แลไปข้างหน้ากับ
ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.102
ประเด็น
: เรื่องของ ICC กับการทวงความยุติธรรมให้
"คนเสื้อแดง"
สวัสดีค่ะ
ความจริงขณะนี้เรื่องที่เป็นเรื่อง popular ทั่วไปก็จะเป็นเรื่องของ “คุณศักดิ์กับคุณศรีสุวรรณ”
แต่ว่าด้วยความที่เราเป็นคนเสื้อแดง
ที่เราผ่านการต่อสู้ถึงเลือดถึงเนื้อถึงชีวิตมายาวนาน แต่เรื่องที่เราพบเจอมาจากปี
2553 จนบัดนี้เป็นปี 2565
เหตุการณ์มันผ่านมา 12 ปี ถ้าพูดถึงอายุความมันก็จะเหลือ 8 ปี วันนี้เราจึงมาคุย “เรื่องของ ICC
กับการทวงความยุติธรรมให้กับคนเสื้อแดง”
แน่นอน
ในการทวงความยุติธรรมให้กับคนเสื้อแดงก็หมายถึงกรณีปราบปรามจับกุมคุมขังหรือการทำให้สูญหายตั้งแต่ปี
2553 หรือว่าถ้าพูดให้ถูกก็คือตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2549
เพราะกรณีของคนเสื้อแดงนั้นมีตั้งแต่ 2551, 2552, 2553 แต่ความยุติธรรมของคนเสื้อแดงในประเทศนั้นดูมันจะริบหรี่มาก
แล้วขณะนี้มาถึงห้วงเวลาที่มีพรรคการเมืองเริ่มออกนโยบาย บางพรรคการเมืองก็มีการพูดถึงการลงสัตยาบัน
ICC ดิฉันคิดว่าในฐานะที่ตัวดิฉันเองได้ร่วมกับคณะ
มีทั้งส.ส.พรรคเพื่อไทยด้วยจำนวนหนึ่ง แกนนำเสื้อแดง แล้วก็ทนายอัมสเตอร์ดัม
ซึ่งทำงานในฐานะตัวแทนของนปช. ได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้มา
ก็คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่เราควรจะมาทำความเข้าใจว่าเรื่องราวของ ICC นั้นเป็นอย่างไร เพราะนี่ก็คือการทวงความยุติธรรมให้กับ “คนเสื้อแดง”
ในศาลอาญาระหว่างประเทศที่เราเรียกกันว่า ICC
ดิฉันก็ถือโอกาสว่าวันนี้จะมาทำความเข้าใจเรื่องราวของศาลอาญาระหว่างประเทศกับการทวงความยุติธรรมของ
“คนเสื้อแดง” เมื่อ “คนเสื้อแดง” ดูประหนึ่งไร้ที่พึ่งในประเทศ เรามีเวลาอายุความเหลือ
8 ปี เพราะว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังทำรัฐประหาร คดีความต่าง
ๆ ที่ดูเหมือนจะคืบหน้าดีในช่วงปี 2554
ที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล
มีการไต่สวนการชันสูตรพลิกศพแล้วก็มีคำวินิจฉัยของศาลออกมาว่าผู้ที่เสียชีวิตในการปราบปรามปี
2553 นั้น ถูกทำให้เสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
ผู้ตายมือเปล่าจำนวนมาก เรื่องเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องเอาข้อมูลออกมาเปิดเผย
แต่ว่าเมื่อหลังจากทำรัฐประหารไปแล้ว พบว่าคดีมันถูกเบี่ยงเบน
คำวินิจฉัยเองยังถูกเบี่ยงเบน การเสียชีวิต ณ ที่เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่
10เมษา53 การตายของคุณสยาม วัฒนนุกุล
กับคุณจรูญ ฉายแม้น มีการไต่สวนการตายเมื่อ 30 ก.ย. 2556 คำวินิจฉัยของศาลก็คือ
จากข้อเท็จจริงและเหตุผลทั้งหมดที่วินิจฉัยมาเชื่อได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายทั้งสองนั้น
มีวิถีกระสุนปืนที่ยิงมาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ วันที่ 10เมษา
ตรงถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา
แล้วมาดูกรณีของคุณวสันต์
ภู่ทอง วันที่ 10เมษา 53 ถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เหมือนกัน
มีคำวินิจฉัยการไต่สวนการตายเมื่อ 30 เม.ย. 2558 แปลว่าหลังรัฐประหารแล้ว
ก็คือเหตุที่ทำให้ตายเพราะถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงไม่ทราบชนิดและขนาด
เข้าที่บริเวณศีรษะด้านซ้ายส่วนหลัง ส่วนบน และทะลุกะโหลกศีรษะและตัดเนื้อสมอง
ทะลุออกด้านหน้า โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ เวลาเดียวกัน
แบบเดียวกันกับฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ในวันเดียวกัน
ดิฉันไม่ได้
“ตั้งข้อกล่าวหา” แต่ “ตั้งข้อสังเกต” และมันเป็นความจริง ที่เดียวกัน
เวลาเดียวกัน แต่วินิจฉัยปี 2556 อย่างหนึ่ง ปี 2558
เป็นอีกอย่างหนึ่ง ยังมีคุณทศชัย เมฆงามฟ้า ก็เหมือนกัน
เหตุที่ทำให้ตายเพราะถูกยิงด้วยกระสุนปืนไม่ทราบชนิดและขนาดเข้าที่บริเวณทรวงอกด้านหลังซ้าย
บาดแผลทะลุตัดกระดูกซี่โครงทะลุหัวใจ และตัดซี่โครงด้านหลัง ออกบริเวณด้านหลังซ้าย
โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ
อันนี้เป็นกรณีตัวอย่างเรื่องที่เราพูดเพื่อแสดงให้เห็นว่าทำไมคนเสื้อแดงยังต้องเรียกร้องความยุติธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพราะมันไม่ได้รับความยุติธรรม คดีฟ้องมวลชนจำนวนหนึ่งจบไปแล้วก็จริง ลึก ๆ
หลายคนอยากรื้อฟื้นคดี ติดคุกฟรี แล้วบางครั้งไม่ให้ประกันตัว
แล้วผลสุดท้ายศาลปล่อย ก็มีเป็นจำนวนมาก แล้วก็ไม่ได้รับการเยียวยา
ถูกพูดประมาณว่า “ได้ออกมาก็ดีแล้ว หลักฐานไม่พอเท่านั้นเอง” ประมาณนั้น
เมื่อเป็นอย่างนี้
เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เราก็คงต้องมีการเริ่มต้นกันใหม่อีกทีหนึ่ง
ก็คือทวงความยุติธรรม มีสิ่งที่ดีก็คือว่ามีพรรคบางพรรคได้พูดเรื่องการให้สัตยาบันกรุงโรม
ดิฉันก็อยากจะเรียนว่าเรื่องเหล่านี้ก็อยากจะทำความกระจ่าง
เพราะฉะนั้นเริ่มต้นดิฉันก็จะพูดเบื้องต้นก่อนว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ
เป็นศาลอาญาที่จัดตั้งกันขึ้นมาแล้วมีผลเมื่อปี 2545 เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป
เขามุ่งหวังที่จะเป็นที่พึ่งให้กับประเทศที่ถูกประเทศอื่นรังแก หรือว่าภายในประเทศที่มีการคุกคาม
เข่นฆ่า ทำลายล้าง ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ดังนี้เป็นต้น ไม่ต้องเป็นศาลเฉพาะกิจแล้ว
ให้เป็นศาลถาวรเลย คือก่อนหน้านั้นหลังสงครามโลกก็จะเป็นศาลเฉพาะกิจ
เช่น ที่นูเรมเบิร์ก และหลายที่ก็เป็นศาลเฉพาะกิจที่ดำเนินคดีอาชญากรสงครามระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้น
แต่มาตอนหลังก็คือตกลงว่าเป็นศาลถาวร
แล้วก็มีรัฐที่ลงนามรับรองธรรมนูญกรุงโรมร้อยกว่าประเทศ เท่าที่ทราบตอนนี้ประมาณ 139
ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย แต่ประเทศไทยยังไม่ได้ลงสัตยาบัน รัฐที่ลงสัตยาบันแล้ว 124 ประเทศ นี่เป็นข้อมูลเมื่อปี 16 ตอนนี้ไม่รู้ว่าถึง
130 หรือ 130 กว่า ตอนเขาประชุมกันในปี
41 ประเทศไทยไปเซ็นเมื่อ 2 ตุลาคม 2543
เพราะฉะนั้นเขาใช้กับกรณีอะไร เช่น 1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่นคดีที่กัมพูชา มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นจำนวนมาก หรือว่าในกรณีที่เขาจะทำเรื่องของโรฮิงญา หรือในกรณีที่เกิดในรวันดาก็ถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างเผ่า 2. อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ อันนี้กว้างหน่อย แต่เป็นการกระทำซึ่งไม่ใช่เป็นการสงครามโดยตรง เรามีการฟ้องในข้อหานี้ต่อบุคคลที่ปราบปรามเข่นฆ่าพี่น้องเสื้อแดงในปี 2553 ในหมวดอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ แล้วมันมีอีกอันคือข้อ 3. อาชญากรรมสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนมากเป็น 3 ข้อ ไม่ใช่ 4 ข้อ
ดังที่ได้บอกว่า
ICC ต้องการช่วยประเทศกับประชาชนที่ถูกกระทำและถูกกดขี่
ทีนี้ในการฟ้องร้องมันทำได้ 3 กรณี 1)
ในฐานะรัฐภาคี ถ้าประเทศคุณไปลงสัตยาบันคุณฟ้องร้องได้เลย เพราะให้สัตยาบันแล้ว 2) โดยคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ 3) อัยการของ
ICC หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาจากคำร้อง เราไปในข้อนี้ในตอนหลัง
แต่ตอนแรกการดำเนินงานของทนายอัมสเตอร์ดัมก็มุ่งไปในแง่ที่ว่าให้สหประชาชาติ
อาจจะถึงคณะมนตรีสหประชาชาติเป็นคนที่หยิบยกขึ้นมา
อ.ธิดา และคณะที่เดินทางไป ICC เมื่อ 26 มิ.ย. 2555 |
แล้วก็ช่องทางก็คือ
ถ้าผู้ที่ถูกฟ้องร้องนั้นมีสัญชาติของรัฐภาคี ICC ก็มีอำนาจฟ้องได้ ซึ่งตอนแรกเรามุ่งจะดำเนินคดีกับ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะเราฟ้อง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ สุเทพ เทือกสุบรรณ
ในประเทศไทย ตอนนั้นเรื่องยังไม่จบนะ แต่สุดท้ายมันก็ไปไม่รอด มันก็เดาได้
ดังนั้นในฐานะที่คุณอภิสิทธิ์ฯ มีสองสัญชาติ
เราก็ไปฟ้องที่ศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย
แล้วก็มีคำร้องซึ่งดิฉันจะเรียนว่าตั้งแต่ต้นเราส่งจดหมายไปอย่างเป็นทางบการตั้งแต่
31 มกราคม 2554
แล้วทนายอัมสเตอร์ดัมก็ทำเอกสารส่งไป เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราทำมานานหลายปีแล้ว จริง
ๆ เราส่งไปตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2553
อันนี้คือจดหมายที่ดิฉันเป็นคนลงนามไปยัง ICC
เพื่อขอให้เขาส่งคนมาช่วยตรวจสอบเบื้องต้นก่อน
เพราะว่าเราแน่ใจว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรม
หลังจากนั้นทนายอัมสเตอร์ดัมก็ส่งจดหมายเอกสารเป็นข้อมูลเพิ่มเติมไปอีก
และจนกระทั่งเราเดินทางไปตามที่ได้ดูคลิปก่อนหน้านี้
เราก็มีเอกสารประกอบไปด้วยมากมาย แล้วก็มีจดหมายของอาจารยธงชัย วินิจจะกูล
ที่ดิฉันเคยบอกว่าเขียนอย่างดีมาก มีเอกสารของนปช.มากมาย คือถ้าเราไปดูกันจริง ๆ
นี่เยอะมาก ก็คือเราเดินทางไปตอนนั้นขณะนั้นเราต้องการจะใช้ช่องที่ว่า
คุณอภิสิทธิ์ฯ เป็นคนสัญชาติอังกฤษ เพราะประเทศไทยเราไม่ได้ลงสัตยาบัน
คือถ้าเราเป็นประเทศที่ลงสัตยาบันไว้ก่อนแล้ว
หมายถึงว่าถ้าเรารับรองธรรมนูญแล้วเราลงสัตยาบันไว้ก่อน ตอนปี 2553 เราฟ้องได้เลย
ไม่ใช่ฟ้องอภิสิทธิ์ฯ คนเดียว คือเราฟ้องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาดำเนินการได้เลย
เพราะเราให้สัตยาบันแล้ว
แปลว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเอาผิดได้
แต่เนื่องจากเราไม่ได้ลงสัตยาบันรับรองธรรมนูญกรุงโรมให้อำนาจศาล ICC ในประเทศไทย
การลงสัตยาบันเช่น
สมมุติเราลงวันนี้ ต้องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ลงสัตยาบัน ICC
ถึงจะมีเขตอำนาจนะ ดังนั้นพรรคการเมืองที่เสนอว่าให้มีการลงสัตยาบัน
ก็หมายถึงอนาคตนะ สมมุติว่าประเทศไทยศิวิไลย์เลิศมาก
พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยได้เป็นรัฐบาล แล้วก็มีฉันทามติให้ลงสัตยาบัน
สมมุติว่าลงสัตยาบันปี 2566 แปลว่าเรื่องที่ ICC มีอำนาจก็คือต้องเกิด 2566 นี่เดินหน้าไป
แต่หลังที่ลงนาม เช่น เหตุการณ์ปี 2553 ไม่ได้
อันนี้ต้องเข้าใจด้วยนะ ก็คือต้องเดินหน้าไปข้างหน้า ถอยหลังไม่ได้
วันนี้ดิฉันถึงต้องพยายามทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า
ระหว่างการลงสัตยาบัน กับการรับรองเขตอำนาจศาล ซึ่งเป็นข้อเสนอทั้งอัยการ ICC
และขอเราต่อรัฐบาลเพื่อไทยในขณะนั้น เพื่อให้มาสืบสวนสอบสวน เป็นศาลเสริมของศาลไทย
เข้ามาช่วยเหลือคนที่ถูกกระทำให้สามารถที่ผู้กระทำถูกดำเนินคดีได้
แต่ดิฉันจะบอกต่อไปว่ามันขัดข้องเพราะอะไร
คือ
ICC ไม่ใช่ว่าเราไปฟ้องแล้วเขาก็จะรับทุกเรื่องนะ มันต้องเป็นเรื่องที่เข้าข่ายที่เมื่อกี้ที่ดิฉันบอก
เข้าข่ายของการเป็นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
แล้วมีรายละเอียดว่าอย่างไรถึงจะเรียกว่าอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
ซึ่งดิฉันก็ไม่สามารถจะมาเล่าทั้งหมดได้ แต่ของเราเข้าข่าย มันเป็นการกระทำอย่างกว้างขวาง
เป็นระบบ แล้วกระทำต่อพลเรือนมือเปล่าไม่มีอาวุธ
ซึ่งการทำต่อพลเรือนมือเปล่าไม่มีอาวุธ
มันไม่ใช่แต่เพียงว่าอยู่ในขอบเขตที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมาจัดการ
แต่แปลว่าเราผิดอนุสัญญาเจนีวาด้วย
อนุสัญญาเจนีว่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกที่เขาต้องการให้ความเป็นธรรมต่อทหารและประชาชนประเทศคู่สงคราม
เพราะฉะนั้นวันนี้ก็คือเรามาทำความเข้าใจกันในเรื่องกติกาสากล กฎหมายสากล
อนุสัญญาและสนธิสัญญาที่มีไว้คุ้มครองประชาชนและมวลมนุษยชาติที่ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงคราม เพราะกาชาดสากลเป็นผู้ดำเนินงานในการที่จะผลักดัน
เผยแพร่และมีการตกลง
ประเทศไทยนั้นในนี้เขาบอกเลยว่าให้ความคุ้มครองช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความขัดแย้งและสถานการณ์ความรุนแรงอื่น
ๆ ถือเป็นกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ “อนุสัญญาเจนีวา”
ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ ในปี 2497 และมีตัวอย่างจนกระทั่งมาทำให้เกิดศาลอาญาระหว่างประเทศ
ยกตัวอย่างเช่น
ในข้อ 3 แม้กระทั่งเพื่อให้ผู้ป่วยไข้และบาดเจ็บในกองทัพดีขึ้น
หรือว่าในกรณีที่มีการพิพาท บุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมสู้รบ ข้อ 3 (1) ของสนธิสัญญาเจนีวา
ไม่ได้เข้าร่วมในการสู้รบโดยตรง แม้กระทั่งผู้สังกัดกองทัพซึ่งวางอาวุธแล้ว
และที่ถูกกันออกจากการต่อสู้ จะเป็นเพราะป่วยไข้ บาดเจ็บ หรืออื่นใดก็ได้
ต้องได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรมโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องอื่น ๆ
เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ผิว กำเนิด หรืออะไรก็ตาม จะมีการประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกายและการฆาตกรรมทุกชนิดทำไม่ได้
จับตัวเป็นประกันก็ไม่ได้ ทำลายเกียรติยศบุคคลก็ไม่ได้
ตัดสินลงโทษปฏิบัติการตามคำตัดสินโดยไม่มีคำพิพากษาของศาลก็ไม่ได้
นี่คือในสงครามนะ แล้วถามว่าในกลางถนน คุณทำได้มั้ย? ในการสู้รบเขายกมือ
คุณก็ไม่มีสิทธิยิง
Commissar Order |
ดังนั้น
มันจึงเกิดเรื่องขึ้นเรื่องหนึ่งที่ขึ้นสู่ศาล
ดิฉันก็จะเอามาเล่าว่าต้องเข้าสู่ศาลโลกศาลอาญาระหว่างประเทศเพราะมันมีคำสั่งวิทยุของทางนาซี
ซึ่งสั่งว่าถ้าเป็นพวกรัสเซียซึ่งเขาเรียกว่าเป็น Commissar ก็คือเป็นระดับหัวหน้าทางความคิดนั่นแหละ
อันนี้เขาเรียก Commissar Order พูดง่าย ๆ ว่ายิงตายได้ทันที
ของเรามีอะไร ของเรามีคำสั่งวิทยุ มีอะไรมากมายเลย เราใช้กระสุนจริง ใช้พลซุ่มยิง
ไม่ต้องพูดถึงกระสุนยางเหลาะแหละเอาของจริงเลย
ประหนึ่งสงครามเพราะเขาอ้างว่านี่เป็นสงครามกลางเมือง เป็นการสู้รบกลางเมือง
เราไม่มีกองกำลังอาวุธ อันนี้พิสูจน์ได้ เวลาผ่านมาจนถึงบัดนี้
เห็นได้ชัดแล้วว่าผู้ที่เสียชีวิตทุกคนไม่มีใครมีอาวุธ ไม่มีใครมีเขม่าดินปืนเลย
และอาวุธที่ไปอ้างว่าจับมาได้ ยกตัวอย่างเช่นในวัดปทุมฯ
คำวินิจฉัยของศาลบอกเลยว่าเชื่อถือไม่ได้ พูดง่าย ๆ
ว่าไม่รู้เอาอะไรไปใส่แล้วก็อ้างว่าคนในวัดปทุมฯ มีอาวุธ
เราจะมาพูดถึงในเรื่องของ
ICC และอนุสัญญาเจนีวา เพื่อชี้ให้เห็นว่าประชาชนที่มีความคิดต่างกับอำนาจรัฐนั้น
ๆ เหมือนกับที่เราพูดว่า 6ตุลา ต่อให้นักศึกษา 6ตุลา เป็นคอมมิวนิสต์คุณก็ไม่มีสิทธิ์ไปยิงนิสิตนักศึกษาในธรรมศาสตร์
แบบที่อาจารย์บางคนบอกว่ามันอาจจะเป็นการสู้รบกลางเมือง
เพราะพวกนี้หลายคนอยู่ในจัดตั้งพคท. ต่อให้เขาอยู่เหมือนกับนี่เขาเป็น Commissar ของสหภาพโซเวียต ก็ยิงเขาไม่ได้เพราะเขาไม่มีอาวุธ ฉันใดก็ฉันนั้น
ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญาเจนีวา ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญากรุงโรม หรือกติกาของมนุษยธรรมทั่วไป
คุณทำไม่ได้! ที่จะฆ่าคนที่ไม่มีอาวุธ
แล้วเวลาที่ผ่านมากับการทำรัฐประหารรอบใหม่ในปี
2557 มันก็เป็นการกระหน่ำซ้ำเติม ทำให้คนเสื้อแดงนั้นเหมือนกับถูกฆ่า
ถูกคุมขัง แล้วก็หายไป คดียังไม่หมดนะคะ ที่หลายคนบอกว่าติดคุกจนหมด ยังไม่หมดค่ะ
เพราะว่าบางทีก็มีหลายชั้น บางทีก็ไปจับเขามาใหม่ แล้วกว่าจะถึงฎีกา
ถ้ายอมรับแล้วก็ตัดสินจำคุกไป แล้วจำนวนหนึ่งหายไป
แต่ถามว่าต่อให้เขาออกจากเรือนจำไปแล้ว แต่เขาติดคุกฟรีโดยไม่มีความผิด
มันเป็นความยุติธรรมหรือเปล่าที่เราจำเป็นจำต้องทวงให้กับการถูกฆ่า ถูกจับกุมคุมขังโดยมิชอบ
ไม่ต้องพูดเรื่องอื่น ถูกกดดันเรื่องอื่น
ทีนี้ดิฉันหันมาเรื่อง
ICC เพื่อทำความชัดเจน เมื่อกี้ได้บอกไปแล้วว่าเรายอมรับเซ็นสนธิสัญญากรุงโรม
เราเซ็นอนุสัญญาเจนีวา แต่เราไม่ได้ลงสัตยาบัน
แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะทำผิดอนุสัญญาเจนีวาได้ หรือคุณทำผิดหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้
ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นเราเริ่มต้นด้วยต้องการให้เขามาสืบสวนสอบสวน
เราหวังว่าอาจจะไปเข้าตา ไม่ว่าจะเป็นอัยการ ไม่ว่าจะเป็นคณะมนตรีความมั่นคง
เพราะเราไม่ได้ลงสัตยาบัน แต่ว่าเราก็ไปร้องอัยการด้วยตนเองเมื่อ 26 มิถุนายน 2555
[ลิ้งค์ https://www.facebook.com/thai.udd.news/videos/1523753554764064] ถ้าท่านดูคลิปล่วงหน้าครั้งที่แล้ว
เราไปที่อัยการ หอบหลักฐานไปหมด เอาคนไปจำนวนหนึ่ง
อันนี้ก็เป็นวิธีการอันหนึ่งซึ่งเราพยายามทำจนถึงที่สุดตั้งแต่ปี 2553,
2554, 2555 และในรัฐสภา ดิฉันคิดว่ามันมีคำร้องก็คือ
ส.ส.พรรคเพื่อไทย 25 คน มีคุณหมอเหวง มีคุณก่อแก้ว
และมีอีกจำนวนมาก เรียกร้องไปยังรัฐมนตรีให้ดำเนินการในเรื่อง ICC แต่คนมักจะเข้าใจว่าถ้าจะเอาเรื่องต้องให้สัตยาบัน
แต่ดังที่ดิฉันเรียนนะ
ถ้าคุณลงสัตยาบันแปลว่าหลังจากให้สัตยาบันไปแล้วคุณถึงจะดำเนินการได้ ICC มีอำนาจเมื่อให้สัตยาบันไปแล้ว
แต่ว่าเมื่อเราไปคุยกับ ICC ถ้าเราร้องเฉพาะประเด็นของคุณอภิสิทธิ์ฯ
ตามที่เข้าใจกันเบื้องต้น รวมทั้งทนายอัมสเตอร์ดัม เพราะว่าคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ฯ
อย่างน้อยที่สุดก็เอาได้สักคนหนึ่งก่อน เขาก็บอกมันเป็นไปไม่ได้ที่คุณอภิสิทธิ์ฯ จะทำคนเดียว
แล้วดิฉันก็ได้บอกไปแล้วว่า แน่นอนมันมีเครือข่ายใหญ่เป็น network เป็นเครือข่ายจารีตนิยมใหญ่
แล้วก็มีเครือข่ายที่เป็นเครือข่ายนักวิชาการจารีตนิยม เครือข่ายสื่อจารีตนิยม
เครือข่ายกองทัพ เครือข่ายระบบยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมที่เป็นกลุ่มจารีตนิยม
แต่ละเครือข่ายก็รับผิดชอบแต่ละเรื่อง
แต่ในปราบปรามโดยเฉพาะตั้งแต่
10เมษา – 19พฤษภา นั้นมันมีกลุ่มคณะ
ศอฉ. ที่รับผิดชอบสูงสุดก็คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากนั้น 3ป
นี่อยู่ในนี้หมด เพราะว่ารัฐนตรีกลาโหมก็คือ ป ป้อม ผบ.ทบ.ก็คือ ป ป๊อก
แล้วก็รองผบ.ทบ. ก็คือ ป ประยุทธ์ 3ป หมดเลย ลองคิดดูว่า 3ป อยู่ในส่วนผู้กระทำตอนนั้นมีอำนาจยาวจนถึงตอนนี้ ถ้าคิดแล้ว โดยเฉพาะ ป
ป้อม ก็ตั้งแต่ปี 2553 ตอนนี้ 2565
เป็นเวลา 12 ปีแล้วค่ะ ที่ 3ป อยู่ในอำนาจและเป็นคู่กรณีของความขัดแย้ง
โดยเฉพาะจะถือเป็นเครื่องมือก็ได้ของฝ่ายจารีตนิยมทั้งพรรคการเมือง ทหาร
และพลเรือน ในการจัดการกับ “คนเสื้อแดง” พรรคเพื่อไทย และรวมทั้งตระกูลชินวัตร
ซึ่งดิฉันก็ไม่รู้ว่าทหารไทยจะฉลาดน้อยหรือฉลาดมากกว่าทหารพม่า
ก็ลองคิดดูก็แล้วกัน ตอนนี้ไม่รู้จะไปเปรียบกับที่ไหน ต้องเปรียบกับประเทศพม่า
ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ
เมื่อเราไปคุยมาแล้วสรุปว่าศาลอาญาระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะแผนกอัยการ ถ้าเห็นบรรยากาศที่เราได้ตระเตรียมกันไปคุย ตัวอ.ธิดา
คุณหมอเหวง แล้วก็อัมสเตอร์ดัม อ.ธงชัย
ได้เป็นผู้คุยกับอัยการซึ่งเขาก็ยินดีตอบรับและเขาให้มาเพิ่มเติมในประเด็นผู้เกี่ยวข้องอื่น
ๆ และเท่าที่ดิฉันเข้าใจก็คือทนายอัมสเตอร์ดัมก็เลยเพิ่มชื่อคณะศอฉ.เข้าไป
แต่ที่จริงก็ไม่ใช่เครือข่ายจริงทั้งหมดหรอก แต่ว่าเพิ่มเติมไปจากอภิสิทธิ์
มีอภิสิทธิ์ มีสุเทพ แล้วก็มีศอฉ. ทั้งหมด ไม่แน่ใจว่ามีคุณธาริต
เพ็งดิษฐ์เข้าไปด้วยหรือเปล่า?
1 ต.ค. 65 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ร่วมเสวนาที่ KINJAI CONTEMPORARY |
ดังนั้น
ลำดับขั้นก็มาจนถึงจุดสำคัญก็คือเขารับคำร้อง ดังที่ดิฉันได้พูดในเวทีเสวนาที่ KINJAI CONTEMPORARY กับ อ.ปิยบุตร อ.พวงทอง อ.เข็มทอง ได้อธิบายมาแล้วว่า คุณ Fatou
Bensouda หัวหน้าอัยการมากับคณะ ได้มาเข้าเจรจากับคุณสุรพงษ์
โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ขณะนั้น) ขอให้รับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามธรรมนูญกรุงโรม
มาตรา 12(3)
เพราะว่าใน (1) แน่นอนเขาดำเนินการได้ก็คือรัฐที่เป็นภาคี
ถ้ามา (2) ก็คือบุคคลในรัฐที่เป็นภาคี คือคุณอภิสิทธิ์
เป็นสัญชาติอังกฤษ (3)
คือเป็นเรื่องที่อัยการสืบสวนสอบสวนโดยมีอำนาจเฉพาะกรณี
ซึ่งประตูนี้แหละที่อัยการเดิน!
ถ้าอัยการเดินประตูนี้แปลว่ามันไม่ใช่อภิสิทธิ์ฯ
อย่างเดียวแล้ว หรือจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่าที่ทำให้เกิดปัญหา เราไม่อาจรับรอง
ไม่อาจเซ็นสัญญาได้ อาจจะนะ เดาเอาว่าไม่อยากให้มีความขัดแย้งมากขึ้นหรือเปล่า
แต่ว่าเขาเดินทางมา แล้วเขาได้มาอธิบาย ดิฉันจะข้ามเรื่องการสูญเสียของประชาชนไปนะ
เพราะว่ามันจะยาวเกินไปว่าเราสูญเสียไปเท่าไหร่ ก็ถือเอาว่ารู้ก็แล้วกัน คนตาย 99 คน
แล้วก็ใช้งบหลายพันล้านบาท ใช้กระสุนเป็นแสน ๆ นัด
การยอมรับอำนาจศาลในข้อ
12(3) โดยรัฐซึ่งไม่ได้เป็นภาคีของรัฐธรรมนูญศาลนี้มีความจำเป็นตาม (2) รัฐนั้นอาจยอมรับใช้อำนาจของศาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เป็นปัญหาโดยส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียน
ผู้ที่ยอมรับอำนาจศาลต้องร่วมมือกับศาลโดยไม่ชักช้าหรือไม่มีข้อแม้ใด
คือรัฐมนตรีต่างประเทศก็เซ็นได้
จากข้อนี้
นำมาสู่การหารือระหว่างคุณ Bensouda กับรัฐมนตรีต่างประเทศ
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของปัญหาเลย ก็คือในวันที่ 1 พ.ย. 2555 คุณ Fatou Bensouda อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
เดินทางมากรุงเทพฯ และเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แล้วก็ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล ICC ตามข้อ 12(3) ของธรรมนูญกรุงโรม
สำหรับประเทศที่ยังไม่ได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม คือยังไม่ได้ลงสัตยาบัน
ก็คือคุณ
Bensouda บอกว่าพิจารณาว่าเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
แปลว่าเขารับฟังข้อมูลจากที่เราเสนอ แล้วเขากลั่นกรองแล้วนะ ไม่ใช่อาชญากรรมสงคราม
ไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่เป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ อันนี้เป็นข้อแรกว่าเขาพิจารณาแล้วว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ว่าเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
แล้วก็ประเทศที่ยอมรับประกาศเขตอำนาจ
ICC เฉพาะกรณี สามารถระบุได้ยอมรับเขตเฉพาะกรณี เช่น ปี 2553 พอประกาศยอมรับเขตอำนาจฯ เท่ากับเปิดประตู
เขาก็สามารถเริ่มต้นย่างก้าวเข้ามา เขาไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ามาแล้วก็มาตั้งศาลเลย
ไม่ใช่! เขาเข้ามาเริ่มสืบสวนสอบสวน
กระบวนการยุติธรรมในประเทศก็เดินไปซิคะถ้ามันมี มันไม่ใช่เป็นแบบทุกวันนี้
ปิดประตูหมดเลย ป.ป.ช.ก็ปิดประตูใส่หน้า อย่ามาฟ้อง!
(สุเทพกับอภิสิทธิ์) ปิดประตูใส่เลย เขาทำตามหน้าที่
ไม่ส่งกระทั่งไปศาลอาญาคดีนักการเมืองด้วยซ้ำ ส่วนทางศาลอาญา ฟ้องไปก็บอกไม่ใช่ ให้
ป.ป.ช. ด้าน ป.ป.ช. ก็บอกไม่ส่ง! คุณไปฟ้องเจ้าหน้าที่ซิ
พอไปฟ้องเจ้าหน้าที่เขาก็บอกต้องไปศาลทหาร
คดี “พัน คำกอง” พอเราฟ้องบอกว่าก็ทำร่วมกับพลเรือน ก็ส่งศาลพลเรือน
ยกฟ้องค่ะ มิหนำซ้ำ ให้ทหารที่ถูกระบุชื่อเขาไปฟ้องกันเองค่ะ แล้วก็ยกหมดแล้วค่ะ
แปลว่าอะไร ดูเหมือนกับว่ามันไม่มีอะไรเหลือแล้ว ปิดประตูแล้วในประเทศ
นี่ปัจจุบันนะ แต่พูดถึงตอนนั้นเราก็รู้แล้วว่ามันคงออกมารูปนี้ แล้ว ICC เขาก็รู้ เขาก็บอกว่ามันเริ่มต้นเขาเข้ามา
แต่ถ้าศาลอาญาในประเทศดำเนินไปได้ก็เดินไป
แล้วเมื่อลงนามไปแล้วต้องให้ความร่วมมือเต็มที่
มันเป็นการบังคับว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศและรัฐบาลต้องให้ความร่วมมือกับศาลอาญาระหว่างประเทศเต็มที่
แม้ไม่ได้ลงสัตยาบัน เพราะเฉพาะกรณี คุณอย่ามาอ้างว่ามันข้ดแย้งกับ มาตรา 6
ของรัฐธรรมนูญ 2560 เพราะเกรงว่าจะไปถึงพระประมุข
มันไม่เกี่ยว! ไม่มีพระปรมาภิไธยในเรื่องปี 2553 เลย แล้วจะไปเกี่ยวยังไง ดิฉันยังไม่พูดไปถึงเรื่องลงสัตยาบัน
ซึ่งเขาอ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมนั้นเอาผิดได้กระทั่งประมุขของประเทศ
แต่ในประเทศที่เขามีประมุขเป็นกษัตริย์เขาก็ลงทั้งนั้น อังกฤษก็ลงสัตยาบัน
ญี่ปุ่นก็ลง กัมพูชายังลงเลย
ไม่เห็นมีใครกลัวว่าประมุขของประเทศจะถูกดำเนินคดีฟ้องร้อง แต่ประเทศไทยมันมีพวกหนึ่งซึ่ง
“คลั่ง” และ “โหน” เจ้า มากกว่าตัวราชวงศ์เอง มากกว่าเจ้าเอง นี่ต้องพูดภาษาธรรมดา
เหมือนกรณี 112 ก็ตาม หรือกรณีลงสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมก็ตาม
ดังนั้น
เขาก็พยายามปลอบประโลม สาระสำคัญของการหารือ ก็คือเอาข้อ 12(3) มาอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย
ว่ามันไม่มีปัญหาถึงประมุข และมันจะไม่ลามปามไปที่ไหน เพราะมันเฉพาะกรณี
รวมทั้งกฎหมายอะไรที่มันยังไม่เรียบร้อย ก็ไม่เป็นไร
มันไม่ได้เกิดขึ้นฉับพลันทันที เพียงแต่เปิดประตูให้เขาเข้าว่าเขามาหาข้อมูลได้
กฎหมายอะไรที่มันควรจะมีก็เกิดขึ้นทีหลังก็ได้
และอันนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารัฐสภาเลย
เพราะว่าตามธรรมนูญกรุงโรมและของสหประชาชาติ ถ้าเฉพาะกรณี ไม่ใช่ให้สัตยาบัน
มันไม่เกี่ยว แต่มันก็มีคนดันทุรังว่ามันจะไปผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 อะไรก็ตาม
สรุปว่า
คุณ Bensouda เขาบอกว่าไม่ต้องกลัว ไม่ต้องตกใจ ไม่เกี่ยวถึงพระประมุข
กฎหมายอะไรที่จะเพิ่มเติมทีหลังได้ เปิดประตูซิคะ เซ็นเปิดประตูให้เขาเข้ามา
แล้วเขาก็ไม่ใช่มาตั้งศาล เขาเป็นศาลเสริม เว้นแต่ศาลในประเทศมันจะไม่มีอีกแล้ว
อันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง ตอนนี้จะตีความว่าไม่มีอีกแล้วได้หรือยัง?
เพราะดังที่ดิฉันได้เล่าให้ฟัง เจ้าหน้าที่ก็จบ นักการเมืองก็จบ แล้วคิดว่า
“คนเสื้อแดง” จะจบไหม?
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่าในสไลด์ก็คงจะพูดถึงมีปัญหากับ
ICC ที่ว่า ให้ใช้มาตรา 27 ของธรรมนูญกรุงโรม
“ให้ใช้ธรรมนูญศาลฯ นี้บังคับต่อบุคคลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
โดยปราศจากการแบ่งแยกใด ๆ บนพื้นฐานของสถานทางการ” นี่คือข้อที่พวกจารีตนิยมบอกว่ามาตรา
27 ของธรรมนูญกรุงโรม ขัดแย้งกับ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งบอกว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
ผู้ใดจะละเมิดมิได้ วรรคหนึ่ง และวรรคต่อมา ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด
ๆ มิได้ แต่ว่าประเทศอื่นเขาไม่เห็นกลัว เพราะเขาไม่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เขาจะกระทำอะไรที่ละเมิดศีลธรรมของมนุษยชาติ
เขาก็ไม่กลัว เขาก็ลงสัตยาบัน
ดังนั้น
สำหรับ “คนเสื้อแดง” ก็อยากจะเสนอต่อพรรคการเมือง เสนอต่อสังคมว่า แน่นอน
การทวงความยุติธรรมในประเทศก็พยายามจะทวงไป
แต่ดูเหมือนมันจะปิดประตูไปเสียเกือบหมด ยังต้องพยายาม ดิฉันยังไม่ไร้ความหวัง
เพราะดิฉันเชื่อว่าสังคมไทยมันยังมีคนที่มีสติปัญญาและมีความเข้าใจในปัญหามนุษยธรรมของโลกอยู่จำนวนหนึ่ง
เราต้องฟ้องร้องต่อสังคมไทยและสังคมโลกในปัญหาความยุติธรรมในประเทศและอาศัยศาลระหว่างประเทศควบคู่กันไป
เราก็จำเป็นที่จะต้องเสนอต่อพรรคการเมืองว่า
ในข้อแรกก็คือให้มีการรื้อฟื้นคดีในประเทศ และให้ความเป็นธรรม
ให้ความยุติธรรม ในการที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ
เพื่อหาความรับผิดชอบในประเทศไทยให้เกิดขึ้น
ข้อที่สอง ในกรณีต่างประเทศนั้น เรามีข้อเสนอ
ยังไม่ต้องลงสัตยาบัน ทำง่าย ๆ เลยก็คือ ยอมรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามธรรมนูญกรุงโรม
ข้อ 12(3) โดยไม่ชักช้า
ไม่เกี่ยวข้องกับการขัดรัฐธรรมนูญแต่ประการใด แต่เพื่อที่จะทำให้อนาคตประเทศไทย
ประชาชนไทย ไม่ต้องถูกย่ำยีแบบในอดีตที่ผ่านมา ไม่ควรจะตายฟรี ๆ กลางถนนโดยไม่มีคนต้องรับผิดชอบ
แล้วย่ามใจ รุ่นพี่ทำได้ รุ่นต่อไปก็ทำ ตายมาแล้วกี่ครั้ง คนฆ่าไม่มีใครเคยติดคุก
กรณีเสื้อแดง
“คนเสื้อแดง” ที่มาชุมนุมเป็นแสน ๆ คน คนที่อยู่ในขบวนการเสื้อแดงเป็นล้าน ๆ คน
เราไม่สามารถนิ่งเฉยที่จะให้ความอยุติธรรมเกิดขึ้นต่อประชาชนไทยทั้งในอดีต
ปัจจุบัน และอนาคต และคนที่กระทำต่อประชาชนนั้นย่ามใจและกระทำต่อไปเรื่อย ๆ
ดังนั้นการทวงความยุติธรรมมันไม่ใช่ให้ “คนเสื้อแดง” อย่างเดียว
แต่ทวงความยุติธรรมให้กับประชาชนไทยทั้งหมด โดยเฉพาะอนาคตด้วย นี่คือสิ่งที่ต้องทำ
นี่ไม่ใช่เรื่องความแค้นอาฆาตพยาบาท แต่เป็นเรื่องของความคิดที่มองสังคมไทยไปข้างหน้าว่า
“คนเสื้อแดง” และประชาชนไทยจำนวนมากนั้นตื่นตัวทางการเมืองถึงขนาดนี้
ประชากรของคนเสื้อแดงมากขนาดนี้ ความเข้าใจการเมืองก็มากขนาดนี้
เราจะปล่อยให้ความอยุติธรรมมันเกิดขึ้นเช่นนี้และเป็นแบบอย่างต่อไปอนาคตได้อย่างไร
คนเสื้อแดงซึ่งส่วนใหญ่มีวัยสูงแล้ว แต่เรายังมีลมหายใจ เรายังมีกำลัง และเรายังมีความคิด ดิฉันจึงคิดว่านี่คือข้อเสนอต่อพรรคการเมือง “เดินหน้า” เรายังไม่พูดถึงลงสัตยาบัน เพราะว่ากว่าจะลงสัตยาบันได้คุณจะต้องมาในข้อ 3 ก็คือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรียกว่าแก้ไข ร่างใหม่เลย! ร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชน แบบที่นปช.เคยเสนอมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ร่างโดยคณะบุคคลที่ยึดอำนาจจากประชาชน และแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทุกฉบับ ในทัศนะของดิฉัน 112 ก็ต้องแก้! กระทั่งยกเลิก [ย้อนดูแลไปข้างหน้ากับ ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.69 ที่ลิ้งค์ https://www.facebook.com/tida.tawornseth/videos/658758801757768/?extid=CL-UNK-UNK-UNK-AN_GK0T-GK1C&ref=sharing]
คนที่บอกว่าไม่แก้! ไปอ่านหนังสือใหม่
ไปอ่านหนังสือบ้าง ว่ารุ่นที่เป็นเจ้าที่แท้จริงในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์แท้ ๆ
ตั้งแต่สมัย ร.6, ร.7
จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น มาตรา 112
เขายังไม่โหดและบ้าถึงขนาดนี้ และเปลี่ยนคำพูดซะ เพราะฉะนั้น
ดิฉันจะมองเอาว่าคนที่ออกมาว่า “ไม่แก้ไข” เป็นพวกที่ไม่รู้ประวัติศาสตร์
ไม่เรียนรู้ทั้งปัจจุบันและอนาคตค่ะ
#ธิดาถาวรเศรษฐ #ICC #คนเสื้อแดง #99ศพ #เมษาพฤษภา53
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์