วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"โตโต้” นำผู้ที่ถูกจนท.ตร.ทำร้ายในเหตุการณ์รำลึก “วาฤทธิ์” หน้าสน.ดินแดง เข้ายื่นหนังสือถึงกมธ.พิจารณาร่างกฎหมาย กมธ.ชี้ในระหว่างพิจารณายังพบเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของพ.ร.บ.ชุดนี้มากขึ้น

 


"โตโต้” นำผู้ที่ถูกจนท.ตร.ทำร้ายในเหตุการณ์รำลึก “วาฤทธิ์” หน้าสน.ดินแดง เข้ายื่นหนังสือถึงกมธ.พิจารณาร่างกฎหมาย กมธ.ชี้ในระหว่างพิจารณายังพบเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของพ.ร.บ.ชุดนี้มากขึ้น

 

วันนี้ (1 พ.ย. 64) เวลา 12.15 น. นายปิยรัฐ จงเทพ หรือ โตโต้ ผู้อำนวยการกลุ่ม We Volunteer พร้อมด้วยนายอรรถสิทธิ์ นุสสะ ผู้เสียหายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบทำร้ายร่างกายภายใน สน.ดินแดง เหตุการณ์รำลึกนายวาฤทธิ์ สมน้อย เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 64 ที่ผ่านมา เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายและสิทธิมนุษยชน บริเวณรัฐสภา เกียกกาย

 

นายปิยรัฐ จงเทพ กล่าวว่า วันนี้ได้พาผู้เสียหายที่ถูกกระทำการจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 64 ที่ผ่านมาหน้าสน. ดินแดง สืบเนื่องจากวันนั้นมีชุมนุมนัดหมายกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นงานรำลึกถึงผู้เสียชีวิต "นายวาฤทธิ์ สมน้อย" จึงได้มีการนัดทำกิจกรรมรำลึกกัน หน้าจุดเกิดเหตุ แต่เหตุไม่คาดคิดคือการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ทั้งการเผากระดาษ มีการใช้สี มีการวางพวงหรีด แต่ทางตำรวจชุดปราบปรามนำกำลังพร้อมโล่ เข้าจับกุมผู้มาทำกิจกรรม แม้แต่ร้านค้าต่าง ๆ เสียหายหลายราย

 

"หนึ่งในผู้ถูกจับกุมและได้รับบาดเจ็บจากการถูกซ้อมทรมานของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่การจับกุมถึงห้องสอบสวนสน.ดินแดง" มีการข่มขู่ไม่ให้พบทนายหรือคนที่ไว้วางใจ มีการกระทำการต่อหน้าสื่อทั้งไทยและต่างประเทศ มีการยึดโทรศัพท์เพื่อเอาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยล่าสุดได้มีการตรวจสภาพร่างกายที่รพ.ศิริราชได้รับรองว่าถูกทำร้ายร่างกายจริง พบว่ามีร่องรอยที่ใบหน้า แขน ลำตัว ซึ่งอยู่ในขั้นรักษาตัว"

สิ่งที่ถูกกระทำได้มีการบันทึกแล้วอยู่ในเอกสารที่ได้ยื่นให้พิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยอยากถามไปถึงคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ด้วยว่า

 

1. เจ้าหน้าที่ปฏับัติการในวันนั้น ใช้กำลังพลทั้งหมดกี่กองร้อยและใครเป็นคนสั่งการ

2. เจ้าหน้าที่ผู้สั่งการในชุดจับกุมมีใครบ้าง ประกอบไปด้วยยศ ตำแหน่ง สังกัดใด

3. เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์หรือไม่ในการที่จะควบคุมผู้ต้องหาและการกระทำการรุนแรงโดยใช้อารมณ์ หรือใช้การบังคับทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหลักฐานโดยไม่มีทนายความ และหากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ จะมีบทลงโทษทางวินัยหรืออาญาอย่างไรบ้าง

 

อรรถสิทธิ์ นุสสะ ผู้เสียหายวัย 35 ปี กล่าวว่า "อยากถามถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า สามารถทำการแบบนี้ได้หรือไม่ เพราะจากวันที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้สึกผิดใดกับการกระทำการเช่นนี้"

 

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อรรถสิทธิ์ เล่าว่า เวลา 18.00 น.ได้มีการทำกิจกรรมรำลึกถึงน้องผู้เสียชีวิต ซึ่งได้มีการแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ แล้วได้มีตำรวจท่านหนึ่งบอกว่าให้วิ่งหนี ผมไม่เข้าใจว่าทำถึงให้วิ่งหนี จึงได้วิ่งแล้วได้มีตำรวจเข้ามาทำให้ผมล้มลง แล้วทำการการกดแขนขา คอ แล้วลากไปในรั้วบริเวณสน.ดินแดง ที่ผมได้มีการขัดขืนเพราะผมเจ็บมาก แต่ไม่ได้หนีแต่อย่างใด และได้พาไปในห้องสืบสวนสน.ดินแดง

 

จากนั้นได้มีจนท.ตร.นอกเครื่องแบบใส่เสื้อสีขาวรายหนึ่งได้มีการเข้าทำร้ายร่างกายแล้วพูดขึ้นมาว่า

 

"คนนี้พี่ขอ ไปบอกคนอื่นเลยคนนี้พี่ขอ มากับใคร เอ็งเก่งมากนักใช่มั้ย" แล้วถามว่ามายังไง ผมจึงได้บอกว่ามารถมอเตอร์ไซค์ จนท.ตร.คนนั้นได้บอกกลับว่า "โอเคดี เดี่ยวจะทำให้เหมือนอุบัติเหตุตาย"

 

จากนั้นได้ทำการซ้อมแตะเข้าที่ท้อง ใช้กระบองแทงเข้าซี่โครงด้านขวา จับหัวโขกเก้าอี้ไม้หลายที พร้อมขอรหัสเข้ามือถือแต่ผมจำไม่ได้เพราะว่าใช่การแสดงนิ้วเอา ผมจึงได้บอกไป แต่ไม่ใช่ เขาก็บีบคอ บอกไปกี่รอบก็ไม่ใช่ เขาก็บีบคออีกครั้ง จนผมเกือบหมดสติ จนเข้าได้สำเร็จ แต่เจ้าหน้าที่ยังต้องการรหัสอย่างอื่นอีก แต่ผมก็จำไม่ได้ เขาจึงกระทำแบบเดิมจนเข้าได้แล้วเขาถึงปล่อยผม อรรถสิทธิ์ ผู้เสียหาย กล่าว

 

ด้านรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หนึ่งในกมธ.กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นกรณีเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในจ. นครสวรรค์ อย่างคดีของพ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล ผู้กำกับโจ้ อดีตผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ คือการซ้อมทรมานผู้ต้องหาเพื่อบังคับให้รับสารภาพหรือบอกข้อมูลบางอย่าง ซึ่งได้เห็นรูปภาพ วิดีโอ บาดแผลที่ปรากฏตามร่างกายของผู้เสียหายแล้ว ในส่วนของ กมธ.กฎหมาย ขอให้คำมั่นว่าจะไม่นิ่งเฉยกับเรื่องดังกล่าวและผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

 

"ในระหว่างที่เรากำลังพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ก็ยังเกิดเหตุการณ์แบบนี้นับได้ว่าเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่ตั้งใจจะให้เป็นการแก้ปัญทั้งระบบ และอยากให้กรณีนี้เป็นกรณีสุดท้าย แต่เราพูดตั้งแต่กรณีสุดท้ายมาตั้งแต่คดีผู้กำกับโจ้ จนมาถึงกรณีนี้อีก"

 

รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวทิ้งท้ายว่า ฝากไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐว่า อย่าให้การควบคุมดูแลการชุมนุมเป็นไปด้วยความรุนแรงเลย รุนแรงไปสิ่งที่เกิดจะสร้างความบาดหมางให้เกิดขึ้นต่อประชาชน และการแก้ไขปัญหาก็จะเป็นไปโดยยากลำบากยิ่งขึ้น


#ม็อบ29ตุลา64 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์