#14ปีเมษาพฤษภา53
ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
อภิสิทธิ์
ฉวานนท์ : ขอโทษคนเสื้อแดง ชื่นชมทุกท่านที่ผ่านต่อสู้มา ขอบคุณทุกคนที่กรุยทางปชต.ให้เราได้เข้าใกล้ความฝันอีกหลายก้าว
จิตวิญญาณปชต.ก็ยังอยู่ในหัวใจของนักศึกษาและคนรุ่นใหม่เสมอ รอวันสุกงอมจะกลับมา
กราบสวัสดีทุก
ๆ คนนะครับ วีรชนคนเสื้อแดง ที่เรายังผ่านวิกฤตทางการเมืองแล้วก็ยังต้องสู้กันต่อ
สวัสดีผู้ที่ใฝ่ฝันประชาธิปไตยทุกท่านที่อยู่ตรงนี้ วันนี้ผม อภิสิทธิ์ ฉวานนท์
ในฐานะว่าที่นายกองค์การสโมสรนิติจุฬา ปีการศึกษา 2567 เป็นตัวแทนเพื่อน ๆ
จากจุฬาฯ เป็นตัวแทนเพื่อน ๆ นิสิตนักศึกษาทั้ง ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์
มาร่วมลงชื่อแถลง และเมื่อช่วงบ่าย 3
ก็มีกิจกรรมวางพวงหรีดไปเป็นที่เรียบร้อย ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่คนรุ่นใหม่เอง
แม้เราจะเกิดไม่ทันยุคเสื้อแดง หรือแม้เราจะเกิดทันปี 53
อย่างตัวผมเองก็อายุยังไม่ถึง 10 ขวบด้วยซ้ำ
เราก็ผ่านภาพที่เราเห็นทางทีวีที่มีการสลายการชุมนุม
มีการใช้อาวุธปราบปราม ตอนเด็ก ๆ
เราก็โตมากับครอบครัวที่เป็นเสื้อเหลืองเป็นพันธมิตรมาก่อน แต่ว่าพอโตขึ้น
เราได้รับรู้เรื่องราวโศกนาฏกรรม เรารู้ว่านี่คือสิ่งที่รัฐต้องเยียวยา
เป็นสิ่งที่รัฐต้องชดใช้ในการฆ่าผู้ที่ใฝ่ฝันประชาธิปไตย
เพียงแค่ว่าเขาออกมาเรียกร้อง
วันนี้เครือข่ายองค์กรกลุ่มนักศึกษา
26 องค์กร เราออกแถลงการณ์ร่วมกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า พวกเราในฐานะคนรุ่นใหม่
ไม่ลืมคนเสื้อแดง
แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายองค์กร/กลุ่มนักศึกษา
26 องค์กร
กรณี
14 ปี สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง
เมื่อวันที่
10 เมษายน 14 ปีที่แล้ว รัฐบาลที่นำโดยนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ใช้กองกำลังทหาร ภายใต้คำสั่งของ “ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน”
หรือ ศอฉ. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้อำนวยการ
ภายหลังได้มีการแต่งตั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เข้ามาร่วมฝ่ายอำนวยการศอฉ.ด้วย เพื่อปฏิบัติการสลายการชุมนุมในบริเวณสะพานมัฆวาน-สะพานผ่านฟ้าในช่วงบ่าย และในบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย-คอกวัวตอนค่ำ
พ่อแม่พี่น้องคนเสื้อแดงได้ออกมาชุมนุมเพื่อเพียงเรียกร้องการยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน
ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องอันไม่ขัดต่อหลักการปกครองนระบอบประชาธิปไตยใด
รัฐบาลขณะนั้นก็ยังคงยืนยันที่จะอาศัยกองกำลังทหารกว่า 70
กองร้อย รวมทั้งการใช้กระบอง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และสิ่งที่อำมหิตที่สุด
คือการใช้กระสุนจริงเข้ามาปราบปรามประชาชน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตในวันที่ 10 เมษายน 2553 ทั้งหมด 27 ราย
และศาลมีคำสั่งในหลายคดีว่า กระสุนมาจากฝั่งทหาร
การ
“ขอคืนพื้นที่” โดยรัฐไทยในวันนั้น จึงเป็นอาชญากรรมรัฐอันโหดร้ายอย่างยิ่ง
และสะท้อนถึงความอำมหิตของผู้ปกครองประเทศ
ที่ได้แสดงความพร้อมที่จะเพิกเฉยต่อความอยุติธรรมในประเทศมาโดยตลอด และจนวันนี้ 14
ปีผ่านมา ยังไม่มีผู้กระทำคนใดที่ถูกลงโทษจากการเข่นฆ่าประชาชน
ผู้ที่คุ้นเคยกับเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 6
ตุลา 2519
จะรู้ดีว่าการป้ายสีและด้อยค่าผู้เห็นต่างโดยรัฐไทยเป็นบ่อกำเนิดของความอยุติธรรม
และเป็นสิ่งที่ก่อให้มีการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงหลาย ๆ
ครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ภาพความโหดร้ายจากวันที่ 10
เมษา 53 จึงเป็นภาพที่ยืนยันว่า
ความวิปลาสของรัฐไทยไม่เคยหายไป แต่เพียงเปลี่ยนข้ออ้าง
จากการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์สู้การกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
ในยุคนั้น
ประชาชนถูกป้ายสีจนทำให้การเข่นฆ่ามีความชอบธรรมในสังคม
ในปัจจุบันก็ถูกความเกลียดชังจากข้อหาล้มเจ้า ที่ปล่อยให้คนอดอาหารจนอากาศวิกฤติ
เมื่อย้อนกลับไปดูช่วงเวลา
20 ปีที่ผ่านมา การชุมนุมใหญ่ได้เกิดขึ้นบ่อยมาก
โดยทั้งกลุ่มการเมืองและประชาชนอิสระ จนอาจเรียกได้ว่ากลายเป็นเรื่องธรรมดาในการเมืองไทย
แต่สิ่งที่มิอาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งปกติและเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยนมาตั้งแต่ตอนนั้น
คือภาพทหารมาล้อมปราบประชาชน ถนนที่นองเลือด ศพที่นอนตายอยู่ใจกลางเมืองหลวง
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือภาพที่คนรุ่นใหม่เห็นในตลอดการเติบโตขึ้นในประเทศนี้
และเป็นเหตุที่ทำให้เยาวชนจำนวนมากยึดมั่นกับความฝันที่จะเห็นสังคมที่ลูกหลานพวกเรามิอาจจะต้องเผชิญสิ่งเหล่านี้อีกต่อไป
เราจึงยืนยันว่า พวกเรา ในฐานะเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะไม่ยอมให้เกิดการล้อมปราบขึ้นอีกในอนาคต
และจะทวงคืนความยุติธรรมให้กับคนเสื้อแดงต่อไป
ศักดินาจงพินาศ
ประชาราษฎร์จงเจริ
ลงชื่อ
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมและ 25 องค์กรเครือข่ายนักศึกษา
1.
ชุมนุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. คณะกรรมการนักศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
3. พรรคธรรมด้วยกัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. เสรีเกษตรศาสตร์
5. พรรคโดมก้าวหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. พรรคจุฬาสามัญชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
8. พรรคจุฬาของทุกคน
9. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. พรรคโดมปฏิวัติ
11. พรรคธรรมดา
12. พรรคโดมสามัญชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. กลุ่มอิสระล้อการเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14. องค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
15. พรรคอาทิตย์ใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
17. สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
18. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรม
19. พรรคเมฆา
20. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
21. คณะกรรมการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
22. พรรคทีพีซี อิส วัน
23 Law Long Beach Club
กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ คลับ
24. กลุ่มแอมเนสตี้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลับสหวิทยาการ ศูนย์รังสิต
เหล่านี้ก็เป็นรายชื่อของกลุ่มองค์กรนักศึกษาที่เราร่วมกันออกแถลงการณ์ในวันนี้
เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราไม่ลืมคนเสื้อแดง กิจกรรมในวันนี้ในฐานะตัวแทนของจุฬาฯ
เราก็ยอมรับว่ามหาวิทยาลัยเราเองก็เคยมีส่วนในการป้ายสีคนเสื้อแดง
เรามีบุคลากรหลายคน เรามีอาจารย์หลายคนในกลุ่มศิษย์เก่าที่รวมตัวกันในวันนั้นที่เราออกมาบอกว่าเสื้อแดงเป็นกลุ่มคนที่ผิด
รวมถึงพวกเราเองก็ใช้พื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการใช้อำนาจเข้าต่อสู้กับคนเสื้อแดง
ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
ในฐานะ
ว่าที่นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬา ในฐานะหัวหน้าพรรคจุฬาของทุกคน
อยากขอโทษคนเสื้อแดง เราจะยังขอโทษซ้ำ ๆ ในทุก ๆ ปี เราจะทำแบบนี้ในทุก ๆ ปี เพราะว่าในฐานะของการเป็นนิสิตจุฬาฯ
เราเชื่อว่าการต่อสู้ของคนเสื้อแดงเป็นสิ่งที่ควรชื่นชม และการปราบปรามคนเสื้อแดง
คนที่ต้องเสียชีวิตไป คนที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมก็ดี
หรือว่าได้รับบาดเจ็บทางอ้อมจากทางวาจาหรือการถูกล่าแม่มด บางคนแค่ใส่เสื้อแดงออกไปซื้อก๋วยเตี๋ยวก็โดนเอาไม้ตีหัวแล้ว
เราคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
แล้วเราในฐานะมหาวิทยาลัยก็ควรที่จะมีส่วนรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ในฐานะนิสิตจุฬาฯ ก็อยากขอโทษทุกคนครับ และในฐานะองค์กรนิสิตนักศึกษา
และในฐานะคนรุ่นใหม่เองก็อยากจะชื่นชมพี่ ๆ ป้า ๆ ลุง ๆ ที่ผ่านมาต่อสู้มาทั้งหมด
ขอบคุณทุกคนที่กรุยทางประชาธิปไตยให้เราได้เข้าใกล้ความฝันกันไปอีกหลายก้าว
หลังจากนี้ก็คงถึงวันที่คนรุ่นใหม่เราเอง
แม้เราจะถดถอยในเรื่องของการจัดม็อบ ในเรื่องของกิจกรรมทางการเมืองไปบ้าง
แต่เราเชื่อว่าจิตวิญญาณของประชาธิปไตยก็ยังอยู่ในหัวใจของนักศึกษา
อยู่ในหัวใจของคนรุ่นใหม่ เพียงแต่ว่าต้องรอวันที่เราจะกลับมาสุกงอมเท่านั้นเอง
สุดท้ายอยากขอบคุณและอยากขอโทษคนเสื้อแดง
และผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยทุกท่าน เราหวังว่าจะไม่ต้องเจอเหตุการณ์การล้อมปราบ
การเข่นฆ่า การใช้กระสุนจริงในประเทศไทยอีกครับ ขอบคุณมากครับ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #คปช53 #คนเสื้อแดง #26องค์กรนิสิตนักศึกษา