ถอดคำให้สัมภาษณ์ของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
โดย มติชนสุดสัปดาห์
เก่งแต่ชี้นิ้วโทษคนอื่น! คุยกับ อดีต
ประธาน นปช. มองนายกฯอำนาจนิยมทำอะไรได้ แก้ปัญหาไม่เป็น คิดว่าตัวเองเก่งคนเดียว
เปิดด้วยคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หลังการชุมนุมใหญ่ของ
“คณะประชาชนปลดแอก” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : อันนี้ต้องไปดูที่ใครอยู่เบื้องหลัง
เห็นมั้ยมีใครเข้าไปข้างในบ้าง
นักข่าว : นักการเมือง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : เออ
ใครนะ?
นักข่าว : นักการเมืองค่ะ
เขาบอกว่าไปสังเกตการณ์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : มีพรรคไหนบ้างนะ?
นักข่าว : หลายพรรคค่ะ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : เอ้ย
เอาให้แน่ หลายพรรคอะ
นักข่าว : ก็มีภาพยืนยันอยู่แล้ว อันนี้ประชาชนเห็นค่ะ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : อ้าว
ไม่กล้าพูด มันไม่ใช่หรอก ไปอยู่อย่างนี้มันก็ทำให้ทุกอย่างมันเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ
เรื่อย ๆ ผมถามแล้วคนที่จะได้รับผลกระทบคือใครล่ะ เด็กใช่มั้ย นักศึกษาใช่มั้ย
แล้วธุรกิจประกอบการค้า ร้านค้าแถวนั้นเขาว่าไง? เขาเปิดร้านไม่ได้ทำไง? ขายของไม่ได้ทำไง?
แล้วเศรษฐกิจมันแย่อยู่แล้ว เขาแย่มั้ย? มันต้องคิดถึงคนอื่นเขาบ้างซิ
(มันต้องคิดถึงคนอื่นเขาบ้างซิ)
............
มองปรากฎการณ์ “ม็อบคนรุ่นใหม่” ความ
(ไม่) เข้าใจของนายกฯ เมื่อ
พล.อ.ประยุทธ์ มองว่ามีเบื้องหลัง / คิดถึงคนอื่นเขามั่ง / เด็กบูลลี่กันเอง
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ :
คือคนที่เป็นอำนาจนิยม จารีตนิยม ทำได้แค่นี้ แล้วไม่มีทางแก้ปัญหาได้
เพราะวิธีคิดของเขาก็คือ เขาเก่ง แล้วรู้เรื่องดี
เพราะฉะนั้นนิ้วที่ชี้ก็จะโทษคนอื่นไปทั้งหมด
ที่จริงขณะนี้ในทัศนะอาจารย์มันเป็นช่วงเปลี่ยน Generation และเป็นช่วงเปลี่ยนประเทสไทย
ประชาชนไทยทั้งหมดทำได้ดีเนี่ย (อาจารย์ไม่ได้หมายถึงตัวนายกฯ นะ)
ประเทศไทยจะไปได้
อาจารย์มองไม่เห็นเลยว่าคนที่มาจากการทำรัฐประหารจะมาแก้ปัญหานี้ได้
เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องพูดแบบนี้แหละ จะพูดแบบอื่นได้ไงเล่า ก็คนอนุรักษ์นิยมก็ต้องคิดเอาว่าคนรุ่นก่อน...อะไรอย่างงี้
ก็อ้างประวัติศาสตร์ อ้างคนรุ่นก่อนว่าดี
แล้วก็ต้องเชื่อฟังเด็กเอ๋ยเด็กดีสิบกว่าข้อ เออ...ค่านิยมเด็กดี มันตลกมาก
มันไม่ทันกับโลกสมัยใหม่เลย เพราะฉะนั้นอาจารย์ว่าไม่แปลกใจ เหมือนกับที่เราพูดว่า
“ครู” ถ้าเป็นจารีตนิยม อำนาจนิยม
แก้ไม่ได้
“ผู้นำรัฐบาล” “ผู้บริหาร”
ถ้าเป็นจารีตนิยม อนุรักษ์นิยม ก็แก้ไม่ได้
แล้วถ้าเป็นบริษัทเอกชนเขาไม่เอาคนพวกนี้หรอก
เพราะว่าบริษัทเขาเจ๊งหมด ถูกมั้ย ถ้าหากว่ามีผู้นำองค์กรที่เป็นจารีตนิยม
ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง แล้วก็อำนาจนิยม ใช้อำนาจ พูดง่าย ๆ ว่า
ไอ้ที่ทำงานบริหารรัฐกิจกันอยู่เนี่ย ถ้าไปทำบริษัทเอกชนนะ เขาไม่เอาหรอก
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็ก บริษัทใหญ่ เจ๊งแน่! ดังนั้นไม่แปลกใจที่เขาต้องพูดอย่างนี้
พรรคการเมืองควรมีท่าทีอย่างไรต่อ
“ม็อบนักศึกษา”
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ : ถ้าในทัศนะอาจารย์นะ
อาจารย์ยืนอยู่บนการต่อสู้ประชาชนเป็นหลัก
คิดว่าพรรคการเมืองต้องร่วมขบวนกับการต่อสู้ของประชาชน ตราบใดที่เมืองไทย
ประเทศไทย ไม่มีประชาธิปไตย อย่างฝันเลยว่าพรรคการเมืองนั้น คุณจะอยู่ได้
ไม่ทันไรอย่าง “พรรคอนาคตใหม่” คุณก็ถูกยุบละ คุณถูกยุบ คุณถูกเล่นงาน
คุณปฏิบัติตามกติกาของเขาสารพัดแล้ว คุณไปไม่รอดหรอก
เพราะงั้นถ้าคุณไม่ใช่พรรคที่ไปร่วมอยู่กับคณะรัฐประหาร
แต่พรรคที่เข้าไปร่วมได้ก็อีกเรื่องหนึ่งนะ
ถ้าคุณเป็นพรรคที่ต้องการยืนอยู่บนการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยจริง
อาจารย์ใช้คำว่า “คุณต้องร่วมการต่อสู้กับประชาชน”
พักการต่อสู้ทางการเมืองเอาไว้เลยนะ แล้วร่วมการต่อสู้กับประชาชน
ถ้าไม่ได้ประชาธิปไตย อย่าหวังว่าพรรคการเมืองคุณจะดำรงอยู่
แต่ว่าพรรคการเมืองจำนวนมากมักจะบอกว่า
การต่อสู้ประชาชนที่แล้วมาก็แล้วไป แต่ครั้งใหม่นี่ให้หยุด ให้เป็นภารกิจของพรรคการเมือง
แต่ว่าถ้าเรามองในฐานะประชาชนซึ่งเรามองถึงอนาคตของประเทศ สำหรับอาจารย์มองนะ
แต่ว่ามันต้องกลับกัน พรรคการเมืองต้องมาร่วมการต่อสู้ของประชาชน
แล้วต้องยืนหยัดจนกระทั่งการต่อสู้ของประชาชนได้รับชัยชนะ
จึงจะมาเข้าสู่ทางการเมือง คือเราต้องประกาศไปให้ชัดเลยว่า
การต่อสู้เพื่อให้ได้ระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องใหญ่
แต่ว่าวิถีทางรัฐสภาเป็นส่วนหนึ่ง ต้องเป็นส่วนหนึ่งการต่อสู้ของประชาชน
ไม่ใช่วิถีทางรัฐสภาเป็นช่องทางของการเอาผลประโยชน์บนเลือดและน้ำตาของการต่อสู้ประชาชน
แล้วก็ประชาชนก็ต้องต่อสู้ครั้งแล้วครั้งเล่า
แล้วก็นักการเมืองก็อาจจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เปลี่ยนพรรค หรือเปลี่ยนจุดยืน
แต่เมื่อเราไม่ได้ถึงเป้าหมาย ประชาชนก็ต้องเสียเลือดเสียน้ำตากันอยู่อย่างนี้
มันไม่ได้รับชัยชนะสักที
อาจารย์ว่ามันไม่น่าเกลียดที่พรรคการเมืองมาร่วมการต่อสู้ของประชาชน แล้วก็ต้องละเอาไว้
เพราะฉะนั้นเวลานี้เป็นเวลาดีนะที่ประชาชนออกมา
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนออกมา “คนเสื้อแดง” ก็ถูกดิสเครดิตมานาน
แต่ไม่ใช่เขาไม่สู้
แต่ว่าทำอย่างไรที่จะอยู่ตรงส่วนไหนของการต่อสู้ให้เหมาะสมที่สุด
พรรคการเมืองก็เหมือนกัน จะอยู่ตรงส่วนไหนของการต่อสู้ให้เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้ขบวนการประชาธิปไตยนั้นกว้างขวาง
ยิ่งใหญ่ แล้วก็หนักแน่นมั่นคง เราไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนนำก็ได้ เหมือนอย่าง
“คนเสื้อแดงและนปช.” แม้นเราจะมีคนอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม
ทำอย่างไรให้มันบรรลุเป้าหมาย คนอื่นใครนำก็ได้ ในทัศนะอาจารย์นะ เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองต้องเข้ามาหาจุดที่อยู่ในขบวนใหญ่นี้
สำหรับอาจารย์คิดว่าอย่างนั้นนะ ไม่มีทางเลย มิฉะนั้นพอเวลาคุณขึ้นมาเป็นรัฐบาล
มีปัญหาเขาก็รัฐประหารคุณ แล้วเขาก็ยุบพรรคคุณ แล้วก็อยู่อย่างนี้
แล้วก็มาเลือกตั้งใหม่ แล้วมันเรื่องอะไรที่จะต้องให้มีคนตายคนเจ็บอยู่ตลอดเวลา
มองท่าทีของ “พรรคเพื่อไทย”
ก่อนหน้าที่จะโดนทัวร์ลง
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ : อาจารย์เข้าใจ
เข้าใจทั้งสองข้าง เข้าใจคุณหญิงหน่อย
เพราะว่าคุณหญิงหน่อยจะต้องพูดแบบนี้โดยอัตโนมัติ
ดังนั้นอาจารย์ว่าครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่ดี แล้วก็คุณหญิงหน่อยเขาก็ออกมาขอโทษแล้ว
เพราะว่าแกต้องเริ่มคิดใหม่ นักศึกษาก็ให้โอกาสด้วย
เพราะว่าทำยังไงต้องขยายแนวร่วมให้มาก ไม่ใช่ไปเที่ยวโจมตีเขาหมด
เหมือนกับพรรคก้าวไกลก็เหมือนกันที่มาโจมตี “คนเสื้อแดง” ว่าทำเพื่อคน ๆ เดียว
อันนี้มองในภาพแนวร่วมก็คือไม่ได้ทำงานแนวร่วมเลย คิดแต่เฉพาะมิติของพรรคการเมือง
ซึ่งอาจารย์ว่ามันไม่ถูก.