แลไปข้างหน้า กับ ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.70
ตอน : ยกเลิก112 - วางเสลี่ยง ยกเลิกงานบอลประเพณี
[แนวรบด้านกฎหมายและด้านวัฒนาธรรมของเยาวชน]
วันนี้เรามาในวาระที่น่าสนใจอีกอันหนึ่ง
ดิฉันอยากจะคุยปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ก็คือในประเด็น
ยกเลิก112 –
วางเสลี่ยงและยกเลิกงานบอลประเพณี
ในประเด็นของการยกเลิก112
– วางเสลี่ยง และยกเลิกงานบอลประเพณี ดิฉันก็ถือว่าทั้ง 3 เรื่อง ที่จริงก็เป็น 2
เรื่อง นั่นก็คือ เป็นการเปิด “แนวรบด้านกฎหมาย” และ “แนวรบด้านวัฒนธรรม” ของเยาวชน
ครั้งที่แล้วเราคุยเรื่อง
112 มาก
เราพูดเพื่อชี้ให้เห็นว่าความที่เป็นจารีตนิยมแข็งกล้าของคนไทยและปัญญาชนชนชั้นกลางชนชั้นนำในปัจจุบัน
จนกระทั่งทำให้โทษเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
ในเรื่องดูหมิ่นพระมหากษัตริย์นั้นมันหนักหน่วงกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียด้วยซ้ำ
นั่นก็คือ มีทั้งการลงโทษว่าขั้นต่ำสุดถ้าถูกกล่าวหาแล้วคุณลงโทษ 3 ปี ถึง 15 ปี
ในขณะที่ยุคโบราณนั้นไม่มีโทษขั้นต่ำ อาจจะปล่อย อาจจะลงโทษ 3 วัน 5 วัน 7 วัน
หรือลงโทษอะไรก็ได้ ให้ไปทำงานแทนที่จะถูกจองจำ อะไรได้ทั้งสิ้น
อันนี้มันโทษสมัยโบราณซึ่งมีมาจนถึง ร.5 คือ ร.5 ได้มีการปรับเปลี่ยน โอเค
อย่างสูงสุด 7 ปี สำหรับพระมหากษัตริย์ แต่ถ้าเป็นท่านอื่น ๆ รองลงมาก็เป็น 3 ปี
แต่ไม่มีโทษขั้นต่ำ
สำหรับในยุค ร.7
ดิฉันก็เหมือนจะทบทวนนะ ในยุค ร.7 ก็เพิ่มมาเป็น 10 ปี
แต่นั่นประเด็นที่มีการเผยแพร่เอกสาร มีการเขียน สอนตำราหรืออะไร
ตอนนั้นตั้งใจจะเล่นงานคณะราษฎรหรือเปล่า?
ตอนนั้นหมายถึงว่าสำหรับผู้ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็โทษสูงสุด 10 ปี
ในเฉพาะเรื่อง ก็ไม่มีโทษขั้นต่ำอีกเหมือนกัน
อันนี้ก็แปลว่ายังปกป้องประชาชน
ซึ่งอาจจะถูกกลั่นแกล้งก็ได้ นั่นก็เป็นเรื่องของยกเลิก 112
ซึ่งมาปัจจุบันนี้ผ่านความพยายามของประชาชนในการขอแก้ไขมาเป็นลำดับ
จนที่สุดตอนนี้กลายเป็นว่าไม่แก้แล้ว ยกเลิก เพราะว่าถ้ายังแก้ไข
ต่อให้ไม่มีโทษขั้นต่ำก็อาจจะถูกลงโทษขั้นสูงก็ได้
แล้วก็มีการกลั่นแกล้งประชาชนมากมาย
นั่นหมายถึงว่าคุณปกป้องในกรณีสถาบัน
แต่คุณไม่ปกป้องประชาชนเลย คือประชาชนมันจะติดคุกอย่างไร? ถูกกล่าวหาผิด ๆ
ยังไงก็ได้ คุณไม่คุ้มครอง คุณคุ้มครองเฉพาะสถาบัน
ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันเกี่ยวข้องกับความมั่นคงอย่างเดียว
แต่ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริงในยุคสมัย อันนั้นก็คือ “แนวรบด้านกฎหมาย”
ซึ่งจะมีการรณรงค์ในวันที่ 31 ต.ค. นี้
แล้วดิฉันก็เชื่อว่าการรณรงค์นี้ซึ่งมีมาก่อนตั้งแต่ดิฉันเป็นประธานนปช.ตั้งแต่ปี
2555 ก็ได้พยายามทำมาเป็นลำดับ ก็มาถูกสกัดกั้นตอนมีทำรัฐประหาร ณ
บัดนี้เยาวชนก็มาจัดการใหม่ แต่เขาไม่แก้ไขแล้ว เขาขอยกเลิก
ซึ่งดิฉันก็คิดว่าเรื่องของยุคสมัย เมื่อคุณไม่ยอมปรับเปลี่ยน คนรุ่นใหม่ก็คือไม่ต้องแล้ว
ยกเลิกเลย คือถ้าแก้เสียตั้งแต่ก่อนหน้านั้นปัญหาตอนนี้ก็คงไม่รุนแรง
แต่ตอนนี้มันเท่ากับว่าด้านกฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายมันรุนแรงกับเยาวชนและประชาชนมาก จนกระทั่งต้องขอยกเลิก
วันนี้ดิฉันอยากจะพูดใช้เวลาต่อไปนี้ก็คือปัญหา
“แนวรบด้านวัฒนธรรม” คือน่าสนใจที่มติของกรรมการสโมสรนิสิตจุฬาฯ โดยที่คุณเนติวิทย์ก็จะมาแถลง
อันนี้เป็นนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิต คำว่า “สโมสร”
มันก็ถูกบังคับตอนทำรัฐประหารปี 2519 ก่อนหน้านั้นเขาไม่ใช้คำว่า “สโมสร”
ยังเรียกเป็น อบจ. พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องการให้มายุ่งการเมือง
การบริหารกิจการของนิสิตนักศึกษาก็เปลี่ยนมาให้ “สโมสร” ให้ฟังดูมันเป็นเรื่องเบา
ๆ ประมาณนั้น
ก็คือการออกมติที่ว่าวางเสลี่ยงลง
ไม่มีการคัดคนที่จะมานั่งอัญเชิญพระเกี้ยวแบบในอดีต
ไม่มีการไปพยายามเกณฑ์ให้คนมาแบก ซึ่งต้องใช้นิสิตปี 1 ประมาณ 50 คน มาแบกอีกต่อไป
ซึ่งหลายท่านก็คงจะทราบแล้วว่ามีการพูดถึงอยู่มากมาย ที่สำคัญก็คือ ดิฉันก็จะทวนนิดนึงตามเอกสารของสโมสรนิสิตจุฬาฯ
แถลงการคณะกรรมการสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ก็มี 2 มติ คือ 29:0 กับ 27:0
ลงท้ายว่าให้คนเท่ากัน ดังนี้เป็นต้น
อันนี้ก็เหมือนลูกระเบิดลงมาในสังคมไทย
เป็นลูกระเบิดใหญ่ลงมา ซึ่งดิฉันให้ความสำคัญ
เราดูเหมือนกับว่าเรื่องแบกเสลี่ยงมันเป็นเรื่องเล็ก แต่ทำไมกลายเป็นเรื่องใหญ่
เราจะเห็นว่ามันเล็กได้ยังไง ปฏิกิริยาของสมาคมนิสิตเก่า
ของศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียง เช่น อาจารย์บวรศักดิ์ รวมทั้งอื่น ๆ พูดง่าย ๆ
ว่าฝ่ายจารีตนิยมถ้าเป็นศิษย์เก่าจุฬาฯ ก็โดดออกมาหมด แม้กระทั่งรมว.ดีอี
ซึ่งบอกจบวิศวะมา เคยแบกเสลี่ยง ก็น่าจะมาลองแบกใหม่
ก็คือคนรุ่นเก่ายินดีหรือชอบที่จะแบกเสลี่ยง แต่เด็กรุ่นใหม่เขาไม่อยากแบกเสลี่ยง
ดิฉันก็คิดถึงเรื่องของพระเซน
ที่เณรหรือพระอีกรูปหนึ่งถามพระภิกษุชราคนหนึ่งที่ช่วยอุ้มผู้หญิงที่บาดเจ็บหรือแก่มากข้ามลำธาร
ถามว่าท่านทำได้ยังไง? นั่นเป็นผู้หญิงที่อุ้มอยู่ พระท่านก็ตอบว่า ท่านวางแล้ว
แต่พระองค์นั้นที่ถามท่านยังอุ้มผู้หญิงอยู่
ดิฉันก็คิดมาถึงเรื่องนี้ก็คือ
เยาวชนเขาวางแล้ว “เสลี่ยง” แต่กลุ่มคนเหล่านี้ยังแบกอยู่
คือแบกมาในอดีตแล้วก็จะแบกต่อ
แต่อย่าลืมว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมของนิสิตปัจจุบัน ดิฉันเชื่อในสติปัญญาเขาว่าเขาใช้ความคิดนะ
ไม่เหมือนที่อาจารย์บวรศักดิ์บอกว่าใช้ความรู้สึก เขาใช้ความคิด ใช้วิจารณญาณ
ดิฉันว่าอาจารย์บวรศักดิ์ต่างหากที่ใช้ความรู้สึกไปโต้ ก็คือ
มันเป็นกิจกรรมที่เขาพิจารณามาแล้วว่ากิจกรรมอันใดที่ไม่เหมาะสม
ไม่เป็นไปตามระบอบปัจจุบันที่ถือว่าคนเท่ากัน นั่นก็คือระบอบเสรีประชาธิปไตย
อะไรที่เน้นอภิสิทธิ์ชนและเป็นขนบธรรมเนียมโบราณซึ่งไม่สอดคล้องกับยุคสมัยก็ควรจะเลิกไปได้
ไม่งั้นทำไมคุณไม่นุ่งโจงกระเบนล่ะคะ
แล้วก็ใส่ถุงน่องแบบโบราณ มันก็เปลี่ยนมาเป็นลำดับจนกระทั่งปัจจุบัน แม้กระทั่งการแต่งตัว
มหาวิทยาลัยทั่วโลกเขาไม่ใส่เครื่องแบบกันหรอก เมื่อตอนปี 30 กว่า ๆ
ดิฉันไปธรรมศาสตร์ ดิฉันก็ยังเห็นเลยว่าในช่วงเวลานั้นนะ เวลานี้ไม่ต้องพูดละ
ก็คือเขาไม่ใส่เครื่องแบบกัน
จะใส่เครื่องแบบในวาระที่คิดว่าเพื่อความเรียบร้อยในการจัดงานจัดพิธีหรืออะไรต่าง
ๆ เหล่านี้ แต่โดยปกติมหาวิทยาลัยในปัจจุบันเขาไม่แต่งเครื่องแบบกันทั้งสิ้น
เขาสำคัญที่นี่ ที่หัว ไม่ใช่สำคัญที่เสื้อ เสื้อผ้าเครื่องแบบหรือเครื่องประดับ
ตรงนี้ดิฉันถือว่าดิฉันให้ความยกย่องกับกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬา
เพราะว่าอันนี้จุฬาฯ ไม่ได้เข้ามาร่วมกับธรรมศาสตร์ในการเคลื่อนไหวบนท้องถนน
เท่าที่ดิฉันดู ก็คือเป็นส่วนบุคคล แต่ว่าสโมสรฯ เขาทำในขอบเขตอำนาจเขา
ก็คือกิจกรรมที่เขาต้องทำ และนิสิตต้องทำ เขาก็จะจัดพิจารณาให้เหมาะสม
แต่เรื่องที่ว่าใครจะมีความเชื่อ ใครจะไปร่วมยกเลิก112 อันนั้นเป็นสิทธิ์ส่วนตัว
ดังที่ในอดีตดิฉันเป็นประธานนปช.
ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของแต่ละคนที่จะไปลงนามยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112
ไม่ได้ทำในนามองค์กร สโมสรนิสิตจุฬาเขาก็ไม่ได้ทำในเรื่องที่ไม่ใช่กิจของเขา
แต่นี่เป็นกิจของเขา และไม่ใช่กิจของนิสิตเก่า ใครอยากมาแบกก็มาแบกซิ เพราะว่าคุณเนติวิทย์เขาพูดชัด
คุณก็ส่งลูกส่งหลานคุณมาสมัครเลย เพราะว่าเขาต้องมีการเลือกตั้ง
และบอกไปเลยว่าถ้าเลือกเรา เราจะมาตั้งเสลี่ยงหาม เราจะไม่ใช้คน 50 คน
เราอาจจะใช้คน 150 คน แล้วก็จะทำการ 1, 2, 3, 4, 5 ได้! นี่เป็นการสอนประชาธิปไตยนะ
เพื่อบอกให้รู้ว่าเขามาจากการเลือกตั้ง เขามีแนวนโยบายอย่างนี้
ก็คือสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และก้าวหน้าที่เน้นความเท่าเทียม
เน้นสิทธิมนุษยชน แล้วไง? เขาก็เลือกเฉพาะบางกิจกรรม
เขาไม่ได้บอกให้เลิกบอลประเพณีด้วย
แล้วเขาไม่ได้บอกให้เลิกประดับพระเกี้ยวที่หน้าอก เขาไม่ได้บอกให้เลิก แต่เขาให้เลิกขบวน
และเขาก็บอกให้รู้ว่าขบวนแบบนี้มันแสดงออกถึงวัฒนธรรมแบบเก่า
สัญลักษณ์ก็มาจากระบอบเก่า แต่เพียงแต่เขาบอกว่าไม่ต้องทำในงานบอลประเพณี
อันนี้เป็นแนวคิดของเขา
ซึ่งดิฉันมองว่า
“แนวรบด้านวัฒนธรรม” สำคัญมาก ดิฉันเห็นด้วยว่าการที่เราจะมีการปรับเปลี่ยน
เรามีการต่อสู้ทางการเมืองในเวทีรัฐสภา แต่ในฝั่งระบอบเก่าจารีตนิยมอำนาจนิยม
มีพรรคการเมืองของตัวเอง แต่สู้ไม่ได้
พอสู้ไม่ได้ก็หันไปใช้กลไกที่ไม่ได้มาจากประชาชน ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน
ทุกกลไก อย่าให้ดิฉันพูดเลย เอางั้นก็แล้วกัน จะเป็นข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน
และกลไกต่าง ๆ ที่ไม่ได้มาจากประชาชน
เหล่านั้นในการกระทำการเพื่อรักษาอำนาจของชนชั้นนำในระบอบเก่าเอาไว้
สิ่งที่สำคัญซึ่งเป็นอาวุธสำคัญก็คือ
“ทางวัฒนธรรม” ถ้าเราจะเห็นว่าในเรื่องของการเมืองการปกครองเรื่องนี้สำคัญมาก
ในอดีตถ้าใครได้ไปอ่าน True Blue คือน้ำเงินแท้ ของคณะที่ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะตะรุเตา
คือหลังจากแพ้กบฏบวรเดช
ก็มีฝ่ายรอยัลลิสต์จำนวนมากก็มีการถูกลงโทษไปอยู่ที่เกาะตะรุเตา ในเวลาเหล่านั้น
ในเวลาที่ต้องสู้กับคณะราษฎร
ในกลุ่มคนที่มีความเชื่อมั่นในระบอบดั้งเดิมและต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นระบอบประชาธิปไตย
ที่มีรัฐธรรมนูญนะ
แต่มีรัฐธรรมนูญที่เรียกว่าอยู่ภายใต้การเมืองการปกครองของเครือข่ายพระมหากษัตริย์
หรือว่าพระมหากษัตริย์ยังอยู่เหนือรัฐธรรมนูญอีกที เป็นเช่นนั้น
อาวุธที่ฝ่ายรอยัลลิสต์ที่ใช้เป็นอาวุธสำคัญนั้นก็คือ
“ทางวัฒนธรรม” การเขียนหนังสือ การเขียนเพลง อะไรต่าง ๆ มันถูกกล่อมเกลาตั้งแต่
“สี่แผ่นดิน” เรื่อยมา จนเรื่องของคุณสด กูรมะโลหิต ทมยันตีเขียนร่มฉัตร อะไรต่าง
ๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้น “แนวรบด้านวัฒนธรรม” มีความสำคัญมาก
และเมื่อถูกปลูกฝังทั้งเป็นหนังสืออ่านเล่นและเป็นหนังสือในการเรียน
มันจึงได้กล่อมเกลาคน มันเป็นอาวุธที่สำคัญของระบอบเก่า
ดังนั้น เราจึงเห็นว่า
พอดีมันมีช่วงสงครามเย็น มีการต่อสู้กับการปฏิวัติสังคมนิยม ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์
จึงมีความหวาดกลัวมาก เพราะฉะนั้นแนวรบด้านวัฒนธรรม ด้านความเชื่ออะไรต่าง ๆ
หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นะ พระสยามเทวาธิราช ถูกเอามาหมด
ในการที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงที่เหมือนกับประเทศลาว กัมพูชา
ซึ่งเขารับไม่ได้ แต่จริง ๆ ในประเทศไทยมันไม่เป็นไปถึงขั้นนั้น
เพราะดังที่ดิฉันบอกแล้วว่ามันไม่มีสงครามประชาชาติ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในของเราเอง
ซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย
ดังนั้น
แนวรบด้านวัฒนธรรมสำคัญมาก หลังปี 2516 มีการพูดเรื่องเผาวรรณกรรมเก่า
โอ้โห...คนเต้นมากเลย ตอนนั้นกลุ่มเด็กสวนกุหลาบเอามาพูดว่าวรรณกรรมเก่า ๆ
คือเขาพูดเฉพาะส่วนที่ไม่ดี ความจริงมันพูดเป็นนามธรรม ไม่ได้เผาจริง
พูดถึงขุนช้างขุนแผน พูดถึงท่วงทำนองการใช้ชีวิตแบบศักดินา แบบชายเป็นใหญ่
อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เขาบอกมันต้องเผา มันไม่ได้เผาจริง
แต่ความหมายก็คือในทัศนะเขามันใช้ไม่ได้
วรรณกรรมที่ก้าวหน้าต้องเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนถึงประชาชนที่เป็นจริง ความทุกข์ยาก
การถูกกดขี่ มันไม่ใช่มีแต่วรรณกรรมที่เทิดทูลชนชั้นสูง ชนชั้นนำ
แล้วก็เรื่องบอลประเพณี
ตอนหลังปี 2516 ก็ต้องหยุดไปพักหนึ่งนะ
แล้วพอเปิดมาอีกทีหนึ่งเป็นวงโยธวาทิตของโรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป่าเพลง
“แองเตอร์นาซิอองนาล” ดิฉันเองยังงงเลย ตอนนั้นดูเหมือนจะเป็นปี 2518 การประกวดนางสาวไทยหยุดไปนานเลย
บอลประเพณีก็หยุด นั่นก็คือมีการพรั่งพรูของการต่อสู้ในเชิงวัฒนธรรมด้วย
แต่ว่าพอปี 2519 มันถูกปราบ
แต่ว่าความเข้าใจและความเบ่งบานในเชิงวรรณกรรมเพื่อก้าวหน้า
ที่อาจจะใช้คำวรรณกรรมเพื่อชีวิต เพลงเพื่อชีวิต มันก็ยังเบ่งบานอยู่ตลอด และทำให้เกิดเปรียบเทียบว่าเป็นเชิงวรรณกรรมของผู้กดขี่
กับ วรรณกรรมของผู้ถูกกดขี่ บทเพลงของผู้กดขี่ กับบทเพลงของผู้ถูกกดขี่
คุณจะเลือกข้างไหน?
อันนี้ก็เหมือนกัน
วัฒนธรรมของผู้กดขี่ คือทำให้คนไม่เท่ากัน ถ้าเป็นของกัมพูชาที่เราไปรับมา ของเขมร
ตั้งแต่อยุธยา ก็ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินนั้นคือเป็นสมมุติเทพ เป็นเทวะเลย
ภาษาที่พูดก็ต้องแตกต่าง ข้าวของหรืออะไรต่าง ๆ คือถ้ายิ่งขลังคนก็ยิ่งกลัว
มันก็จะต้องสร้างบทบาท สร้างเครื่องประดับ สร้างพิธีกรรม
เพราะฉะนั้นเราเลยมีพิธีพราหมณ์มาเต็มเลย ซึ่งทำให้เกิดความเหินห่าง คือมันไม่ใช่ห่างกันใกล้
ๆ มันห่างกันสูงมาก ระหว่างชนชั้นขุนนาง ชนชั้นขุนนางระดับสูง
ไปจนถึงสถาบันกษัตริย์ มันก็มีชนชั้นในการดำรงชีวิต ยกตัวอย่าง “บ้าน”
แม้กระทั่งขุนนางนะ คุณก็จะก่ออิฐถือปูน คุณจะมีหางหงส์อะไรแบบไหน
มีแต่วัดกับวังถึงจะทำได้นะ ขุนนางไทยเราก็จะเห็นเป็นบ้านไม้เรือนไทย
อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้น พิธีกรรมต่าง ๆ
มันมาจากพราหมณ์และทำให้เป็นเหมือนเทวะราชา ทั้ง ๆ ที่สมัยอดีต
กษัตริย์ไทยจะเรียกเป็น “พ่อขุน” นะ พ่อขุนนั่น พ่อขุนนี่ เพราะมาจากผู้นำหมู่บ้าน
แต่ว่าวัฒนธรรมของขอมซึ่งรับมาจากอินเดีย ทำให้กษัตริย์เป็นเทวะราชา
มันจึงมีพิธีกรรมมากมาย แล้วมันหายไปเมื่อตอนปี 2475 เยอะ
มันมามากเอาตอนมีพิธีกรรมกลับมา เอาพูดง่าย ๆ อย่างวันพืชมงคล
ก็กลับมาหลังสมัยจอมพลสฤษดิ์ พิธีกรรมต่าง ๆ
ถูกฟื้นกลับมาในช่วงยุคเวลาของการทำรัฐประหารปี2500 ในยุคจอมพลสฤษดิ์
แล้วก็เรื่องเสลี่ยงก็เพิ่งมีมาปี
2507 แต่ว่าบอลประเพณีมีมาตั้งแต่ 2477 นั่นก็คือธรรมศาสตร์กับจุฬาฯ ก็กลายเป็น 2
มหาวิทยาลัย เพราะธรรมศาสตร์มาจากคณะราษฎร จุฬาฯ
ก็มาจากระบอบเก่าที่เรียกว่าได้รับพระราชทาน
คือจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน คือผลิตบัณฑิตเพื่อมาเป็นข้าราชการ
ยังไม่ใช่เป็นคอนเซ็ปต์มหาวิทยาลัย แต่ว่ามันก็มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ
อย่างที่เราทราบที่จุฬาฯ ร่ำรวยมากปัจจุบันนี้ก็มาจากในยุคจอมพล ป.
สภาผู้แทนราษฎรภายใต้การนำของรัฐบาลในยุคจอมพล ป. นั้น ก็คือเอาที่ดินซึ่งจุฬาฯ
เช่าจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ไปเป็นของจุฬาฯ สภามีมติออกมาได้ นั่นมันยุคนั้นนะ
ไม่ต้องพูดยุคนี้ ในยุคนั้นสามารถเอาเงินของสำนักงานทรัพย์สินฯ
มาทำอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ เออ…ลองคิดดูก็แล้วกัน
เราจะเห็นว่าในยุคสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พิธีกรรมอะไรต่าง ๆ มันก็ไม่มี และมันมาฟื้นอีกทีก็คือหลังจอมพลสฤษดิ์รัฐประหาร
ได้มีการฟื้นฟู
พอย้อนกลับมาดูตอนนี้
กิจกรรมต่าง ๆ มันคัดเลือกได้ว่าให้มันสอดคล้องความเป็นจริง
เพราะว่าทุกอย่างในอดีตไม่ใช่ว่าจะดีงามและสวยงามหมด แม้กระทั่งในอดีตเอง
คุณไปดูปราสาทหินเห็นความอลังการ แต่คุณขมขื่นมั้ยนึกถึงแรงงาน
เหมือนกำแพงเมืองจีนนั่นแหละ ก็ต้องนึกถึงแรงงานที่ทำ ที่สร้างปราสาทหินมา
เพราะฉะนั้นพิธีอะไรต่าง ๆ ของเราในอยุธยาก็ไปลอกมาจากเขมร
คือยกเอาพราหมณ์อะไรต่าง ๆ ในเขมรมาหมด
แล้วก็มาสร้างพิธีกรรมขึ้นมาจนกระทั่งตอนนี้เราก็ไปติด
นี่มันมาพ.ศ.ไหนแล้วก็ยังติดอยู่
ในประเด็นของเรื่อง
“แนวรบด้านวัฒนธรรม”
ดิฉันคิดว่าอันนี้เป็นการเหมือนกับวางระเบิดลงในแนวรบด้านวัฒนธรรมอย่างใหญ่เลย
และมีคุณูปการที่จะต้องมาขบคิด
ถ้าหากว่าเป็นผู้ใหญ่หรือเป็นคนเยนเนอเรชั่นรุ่นอาจารย์ หรือว่าพวก Baby boom กระทั่งรุ่น X
อย่างคุณชัยวุฒิที่เป็นรัฐมนตรี ก็ไม่ได้อายุมากมายอะไร
ก็ยังถือว่าเป็นเยนเนอเรชั่น X ได้
แต่ว่าแปลว่าคุณห่างจากเขาแล้วที่ไปวิจารณ์ หรืออาจารย์บวรศักดิ์ก็ตาม
ดิฉันคิดว่าที่อาจารย์บวรศักดิ์ไปบอกว่าเด็กใช้ความรู้สึก
ไม่ได้ใช้ปัญญา ไม่ถูก!
ดิฉันคิดว่าเด็กใช้ปัญญา แต่อาจารย์บวรศักดิ์ใช้ความรู้สึกมากกว่า คือไม่ชอบ
อยากจะเห็นแบบเก่า คือรู้สึกภาคภูมิใจ เป็นนิสิตจุฬาฯ นี่มันยิ่งใหญ่
ประมาณเหมือนคำพูดของบทกวีที่ว่า “กูเป็นนิสิตนักศึกษา” ที่คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ
เขียน คือความยิ่งใหญ่ของบอลประเพณีในอดีตมันถ่ายทอดโทรทัศน์นะ
ถ่ายทอดสดขบวนตั้งแต่เช้ามาแห่รถทั้งเมืองเลย จนกระทั่งตอนหลังรถติด ทำไม่ได้
ทำให้นิสิตจุฬากับนักศึกษาธรรมศาสตร์ คือยังไงนิสิตจุฬาฯ ก็ยังขี่มาอีกชั้นนึงแหละ
แต่ถือว่าธรรมศาสตร์ก็เอาล่ะ ก็มาเล่นบอลประเพณี
ซึ่งตรงนี้มันไม่ได้เป็นการแข่งบอลประเพณีเพื่อความสามัคคีตั้งแต่แรก
แต่มันเป็นการแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยทั้งสองและความเก่าแก่
มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็ดูตาปริบ ๆ ประมาณเหมือนเป็นมหาวิทยาลัยชั้นสอง
ส่วนธรรมศาสตร์นั้นก็ถูกขี่อยู่ในที เพราะว่าอันนี้ขบวนพระเกี้ยวนะ
ของธรรมศาสตร์นั้นก็เป็นสัญลักษณ์ ปรับมาเพื่อไม่ให้น่าเกลียด ก็คือด้านหนึ่งมีพระเกี้ยว
ด้านหนึ่งก็มีธรรมจักร
กล่าวโดยสรุป
ดิฉันคิดว่าสิ่งที่สโมสรนิสิตจุฬาทำและคุณเนติวิทย์ได้ออกมาพูด
ได้ทำสิ่งที่เป็นคุณูปการต่อแนวรบด้านวัฒนธรรมของการที่สร้างความเท่าเทียม
และให้มองเห็นว่าวัฒนธรรมที่ควรสนับสนุนนั้นควรเป็นวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้คนเท่าเทียมกัน
นี่เขาก็ไม่ได้ด่าใครนะ
แต่จะทำต่อไปควรจะทำกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมของการทำที่ให้เห็นว่าคนเท่าเทียมกัน
ไม่ควรจะไปทำวัฒนธรรมที่เห็นว่ามันห่างกันหลายชั้น
คนนั่งก็ต้องคัดมาแบบนี้
การที่มีวัฒนธรรมคนนั่งเสลี่ยง นี่ขณะนี้ยานอวกาศเขาไปถึงไหนแล้ว
ในขณะที่เด็กไทยจำนวนหนึ่งก็ได้รางวัลในการที่ควบคุมหุ่นยนต์ที่ไปทำงานอวกาศได้
อันนั้นเป็นเรื่องน่าชื่นชม แล้วคุณยังมานั่งแบกเสลี่ยงอยู่เหรอ
คุณยังมาเถียงกันเรื่องแบกเสลี่ยงเหรอ
คุณควรจะคิดว่าทำอย่างไรให้เยาวชนไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
การศึกษาไทยทำให้คนไทยสามารถที่จะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ
สามารถที่จะทำให้เศรษฐกิจสามารถพุ่งทะยานได้
สำหรับในระดับโลก
ธนาคารโลกและทุกที่เขามองแล้วว่าประเทศไทยมันจะไปไม่ถึงไหนทางเศรษฐกิจเพราะการศึกษา
เพราะการศึกษาไทยมันแย่มาก มันแย่จริง ๆ มันแย่เพราะอะไร เพราะผู้ปกครองประเทศก็เป็นจารีตนิยม
ก็มัวแต่นั่งคิดเรื่องหามเสลี่ยงนี่ คุณอยู่อะไร รมว.ดิจิตัลใช่มั้ย
แล้วคุณมาเถียงเรื่องหามเสลี่ยง คุณบ้าหรือเปล่า? เก่งจริงคุณก็ทำเสลี่ยงบินซิ
คือเราด้อยในด้านการศึกษา ดังนั้นมันจะไม่มีทางแข่งขันในเวทีโลกได้ เขาทำนายทุกที่
ธนาคารโลกด้วย เขาบอกมาตลอดว่าเรามีปัญหา
ซึ่งสาเหตุมาจากการเมืองการปกครองและระบบการศึกษาเราซึ่งถูกครอบงำโดยฝ่ายจารีตนิยม
มัวแต่คิดเรื่องท่องจำ มัวแต่คิดเรื่องหามเสลี่ยง มัวแต่คิดเรื่องว่าเด็กเอ๋ยเด็กดี
12 ประการ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ท่องอยู่ แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะไปได้ยังไง?
ดิฉันคิดว่าอันนี้เป็นเรื่องที่น่าสมเพชมากที่ยังไม่รู้ตัว แล้วเป็นรมต.กระทรวงดิจิตัล แล้วมาเถียงกับเด็กเรื่องหามเสลี่ยง เด็กเขาบอกก็มาหามเองซิ คุณมีงานทำตั้งเยอะ คุณไม่ทำ อาจารย์บวรศักดิ์ก็เหมือนกัน โอ้โห เคยมีตำแหน่งใหญ่โตในสถาบันพระปกเกล้าแล้วก็มีบทบาทสำคัญ แต่ว่าในที่สุดมันก็ได้เปิดเผย ไม่ว่าใครก็ตาม ต่อให้อยู่พรรคการเมืองไหนก็ตามที่คิดว่าเป็นพรรคการเมืองที่ก้าวหน้า ถ้าออกมาโจมตีเยาวชนที่เขาเปิดแนวรบวัฒนธรรม ที่ต้องการให้มีความก้าวหน้า ให้คนเท่าเทียมกัน คัดค้านวัฒนธรรมล้าหลัง ดิฉันถือว่าผู้ใหญ่หรือคนเหล่านั้นไม่สมควรที่จะได้รับเกียรติยศในการทำงานการเมืองใด ๆ เลยทั้งสิ้นค่ะ