แลไปข้างหน้า กับ ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.64
ตอน การใช้ความรุนแรงจะถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรง!
เราพบกันบ่อยสักหน่อยนะคะ
เพราะช่วงนี้เป็นเดือนตุลา
ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ปัจจุบันที่จะต้องแลกเปลี่ยนกัน เพราะว่าสถานการณ์ปัจจุบันก็ไม่ใช่สถานการณ์ที่น่าชื่นชม
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโควิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ
และตอนนี้ก็คือปัญหาการเมืองและสังคม
ก่อนอื่นดิฉันก็ขอแสดงความยินดีกับผู้จัดงาน
#45ปี6ตุลา ที่ผ่านไปด้วยดี แต่ไม่รู้ว่าจะมีหมายจับตามมาหรือเปล่า อย่างน้อยที่สุดก็เปิดประตูมหาวิทยาลัย
เพราะว่าถ้ามหาวิทยาลัยไม่เปิดประตู ก็คงมีคนไปจัดการเปิดประตูให้
มันจึงเป็นเหตุให้คนมาเยอะกว่าปกติ เพราะปกติ 6ตุลา ก็จะมีแต่เฉพาะรุ่นก่อน ๆ
ปีนี้เป็นนิมิตหมายที่ดีที่เยาวชนมารับไม้ต่อ ทำให้เห็นว่างาน 6ตุลา และเหตุการณ์ที่กระทำต่อเยาวชนใน
45 ปีที่แล้ว ก็กำลังทำกับเยาวชนในยุคนี้ด้วย
ดังนั้นมันจึงเป็นภารกิจที่เยาวชนในยุคนี้จะต้องมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับสิ่งที่สูญเสียไปตั้งแต่สำหรับเยาวชนเมื่อ
45 ปีที่แล้ว
ดิฉันก็จะมาพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันในช่วงเวลานี้เลย
ในขณะเดียวกันที่ดิฉันมีความยินดีที่ 6ตุลา จัดงานได้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แม้นไม่รู้ว่าจะมีหมายจับตามมาอีกหรือเปล่า แต่ว่าในขณะเดียวกัน
ข่าวตอนกลางคืนที่มีการจับกุมเฉพาะคืนวันที่ 6 ก็ 28 คน และในนี้เป็นคนต่ำกว่าอายุ
15 ปี บางข่าวก็ 10 ขวบ กับ 13 ขวบ บางข่าวก็ 11 ขวบ กับ 13 ขวบ ต่ำกว่า 18 ปี 5
คน ก็หมายความว่าใน 28 คน มีเยาวชน 7 คนเป็นอย่างน้อย (ยืนยันจาก TLHR #ม็อบ6ตุลา มีผู้ถูกจับกุม 30 ราย เป็นเยาวชน 12 ราย) แล้วก็ถ้ารวม ๆ
แล้วก็ประมาณ 7-800 รายแล้วที่มีการจับกุม จับทุกวัน
ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องราวของความรุนแรงทีเกิดขึ้นก็คือ
มีตำรวจถูกอาวุธปืนเข้าที่ศีรษะและบาดเจ็ด
แต่ก็ดีที่ว่าขณะนี้ทราบว่าน่าจะปลอดภัยแล้ว แต่ว่าอาการสาหัส
เพราะว่าดิฉันเคยเห็นภาพของการที่มีการใช้อาวุธปืนมันก็ผ่านหมวกกันน็อค
ที่ราชมังคลาฯ ดิฉันเห็นภาพเศษสมองที่ติดอยู่ที่หมวกกันน็อคด้วยซ้ำ
เพราะว่าคนเสื้อแดงถูกลอบยิง ก็ทะลุหมวกกันน็อค ไม่ต้องพูดเรื่องวันที่ 10เมษา
หรือไปจนกระทั่งถึงพฤษภาในปี 53 เพราะฉะนั้นการทะลุทะลวงของกระสุนจริงที่ทำอันตราย
อันนี้เราก็เข้าใจ แล้วครั้งนี้มาเกิดกับตำรวจ เราก็ไม่ได้อยากให้เกิด
ดิฉันก็ไม่ต้องการจะให้เป็นเช่นนี้ ดิฉันก็เคยพูดอยู่เสมอ
แต่ว่าสิ่งที่ดิฉันอยากจะพูดเป็นประเด็นในวันนี้ ก็คือ เมื่อมีการใช้ความรุนแรง
ก็จะต้องถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรง! นี่คือสัจธรรม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรัฐ หรือกระทั่งกลุ่มโจร กลุ่มคน
ดังนั้น อารยชนเขาจะไม่ใช้ความรุนแรง คือถ้าคุณอยู่ในยุคหินคุณก็ลากกันมาแล้วเอากระบองตีหัว
แล้วถ้าคุณมายุคในยุคศักดินาคุณก็จะถูกจัดการอย่างรุนแรง ประหาร
แล้วก็ใช้วิธีรุนแรง ตอกเล็บ มีสารพัด ถ้าเป็นในต่างประเทศ
ระบอบศักดินาเหมือนกันหมด จะเป็นในไทย ในต่างประเทศ
จะเป็นระบอบที่ต้องการรักษาซึ่งอำนาจของผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจ ดังนั้นถ้าใครมาท้าทาย
ใครมาทำให้อำนาจสั่นสะเทือน ตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร แล้วก็ใช้วิธีตอกอก ตอกเล็บ
แล้วก็เผาทั้งเป็น หรือว่ากระทั่งผู้หญิงก็ต้องไปดำน้ำพิสูจน์ความบริสุทธิ์
หรือว่าถ้าเป็นสีดาลุยไฟอะไรประมาณนั้น ก็คือ ใช้ความรุนแรงเพื่อปราบปราม
ดังนั้น
ในสมัยศักดินามันจึงจะมีกบฏอยู่เสมอ และเมื่อใครเป็นกบฎแล้วได้รับชัยชนะ
เขาจะขึ้นมาเป็นเจ้าและก็จะทำแบบเดียวกันหมด
นี่คือการเมืองการปกครองในระบอบดั้งเดิม
ดังนั้นคนที่เป็นเจ้าผู้ปกครองก็จะต้องเป็นคนที่เข้มแข็งในการสู้รบทั้งเพื่อปราบปรามคนในประเทศในพื้นที่ที่ตัวเองปกครองและไม่ต้องการให้บ้านเมืองอื่นเข้ามาจัดการ
จึงต้องมีกษัตริย์ที่มีความเข้มแข็ง
แต่ขณะเดียวกัน
เขาจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน และคุ้มครองประชาชน
ต้องสามารถที่จะคุ้มครองและทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ดังนั้น ที่ปรึกษา “บู๊” กับ
“บุ๋น” จึงต้องมีควบคู่กัน อันนี้เป็นเรื่องราวการปกครองในสมัยศักดินา
จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้
ดังที่ดิฉันได้พูดมาก่อนแล้วว่า เราไม่ใช่รัฐประชาธิปไตยจริง
เราไม่ใช่รัฐที่อำนาจรัฐเป็นของประชาชนจริง ดังนั้นการเรียกร้องความยุติธรรม
การเรียกร้องกระบวนการปราบปรามหรือตรวจสอบต่าง ๆ จะต้องมีอารยะและเป็นแบบสากล
ดิฉันเห็นส.ส.บางท่านเรียกร้อง
หลายคนก็ช่วยกันเรียกร้องว่ารัฐต้องปฏิบัติอย่างเป็นสากล เช่น คุณจะใช้น้ำฉีก
คุณจะใช้แก๊สน้ำตา คุณจะใช้กระบอง คุณจะใช้กระสุนยาง หรือว่าใช้อาวุธใด ๆ ก็ตาม
ต้องปฏิบัติเป็นไปอย่างสากล ยกตัวอย่างอย่างนี้เป็นต้นที่ตอนนี้ใช้ ๆ กันอยู่
แต่ว่าในยุคของเสื้อแดงนั้น
ก็คือเราเจอกระสุนจริงทั้งนั้น แล้วเขียนโต้ง ๆ เลยว่า “เขตใช้กระสุนจริง”
คำถามว่าอารยประเทศเขาทำอย่างนี้มั้ย เราเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสากล ไม่ทำ
และไม่เห็นสนใจ
เหตุการณ์
6ตุลา มันชัด ๆ ว่าเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. เป็นคนจัดตั้งมวลชนมาต่อต้าน นวพลก็อยู่ในเครือข่ายของระบอบอำมาตย์
ดังที่ดิฉันได้พูดมาหลายครั้งแล้ว กอ.รมน.
ก็คือรัฐตัวจริงที่ซ้อนกับรัฐที่แสดงหน้าฉาก ทั้งหมดนี้ก็ตระเตรียมในการปราบปราม
6ตุลา ทั้ง ๆ ที่ 6ตุลา19 มันผ่านการเรียกร้องของประชาชนลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ในปี
16 มาแล้ว ประชาธิปไตยเบ่งบาน พรรคการเมืองต่าง ๆ
คิดว่าเราจะเข้าสู่อารยประเทศอย่างแน่นอน
แต่ปรากฏว่า
ในความเป็นจริงนั้น รัฐจริงก็คือรัฐที่แสดงออกในการปราบปรามประชาชนตอน 6ตุลา
นั่นแหละฝีมือรัฐจริง หรือปราบปรามคนเสื้อแดง นี่ก็คือรัฐจริง 14ตุลา รัฐที่มีอำนาจขณะนั้นก็มีการจัดการ
เพราะขณะนั้นตัวรัฐจริงมันซ้อนทับแนบแน่นกับรัฐทหาร
แต่ว่าเมื่อฝ่ายพลเรือนซึ่งเป็นเครือข่ายของระบอบอำมาตย์ต้องการกำจัดทหาร 3
คนออกไป ก็มาปลุกประชาชนขึ้นมาสู้ ดูเหมือนชนะ แต่สุดท้ายไม่ชนะ
เพราะฉะนั้น
การปราบปราม 6ตุลา นั่นคือรัฐจริง ถามว่าแล้วมันจะใช่อารยะเหรอ? เป็นสากลเหรอ?
มันไม่ใช่!
แล้วสุดท้ายคือ ปี 16 ไม่เข็ด ประชาชนลุกขึ้นสู้ ปี 19
เอาให้เข็ดเลย ก็เรียกว่าฆ่าเรียบ เผาเรียบ ถีบลงเขา เผาลงถัง เผาบ้านนาทราย
นั่นแหละคือรัฐจริง พอมาพฤษภา35 ก็มีการปราบปรามอีก เพราะตอนนั้นมีการทำรัฐประหาร
แล้วอำนาจการทหารยังอยู่ในมือของการสืบทอดอำนาจของการทำรัฐประหารปี 34 แต่ถามว่าปี
35 ก็มีคนบาดเจ็บล้มตาย การปราบปรามมันก็ไม่ใช่สากลอีกเหมือนกัน จนกระทั่งต่อมามีมติครม.ว่าต่อไปต้องปราบปรามเป็นสากล
ไม่ให้มีหน่วยทหารที่ใช้ปราบปรามประชาชนในเมืองอีกแล้ว ให้เป็นหน้าที่ตำรวจ
อันนี้ตั้งแต่ยุค อานันท์ ปันยารชุน มันก็ไม่ใช่
คนที่ใช้ตำรวจก็คือรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ไอ้ตัวรัฐจริงนี่แหละ ก็คือปราบในปี
53
แล้วดิฉันจะถามว่า
แล้วที่กำลังปราบอยู่ขณะนี้ รัฐจริงใช่มั้ย?
ซึ่งเป็นอันเดียวกันกับรัฐบาลของระบอบประยุทธ์ ใช่หรือเปล่า?
แต่ว่าความรุนแรงที่กระทำต่อประชาชนนั้น
ที่เป็นมาตลอด ถ้าเมื่อไหร่ฝ่ายที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยกัน
ฝ่ายจารีตอำนาจนิยมด้วยกันเกิดแตกแยกกัน มันก็เกิดปัญหาเปลี่ยนผู้นำขึ้นมาชั่วคราว
แต่ว่าไอ้รัฐจริงคือรัฐที่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนเพื่อรักษาอำนาจของเจ้าของรัฐที่ไม่ใช่ประชาชน
ขณะนี้
ข่าวที่ปรากฏ วันก่อนดิฉันได้พูดเรื่องที่ว่า
“สงครามที่ไม่ยอมแพ้ระหว่างทหารแก่กับเยาวชน” ดิฉันพูดเอาไว้แล้วนะ
เตือนเอาไว้แล้ว คือคุณไม่ยอมแพ้ คุณนึกว่าเยาวชนจะยอมแพ้เหรอ
เยาวชนเขาก็ไม่ยอมแพ้เหมือนกัน เพราะว่าเยาวชนเขาก็มีความมุ่งมั่น ในส่วนที่เป็นปัญญาชนเขาก็มีกลุ่มที่
1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4 มันก็เกิดแกนนำขึ้นมาเป็นระลอก ๆ มีกลุ่มต่าง
ๆ อย่างก่อนหน้านี้เราได้ยินอยู่แค่ 2 กลุ่ม ตอนนี้ก็กลายเป็นหลายกลุ่ม
แล้วมาสุดท้ายตอนนี้กลายเป็นกลุ่มทะลุแก๊ส, ทะลุฟ้า, เยาวรุ่นทะลุแก๊ส, แก๊สมาดิ
ดิฉันว่าจริง ๆ ยังไม่รู้มีอีกตั้งเท่าไหร่ ก็คือเกิดกลุ่มขึ้นมา
แล้วต่อไปแกนนำจะอายุ 11 ขวบนะคะ เขาอาจจะตั้งชื่อว่า มาสู้ซิกับคนอายุต่ำกว่า 15
ปี มาสู้ซิ มาสู้กับเด็ก แล้วมันเท่ห์จรงไหน
เพราะฉะนั้นที่ทหารแก่บอกว่าเคยปราบมามากแล้ว
ที่คุณรบกับคณะราษฎรได้ เป็นเพราะฝ่ายจารีตนิยมดึงกองทัพไปได้ส่วนหนึ่ง
นั่นก็คือจอมพลสฤษดิ์ ไม่ได้ชนะคณะราษฎร แล้วต่อมาก็คือจอมพลถนอม จอมพลประภาส
นี่ยกตัวอย่าง ก็มีการแตกแยก เพราะฉะนั้นฝ่ายจารีตพยายามจะมีอำนาจโดยควบคุมกองทัพ
ควบคุมตุลาการ ควบคุมข้าราชการและองค์กรอิสระทั้งปวงให้อยู่ในมือ บางครั้งมันก็ไม่อยู่ในมือ
บางครั้งมันก็มีสลับ เสียงของประชาชนจึงสามารถแสดงออกได้อย่างมีพลัง
โดยเฉพาะยามที่ฝ่ายอำนาจนิยมจารีตนิยมแตกแยกกัน เช่นในตอน 14ตุล เช่นในตอนพฤษภา35
ดังนั้น
อีกไม่กี่วันก็จะมี 14ตุลา คุณก็จะรู้สึกว่างานอนุสรณ์สถาน 14ตุลา มันไม่เหมือน
6ตุลา เพราะว่าจะมีตัวแทนรัฐบาล มีตัวแทนองค์กรอะไรต่าง ๆ เต็มไปหมด
เพราะแสดงว่ารัฐจารีตสนับสนุนขบวนการนี้ 14ตุลา แต่ว่ามาจัดการขบวนการ 6ตุลา
ถามว่าปัจจุบันนี้ที่มาจัดการกับประชาชน
โดยเฉพาะเยาวชนโดยการใช้ความรุนแรง คุณบอกอาจจะไม่ได้ยิงหัว
อาจจะไม่ได้ใช้อาวุธจริง ดิฉันก็ไม่รู้ว่าใครใช้กับใคร แต่โดยทั่วไปทุกคนก็รู้ว่า
ในการที่มีกลุ่มทะลุแก๊ส กลุ่มอะไรต่าง ๆ ออกมา ก็ใช้ลูกแก้ว พลุ ประทัด
จนกระทั่งไปปิดโรงงานพลุ โรงงานประทัด ซึ่งก็เป็นเรื่องทั่วไปที่ใคร ๆ ก็รู้
แต่การที่พยายามจะจับ
จับทุกวันเข้าคุมขัง แล้วบางครั้งยากที่จะให้ทนายพบ
จนกระทั่งบางครั้งจะต้องมีส.ส.เข้าไปช่วย บางครั้งไม่ได้มีกฎหมายอะไรเลย
ก็คือขังไว้อย่างนั้นนั่นแหละ ผิดกฎหมาย ทนายก็พบไม่ได้ หรือแม้กระทั่งสื่ออิสระ
แสดงว่าเขาเป็นสื่อ แน่นอนว่าเขาอาจจะไม่ได้เป็นบริษัทใหญ่
แต่เขาอยู่ในฐานะสื่อพลเมืองอิสระซึ่งสามารถแสดงผลงานได้ สามารถแสดงเช่น
เขาทำอยู่ช่องไหนก็สามารถโชว์ได้
อันนี้ก็เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ได้เลยว่าเขาเป็นสื่อจริงหรือเปล่า นี่ยกตัวอย่าง
ก็ไม่ได้รับการคุ้มครอง ก็ไม่เป็นไร คุณทำไปซิ
แต่ดิฉันอยากจะบอกสัจธรรมก็คือ
“ความรุนแรง” มันจะต้องถูกตอบโต้ด้วย “ความรุนแรง”
การถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงประการแรกเลยก็คือ
เป้าหมายเขาจะไม่ลดลง คือพูดตรง ๆ ว่ามันไม่มีการประนีประนอมหรอก
เพราะคุณใช้ความรุนแรงกับเขา เขาจะมาประนีประนอมอะไรกับคุณ
เป้าหมายยังไงเขาก็อย่างงั้น เช่น ถ้าเป็นเยาวรุ่นอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เขาบอกประยุทธ์ออกไป
เขาไม่มีลดเป้าหมายว่าเป็นธรรมนัสออกไป เป็นประวิตรออกไป หรือว่าลดลงมาเหลือคนอื่น
ๆ ออกไป เขาว่าประยุทธ์ออกไปก็ยังเหมือนเดิม
เท่าที่ดิฉันดูข้อเรียกร้องเขาก็จะเน้นข้อนี้
แต่ในความเป็นจริงอันนี้มันเป็น 1 ใน 3 ข้อ ของข้อเรียกร้องของเยาวชนที่ค่อนข้างเป็นเอกภาพ
ผ่านการต่อสู้มาปีกว่า ก็คือฝ่ายบริหาร พูดตรง ๆ นะ รัฐบาลนี้แหละ 3ป
นี่แหละต้องออกไป ฝ่ายบริหารต้องออกไป แล้วก็จัดการที่จะให้มีรัฐธรรมนูญใหม่
เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน แล้วก็อันที่ 3
เขาก็พูดถึงเรื่องปฏิรูปสถาบัน ซึ่งดิฉันมองแล้วว่ามันยังอยู่ในปริมณฑลของคณะราษฎร
ซึ่งเรียกร้องและทำมาตลอดในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ก็คือพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
แม้เราจะใช้คำว่า
ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นปช.
เราบอกนโยบายบอกว่าที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โอเค แต่ว่าอำนาจที่แท้จริงต้องเป็นของประชาชน
คำถามว่าขณะนี้อำนาจเป็นของประชาชนมั้ย
ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มันแสดงออกโดยรัฐธรรมนูญ
แสดงออกโดยการบริหาร แสดงออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ ทุกฝ่าย
ว่าอำนาจไม่ได้เป็นของประชาชน
ดังนั้น
ขณะนี้การเรียกร้องว่าปฏิบัติอย่างสากล กระบวนการยุติธรรมต้องให้ความเป็นธรรม
โดยไปเทียบกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
โดยไปเทียบกับกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองทางการเมืองและสังคม อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
มันเทียบไม่ได้หรอก เพราะนั่นเขาใช้กับระบอบประชาธิปไตยแบบอารยที่อำนาจเป็นของประชาชน
แต่ของเรามันยังไม่เปลี่ยนผ่าน
มันเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มันยังร่อแร่ในช่วง 15 ปีแรกของคณะราษฎร
แล้วก็ถูกรัฐประหารมาเป็นลำดับ
แล้วก็มีอำนาจนิติบัญญัติกับการปกครองที่สืบทอดที่มีการแต่งตั้ง
มันก็คือระบอบอำมาตยาธิปไตย เมื่อคุณเติมสร้อยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มันก็คือเช่นนั้นเอง
แต่ว่าที่สำคัญก็คือ
ไม่ว่าคุณจะติดป้ายประชาธิปไตย ทั้ง ๆ ที่คุณเป็นอำมาตยาธิปไตย เอาชัด ๆ
ก็คืออำนาจไม่ได้เป็นของประชาชน ดังนั้น
ความรุนแรงที่คุณกระทำมันบ่งชี้ถึงการรักษาอำนาจที่ไม่ใช่อำนาจของประชาชน
คุณจึงไม่แคร์ ไม่แยแสที่จะปฏิบัติตามหลักการแบบอารยะ แบบสิทธิมนุษยชน
เพราะเราต้องรู้ว่าจริง ๆ แล้วก็คือ เขาก็รู้ว่านี่มันไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
อำนาจไม่ได้เป็นของประชาชน และพวกกินเงินเดือน
เขาไม่ได้คิดนะว่าเขากินเงินเดือนประชาชนนะ เราไปทวงเขาว่าเครื่องแบบ ปืน
หรือกระทั่งระเบิดอะไรต่าง ๆ ที่มาจัดการประชาชนเป็นเงินภาษีประชาชนนะ เขาไม่คิด
เขาคิดว่าเขาขึ้นต่อเจ้านายแบบเป็นชั้น ๆ เป็นระบบอุปถัมภ์ ไม่เกี่ยวกับประชาชน
หน้าที่ของประชาชนก็คือ “ว่าได้ ใช้ฟัง” สั่งให้ทำอะไรก็ต้องทำ
บอกอย่าออกมาก็ต้องไม่ออกมา สั่งให้หยุดก็ต้องหยุด ไม่หยุดก็จัดการกันแบบนี้
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ความรุนแรงมันไม่สามารถสยบประชาชนได้ มีแต่ความเป็นธรรมและความถูกต้อง เขาอาจจะไม่มีปฏิกิริยาแสดงให้เห็นเพื่อรักษาตัวเองให้รอด
แต่ในทางความคิด จิตใจ และความพยายามนั้น
ที่เขาจะต้องการตอบโต้ความรุนแรงนั้นมีอยู่ตลอด
อย่างในช่วง
6ตุลา เพราะว่าเรามีเหตุการณ์ 6ตุลา ที่เพิ่งรำลึก 45 ปี คนยังแค้น ทั้ง ๆ
ที่คนรุ่นนั้นที่ 45 ปีมาแล้ว ถ้าเขาอายุ 20 เศษ ๆ เขาก็เกือบ 70 แล้ว หรือ 70
กว่าแล้ว ความแค้นยังมีอยู่มั้ย? มี!
หลายคนหลั่งน้ำตาเมื่อเห็นภาพเห็นเรื่องที่พูด
แน่นอนเขารู้สึกเหมือนเขาไม่ได้กระทำการ
แต่ว่าสิ่งที่เขาทำกันนั้นก็คือการพยายามเปิดเผยความจริง
เปิดเผยข้อมูลอย่างไม่ลดละแทนคนที่เสียชีวิต
แต่ความรุนแรงที่เป็นรูปธรรมก็คือคนเข้าป่าไปจับอาวุธ
ความหมายก็คือว่า พคท. จะดีหรือไม่ดีก็ไม่รู้
แต่ว่าคนยุคนั้นก็คือว่าต้องไปจับอาวุธขึ้นสู้
มันกลายเป็นคำขวัญก็คือทำไมจะมีอาวุธแต่เฉพาะพวกคุณที่มายิง
จับอาวุธขึ้นสู้เพราะในเวลานั้นมันมีพรรคการเมืองที่มีการใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธ
มีเขตฐานที่มั่นมีอะไรต่าง ๆ
และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เป็นความรุนแรงที่ตอบโต้ต่อรัฐ
ก็ทำให้เครดิตของพรรคปฏิวัตินั้น แล้วก็ขบวนการปฏิวัติ เครดิตสูงขึ้น มีคนมากขึ้น ความสูญเสียของรัฐเองมากขึ้น
สูญเสียอย่างน้อยปีหนึ่งก็ร่วมเป็นนับพันคน
ในขณะที่ความสูญเสียของอีกฝ่ายหนึ่งน้อยมาก แทบไม่มีเลย รู้เพราะอยู่
(อ.ธิดาชี้ที่ตัวเอง) แทบไม่มีเลย เพราะมันเป็นสงครามจรยุทธ อันนั้นคือความรุนแรง
ในยุคจอมพลสฤษดิ์ก็เป็นความรุนแรงเหมือนกัน
ก็คือเป็นการเริ่มต้นการต่อสู้ด้วยอาวุธปี 2508 ก่อนหน้านี้ พคท.
ไม่ใช่พรรคที่ต่อสู้ด้วยอาวุธ แต่การใช้อาวุธก็คือตอบโต้ในยุคจอมพลสฤษดิ์
และคุณจิตร ภูมิศักดิ์ หลังถูกจับ ถูกปราบ ก็เข้าป่า อันนั้นก็เป็นความรุนแรงในการที่ตอบโต้ด้วยอาวุธในอดีต
แต่ในปัจจุบันสถานการณ์มันเปลี่ยนไป
พูดตรง ๆ ว่ามันไม่มีพรรคปฏิวัติเช่นนั้น มันก็ไม่มีเขตป่าเขา
ตอนนี้กลายเป็นทางเดินขนส่งยาเสพติดกันบ้าง อะไรกันบ้าง ค้าคนกันไปหมดแล้ว
ป่าก็หายไปหมดแล้ว พอไม่มี พคท. ทั้งยาเสพติด ทั้งป่าไม้ ทั้งค้าคนนี่เต็มไปหมด
นี่ก็พูดเป็นการให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งนะ ตอนที่ พคท. อยู่นี่เรื่องพวกนี้น้อยมาก
ไม่มีคนแบบนี้กล้าเข้ามาทางชายแดน ป่าก็ยังรักษาไว้ได้
ยาเสพติดก็เข้ามาทุกหัวระแหงแบบนี้ไม่ได้ ถ้าเข้าทางชายแดนนะ นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น
ก็คือความรุนแรงนั้นถูกยกระดับจาการต่อสู้ในเมืองเป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ
แต่ว่าไม่มีอะไรอยู่โดดเดี่ยว
มันก็มีภาวะของเรื่องราวของโลกที่ทำให้การต่อสู้ด้วยอาวุธนี้ไม่สามารถดำเนินต่อได้
มันเป็นปัญหาของโลกสังคมนิยมที่มีความแตกแยกและมีปัญหาทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ
เอาล่ะดิฉันไม่พูดเรื่องนั้น
พูดในประเด็นว่า
“ความรุนแรง” จะต้องถูกตอบโต้ด้วย “ความรุนแรง” ในที่สุดมันถึงต้องออกมาเป็น 66/23
เพราะรัฐเองก็ไม่สามารถรับกับความรุนแรงอันนั้นไหว ถึงแม้ว่า พคท.
จะไม่ใหญ่โตมากมาย แต่สร้างความเสียหายได้เยอะ
และอนาคตมันก็ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะพลิกผัน
มา
ณ บัดนี้ พวกคุณใช้วิธีจับ/คุมขังเยาวชนที่เป็นปัญญาชนจำนวนมาก ไม่ให้ประกันตัว
คุณจับ คุณสร้างความแค้น การที่คุณจับหรือคุณฆ่าคนไปจำนวนหนึ่ง
คำถามว่ามันคุ้มมั้ย?
ดิฉันอยากจะยกตัวอย่างประโยคที่ประธานเหมาพูดกับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตอนที่ไปจับมือนะ
เขาบอกเลยว่า ที่เขาพูดถึงในช่วงนั้นหมายถึงคอมมิวนิสต์ “ถ้าคุณฆ่า เขายิ่งโตนะ”
คือความชอบธรรมยิ่งเป็นของฝ่ายที่ถูกกระทำ
แล้วเขามีคำว่าตายสิบเกิดแสน
อาจจะตายสิบเกิดล้าน ตายร้อยเกิดล้าน หรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้
เพราะว่าความคิดมันถูกส่งทอดมาแล้ว เหมือนความคิดตั้งแต่ปัญหา 6ตุลา
บัดนี้มันก็ส่งทอดมาสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ หรือกระทั่งเรื่องของคนเสื้อแดง
ทั้งที่คนพยายามจะกระทืบว่าเสื้อแดงเลวอย่างนั้น เลวอย่างนี้
แล้วยังแถมด้วยปัญญาชนจำนวนหนึ่งกระทืบซ้ำ แล้วก็ยังกระอักกระอ่วนใจนะ ณ บัดนี้นะ
ถ้าใครเป็นนปช. ใครเป็นเสื้อแดงนะ แล้วก็จะรู้สึกประมาณว่าขนาดเป็นนักวิชาการก็กระอักกระอ่วนใจ
เพราะว่าความที่เคยถูกกล่อมเกลาจนกระทั่งรังเกียจคนเสื้อแดง
หรือรังเกียจพรรคของทุนสามานย์ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
แต่มาบัดนี้
คนรุ่นใหม่เขาตื่นรู้ เขามีข้อมูลมากขึ้น เพราะฉะนั้น
ดิฉันจะบอกให้ว่าไอ้ประเภทตายสิบเกิดแสน จับสิบก็เกิดแสนได้ ดีไม่ดีจับสิบเกิดล้าน
ขอเปลี่ยนจาก “ตาย” เป็น “จับ” ก็ได้ คุณจะจับทำไม จับเด็ก 10 ขวบ มันเท่ห์ตรงไหน?
แล้วส่วนพวกเรียกร้อง จะเรียกร้องให้ทำแบบสากล มันจะสากลยังไง?
ขนาดปลดพระนี่ก็ยังปลดกันเฉย ๆ เลย เหมือนกับในยุค ร.5 ร.5 ท่านยังไม่ทำนะ
ท่านเห็นยุ่งมากท่านยังไม่ตั้งสังฆราชเลย ในยุค ร.5
เพราะฉะนั้น
ไม่มีคำว่าสากลสำหรับรัฐบาลนี้และรัฐบาลของฝ่ายอำมาตย์จารีตนิยมทั้งหลาย
หรือแม้กระทั่งรัฐบาลหุ่น รัฐบาลที่สืบทอดอำนาจ ไม่มีคำว่าสากล มีแต่คำว่าไทย ๆ
ดังนั้น ก็คือจะปราบและจับแบบไทย ๆ ใครจะทำไม
ดิฉันจะบอกให้ว่าเขามีคำขวัญ
“ตายสิบ เกิดแสน” แต่นี่ถ้าคุณปราบปรามอย่างรุนแรงอย่างนี้ มันจะยิ่งขยายประชาชน
มวลชน ถ้าคนที่ซาดิสต์สักหน่อยก็จะบอกว่าปราบไปซิ
ก็จะได้มีคนที่มีแนวร่วมเติบโตขึ้น ดิฉันก็ยังไม่ถึงขนาดนั้น
แล้วดิฉันอยากจะบอกมายังฝ่ายที่ต้องการเห็นทางออกแล้วก็บอกให้ถอยกันคนละก้าวอะไรประมาณนั้น
คุณว่าใครเป็นคนผิด?
คุณจะให้โจรกับเจ้าของบ้านถอยคนละก้าวได้มั้ย
คนที่มาปล้นน่ะ แล้วถือปืนน่ะ กับเจ้าของบ้านเขามีก้อนหิน หรือเขามีไม้
มีมีดปังตอที่เขาจะต่อสู้ คุณบอกให้ถอยคนละก้าว อย่าไปใช้ปังตอ อย่าไปใช้อะไรกับโจรที่มาปล้นบ้าน
มันไม่ได้นะ ดิฉันถือว่าการทำรัฐประหารเป็นการปล้นอำนาจประชาชน
เมื่อประชาชนต้องการทวงอำนาจคืน นี่คือความชอบธรรม
เพราะฉะนั้น
จะบอกให้เขาถอยก้าวหนึ่ง คุณต้องไปบอกให้คนปล้นอำนาจออกไป
ไม่ใช่บอกให้ประชาชนถอยก้าวหนึ่ง แล้วตอนนี้ผู้ใหญ่อาจจะยังไม่อยากเดือดร้อน
แต่เยาวชนนี่มันไม่ใช่แล้วนะ เยาวชนเขาจะคิดอีกแบบหนึ่ง
ดิฉันเห็นเด็กบางคนให้สัมภาษณ์ซึ่งเขาพูดแบบเด็ก ๆ
เขาพูดประมาณว่าชีวิตคนยังไงมันก็ต้องตาย ไม่ตายตอนนี้ก็ตายตอนแก่
นี่ฟังให้สัมภาษณ์นะ เพราะฉะนั้นจะตายตอนไหนก็เหมือนกัน ความหมายก็คือตายอย่างมีคุณค่า
เขาไม่รู้นะ เขาไม่ใช่ปัญญาชน เขาไม่ได้ไปอ่านบทกวีและไม่ได้ไปอ่านปรัชญาที่ไหน
แต่ในความจริงก็คือตายแบบขุนเขา หรือตายเบาแบบขนนก
แต่ดิฉันรู้สึกทันทีที่เสียงเขาบอกว่า คนเรายังไงก็ต้องตาย ไม่ตายตอนนี้ก็ตายตอนแก่ เพราะฉะนั้นพูดง่าย ๆ ว่า ไม่เสียดายชีวิต เขาอาจจะฟังดูไม่สวยหรูเหมือนกับที่ปัญญาชนพูด แต่ดิฉันแปล ตีความหมายให้มันสวยหรูยิ่งกว่าที่ปัญญาชนพูดก็คือ ไม่เสียดายชีวิต นี่คือเด็ก 11 ขวบนะ ไม่ตายตอนนี้ก็ตายตอนแก่ก็เหมือนกัน เขาต้องการให้ประยุทธ์ออกไปค่ะ
#ไล่ประยุทธ์ #UDDnews #ยูดีดีนิวส์