“ชัยวุฒิ”
รมว.ดิจิทัล หารือร่วมกับ “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” จัดการสายสื่อสารลงดิน ตั้งเป้า 800 กม.
ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน 16 เขต
วันนี้
(4 ก.ค. 65) เวลา 13.00 น. นายชัชชาติ
สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หารือร่วมกับนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉ ที่ ห้องประชุมผู้บริหาร ชั้น 30 อาคาร เอ็นที ทาวเวอร์ ถ.เจริญกรุง บางรัก ในเรื่องกรุงเทพมหานครเมืองอัจฉริยะ
(Bangkok Smart City) และการบริหารจัดการท่อร้อยสายสื่อสารลงใต้ดิน
นายชัชชาติ
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ต้องแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง
1.
การจัดระเบียบสายที่รกรุงรังก่อน ซึ่งอาจจะไม่ต้องนำลงดินทันที
แต่อย่างน้อยสายที่ไม่ได้ใช้รื้อออกให้หมดก่อน ซึ่งทาง กสทช. ได้มีแผนอยู่แล้ว
และมีเงินอุดหนุนให้ด้วยในการเอาออก เพราะการเอาออกต้องใช้แรงงานในการคัดเลือกสาย
เป้าหมายปีแรก
800 กิโลเมตรในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน 16 เขต
ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรและสายสื่อสารหนาแน่น ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะตอนนี้ก็เดือน
ก.ค.แล้ว ทำไปได้ประมาณ 20 กิโลเมตร
เพราะฉะนั้นต้องผลักดันตามเป้าให้ได้ จากนี้ต้องเอาจริงเอาจริง มีแบบแผน ต้องกำหนด
KPI ว่าแต่ละเดือนจะจัดระเบียบเท่าไหร่
มองว่าต้นทุนเท่าเดิมแต่เวลานั้นเป็นเรื่องสำคัญ
2.
การนำสายสื่อสารลงดิน แต่ก่อน กทม. อาจจะคิดถึงแต่ทาง บริษัท
กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) แต่จริง ๆ แล้วมีผู้ประกอบการอื่นที่มีท่อเก่าอยู่แล้ว
เช่น NT หากคิดค่าเช่าท่อแพง อาจเป็นภาระของประชาชน
ทั้งนี้
ทาง KT,
NT, กทม. และกสทช.
ต้องมาหารืออีกครั้งเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนผู้ใช้บริการ
ผู้ว่าฯ
ชัชชาติ ยังระบุว่า การจัดระเบียบสายสื่อสารจะมีผลเป็นรูปธรรมตั้งแต่เดือน ส.ค.
จะเห็นได้ชัดว่าสายสื่อสารเป็นระเบียบขึ้น ทั้งนี้เตรียมจะบังคับใช้
พ.ร.บ.ความสะอาดฯ พ.ศ.2535 ในการนำสายที่ตายแล้วออก โดยอนาคตที่จะพาดสายสื่อสารจะต้องขออนุญาตจาก
กสทช. ด้วย
ส่วนงบประมาณ
2 หมื่นล้านบาทที่มีการเปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ นายชัชชาติ กล่าวว่า
เป็นงบที่ทาง KT ทำในโครงการท่อร้อยสารสื่อลงดิน
ซึ่งทำให้เพื่อผู้ประกอบการเช่า ซึ่งทำไปแล้วเพียง 7 กม.
แต่ไม่มีคนเช่า จึงต้องกลับไปพิจารณา
ด้านชัยวุฒิ
กล่าวว่า สำหรับ 800 กม. ใช้งบประมาณ 700 ล้านบาทซึ่งอนุมัติโดยครม. สำหรับการจัดระเบียบสายตายร่วมกับทาง
กสทช.
ส่วนการนำสายสื่อสายลงใต้ดิน
บางส่วนเป็นของ กทม. บางส่วนเป็นของ NT จึงจะตั้งคณะทำงานประกอบด้วย
กทม., กสทช. และ Operator ซึ่งการนำสายสื่อสารลงดินนั้นจะดูเป็นช่วง
ๆ ไป เพราะมีค่าเช่า 2,000-3,000 บาท การนำสายลงดินทั้งหมดอาจเป็นภาระของผู้บริโภค
จึงอาจจะใช้ท่อร้อยสายของ NT ที่มีอยู่แล้ว 4,450 เมตรแต่ต้องไปตรวจศักยภาพก่อน ซี่งจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าและให้บริการได้เร็วขึ้น
ส่วนประเด็นการจัดระเบียบสายตาย เบื้องต้นจะขอความร่วมมือจาก กฟน. และ Operator
#ชัชชาติสิทธิพันธุ์ #ผู้ว่าฯกทม