.
มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามดำเนินคดีอาญากับนายจ้างของ 3 บริษัท
2.
กรณีที่กระทรวงแรงงานเสนองบประมาณในการเยียวยาลูกจ้างที่ถูกลอยแพ 3
บริษัท เข้าสู่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรี
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (สมคิด เชื้อคง) รับประสานงาน 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณคณะกรรมการนโยบายบริหารทุนหมุนเวียน
ในการทำความเห็นประกอบการเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อย่างเร่งด่วน
โดยคาดว่า 5 หน่วยงานดังกล่าวจะส่งความเห็นกลับมาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายในวันที่
20 มี.ค. 2567 และเข้าสู่วาระการประชุมคณะรัฐมนตรีภายใน
4 เม.ย. 2567
และได้ประกาศยุติการชุมนุม
เมื่อเวลาประมาณ 21.15
น. เพื่อติดตามรอคอยวันที่ 4 เมษายน 2567
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิ