อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำ Facebook Live ว่า ขณะนี้เราโด่งดังกับเรื่องคุณฮาคีม ซึ่งเป็นนักฟุตบอลที่ลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียตั้งแต่ปี 2557 ได้รับการรับรองจากรัฐบาลออสเตรเลียเป็นผู้ลี้ภัยในปี 2560 จากนั้นได้มาฮันนีมูนในประเทศไทยและถูกจับถูกคุมขังเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2561 ซึ่งบาห์เรนได้ขอให้ไทยส่งตัวฮาคีมกลับในฐานะเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ในที่สุดฮาคีมถูกนำตัวขึ้นศาลโดยอัยการของเราก็ทำหน้าที่แทนประเทศบาห์เรน
เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ประการแรก คุณจะนิยามว่าเขาเป็น "ผู้ร้ายข้ามแดน" หรือเป็น "ผู้ลี้ภัยข้ามแดน" และประการที่สอง จะปฏิบัติต่อเขาอย่างไร?
ประเด็นแรกคุณต้องตัดสินก่อน คุณกักบริเวณเขาเอาไว้ ตอนนั้นบอกว่ามีหมายแดงของตำรวจสากล (INTERPOL) แต่เมื่อเขาถอนหลังจากรัฐบาลออสเตรเลียรับรองความเป็นพลเมืองในฐานะผู้ลี้ภัยแล้ว ตอนนี้นอกจากกักบริเวณแล้วก็ส่งศาล สภาพของ "ฮาคีม" ตอนนี้ก็เลยอยู่ในสภาพของผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ
ภาพที่ปรากฎก็คือมีสิ่งที่เรียกว่า "กุญแจเท้า" แต่ภาพที่เห็นมันก็เหมือนโซ่ตรวนนั่นแหละ ซึ่งเมื่อวานนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่สถานทูตประเทศต่าง ๆ รวมทั้งออสเตรเลีย, องค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และอดีตนักฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียได้เห็นภาพดังกล่าวและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
คือเดิมคุณฮาคีมเขามีสถานะเป็นนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน ส่วนพี่ชายเขาไปเคลื่อนไหวในช่วงอาหรับสปริง สิ่งที่เขาอ้างอีกข้อหนึ่งในประเทศทางศาสนาคือเขาเป็นมุสลิมนิกายชีอะห์ (คนส่วนใหญ่ในบาห์เรนเป็นมุสลิมนิกายซุนนี) ช่วงที่ "ฮาคีม" เขาไปเตะบอลต่างประเทศและเขาถูกพิจารณาคดีลับหลังให้จำคุก 10 ปี และในที่สุดเขาก็ได้ลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียตั้งแต่ปี 54 และได้รับรองสถานะเป็นพลเมืองออสเตรเลียแล้ว
ในวันที่ 9 ธ.ค. 61 มาริส เพย์น รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลียได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทยปล่อยตัว "ฮาคีม" กลับออสเตรเลียทันที ล่าสุดเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความ ระบุรัฐบาลบาห์เรนไม่เคยแจ้งรัฐบาลออสเตรเลียแม้แต่ครั้งเดียวกรณี "ฮาคีม" หรือต้องการตัว "ฮาคีม" กลับประเทศบาห์เรน และรัฐบาลออสเตรเลียต้องการให้ "ฮาคีม" กลับไปประเทศออสเตรเลีย
อ.ธิดากล่าวว่าถ้าเราดูภาพก็จะมีการประท้วงจากผู้คนทั้งสายสิทธิมนุษยชน สายกีฬาฟุตบอล นี่เป็นภาพที่เรียกว่ากระจายรุนแรงและจะได้รับความเห็นอกเห็นใจมาก
ระหว่างความเป็น "ผู้ร้าย" กับ "ผู้ลี้ภัย" ซึ่งอ.ธิดาได้ลองเขียนผังหยาบ ๆ ดูเพื่อทำความเข้าใจกับความคิดตัวเองและฝากมายังพี่น้องด้วยว่าเรื่องนี้ มี .-
ประเทศที่ 1 ก็คือ มีคนออกจากประเทศนั้นในฐานะ "ผู้ลี้ภัย" กรณี "ฮาคีม" คือบาห์เรน เขาไปประเทศที่ 2 (บางคนต้องไป 2 หรือ 3 ประเทศด้วยซ้ำ)
ประเทศที่ 2 ประเทศจุดหมายปลายทาง กรณี "ฮาคีม" ประเทศที่ 2 คือ ออสเตรเลีย
ประเทศที่ 3 ประเทศที่ถูกจับและพิจารณาส่งกลับ กรณี "ฮาคีม" ไทยคือประเทศที่ 3
เมื่อ "ฮาคีม" อยู่ออสเตรเลียมาตั้ง 3 ปีจนได้สิทธิเป็นพลเมือง เขาก็คงลืมคิดไปว่าประเทศไทยปกครองด้วยรัฐแบบไหน? ลืมคิดไปว่าประเทศไทยมี "ผู้ลี้ภัย" แบบเขาออกจากประเทศไทยเยอะเลย อารมณ์เดียวกันกับประเทศที่ 1 (บาห์เรน) นั่นแหละ
เพราะฉะนั้นบรรดา "ผู้ลี้ภัย" ทั้งหลาย ถ้าคุณได้รับสิทธิผู้ลี้ภัยแล้ว เมื่อคุณจะไปเที่ยวประเทศไหนต้องดูเสียก่อนว่าประเทศนั้นปกครองด้วยระบอบอะไร? และประเทศนั้นมีคนลี้ภัยมากมั้ย? แบบเดียวกับตัวเองนั่นแหละ อย่าได้มาเป็นอันขาด ถ้ามาแล้วจะโดนตะครุบทันทีเลย!
อย่างแรกนิยามคำว่า "ผู้ร้าย" กับ "ผู้ลี้ภัย" บาห์เรนบอกว่านี่เป็นผู้ร้ายมีความผิดทางอาญาติดคุก 10 ปี ขณะที่ "ฮาคีม" บอกว่าไม่ใช่ เขาเตะฟุตบอลอยู่ต่างประเทศ อ.ธิดากล่าวว่า นี่เป็นเรื่องของประเทศที่ 2 คือ ออสเตรเลีย ที่เขายอมรับแล้วว่าถึงแม้บาห์เรนจะถือว่าเขาเป็น "ผู้ร้าย" แต่ออสเตรเลียถือว่าเขาเป็น "ผู้ลี้ภัย" นี่จึงเป็นตัวอย่างให้กับเรื่องของประเทศไทยนะ
คำว่า "ผู้ลี้ภัย" มันเป็นนิยามซึ่งเรียกว่า UNHCR องค์กรสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศ ปฏิญญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถ้าเริ่มต้นร้องไป UNHCR ในฐานะ "ผู้ลี้ภัย" แล้วไม่มีประเทศที่รับ มันก็จะลำบาก อาจจะต้องไปประเทศอื่นที่เขารับรอง แต่กรณี "ฮาคีม" เขาลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียและได้สิทธิเป็นพลเมืองออสเตรเลีย แปลว่าเขาครบถ้วนสมบูรณ์
นิยามคำว่า "ผู้ลี้ภัย" กับ "ผู้ร้าย" อ.ธิดาอยากบอกรัฐไทยว่า คุณก็จะตกที่นั่งแบบเดียวกันเวลาคุณพูดถึง "ผู้ลี้ภัย" คุณบอกว่า นี่คือผู้ร้าย นี่คอรัปชั่น นี่ทุจริต เขาคิดไม่เหมือนกันนะ คุณบอกว่านี่ผิดกฎหมายไทย แต่ประเทศอื่นเขาบอกว่าไม่ผิดกฎหมายของเขาหรืออยู่ที่เขาพิจารณา ต่อให้ศาลบาห์เรนตัดสินแล้วกรณี "ฮาคีม" ให้พวกเราเข้าใจด้วยว่าต่างประเทศเขาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามศาลบาห์เรน แสดงให้เห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้องเห็นด้วย
หมายความว่ารัฐไทยปัจจุบันซึ่งเป็นรัฐที่ยึดอำนาจจากประชาชนมา แต่มักจะเรียก "ผู้ลี้ภัย" ว่าเป็น "ผู้ร้าย" ดูกรณี "ฮาคีม" นี้เป็นตัวอย่างเป็นเครื่องเตือนให้เห็นว่า สักแต่ว่ามีอำนาจรัฐหรือกุมอำนาจรัฐแล้วจะกุมโลกทั้งโลก...ไม่ใช่นะ ไม่ได้นะ เพราะโลกเขาก็มีสายตา เขามีทัศนะของเสรีชน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคเท่าเทียมและนิติธรรม ตรงนี้รัฐไทยกำลังเผชิญหน้ากับสายตาระหว่างประเทศไทย รวมทั้งองค์กรกีฬาด้วย
อย่านึกแต่ว่าตัวเองมีอำนาจรัฐแล้วตีตราทุกคนเป็น "ผู้ร้าย" แล้วไปสงสัยว่าทำไมประเทศต่าง ๆ เขาให้อยู่ในฐานะ "ผู้ลี้ภัย" หรือให้เคลื่อนไหวในระดับหนึ่ง แน่นอนความสัมพันธ์ระดับรัฐต่อรัฐก็มี ผลประโยชน์ระหว่างรัฐต่อรัฐก็มี แต่มันต้องมีมนุษยธรรม ต้องมีลักษณะความเป็นธรรมสากล ต้องมีกติการะหว่างประเทศที่เป็นช่องทำให้รัฐประเทศอื่น ๆ สามารถให้ความช่วยเหลือ "ผู้ลี้ภัย" ได้ เพราะนิยามคำว่า "ผู้ร้าย" ไม่ตรงกัน
คำถามคือขณะนี้รัฐไทยพยายามที่จะขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ๆ ในการที่จะส่ง สิ่งที่ตัวเองเรียกว่า "ผู้ร้าย" แต่ประเทศอื่นเรียกว่า "ผู้ลี้ภัย" ข้ามแดน ให้กลับประเทศไทยหรือเปล่า? เวลาใครขอมาจึงมีแนวโน้มจะส่งกลับ โดยไม่นำพาว่าเขาอยู่ในสภาพอะไร? ซึ่งกรณี "ฮาคีม" อยู่ในสภาพ "ผู้ลี้ภัย" เรียบร้อยแล้ว รัฐบาลออสเตรเลียรับรองเป็นพลเมืองแล้ว เรียกว่านานาชาติต้องออกแรงมากกับประเทศไทย
อ.ธิดาคิดว่าทำอย่างนี้ไม่เหมือนกับการเลี้ยงข้าวเหนียวมะม่วงนักท่องเที่ยวจีนนะ กรณีนี้เลี้ยงข้าวเหนียวมะม่วงคงแก้ไม่ได้ นี่เป็นภาพที่มีปัญหากับนักกีฬาระหว่างประเทศ แรงเรียกร้องความเห็นใจจากทั่วโลกจะยิ่งมาก จะถูกกดดันจากองค์กรกีฬานานาชาติด้วย
คุณอย่าคิดมากว่าคนที่คุณเรียกว่า "ผู้ร้าย" แต่คนอื่นเรียกว่า "ผู้ลี้ภัย" แล้วเขาไม่ส่งกลับ ระหว่างที่คุณจะเลือกเป็นเพื่อนกับประเทศที่ตามตัวผู้ร้าย กับประเทศที่เขาสนับสนุนผู้ลี้ภัยใครมากกว่า...คิดให้ดี ประเทศที่สนับสนุนและให้การยอมรับผู้ลี้ภัยทางการเมืองมีมากกว่า แต่ประเทศที่พยายามบีบบังคับให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับประเทศตัวเองนั้นมีไม่กี่ประเทศ และนั่นหมายถึงประเทศไทยขณะนี้ด้วย
นี่ไม่ใช่เรื่องน่าชื่นชมถ้ารัฐไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเลือกตั้ง เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย กติการะหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองผู้คนที่ถูกละเมิดเป็นเรื่องสำคัญ
"ถ้ารักจะเป็นนักการเมืองต้องเรียนรู้ตั้งแต่ตอนนี้ เพราะนี่จะเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ค่ะ และดิฉันจะเป็นส่วนหนึ่งของ #SaveHakeem และเรียกร้องต่อรัฐไทยในฐานะพลเมืองไทยที่ไม่ต้องการขายขี้หน้า ประเทศไทยต้องเปลี่ยน ไม่ใช่ประเทศที่บังคับ "ผู้ลี้ภัย" และส่งตัวกลับ เพราะเป็นภาพที่น่ารังเกียจในสายตานานาชาติ" อ.ธิดากล่าวในที่สุด
เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ประการแรก คุณจะนิยามว่าเขาเป็น "ผู้ร้ายข้ามแดน" หรือเป็น "ผู้ลี้ภัยข้ามแดน" และประการที่สอง จะปฏิบัติต่อเขาอย่างไร?
ประเด็นแรกคุณต้องตัดสินก่อน คุณกักบริเวณเขาเอาไว้ ตอนนั้นบอกว่ามีหมายแดงของตำรวจสากล (INTERPOL) แต่เมื่อเขาถอนหลังจากรัฐบาลออสเตรเลียรับรองความเป็นพลเมืองในฐานะผู้ลี้ภัยแล้ว ตอนนี้นอกจากกักบริเวณแล้วก็ส่งศาล สภาพของ "ฮาคีม" ตอนนี้ก็เลยอยู่ในสภาพของผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ
ภาพที่ปรากฎก็คือมีสิ่งที่เรียกว่า "กุญแจเท้า" แต่ภาพที่เห็นมันก็เหมือนโซ่ตรวนนั่นแหละ ซึ่งเมื่อวานนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่สถานทูตประเทศต่าง ๆ รวมทั้งออสเตรเลีย, องค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และอดีตนักฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียได้เห็นภาพดังกล่าวและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
คือเดิมคุณฮาคีมเขามีสถานะเป็นนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน ส่วนพี่ชายเขาไปเคลื่อนไหวในช่วงอาหรับสปริง สิ่งที่เขาอ้างอีกข้อหนึ่งในประเทศทางศาสนาคือเขาเป็นมุสลิมนิกายชีอะห์ (คนส่วนใหญ่ในบาห์เรนเป็นมุสลิมนิกายซุนนี) ช่วงที่ "ฮาคีม" เขาไปเตะบอลต่างประเทศและเขาถูกพิจารณาคดีลับหลังให้จำคุก 10 ปี และในที่สุดเขาก็ได้ลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียตั้งแต่ปี 54 และได้รับรองสถานะเป็นพลเมืองออสเตรเลียแล้ว
ในวันที่ 9 ธ.ค. 61 มาริส เพย์น รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรเลียได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทยปล่อยตัว "ฮาคีม" กลับออสเตรเลียทันที ล่าสุดเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความ ระบุรัฐบาลบาห์เรนไม่เคยแจ้งรัฐบาลออสเตรเลียแม้แต่ครั้งเดียวกรณี "ฮาคีม" หรือต้องการตัว "ฮาคีม" กลับประเทศบาห์เรน และรัฐบาลออสเตรเลียต้องการให้ "ฮาคีม" กลับไปประเทศออสเตรเลีย
อ.ธิดากล่าวว่าถ้าเราดูภาพก็จะมีการประท้วงจากผู้คนทั้งสายสิทธิมนุษยชน สายกีฬาฟุตบอล นี่เป็นภาพที่เรียกว่ากระจายรุนแรงและจะได้รับความเห็นอกเห็นใจมาก
ระหว่างความเป็น "ผู้ร้าย" กับ "ผู้ลี้ภัย" ซึ่งอ.ธิดาได้ลองเขียนผังหยาบ ๆ ดูเพื่อทำความเข้าใจกับความคิดตัวเองและฝากมายังพี่น้องด้วยว่าเรื่องนี้ มี .-
ประเทศที่ 1 ก็คือ มีคนออกจากประเทศนั้นในฐานะ "ผู้ลี้ภัย" กรณี "ฮาคีม" คือบาห์เรน เขาไปประเทศที่ 2 (บางคนต้องไป 2 หรือ 3 ประเทศด้วยซ้ำ)
ประเทศที่ 2 ประเทศจุดหมายปลายทาง กรณี "ฮาคีม" ประเทศที่ 2 คือ ออสเตรเลีย
ประเทศที่ 3 ประเทศที่ถูกจับและพิจารณาส่งกลับ กรณี "ฮาคีม" ไทยคือประเทศที่ 3
เมื่อ "ฮาคีม" อยู่ออสเตรเลียมาตั้ง 3 ปีจนได้สิทธิเป็นพลเมือง เขาก็คงลืมคิดไปว่าประเทศไทยปกครองด้วยรัฐแบบไหน? ลืมคิดไปว่าประเทศไทยมี "ผู้ลี้ภัย" แบบเขาออกจากประเทศไทยเยอะเลย อารมณ์เดียวกันกับประเทศที่ 1 (บาห์เรน) นั่นแหละ
เพราะฉะนั้นบรรดา "ผู้ลี้ภัย" ทั้งหลาย ถ้าคุณได้รับสิทธิผู้ลี้ภัยแล้ว เมื่อคุณจะไปเที่ยวประเทศไหนต้องดูเสียก่อนว่าประเทศนั้นปกครองด้วยระบอบอะไร? และประเทศนั้นมีคนลี้ภัยมากมั้ย? แบบเดียวกับตัวเองนั่นแหละ อย่าได้มาเป็นอันขาด ถ้ามาแล้วจะโดนตะครุบทันทีเลย!
อย่างแรกนิยามคำว่า "ผู้ร้าย" กับ "ผู้ลี้ภัย" บาห์เรนบอกว่านี่เป็นผู้ร้ายมีความผิดทางอาญาติดคุก 10 ปี ขณะที่ "ฮาคีม" บอกว่าไม่ใช่ เขาเตะฟุตบอลอยู่ต่างประเทศ อ.ธิดากล่าวว่า นี่เป็นเรื่องของประเทศที่ 2 คือ ออสเตรเลีย ที่เขายอมรับแล้วว่าถึงแม้บาห์เรนจะถือว่าเขาเป็น "ผู้ร้าย" แต่ออสเตรเลียถือว่าเขาเป็น "ผู้ลี้ภัย" นี่จึงเป็นตัวอย่างให้กับเรื่องของประเทศไทยนะ
คำว่า "ผู้ลี้ภัย" มันเป็นนิยามซึ่งเรียกว่า UNHCR องค์กรสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศ ปฏิญญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถ้าเริ่มต้นร้องไป UNHCR ในฐานะ "ผู้ลี้ภัย" แล้วไม่มีประเทศที่รับ มันก็จะลำบาก อาจจะต้องไปประเทศอื่นที่เขารับรอง แต่กรณี "ฮาคีม" เขาลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียและได้สิทธิเป็นพลเมืองออสเตรเลีย แปลว่าเขาครบถ้วนสมบูรณ์
นิยามคำว่า "ผู้ลี้ภัย" กับ "ผู้ร้าย" อ.ธิดาอยากบอกรัฐไทยว่า คุณก็จะตกที่นั่งแบบเดียวกันเวลาคุณพูดถึง "ผู้ลี้ภัย" คุณบอกว่า นี่คือผู้ร้าย นี่คอรัปชั่น นี่ทุจริต เขาคิดไม่เหมือนกันนะ คุณบอกว่านี่ผิดกฎหมายไทย แต่ประเทศอื่นเขาบอกว่าไม่ผิดกฎหมายของเขาหรืออยู่ที่เขาพิจารณา ต่อให้ศาลบาห์เรนตัดสินแล้วกรณี "ฮาคีม" ให้พวกเราเข้าใจด้วยว่าต่างประเทศเขาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามศาลบาห์เรน แสดงให้เห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้องเห็นด้วย
หมายความว่ารัฐไทยปัจจุบันซึ่งเป็นรัฐที่ยึดอำนาจจากประชาชนมา แต่มักจะเรียก "ผู้ลี้ภัย" ว่าเป็น "ผู้ร้าย" ดูกรณี "ฮาคีม" นี้เป็นตัวอย่างเป็นเครื่องเตือนให้เห็นว่า สักแต่ว่ามีอำนาจรัฐหรือกุมอำนาจรัฐแล้วจะกุมโลกทั้งโลก...ไม่ใช่นะ ไม่ได้นะ เพราะโลกเขาก็มีสายตา เขามีทัศนะของเสรีชน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคเท่าเทียมและนิติธรรม ตรงนี้รัฐไทยกำลังเผชิญหน้ากับสายตาระหว่างประเทศไทย รวมทั้งองค์กรกีฬาด้วย
อย่านึกแต่ว่าตัวเองมีอำนาจรัฐแล้วตีตราทุกคนเป็น "ผู้ร้าย" แล้วไปสงสัยว่าทำไมประเทศต่าง ๆ เขาให้อยู่ในฐานะ "ผู้ลี้ภัย" หรือให้เคลื่อนไหวในระดับหนึ่ง แน่นอนความสัมพันธ์ระดับรัฐต่อรัฐก็มี ผลประโยชน์ระหว่างรัฐต่อรัฐก็มี แต่มันต้องมีมนุษยธรรม ต้องมีลักษณะความเป็นธรรมสากล ต้องมีกติการะหว่างประเทศที่เป็นช่องทำให้รัฐประเทศอื่น ๆ สามารถให้ความช่วยเหลือ "ผู้ลี้ภัย" ได้ เพราะนิยามคำว่า "ผู้ร้าย" ไม่ตรงกัน
คำถามคือขณะนี้รัฐไทยพยายามที่จะขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ๆ ในการที่จะส่ง สิ่งที่ตัวเองเรียกว่า "ผู้ร้าย" แต่ประเทศอื่นเรียกว่า "ผู้ลี้ภัย" ข้ามแดน ให้กลับประเทศไทยหรือเปล่า? เวลาใครขอมาจึงมีแนวโน้มจะส่งกลับ โดยไม่นำพาว่าเขาอยู่ในสภาพอะไร? ซึ่งกรณี "ฮาคีม" อยู่ในสภาพ "ผู้ลี้ภัย" เรียบร้อยแล้ว รัฐบาลออสเตรเลียรับรองเป็นพลเมืองแล้ว เรียกว่านานาชาติต้องออกแรงมากกับประเทศไทย
อ.ธิดาคิดว่าทำอย่างนี้ไม่เหมือนกับการเลี้ยงข้าวเหนียวมะม่วงนักท่องเที่ยวจีนนะ กรณีนี้เลี้ยงข้าวเหนียวมะม่วงคงแก้ไม่ได้ นี่เป็นภาพที่มีปัญหากับนักกีฬาระหว่างประเทศ แรงเรียกร้องความเห็นใจจากทั่วโลกจะยิ่งมาก จะถูกกดดันจากองค์กรกีฬานานาชาติด้วย
คุณอย่าคิดมากว่าคนที่คุณเรียกว่า "ผู้ร้าย" แต่คนอื่นเรียกว่า "ผู้ลี้ภัย" แล้วเขาไม่ส่งกลับ ระหว่างที่คุณจะเลือกเป็นเพื่อนกับประเทศที่ตามตัวผู้ร้าย กับประเทศที่เขาสนับสนุนผู้ลี้ภัยใครมากกว่า...คิดให้ดี ประเทศที่สนับสนุนและให้การยอมรับผู้ลี้ภัยทางการเมืองมีมากกว่า แต่ประเทศที่พยายามบีบบังคับให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับประเทศตัวเองนั้นมีไม่กี่ประเทศ และนั่นหมายถึงประเทศไทยขณะนี้ด้วย
นี่ไม่ใช่เรื่องน่าชื่นชมถ้ารัฐไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเลือกตั้ง เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย กติการะหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองผู้คนที่ถูกละเมิดเป็นเรื่องสำคัญ
"ถ้ารักจะเป็นนักการเมืองต้องเรียนรู้ตั้งแต่ตอนนี้ เพราะนี่จะเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ค่ะ และดิฉันจะเป็นส่วนหนึ่งของ #SaveHakeem และเรียกร้องต่อรัฐไทยในฐานะพลเมืองไทยที่ไม่ต้องการขายขี้หน้า ประเทศไทยต้องเปลี่ยน ไม่ใช่ประเทศที่บังคับ "ผู้ลี้ภัย" และส่งตัวกลับ เพราะเป็นภาพที่น่ารังเกียจในสายตานานาชาติ" อ.ธิดากล่าวในที่สุด