แลไปข้างหน้ากับ
ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.97
ประเด็น
: เมื่อ “ประยุทธ์” ถูกบังคับให้ลงจากหลังเสือ!!!
สวัสดีค่ะ
วันนี้เราก็จะมาไลฟ์ในตอนต่อจากตอนที่แล้ว ประเด็นก็คือ
เมื่อ
“ประยุทธ์” ถูกบังคับให้ลงจากหลังเสือ!!!
รอบที่แล้วเราคุยถึงเรื่องการที่
พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ยอมลงจากหลังเสือ เพราะกลัวเสือกัด
การไม่ยอมลงจากหลังเสือมันแสดงให้เห็นชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นการที่มีการตระเตรียมในการที่จะเป็นแคนดิเดตนายกฯ ต่อไป
มีการตระเตรียมเรื่องราวของพรรคเล็กที่จะหนุนตัวเอง แล้วก็ไม่มีท่าทีที่ว่าจะลงจากหลังเสือ
ยังพูดประหนึ่งผู้มีอำนาจอยู่ตลอด
และดังที่เราได้กล่าวมาแล้วว่า
อันที่จริงเราก็ไม่ได้คิดหรอกว่าเขามุ่งหวังทรัพย์สินเงินทองในการที่จะอยู่ต่อ
แต่ประเด็นของการใช้อำนาจและความผิดที่กระทำมา มีคดีความมากมายทั้งแพ่งและอาญา
ในการที่มายึดอำนาจ ก่อนยึดอำนาจ ระหว่างที่ยึดอำนาจ หลังการยึดอำนาจ
จนกระทั่งปัจจุบัน
มีเรื่องราวมากมายที่ทำให้คนมีความไม่พึงพอใจกระทั่งเกลียดชังและต้องการขับไล่
แม้นจะมีวิกฤตเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บก็ตาม
การที่ไม่ยอมลงจากหลังเสือก็แสดงออกดังที่เราได้พูดกันอยู่แล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีความแพ่ง, อาญา ซึ่งก็ศัตรูมีมาก
ทั้งในกลุ่มเดียวกันและในฝ่ายที่คิดต่าง ทั้งในพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายพลเรือน
ไม่รู้ฝ่ายกองทัพมีหรือเปล่า?
แต่ว่าไอ้ความที่มีศัตรูมากและตัวเองเข้าใจว่าได้กระทำผิดมามากมาย ยกตัวอย่างเช่น
การที่เราได้ยกตัวอย่างเรื่องราวของคดีปี 2553
ซึ่งศาลมีคำสั่งชัดเจนว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ กองทัพ
แล้วก็ฝ่ายประชาชนมือเปล่า ไม่มีชายชุดดำ รวมทั้งการที่เอาอาวุธ มีการเปลี่ยนแปลง
ของกลางก็มีการเปลี่ยนแปลง ความไม่น่าเชื่อถือของฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐ (ในการให้การ)
ดังนี้เป็นต้น ซึ่งดิฉันถ้ามีเวลาเราจะไปทบทวนคดีด้วยตัวเองในสถานที่ที่เกิดเรื่องขึ้นจริงด้วย
แต่ในวันนี้ข่าวจากที่เราได้พูดมาในสัปดาห์ที่แล้ว
สถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่เราเริ่มเห็นชัดเจนว่าถึงคุณไม่อยากลงจากหลังเสือ
แต่คุณกำลังถูกบีบบังคับให้ลง คุณจะลงเอง หรือ คุณจะทำให้การบังคับที่คุณยังมีโอกาสในการที่จะลงแล้วราบรื่น
หรือคุณอาจจะถูกขย้ำ ถูกบังคับแล้วก็ถูกขย้ำด้วย
ดิฉันก็อยากจะชี้ให้เห็นว่า
ช่วงเวลาสัปดาห์เดียวนั้นเรามีข้อมูลเพิ่มขึ้นมากมาย อาทิ
จากคำบันทึกที่บอกว่าคุณสุพจน์ ไข่มุกด์ กับคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ พูดอยู่สองคนในเรื่องเจตนารมณ์ที่ไม่ต้องการให้มีการใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีเกิน
8 ปี ก็ออกมาเถียงว่าเป็นแค่บันทึก
จากนั้นก็ปรากฏว่ามีเอกสารที่แสดงถึงเป็นมติ หลุดมติ กรธ.ชุด “มีชัย” เจอขุดถกปี
61 ชี้เจตนา รธน.60 นายกฯ ครบ 8 ปี ส.ค.นี้ มติกรธ.หลุดหลังจากที่มีการติดตามคือ
เดิมอาจจะคิดว่าไม่มี เพราะว่าเถียงไปข้าง ๆ คู ๆ ว่าเป็นความคิดของคนสองคน
และบัดนี้คุณสุพจน์ก็ไม่พูดเหมือนเดิมแล้ว
ในนี้ก็มีเอกสารเผยแพร่มติที่ประชุมในการประชุมกรธ.
ครั้งที่ 500
วันที่ 7 กันยายน 2561
อันนี้เป็นข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ รายละเอียดตามลิ้งค์ https://mgronline.com/politics/detail/9650000077487
ที่สรุปความได้ว่า
“การนับวาระดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ให้นับรวมวาระที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 ใช้บังคับด้วย” โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องตอนหนึ่ง ว่า
“การกำหนดหลักการใหม่ เกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯ
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนับระยะเวลา คือ 8 ปี
แม้บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ติดต่อกันก็ตาม
คือตอนนั้นกรธ.คงคิดไม่ถึงว่านายกฯ
ลุงตู่ จะมีเจตนาอยู่ยาวถึงปานนั้น
ความจริงก็คือต้องการเขียนเพื่อที่จะจัดการกับนายกฯ และอดีตนายกฯ
ที่จะมาจากการเลือกตั้งใหม่ คือถ้าเคยเป็นอดีตนายกฯ ก็ให้มานับรวมกันหมด
ไม่ได้คาดคิดว่าอาวุธอันนี้ซึ่งเป็นดาบเล่มหนึ่งจะมาถูกใช้เพื่อจัดการกับตัวนายกฯ
ปัจจุบัน ก็คงคิดไม่ถึงว่าจะถืออำนาจยาวนานถึงขนาดนี้
เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่แค่บันทึกแล้ว
มันเป็นมติ หลักฐานที่เพิ่มขึ้นมาที่เป็นมติมันก็มีความแข็งแรงพอสมควร
ถ้าเราพิจารณาตามกฎหมายเราจะเห็นว่ามันไม่มีข้อสงสัยอันใดเลยที่จะไม่นับอายุนายกรัฐมนตรีตั้งแต่
23 สิงหาคม 2557 ไม่มีเหตุผลอันใดเลย
ดังที่ดิฉันได้อธิบายไปตั้งแต่รอบที่แล้ว และดังที่บรรดาคณาจารย์ 51 คน จาก 15 มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำหนังสือ เรื่องการนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี
ในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 โดยทั่วไปก็แบบเดียวกันกับที่ดิฉันพูด พูดเหมือนกันหมด
อ้างมาตรา 158 วรรค 4 อ้างมาตรา 264
ดังนี้เป็นต้น ซึ่งมันชัดเจนว่ามันต้องนับ!
เพราะฉะนั้นถ้าถามในเรื่องกฎหมาย
มันเป็นที่ชัดเจน ทีนี้ปัญหาก็คือว่า ถ้าสมมุติ ในทางกฎหมายนะ
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่ออกว่าให้นับตั้งแต่ 2557 บอกว่าให้มานับในปี 2560 โดยอ้างว่ามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ดิฉันดูแล้วมาตรา 264 ไม่มีตอนใดที่พูดถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
มาตรา
264 พูดแบบง่าย ๆ เต็ม ๆ เลยว่า “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
แปลว่ารับรอง รับรองย้อนหลังความเป็นนายกรัฐมนตรี “จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่”
แต่ที่มีการอ้างถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้นมันเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ดิฉันคิดว่าบางคนอาจจะจำผิด
ที่อ้างว่าจนถึงวันประกาศใช้ อันนี้รับรองไปแล้ว
และดิฉันอยากตั้งคำถามว่า
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญ ดิฉันใช้คำว่า “ถ้า” นะ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตีความเป็นอย่างอื่น
ไม่นับว่าเป็นนายกฯ ตั้งแต่ปี 2557 แล้วมานับเอาปี 2560 ก็ได้ หรือ 2562 ก็ได้ ดิฉันอยากจะถามว่า
สภาวะความเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นเป็นนายกฯ แบบไหน? เถื่อนเหรอ?
เป็นนายกฯ เถื่อนหรืออย่างไร? งั้นแปลว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่รับรองก่อนถึงปี 2560 นี่สมมุติว่าเอา 2560 นะ หรือสมมุติว่าไปรับรองเอา 2562
ก็แปลว่าตั้งแต่ 2557 ถึง 2562 หรือ 2557 ถึง 2560 ไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นนายกรัฐมนตรี
ถามว่าอะไรจะเกิดขึ้น?
ดิฉันไปดูในรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี
2557 มาตรา 19 “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนํา” แปลว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ถูกตีให้เป็นตัวแทนของราษฎร แล้วก็เป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ทั้งหมดประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี
แล้วก็ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
แล้วพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติถวายคำแนะนำ
ก็ถือว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นสภาผู้แทนราษฎรประมาณนั้น
คำถามว่าแล้วอันนี้จะหมายความว่าอะไร? (ถวายสัตย์แล้ว) ไม่ถือเป็นนายกฯ งั้นเหรอ?
อันนี้รัฐธรรมนูญชั่วคราวนะ!
แล้วรัฐธรรมนูญ
2560 ที่ดิฉันถืออยู่ในมือนี้ มาตรา 264 เขาก็พูดชัด ซ้ำแล้วซ้ำอีกเหมือนที่คณาจารย์และที่ดิฉันได้พูดเอาไว้
ว่ามันชัดเจน มันไม่มีข้อสงสัย ทีนี้ถ้าคุณตะแบงกันว่า ไม่ใช่ ไม่เกี่ยว
มันต้องเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง เขียนไว้ตรงไหน ว่าจะไม่นับนายกรัฐมนตรี
ทำไมไม่เขียนลงไปให้ชัด “ที่มาจากการทำรัฐประหาร” ไม่เห็นเขียนเลย ไม่มี
แต่บอกว่าถ้ารักษาการหลังจากสิ้นสุด/ลาออก ก็ไม่นับ รัฐธรรมนูญก็ต้องเขียนให้ชัด
แต่นี่เขาเขียนรับรอง เขียนให้ชัดเลยว่า “คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้”
หมายถึงใคร? คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นคณะรัฐมนตรีชุด
นายกฯ ทักษิณ เหรอ?, ชุดสมชาย เหรอ? ก็ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็นายกรัฐมนตรีคนนี้แหละ!
เขาบอกว่าเป็นนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ก็คือรับรอง เพราะว่ามันจะยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราว รัฐธรรมนูญฉบับ 2560
ก็รับรองต่อ ป.ป.ช.ก็บอกว่าเป็นนายกฯ ต่อ ไม่ต้องชี้แจงทรัพย์สิน
ถ้าเกิดบอกว่าไม่ใช่!
หนึ่งไม่ได้มีการเขียนเว้น แต่เขียนรับรองด้วยซ้ำ ก่อนวันประกาศใช้
ถือเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติ เขาใช้คำว่า “ก่อนวัน” นะ ที่จริงก่อน “ประกาศใช้”
ก็ยังได้ แต่นี่เขียน “ก่อนวัน” แปลว่าหมายถึงรัฐบาลที่มาจาก คสช. นั่นแหละ นายกฯ
ที่มาจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อนหน้านั้นนั่นแหละ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ 2560 รับรอง
แล้วถ้าสมมุติบอกว่า
ไม่ใช่ ไม่นับ ถ้าอย่างงั้นจะให้หมายความว่ายังไง? อย่าลืมว่าระยะเวลาจาก 2557
มาถึง 2560 หรือ 2562 มีบางท่านบอกว่าอย่างนี้ก็ต้องคืนเงินเดือน ดิฉันว่ามันไม่ใช่เกี่ยวกับคืนเงินเดือนอย่างเดียวนะ
คุณไปเซ็นสารพัด กระทั่งแต่งตั้งองค์กรอิสระ แต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ
แต่งตั้งวุฒิสมาชิก อะไรต่าง ๆ แล้วคนเหล่านั้นก็กินเงินเดือน
ก็เรียกว่าพังกันถ้วนหน้า มันไม่ใช่พังแต่เฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ พังทั้งประเทศค่ะ
ถ้าตีความว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่จะต้องมานับ แล้วเป็นนายกฯ
แบบไหนที่ไม่ได้รับการรับรอง ทั้ง ๆ ที่ในนี้เขาเขียนชัดว่ารับรอง ดังนั้น
ไม่แต่เพียงคืนเงินเดือนนะ โอ้โห...เป็นโมฆะหมดเลย อะไร ๆ
ก็ตามที่มันมาจากการกระทำและบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญชั่วคราวอันนั้น
ก็กลายเป็นของเถื่อนหมด ดิฉันว่ามันพังทั้งประเทศนะ
เพราะฉะนั้นในทางกฎหมาย
ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ อยากจะลงหรือไม่ลงจากตำแหน่งนายกฯ
แต่ในทางกฎหมายซึ่งคุณเขียนมาเอง และโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ
คุณไม่ปฏิบัติตามไม่ได้นะคะ มาตรา 3 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2560 เขียนไว้ชัดเจนเลย
“รัฐสภา
คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ
ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม
เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม”
ถ้าจะมีการใช้อำนาจแทรกแซงศาล
ก็ต้องคำนึงถึงมาตรา 3 ด้วย
ดิฉันคิดเอาเองนะคะว่า
ในทางกฎหมายและการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ การนับอายุนายกรัฐมนตรีดิ้นไม่หลุด
ต้องนับตั้งแต่ที่ประกาศเป็นนายกรัฐมนตรี มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
เพราะฉะนั้นวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จึงเป็นวันสุดท้าย
แต่ถ้าถามใจดิฉันส่วนตัวและคนจำนวนหนึ่งนะ
ไม่นับก็ได้ 2557 ไปนับ 2560 หรือ 2562 เลย สนุกแน่ค่ะ ฟ้องกันอุตลุดเลย ท้าทาย! ท้าทายประชาชน ท้าทายกฎหมาย
ท้าทายหลักนิติธรรม อันนี้ก็เรียกว่าเป็นการท้าทายอำนาจตุลาการรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญด้วย
คือไม่นับก็ได้นะ 2557 ไป 2560/2562 ดิฉันว่ามันคงปั่นป่วนกันทั้งประเทศ
เพราะการที่คุณประยุทธ์ไม่ยอมลงจากหลังเสือ
ทีนี้เราก็ต้องมาคิดว่า
ถ้าคุณประยุทธ์ซึ่งมีท่าทีโดยตลอด ยังไม่ยอมลงจากหลังเสือ
ยังคิดว่าไม่ปลอดภัยที่จะปล่อยอำนาจในมือ
ยังต้องการที่จะจัดการด้วยความไม่ไว้วางใจคนอื่น อย่างไรก็ตาม แล้วถ้าต้องการอยู่ต่อล่ะ
ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่? ข้อที่ 1 ใช้อำนาจแทรกแซง นี่เป็นการสมมุติ
ซึ่งดิฉันคิดว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าไม่ได้ผล ก็อาจจะถามว่าเป็นการหยั่งเสียง
อาจจะไม่ได้ผล แต่เราเห็นสัญญาณของการถูกบังคับและการขยับตัว
สิ่งที่น่าสนใจมากก็คือสัญญาณของการที่มีการออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
เพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง อันนี้เป็นการควบคุมคณะรัฐบาลเมื่อเกิดมีการยุบสภา
ในนี้เขาเขียนชัดว่า
กรณีที่คณะรัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งเพราะเหตุอายุผู้แทนราษฎรสิ้นสุดหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรนั้น
นี่เป็นเงื่อนไขให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติ ถามว่าตัวนี้เขียนไว้ตั้งแต่ 2563 แต่ไม่ลง
มาลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565
นี่แปลว่าเป็นสัญญาณว่าจะยินดีลงจากหลังเสือ หรือเปล่า? อาจจะไม่ใช่
อาจจะมีคนหวังดีเตรียมการไว้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะไม่รู้เรื่อง
กระบวนการของฝ่ายสำนักนายกฯ หรือคุณวิษณุบอกว่าได้แล้ว ออกระเบียบกกต. ได้เลย ดองเอาไว้ตั้งนาน
เพราะว่ายังไม่จำเป็นต้องใช้ อันนี้ก็เป็นสัญญาณ
ถามว่ามีสัญญาณอะไรอีก
ในทัศนะของดิฉันนะ ก็คือว่า คุณประยุทธ์น่าจะไม่ได้รับการไว้วางใจจากเพื่อนสมาชิกผู้แทนราษฎร
โดยเฉพาะพรรคพปชร. สัญญาณที่หนึ่งนี่สำคัญที่สุดเลยก็คือ โอเคคุณประยุทธ์บังคับให้เอาใจพรรคจิ๋ว
พรรคเล็ก คุณประยุทธ์อยากให้หาร 500 โอเค กลับมติ แก้รัฐธรรมนูญที่มีบัตร 2 ใบ
คู่ขนาน จาก 100 กลับเป็น 500 อันนี้เรียกว่ามันชัดเจนว่าเป็นอำนาจของ
พล.อ.ประยุทธ์
พอผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจแล้ว
ก็เปลี่ยนจากหาร 500 กลับมาเป็นหาร 100 เหมือนเดิม อันนี้แปลว่าอะไร ก็แปลว่าโอเค
ช่วยให้ผ่านมติไว้วางใจ รอดแล้ว แต่ตอนนี้กลับมาเป็นหาร 100 ตามเดิม อันนี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนให้เห็นว่า
ไม่ต้องสนใจ คือพรรคใหญ่จะไม่สนใจเรื่องพรรคจิ๋ว แต่พล.อ.ประยุทธ์ สนใจ ไม่ได้สนใจเรื่องพรรคจิ๋วพรรคเล็ก
ซึ่งพรรคเล็กที่เกิดขึ้นหลายพรรคมากกว่าหนึ่ง
ต้องการที่จะให้เป็นฐานของพล.อ.ประยุทธ์
อีกสัญญาณที่สองก็คือสัญญาณที่บอกว่า
หลุดออกมาพูดว่าอยู่ได้ 2 ปี พล.อ.ประวิตรบอกว่าไม่น่า ยังไม่ไป นายกฯ ยังอยู่ได้
2 ปี ซึ่งหลุดมาหลายวันแล้ว 2 ปีตีความว่านับแต่ 2560 ซึ่งดูจะสอดคล้องกับคุณวิษณุ
ไม่รู้ว่าคุณวิษณุเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่คุณวิษณุก็อาจจะคุยกันหรืออย่างไร
แต่ว่าตีความอยู่ 2 ปี แปลว่าอะไร
แปลว่าพล.อ.ประวิตรบอกให้รู้ว่าพล.อ.ประยุทธ์จะไม่ใช่แคนดิเดตนายกฯ ต่อไป
เพราะคุณอยู่ได้ 2 ปี แล้วคุณจะเป็นนายกฯ ต่อไปได้ยังไง
เพราะฉะนั้น
สองสัญญาณนี้มันแสดงให้เห็นว่าพรรคพปชร.ไม่ได้อยู่ในอำนาจและสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์อีกต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์จะไม่ใช่แคนดิเดตนายกฯ และพรรคเล็ก ๆ เหล่านั้นก็ไม่มีทางเติบโตเป็นคู่แข่งกับพปชร.ได้
แปลว่าเพื่อนไม่เอาแล้ว พรรคการเมืองพปชร.ที่เป็นฐานในสภาก็ไม่เอาแล้ว
นี่เป็นการตีความนะ คนอื่นอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ แต่ว่าอันนี้ในทัศนะของดิฉันก็คือ
แสดงให้เห็นว่างานฝ่ายการเมืองรัฐสภา จะไม่มีการหนุนให้เป็นแคนดิเดตต่อไป อันนี้จบ!
แล้วตอน
500 กับ 100 หรือแม้กระทั่งตอนตีความ
เราจะเห็นว่าวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งร่วมวอล์คเอาท์ตอนที่หาร คือไม่เอา 500 กลับมาเอา
100 ตามเดิม แปลว่าอะไร? ก็แปลว่าเห็นด้วยกับฝ่ายพรรคพปชร. เพราะว่าถ้าหาร 100
พปชร.พรรคใหญ่ เป็นคู่ขนาน ก็ยังจะมีส่วนที่ได้บัญชีรายชื่อได้จำนวนหนึ่ง
อันนี้มันก็เป็นเรื่องของความคิดและผลประโยชน์
และอาจจะคิดอีกอย่างหนึ่งว่าไม่อยากพังไปด้วยกัน ไม่อยากถูกเสือขย่ำไปด้วยกับคุณประยุทธ์ก็ได้
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าฝ่ายพลเรือนจำนวนมากไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์แล้ว
แล้วเราลองดูม็อบเป็นตัวอย่าง
พูดก็พูดอย่างม็อบทนายนกเขาหรือคุณไพศาล คนเหล่านี้เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม
เป็นฝ่ายที่เชียร์คุณประยุทธ์มาตั้งแต่ต้น และรวมทั้งอย่างคุณสนธิ ลิ้มทองกุล พวกนี้เป็นจารีตนิยมอำนาจนิยม
ยอมรับและสนับสนุนการทำรัฐประหาร และก็เกลียดคุณทักษิณมาก เกลียดไทยรักไทย
เกลียดใครที่เกี่ยวข้องมาก แต่ตอนนี้มาขับไล่พล.อ.ประยุทธ์ แปลว่าอะไร?
แปลว่าฝ่ายจารีตจำนวนไม่ใช่น้อยก็ไม่เอา แต่ดิฉันไม่รู้นะว่ากองทัพมีไม่เอาหรือเปล่า
ถ้ากองทัพยังอยากได้พล.อ.ประยุทธ์
อันนั้นอาจะเห็นหนทางที่คุณประยุทธ์ไม่ยอมลงจากหลังเสือคือการทำรัฐประหาร
โดยมีกองทัพหนุนหลัง ถามว่าเป็นไปได้ไหม? ยาก!!!
เพราะว่า
3ป. และคนอื่น ๆ นั้น กองทัพขณะนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้พล.อ.ประยุทธ์คนเดียว
พล.อ.ประยุทธ์ก็ขยับออกมาแล้ว มีระยะห่าง และในระยะห่างนั้นมันก็มีคนอื่น
ซึ่งก็มีสายสัมพันธ์ พูดถึง Connection ไม่มีใครเท่าพล.อ.ประวิตร
ไม่ว่าเป็น Connection นักการเมือง Connection กลุ่มพรรคการเมือง นักการเมือง กองทัพ หรืออื่น ๆ
และที่สำคัญก็คือเป็นแหล่งทรัพย์สิน หรือเปล่า? อันนี้ก็คือเป็นที่รู้ ๆ
กันว่าท่านเป็นกระเป๋าหนัก อันนี้ดิฉันไม่รับประกันนะ เดี๋ยวจะเป็นการไปใส่ความ
แต่หมายความว่าเป็นคนที่ได้รับการยอมรับทั้งพรรคการเมือง นักการเมืองและ Connection
ต่าง ๆ เยอะ เพราะระยะเวลาการทำรัฐประหารมาจนถึงตอนนี้มัน 8
ปีเข้าไปแล้วนะ มันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทำให้อำนาจของกองทัพนั้นอาจจะถูกคลายมือ
แต่ว่าอำนาจของฝ่ายการเมืองและอำนาจอื่น ๆ เข้ามาแทนที่
ดังนั้น
ถ้าพูดถึงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในทัศนะของดิฉันก็คิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ถูกบังคับ
ถ้าคุณไม่มีการยุบสภา ลาออก ก่อนวันที่ 23 สิงหา
เสี่ยงมากที่คุณอาจจะต้องถูกให้หยุดทำหน้าที่ หรือมีการฟ้องร้องต่อไปอย่างมากมาย
คือโอกาสที่มติของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาว่านับตั้งแต่ปี 2557 นั้น ในทัศนะของดิฉันก็คือไม่อาจจะหนีทางนี้ไปได้เลย
ถ้าหนีก็คือศาลรัฐธรรมนูญรับเต็ม ๆ เลย รับอย่างหนักด้วยซ้ำ
อันนี้พูดถึงทางกฎหมายอย่างเดียว ไม่ต้องพูดดังที่หลายคนมีหลายคนบอกว่าคุณไม่ควรจะมีสิทธิ์เป็นนายกฯ
แม้แต่วินาทีเดียวตั้งแต่ต้นแล้ว แล้วถ้ารัฐธรรมนูญนี้ยิ่งไม่รับรอง ยิ่งแล้วใหญ่
เพราะฉะนั้น
ตอนนั้นคุณจะถูกขย้ำถ้าคุณไม่ลงก่อน แต่ถ้าถามดิฉันนะ ดิฉันอยากให้อยู่ ให้ดื้ออยู่
แล้วก็จะได้เจอว่าเสือจริง ๆ ดิฉันอยากให้เสือที่ขย้ำคุณประยุทธ์เป็นเสือแห่งความชอบธรรม
เป็นประชาชน เป็นหลักนิติธรรม ไม่ใช่เสือที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญ
ดิฉันว่าตรงนี้สำคัญ
เพราะฉะนั้น
ถ้าคุณประยุทธ์ไม่มีการยุบสภาลาออกก่อนวันที่ 23 ประเทศจะเข้าสู่ช่วงเวลาใหม่ ดิฉันไม่อยากจะเรียกว่าเป็นวิกฤตนะ
วิกฤตของพล.อ.ประยุทธ์ แต่เป็นโอกาสของประชาชน ดังนั้น ไม่มีปัญหาค่ะ ถ้าคุณประยุทธ์
ไม่ยุบสภา ไม่ลงจากหลังเสือ ไม่มีปัญหาเลย ดิฉันชอบด้วยซ้ำ
แต่ว่าดิฉันค่อนข้างเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์น่าจะเลือกใช้วิถีทางของการยุบสภา
ยุติบทบาท แล้วยังรักษาการได้อีก 5-6 เดือน สามารถเตรียมการได้อย่างเป็นผู้กระทำ
ไม่ใช่เป็นผู้ถูกกระทำ 100%
แต่ถ้าคุณประยุทธ์ไม่ต้องการลงจากหลังเสือเลยแม้แต่น้อย
คุณประยุทธ์ก็ต้องหาเสือตัวใหม่มาขี่ มีอย่างเดียวคือทำรัฐประหารซ้ำ หรือมิฉะนั้น
ถ้าไม่ถูกเสือที่เป็นประชาชนและหลักนิติธรรมในการขย้ำคุณ ในอดีตนายกฯ
ที่อยู่นาน ที่มาจากการทำรัฐประหาร ถ้าไม่ถูกจัดการโดยประชาชนเช่นปี 2516
ที่จัดการจอมพล ถนอม กิตติขจร ก็จะต้องถูกจัดการแบบจอมพล ป. คือมีคนทำรัฐประหารซ้ำ
คือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือมิฉะนั้นก็คือ หลัง 2519
ก็มีคณะทหารชุดใหม่มาทำการรัฐประหาร ที่นายกธานินทร์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดการ
เพราะว่าแกบอกว่าแกจะอยู่ 12 ปี
มันจึงเป็นสัจธรรม
คือถ้าคุณไม่ลงโดยศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าคุณไม่ถูกจัดการโดยประชาชน
ก็จะต้องถูกจัดการโดยการทำรัฐประหารใหม่
หรือถ้าคุณคิดว่าคุณยังสามารถที่จะอยู่บนหลังเสือต่อไปได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายประชาชนไทยมากในยุคนี้
พ.ศ.นี้ สำหรับดิฉันนะ ได้ทุกอย่าง ถ้าคุณอยากลงดี ๆ
คุณก็ยังสามารถที่จะผ่อนหนักเป็นเบา แต่ไม่อยากลงเพราะคิดว่ายังสามารถอยู่ได้
ก็โอเคสำหรับประชาชน มันจะเข้าสู่ยุคใหม่ของการต่อสู้ใหม่
อาจจะเป็นทุกรูปแบบเลยค่ะ
#ธิดาถาวรเศรษฐ #ประยุทธ์ #นายก8ปี
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์