คนเสื้อแดง / คนรุ่นใหม่
ประชาธิปไตยในเส้นทางเดียวกัน
มองปรากฏการณ์ “ม็อบคนรุ่นใหม่”
เริ่มเข้าใจโครงสร้างการเมือง!
ความเคลื่อนไหวบางส่วน เริ่มมีป้ายขอโทษ
“คนเสื้อแดง”
(ถอดคำให้สัมภาษณ์มติชนสุดสัปดาห์ของ
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ)
บางอย่างอาจจะอยู่ในโลกโซเชียลอาจจะเข้าใจระดับหนึ่ง
แต่ว่าเมื่อเข้าสู่มิติของปฏิบัติการจริง นั่นก็คือการลงสู่ท้องถนนจริง
เขาจะเข้าใจชัดเจนทันทีเลยว่าคนที่มาร่วมด้วยช่วยกัน มีลักษณะที่สนับสนุนและปกป้อง
จากปรากฎการณ์นั้นส่วนหนึ่งคือคนเสื้อแดง
อีกอันหนึ่งก็คือ เขาก็มาพบว่าสิ่งที่ “คนเสื้อแดง”
ในอดีตต่อสู้นั้นก็คือสิ่งเดียวกันกับสิ่งที่เขาสู้อยู่ในทุกวันนี้
เมื่อด้านบวกมันชัดเจนขึ้น ด้านลบซึ่งเคยเป็นด้านนำ ก็คือหมายความว่า Hate speech หนึ่ง
ความพยายามจะดีสเครดิตจากฝั่งอนุรักษ์นิยมจารีตนิยม
แล้วก็ในส่วนการต่อสู้ทางการเมืองกันเองก็อาจจะมีอิทธิพลมากกว่า ทำให้เขามองข้าม
หรือว่าอาจจะร่วมดิสเครดิตไปด้วยว่า “คนเสื้อแดง”
สู้แบบตามที่รองโฆษกของพรรคก้าวไกลพูด “สู้เพื่อคน ๆ เดียว” “สู้เพื่อทักษิณ”
หรือว่า “สู้เพื่อพรรคเพื่อไทย”
การต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์นั้นมันถูกกลบด้วยวาทกรรมของความเกลียดชัง
ซึ่งมุ่งหวังจะดีสเครดิตของ “คนเสื้อแดง” เรื่องของบุคคล กับเรื่องอุดมการณ์
เอาเรื่องของบุคคลมาเป็นหลักโดยที่ไม่ได้คิดว่าเขาสู้มาสิบกว่าปีนั้นเนี่ย
คุณทักษิณก็ไม่อยู่ตั้งสิบกว่าปีเนี่ย มันจะไปสู้เพื่อบุคคลได้อย่างไร?
มันต้องเป็นการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์
เมื่อพอมาถึงในเวลานี้
เยาวชนปัจจุบันก็เข้าใจแล้ว ในภาษาอังกฤษก็คือ Real Right
ก็คือชัดเจนแล้วว่าอุดมการณ์ของ “คนเสื้อแดง” กับอุดมการณ์ของ “เยาวชน” นั้นที่แท้เป็นอันเดียวกัน
มันก็คือถนนของการต่อสู้ ปัญญาชนส่วนหนึ่งมักจะนับเอา 2475 แล้วก็ตามมาด้วย 14
ตุลา กระโดดมาพฤษภา 35 แต่ว่าขณะนี้ก็อาจจะเน้นตรง 6 ตุลา แล้วบางทีก็มองข้าม
กระโดดข้ามไปเลย
กระโดดข้ามเรื่องของ “คนเสื้อแดง”
เพราะว่าปัญญาชนจำนวนมากในทศวรรษที่ผ่านมานั้น เป็นปัญญาชนซึ่งใช้วาทกรรมที่ว่า
“คนเสื้อแดงทำเพื่อคน ๆ เดียว” เมื่อปัญญาชนจำนวนมากกลายเป็นผู้สนับสนุนรัฐประหาร
สนับสนุนฝ่ายอนุรักษ์นิยม อันนี้มันเป็นทศวรรษที่สูญหายสำหรับปัญญาชนไทย
แทนที่จะชูธงของการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ กลับไปชูธงสนับสนุนรัฐประหาร
แล้วมวลชนกับปัญญาชนจำนวนน้อยที่มาต่อต้านรัฐประหารก็ถูกเหยียบย่ำ
อุดมการณ์ในการต่อต้านรัฐประหารถูกมองข้ามและถูกเหยียบย่ำ กลายเป็นว่าทำเพื่อคน ๆ
เดียว ไม่ให้ค่า
แต่ว่านักศึกษาและปัญญาชนปัจจุบัน
เมื่อเข้ามาสู่การต่อสู้จริง เขาเข้าใจแล้วว่า สิ่งที่มวลชนพื้นฐานและสิ่งที่
“คนเสื้อแดงและนปช.” ได้ทำมาตลอดนั้น ในอุดมการณ์นั้นเป็นอันเดียวกัน ซึ่งตรงนี้
“คนเสื้อแดง” บางคนเขารู้สึกดีใจ อันนั้นคือมวลชนพื้นฐานของเรา
หลายคนเขารู้สึกว่าเขาถูกเหยียบย่ำ คนอื่นอาจจะมองไม่เห็นค่าเขา
แต่กับอาจารย์ไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นนะ
ไม่ได้รู้สึกว่าถูกเหยียบย่ำเพราะเราเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ
แต่อย่างไรก็ตามมันก็ทำให้เกิดความคิดที่ดีต่อกัน
คือจริง ๆ แล้วไม่ว่าเยาวชนจะเข้าใจหรือไม่ แต่อาจารย์เชื่อนะว่า “คนเสื้อแดง”
ทั้งหลาย ยังยินดีจะสนับสนุนไม่ว่าเขาจะพูดตรง ๆ ว่าเห็นหัว “คนเสื้อแดง”
หรือเปล่า? แต่เพราะ “คนเสื้อแดง” สู้ด้วยอุดมการณ์
จึงไม่ได้หวั่นและไม่ได้รู้สึกเสียใจกับการที่อาจจะถูกดิสเครดิต
เพราะฉะนั้น ขอให้เยาวชนทั้งหลายและคนรุ่นใหม่เข้าใจว่า
ไม่ว่าคุณจะเห็นค่าของเราหรือเปล่า? แต่โดยอุดมการณ์ “คนเสื้อแดง” ทั้งหมด
ต้องสนับสนุนคนรุ่นใหม่ เพราะเรายืนอยู่บนถนนสายเดียวกัน เราเดินไปเส้นทางเดียวกัน
เป้าหมายเราเป็นเป้าหมายเดียวกัน ดังนั้นคุณจะยกย่องหรือไม่ยกย่อง “คนเสื้อแดง”
ก็ตาม อาจารย์พูดแทน “คนเสื้อแดง” ได้ด้วยรู้ใจเขาว่า เขาจะสนับสนุน
แต่เมื่อมีป้ายบางคนที่เขาเข้าใจมากขึ้น แน่นอน! ก็อาจจะทำให้
“คนเสื้อแดง” บางส่วนยิ้มได้บ้าง ไม่ต้องเสียใจ สำหรับอาจารย์ก็คิดว่าสำหรับ
“คนเสื้อแดง” เขาก็ไม่เสียใจ คือไม่ว่าเขาจะเห็นหรือไม่เห็น แต่มันเป็นภารกิจที่ต้องสนับสนุนเยาวชน
ดังที่บอกแล้วว่าเป้าหมายเราเหมือนกัน กระทั่งวิธีการทุกอย่างก็เหมือนกัน
แล้วเขาเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่
มันต่างกันแต่ Generation
อันนี้เป็นรุ่น Y รุ่น Z รุ่นเยาวชน อาจจะมีวิธีการท่วงทำนองแตกต่างกัน
ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ว่ามันอยู่บนถนนสายเดียวกัน เป้าหมายเดียวกัน
ดังนั้นไม่ว่าเขาจะเห็นหรือไม่เห็น “คนเสื้อแดง” แต่ “คนเสื้อแดง”
ทุกคนสนับสนุนคนรุ่นใหม่ค่ะ
“คนเสื้อแดง”
มีความรู้สึกอย่างไรจากปรากฎการณ์นี้
ตามที่ดูคือ
เราก็แลกเปลี่ยนกันนะ อาจารย์ก็พูดคุยแลกเปลี่ยนเพราะจะเอาของตัวเองอย่างเดียวมันไม่ได้
เพราะของตัวเองก็เฉย ๆ ก็เข้าใจ เมื่อเราเข้าใจ ความรู้สึกเราก็จะน้อยลง
แต่ว่าถ้าในนักศึกษาหรือเยาวชนที่ไม่เข้าใจ
“คนเสื้อแดง” เขาจะรู้สึกมาก เขารู้สึก Guilty
รู้สึกผิดว่าที่แล้วมาเขาให้เครดิต “คนเสื้อแดง” น้อยไป
หรืออาจกระทั่งดูถูกด้วยซ้ำ
ในขณะเดียวกัน “คนเสื้อแดง”
บางส่วนซึ่งยังขาดความเชื่อมั่นในตัวเองหรือไม่แน่ใจว่าเยาวชนเขาจะให้เกียรติหรือต้อนรับหรือเปล่า?
พอเห็นก็เป็นความรู้สึกที่ดี เขาก็รู้สึกปลาบปลื้ม แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจมาก ๆ
ความรู้สึกนี่ก็อาจจะน้อยลงหน่อย แต่โดยทั่วไปอาจารย์มองว่า “คนเสื้อแดง” ส่วนใหญ่
พูดได้ว่าดีใจที่เห็นป้ายและได้ยินคำพูดของเยาวชนที่ให้เกียรติ “คนเสื้อแดง”
แต่อย่างที่อาจารย์บอกว่าให้หรือไม่ให้ เห็นหรือไม่เห็น “คนเสื้อแดง”
ก็ยังจะต้องสนับสนุนเพราะนั่นคือภาระหน้าที่ที่เรายังปฏิบัติไม่บรรลุ
ตกลงแล้ว “เสื้อแดง”
ก้าวข้ามทักษิณหรือยัง?
คือความจริงคุณทักษิณเป็นหุ้นส่วนสำคัญในก่อนหน้านี้ อาจารย์ใช้คำนี้ เพราะว่า
“คนเสื้อแดง” จำนวนไม่ใช่น้อยเขาก็รักคุณทักษิณด้วย และที่เฉย ๆ กับคุณทักษิณก็มี
กระทั่งชอบน้อยมากหรือไม่ชอบก็มี เพราะว่านิยาม “คนเสื้อแดง”
ก็คือนิยามของคนรักประชาธิปไตยและรักความยุติธรรม
อาจารย์เคยถามบรรดาพวกองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศซึ่งเขาก็ไม่เข้าใจตั้งแต่ทีแรก
คุณเป็นคนรักประชาธิปไตยไหม? เขาบอกแน่นอนเขารักประชาธิปไตย คุณรักความยุติธรรมไหม?
เขาบอกใช่ อาจารย์บอกงั้นคุณเป็น Redshirt คุณเป็น
“คนเสื้อแดง” เพราะงั้นนิยามของ “คนเสื้อแดง” คือมีแค่นี้
แต่เขาอาจจะรักคุณทักษิณก็ได้ รักคุณธนาธรก็ได้ รักคุณเสรีพิศุทธ์ก็ได้
รักคุณหญิงหน่อยก็ได้ หรือรักใครก็ได้ มันคนบริบทกัน นั่นคืองานการเมือง
แต่ในการต่อสู้ เวลาพูดถึงมิติ
“คนเสื้อแดง” นักการเมืองกับฝ่ายตรงข้ามที่ต้องการปราบปรามเรา
พยายามที่จะดีสเครดิตเรา คือคุณต้องแยกระหว่างการต่อสู้ของประชาชนในทางอุดมการณ์
กับการต่อสู้ของนักการเมือง มันคนละเรื่อง ตอนนี้ยังพยายามจะเอามาปนกันแล้วนะ
คนที่เป็นนักการเมืองจะไม่พูดถึงและมักจะไม่ให้เครดิตของนักต่อสู้
แม้กระทั่งอยู่ฝ่ายเดียวกันนะ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับสูงขนาดไหน
เพราะเขาต้องการให้เครดิตของนักการเมืองนั้นสูงและยิ่งใหญ่
มันก็จะมองนักต่อสู้หรือขบวนการต่อสู้ประหนึ่งเป็นเครื่องมือสนับสนุนตัวเอง ลึก ๆ
แล้วจะเป็นอย่างนั้น จะแสดงหรือไม่แสดงก็ตาม
ทีนี้อีกฝั่งหนึ่งบางทีมองตรงกันข้าม
ก็คือมองว่านักการเมืองที่ได้มันได้จากเสื้อแดง
ดังนั้นวิธีที่จะดีสเครดิตทั้งคู่ก็คือว่านักต่อสู้นั้นทำเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและเพื่อนักการเมือง
เพราะฉะนั้นนี่เป็นเรื่องที่ว่าประชาชนทั้งหลายก็ควรจะเข้าใจ
แล้วมันก็จะเกิดขึ้นในตอนนี้กับเยาวชน เช่น
อาจจะบอกว่าพวกนี้ทำเพื่อพรรคการเมืองบางพรรค
เหมือนเสื้อแดงทำเพื่อพรรคการเมืองบางพรรค
เพราะงั้นพรรคก้าวไกลเดี๋ยวจะโดนบ้างที่มาดีสเครดิตว่า “คนเสื้อแดง” ทำเพื่อคน ๆ
เดียว เพราะนั้นก็อาจจะต้องโดนบ้าง เพราะว่าเราไม่แยกระหว่างขบวนการต่อสู้ประชาชนกับเรื่องของพรรคการเมือง
ตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก
ทีนี้ถ้าถามว่าทำยังไงที่จะให้คนเข้าใจ
มันต้องลงสู่การปฏิบัติแบบที่น้อง ๆ
ลงมานี่แล้วเขาจะรู้ทันทีเลยว่าเมื่อเขาสวมวิญญาณของนักต่อสู้
เขาจะเข้าใจนักต่อสู้ด้วยกัน
ถ้าคุณเป็นนักการเมืองคุณก็จะพูดแบบนักการเมืองด้วยกัน สำหรับตัวอาจารย์เองไม่วิตก
ประชาชนส่วนใหญ่ก็ควรจะมีความเข้าใจที่มากขึ้น กรณีของเยาวชนที่พูดออกมา
แม้จะมีคนไม่กี่คนพูด แต่มันก็ส่งเสียงที่มีพลังจำนวนหนึ่ง
ก็ต้องขอบคุณที่เขาพูดออกมา แต่ที่พูดออกมาอย่างนั้นมันไม่ได้ว่าทำให้
“คนเสื้อแดง” มากขึ้นหรือน้อยลงนะ คือ “คนเสื้อแดง” ก็มีแบบนั้นแหละ
แล้วก็ไม่ได้ทำให้วิถีปฏิบัติของ “คนเสื้อแดง” เปลี่ยนไป
แต่สิ่งที่จะทำก็คือมันจะทำให้เปิดพื้นที่กว้างของแนวร่วมประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยมากขึ้น
อาจจะสร้างความมั่นใจให้กับ “คนเสื้อแดง”
จำนวนหนึ่งซึ่งเดิมอาจจะไม่อยากมาเปิดตัวในการสนับสนุนเยาวชนมากนัก
ก็อาจจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในการที่จะมาร่วมกัน เพราะฉะนั้น
กลุ่มเยาวชนปลดแอกที่ตั้งเป็นประชาชนปลดแอก
อาจารย์มองว่าเขาก็มีความหวังว่าต้องการให้ประชาชนไปร่วม แล้วประชาชนส่วนไหนจะไปร่วม
ก็ประชาชนที่ “คนเสื้อแดง” เราทำกันมาแล้วสิบกว่าปี ปูประชาชน เอาง่าย ๆ
คนที่ไปโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญทั้ง ๆ
ที่ในกระแสของฝั่งรัฐบาลใช้อำนาจรัฐกับอำนาจปืนเข้มแข็งมาก “10 ล้าน” พูดตรง ๆ
ว่าคนรักประชาธิปไตยจริง ๆ ไม่ว่าจะเจอมรสุมอะไรในตอนทำประชามติรัฐธรรมนูญ ชัด ๆ
เลย “10 ล้าน”
แต่อาจจะมีฐานคะแนนของพรรคการเมืองใหม่จำนวนหนึ่ง
อาจจะ 7-8 ล้าน ก็อาจจะเป็น 10 กว่าล้าน หรืออะไรทำนองนี้
อันนั้นหมายถึงการเมืองเดี่ยว ๆ นะ แต่ว่าการเมืองบวกการต่อสู้ พูดง่าย ๆ ว่า
ถ้าถามอาจารย์ คุณสมบัติของคน 10 ล้านนี้ก็คือคุณสมบัติของ “คนเสื้อแดง”
คุณสมบัติของ “คนเสื้อแดง” ก็คือคุณสมบัติของผู้รักประชาธิปไตย รักความยุติธรรม
และนี่ก็คือคนที่สามารถผนึกกำลังกับ Generation Y
Z หรือเยาวชนได้
เพราะฉะนั้น จะด้วยการสำนึกขึ้นมาได้
หรือแม้กระทั่งยุทธวิธีก็ตาม การพูดเช่นนี้ก็หมายความว่าก็สามารถขยายแนวร่วมได้กว้างขวางขึ้น
แล้วแนวร่วมนี้เราทำไว้ก่อนแล้ว ถ้ามองในแง่ของอาจารย์นะ ก่อนหน้านี้เวลาใครถาม
เขาถามว่าเมื่อไหร่ขบวนการประชาชนจะสำเร็จ อาจารย์พูดมาตลอด
จนกระทั่งผู้สื่อข่าวต่างประเทศเขาก็จำได้ แล้วเขาจะย้อนพูด
อาจารย์บอกว่ามวลชนนั้นพร้อม ที่รอคือรอปัญญาชนกับชนชั้นกลาง ถ้าปัญญาชน
ชนชั้นกลาง ไม่ลุกขึ้นมาตื่นตัวในการเรียกร้องประชาธิปไตย
มันยากที่มวลชนพื้นฐานหรือไพร่สมัยใหม่ เพราะเสียงมันไม่ดัง
เสียงมันดังไม่เท่าปัญญาชน และยิ่งถ้าเป็นปัญญาชนหรือคนชั้นกลางที่เป็นเยาวชน
เสียงมันยิ่งดังแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มันมีเสียงเยาวชน เสียงกรี๊ด ๆ
เสียงอะไรต่าง ๆ เสียงมันดัง แต่เสียงชาวนาชาวไร่ มวลชนพื้นฐานที่เราทำมาตลอด
เสียงมันมาก เราเคยมาครั้งหนึ่งหลายแสนมาก อย่างวันที่ 7, 8 เมษา ปี 52
อาจารย์ว่ามันเกิน 5 แสน แล้วเวลาเราทำแรลลี่หรือการชุมนุมแต่ละครั้งมีคนเป็นจำนวนมาก
แต่เสียงหรือพลังของมันไม่มากพอถ้าไม่มีปัญญาชน
ดังนั้น
ตอนนี้จึงเป็นเวลาที่ดีที่สามารถผนึกกำลังปัญญาชน ชนชั้นกลาง คือหลายคนเปลี่ยนนะ
อย่างเช่น แพทย์ชนบท คุณหมอสุภัทร ก็ออกมาขอโทษ
อันนี้เป็นปัญญาชนแพทย์เลยที่ออกมาขอโทษ แล้วก็มีอีกจำนวนมากที่เราจะเป็นในทวิตเตอร์ของเด็กเยาวชนเป็นจำนวนมาก
คือคนเหล่านี้ อย่างหมอสุภัทรแกไปร่วมกับ กปปส. เลย
คือไม่แปลกหรอกเพราะพื้นฐานแกมาสายหมอประเวศ
ซึ่งเป็นอนุรักษ์ที่แปลงร่างเสรีนิยมแล้วออกแนวโน้มออกจะสมัยก่อน ออกซ้ายหน่อย ๆ
ด้วย จริง ๆ ก็คือไม่ใช่ จริง ๆ ก็คือขวานั่นแหละ แต่เป็นขวาที่สีสันดูดี
ฉะนั้นหมอสุภัทรก็เรียกว่าแกรู้สึกผิด แกก็ขอโทษเอง
ยังมีหมออีกจำนวนมากเลยเกือบหมดกระทรวง เกือบหมดโรงพยาบาล
ในบริเวณโรงพยาบาลนะ พลเปล
พนักงานทำความสะอาด พยาบาลและลูกจ้างขั้นต่ำเหล่านี้จะมาเป็น “คนเสื้อแดง”
แต่ถ้าเป็นคนชั้นสูงขึ้นไปก็จะไม่ใช่
ก็จะมีคนส่วนหนึ่งเปลี่ยนอย่างเช่นคนแบบหมอสุภัทรและอื่น
ๆ และคนอีกส่วนหนึ่งก็เป็นพ่อแม่ของเยาวชนเหล่านี้แหละ
อาจารย์มองว่าที่เยาวชนส่วนหนึ่งเขาออกมาขอโทษนั้น
ถ้าสันนิษฐานคือส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่เป็น “สลิ่ม” หรือขวาจัด
เขาจะได้ยินคำสบประมาท คำดูถูกดูหมิ่นของ “คนเสื้อแดง” ซึ่งอาจจะโดยตั้งใจ
ไม่ตั้งใจ เขาก็จะมีปัญหาโดยไม่รู้ตัว คนเหล่านี้ก็จะเป็นเช่นนี้
แต่ว่าถ้าเป็นปัญญาชนที่มาจากครอบครัวคนยากคนจน อันนี้ก็อาจจะไม่ได้มีปัญหามาก
เพราะงั้นถ้าให้เดานะว่าเยาวชนเหล่านี้น่าจะมาจากครอบครัวที่เป็น “สลิ่ม”
การที่เขาเข้าใจและออกมาพูดอย่างนี้มันดีสำหรับตัวเอง มันดีสำหรับองค์กรเยาวชน
และมันดีสำหรับแนวร่วมทั้งหมด
แต่สำหรับ “คนเสื้อแดง” มันก็ดี
แต่ถึงคุณไม่พูด เราก็ยังจะต้องไปช่วยและสนับสนุนคุณอยู่
ขอบคุณภาพจากเฟจ Fahroong Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว |
ชะตากรรมการต่อสู้ของคนเสื้อแดงที่ต้องบาดเจ็บ
มีคดีติดตัว
แกนนำนั้นทั้งแพ่ง
ทั้งอาญา เยอะแยะทั้งมวลชนทั้งแกนนำ
อันเนื่องมาจากว่าการต่อสู้ของเรานั้นเราต้องต่อสู้ตามเงื่อนไขความเป็นจริง
อย่างที่อาจารย์เคยบอกประเทศของเราจริง ๆ
แล้วคนของเราส่วนใหญ่จำนวนมากเป็นอนุรักษ์นิยมนะ แล้วชนชั้นกลางของเรา
ด้วยความที่ถีบตัวมาจากชนชั้นล่าง ก็กลายเป็นพวกอนุรักษ์นิยม
ได้ดีมีประโยชน์กับรัฐประหารและรัฐอนุรักษ์นิยม ก็ทิ้งคนชั้นล่างเอาไว้
อันนี้เป็นปัญหาประเทศไทย
จึงทำให้เสียงของประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้อำนาจอยู่ที่ประชาชนจริง
ๆ นั้นมันเบา เพราะว่าชนชั้นนำไม่สามารถอนุญาตได้
แล้วตัวที่จะต้องเปลี่ยนที่อาจารย์บอกว่าคือชนชั้นกลาง โดยเฉพาะชนชั้นกลางบน
ขณะนี้ชนชั้นกลางล่างมาอยู่ในส่วนของ “คนเสื้อแดง” เยอะพอควร
แต่เราขาดชนชั้นกลางบนและปัญญาชน อาจารย์ว่ามาช่วยนี้มันดีขึ้นเยอะแล้วนะ
และมันควรจะต้องดีขึ้นต่อไป
แต่ว่าความเป็นจารีตของบ้านเรา
บ้านเราไม่ได้ผ่านสงครามการล่าอาณานิคมจริง ๆ
ขบวนการประชาชนจึงไม่ได้เติบใหญ่เข้มแข็งเท่าที่ควร มันไม่เหมือนประเทศข้างบ้านที่ว่าเขาต้องรบกับเจ้าอาณานิคม
นอกจากนั้นชนชั้นปกครองก็ไม่ได้ถูกจัดการโดยเจ้าอาณานิคม เพราะฉะนั้นประเทศไทย
ความเป็นอนุรักษ์นิยมกับจารีตนิยมมันดำรงอยู่อย่างแข็งแกร่ง
จนกระทั่งทำให้การเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนลักษณะค่อยเป็นค่อยไปนั้นมันยาก
กระทั่งในยุโรปยังนับเวลาเป็นร้อย ๆ ปี แต่ถ้าคุณเป็นประเทศอาณานิคมนะ
ง่ายและเร็วด้วย แล้วก็ทำให้ประชาชนขึ้นมาเชียร์ฝ่ายประชาธิปไตย
ความเป็นจารีตนิยมอนุรักษ์นิยมมันจึงดำรงอยู่หนาแน่น
ไม่เหมือนกับประเทศใกล้เคียงกันนี้ อาจารย์ก็เห็นด้วยกับนักเรียนนะ
ก็คือว่าเราจะต้องเปลี่ยนโครงสร้างชั้นบน ด้านอุดมการณ์ ด้านการศึกษา
วัฒนธรรมให้เป็นลักษณะก้าวหน้าสมัยใหม่และเป็นเสรีนิยมด้วย มันจึงจะมารับกับการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย
เราต้องทำควบคู่กันไป มันใช้เวลา
แต่อาจารย์ว่าตอนนี้เยาวชนจะทำให้เร็วขึ้น
แล้วก็ทำให้เกิดปัญญาชนขึ้นมาที่จะสามารถเป็น Front Line
ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
มองการ “ไล่จับ” ใช้กฎหมายเล่นงาน
“ม็อบนักศึกษา” อย่างไร?
คือด้านหนึ่งคือเอาอาวุธ
อีกด้านหนึ่งเอากฎหมายเข้ามา อาจารย์ว่าเขายังพยายามทำอยู่นะ
อย่างเช่นที่ว่าจะพยายามจับ 30 กว่าคน แต่เขาจะต้องชั่งใจว่าทำแล้วมันได้หรือเสีย
เพราะที่ผ่านมา พอคุณไปจับ เรื่องมันรุนแรงขึ้นมาก็เพราะว่าไปจัดการกับกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นวัยเดียวกันกับเขา
ไม่ว่าจะจับ ไม่ว่าจะอุ้มฆ่า หรือทำให้หยุดพูด อะไรก็ตาม เขาก็ต้องชั่งใจ
เพราะว่าคนเหล่านี้ถ้าคุณจัดการเขาหนึ่งคน เขาไม่ใช่คนคนเดียว เขาก็มีเครือญาติ
มีเพื่อนฝูง แล้วก็มีเครือข่ายจำนวนมาก เขาก็คงชั่งใจ คงจะพยายามทำ
แต่อาจารย์ว่ามันยาก
แต่ว่าถ้าคุณจัดการกับไพร่
โดยเฉพาะไพร่ในชนบทนะ คุณก็จัดการง่าย หลายคนก็บอกว่าก็สู้แบบเสื้อแดง
มันถึงต้องโดนอย่างนี้ ความจริงเราก็สู้เต็มที่ แต่ว่าเรามีขีดจำกัดว่า
เราไม่ได้ใช้อาวุธ เพราะเราไม่ต้องการให้ประเทศนี้ย่อยยับ อาจารย์พูดจริง ๆ นะ
ที่เขาพยายามมาเล่นงานเรา เผาบ้านเผาเมือง หรือเป็นพวกชายชุดดำ ถ้าใช้อาวุธจริง ๆ
มันไม่เหลืออย่างนี้หรอก เพราะคนมันเป็นล้านนะ แต่อย่างที่เขาบอกว่าคนจำนวนมากจริง
แต่ถ้าเป็นไพร่ชนบทเขาไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่ากับชนชั้นกลางและปัญญาชนในเมือง
เพราะนั้นมันจึงต้องเป็นองค์ประกอบที่เข้าส่วนด้วยกัน
อาจารย์รู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าคนเสื้อแดงจะมากเท่าไหร่ก็ตาม
แต่ถ้าไม่มีปัญญาชนและชนชั้นกลางมานี่ เปลี่ยนแปลงประเทศนี้ไม่ได้ แต่ว่าปัญญาชน
ชนชั้นกลาง ต่อไปนี้ เขาจะเปลี่ยนแปลงประเทศได้ง่าย เพราะมันมีฐานของการต่อสู้มาพอควรแล้ว.