พิพิธภัณฑ์สามัญชน ร่วมกับเครือข่ายกวีสามัญสำนึก จัดกิจกรรม "สดับเสียง(อักษร) ในตะกอนความทรงจำสีแดง" รำลึกถึงผู้คนและเหตุการณ์ ผ่านหนังสือ-บทกวี จุดเทียนรำลึก 14 ปี เมษา-พฤษภา 53
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 17.00 น. ที่ร้าน AraiArai #อะไรอะไร ถนนไมตรีจิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์สามัญชน ร่วมกับ ARAIARAI และ เครือข่ายกวีสามัญสำนึก จัดกิจกรรม The Reader’s Night ตอน ‘the Red Memories สดับเสียง(อักษร)ในตะกอนความทรงจำสีแดง’ ผ่านการอ่านออกเสียงเรื่องราวจากหนังสือของผู้ผ่านเหตุการณ์ สลับการบทกวี รวมถึงการสนทนา ย้อนรำลึกถึงผู้คนและเหตุการณ์
อานนท์ ชวาลาวัณย์ จากพิพิธภัณฑ์สามัญชน ได้นำหนังสือแต่ละเล่มที่ร้อยเรียงเรื่องราวในห้วงเวลา 10 เมษา - 19 พฤษภา 53 มาอ่านออกเสียงให้ผู้ร่วมกิจกรรมฟัง อาทิ หนังสือสุภาพบุรุษไพร่ ที่เขียนโดย "ฟ้ารุ่ง ศรีขาว" ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเจ้าตัวเอง"ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ"
โดยอานนท์ ได้คัดตอนการตั้งชื่อลูกสาวของณัญวุฒิว่า ‘ชาดอาภรณ์’ ซึ่งแปลว่าเสื้อแดง ลูกสาวของเขาเกิดวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ซึ่งช่วงเวลาตึงเครียดก่อนที่ทหารจะเริ่มสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ตัวเขาเองกว่าจะออกจากพื้นที่ชุมนุมมาโรงพยาบาลเพื่อให้กำลังใจภรรยาในวันคลอดลูกได้ ต้องคล้าย ๆ กับการผจญภัย โดยอานนท์ได้อ่านตอนที่ณัฐวุฒิต่อวมองลูกผ่านตู้อบ และใช้เวลาุึง 9 เดือน กว่าณัฐวุฒิจะได้รับการประกันตัวและได้อุ้มลูกสาวเป็นครั้ง
จากนั้นเป็นการสลับอ่านบทกวี อาทิ นายธนา เพชรสัมฤทธิ์ ตัวแทนเครือข่ายกวีสามัญสำนึก ได้นำหนังสืองานศพ ของ"ไม้หนึ่ง ก. กุนที" หรือ นายกมล ดวงผาสุก กวีเสื้อแดง ที่ถูกลอบยิงบริเวณลานจอดรถ หน้าร้านอาหารครกไม้ไทยลาว เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557
ทั้งนี้ธนายังได้กล่าวถึง หนังสือที่เดินเรื่องด้วยภาพ ชื่อ"ราษฎร์ประสงค์" แล้วมีความรู้สึกปลื้มใจและเศร้าใจไปพร้อม ๆ กัน ปลื้มใจเพราะเป็นภาพการต่อสู้ ด้วยความเสียสละด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ของพี่น้องเสื้อแดง ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกชั้นฐานะของสังคม ที่เรียกร้องหาประชาธิปไตยและหาความเป็นธรรมจากผู้มีอำนาจ โดยหวังเพียงจะให้รัฐบาลยุบสภาคืนอำนาจ ให้ประชาชนและเคารพการตัดสินใจของประชาชน และเศร้าใจไปกับภาพที่ประชาชนถูกล้อมปากสลายการชุมนุมถูกฆ่ากลางเมืองหลวง
นอกจากนี้ยังมีการอ่านบทกวี ‘เงาเท้า’ ของ รอนฝัน ตะวันเศร้า แด่วาระ 10 เมษายน 2553 ที่กล่าวถึง ร่องรอยของการต่อสู้ในดินแดนที่ไม่มีคนหนุ่มเหลืออยู่ ต้องยินยอมต่อคนวัยชรา โดยใช้คำว่าเอื้อเฟื้อ
จากนั้นชานันท์ ยอดหงษ์ หรือ ปกป้อง อดีตผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ พรรคเพื่อไทย ได้อ่านบทกวี ‘เหมือนบอดใบ้ไพร่ฟ้ามาสุดทาง’ ที่แต่งโดย อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำตอนนี้ ในคดีมาตรา 112
นอกจากนี้ยังมีการล้อมวงสนทนาถึงความทรงจำ ในห้วงเหตุการณ์ 10 เมษายน - 19 พฤษภาคม 2553 โดย ป้าสาคร และป้านก ซึ่งทั้งสองป้า เคยได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชนคนธรรมดา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสดุดีความดีงามคนธรรมดาที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และเพื่อเป็นกำลังใจให้คนธรรมดาที่ต่อสู้เรียกร้องเพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรมทางสังคม ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง ขณะที่มีความยากลำบากในการดำเนินชีวิต ด้วย
โดยอานนท์ ชวาลาวัณย์ ได้เลือกหนังสืออ่านออกเสียงปิดท้ายกิจกรรมก่อนจุดเทียนรำลึก 14 เมษา-พฤษภา 53 คือหนังสือ " การขับเคลื่อนทวงความยุติธรรม 2553-2566 จาก นปช.ถึงคปช. 53 ซึ่งอานนท์บอกว่าเป็นเล่มใหม่ที่เพิ่งำปซื้อมาจากงานสัปดาห์กนัวสือแห่งชาติ และอานนท์ได้หยิบยกเนื้อหาในเล่มบทที่ 4 งานรำลึกเมษา - พฤษภา 53 ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (แยกคอกวัว) วันที่ 10 เมษายน 2566 ตอนที่ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ กล่าว : "ทำไมต้องตั้ง คปช.53 ในการทวงความยุติธรรมให้คนเสื้อแดง" มาอ่านให้ผู้ร่วมงานฟัง
จากนั้นเข้าสู่กิจกรรมช่วงท้าย "เปลวเทียน 10 เมษา" เป็นการให้ผู้น่ยมกิจกรรมจุดเทียนสีแดงเพื่อรำลึกถึงวีรชน ขณะเดียวก็มีการอ่านบทกวีเคล้าเสียงดนตรีเพื่อร่วมอธิษฐานจิตไปพร้อม ๆ กัน และยุติกิจกรรมในเวลา 20.15 น.
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ 10 April and Beyond ในม่านความทรงจำสีแดง ที่มีการจัดแสดงสิ่งของที่อยู่ในเหตุการณ์ และถูกใช้โดยคนเสื้อแดงในเวลานั้น 2553 ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อที่มีข้อความสัญลักษณ์ต่าง ๆ ขันสีแดงมีข้อความว่า"ยุบสภา" ผ้าโพกหัวสีแดว ตีนตบ หนังสือภาพคนเสื้อแดง รวมถึงหนังสือพิทพ์ในห้วงเวลานั้นด้วย โดยได้จัดแสดงที่ร้าน AraiArai ตั้วแต่ 29 มีนาคม จนถึง 7 เมษายนนี้
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #14ปีเมษาพฤษภา53 #คนเสื้อแดง #นปช #คปช53