แลไปข้างหน้า กับ ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.69
ตอน : ในยุคปัจจุบัน
โทษความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ร้ายแรงยิ่งกว่ายุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
วันนี้เรามาพบกันด้วยเรื่องที่หนักหน่อยนะคะ
ประเด็นที่ดิฉันจะพูดก็คือ ในยุคปัจจุบัน โทษความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
ร้ายแรงยิ่งกว่ายุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ตอนปลาย)
คือในขณะนี้เยาวชนเขาก็นัดกันวันที่
31 ต.ค. ในการที่ให้ประชาชนไปร่วมกันลงชื่อในการที่จะขอให้เปลี่ยนแปลงกฎหมายสำคัญ
โดยการยกเลิกมาตรา 112 ซึ่งเกี่ยวข้องกับโทษฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมไทย ดิฉันจึงคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่
จึงเป็นเรื่องที่สมควรที่จะอยู่กันด้วยความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นจริง
ความเป็นจริงในปัจจุบันมันก็คือชื่อที่ดิฉันเขียนเอาไว้นี่แหละ
คือในเรื่องของความผิดในฐานกฎหมาย เราพบว่าความผิดนี้ร้ายแรงยิ่งกว่ายุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตอนปลาย
ตั้งแต่ ร.5, ร.6, ร.7 เป็นต้นมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วในช่วงเวลานั้น
ซึ่งดิฉันจะได้พูดต่อไป
แต่ว่าแน่นอน
ถ้าคุณเอาไปเทียบกับยุคโบราณเลย อันนั้นมันก็เป็นโทษเรียกว่า ฟันคอริบเรือนแหละ
แต่อย่างไรก็ตามมันมี 1) การเขียนกฎหมาย 2) การใช้กฎหมาย
ซึ่งตรงนี้ดิฉันคิดว่าพัฒนาการของประเทศชาติทางด้านการเมืองการปกครองจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตั้งแต่ยุค ร.1, ร.2 มาจนกระทั่งถึงยุค ร.5 มาจนกระทั่งถึงยุค ร.7
เปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วก็มาถึงยุครัฐประหารถอยหลังเป็นต้นมาจาก 90
ทั้งหมดนี้เราจะมองเห็นเลยว่า ความผิดอันนี้มันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ
แต่แทนที่มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้า มันกลับถอยหลัง ซึ่งดิฉันจะได้พูดต่อไป
แต่ดิฉันอยากจะพูดให้เห็นว่าในปัจจุบันนี้
ถามว่าทำไมเราต้องมาคุยเรื่องนี้? ปกติไม่จำเป็นต้องคุยก็ได้ ถ้าไม่มีคนถูกจับกุมคุมขัง
ไม่ได้ประกันตัว และถูกลงโทษหนักในปัญหานี้มากมาย ก็ไม่มีใครจำเป็นจะต้องพูดถึง
เพราะว่าถ้าเรากลับไปดูอีกทีเราจะเห็นว่าในบางช่วงถึงมีกฎหมายแต่ก็ไม่มีการบังคับใช้
ไม่ต้องไปพูดในประเทศที่เขาเจริญแล้วนะคะ ซึ่งบางประเทศก็ไม่มีกฎหมาย
บางประเทศมีแต่ก็ไม่ได้ใช้
เพราะว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าไม่มีคนไปกระทำการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
หรือเป็นการพูดที่คนในประเทศนั้น ๆ คิดว่าไม่ใช่เรื่องความผิด ไม่มีการฟ้องร้อง
ไม่มีการลงโทษก็ได้ ก็คือลดความสำคัญลงมาจนกระทั่งทำให้คนที่จะถูกลงโทษแทบไม่มี
อย่างนั้นก็ไม่ต้องพูดถึง
แต่ในขณะนี้
ศูนย์ทนายฯ ก็เผยสถิติผู้ถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือ ม.112
ตั้งแต่ 24 พ.ย. 63 ถึง 19 ต.ค. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น 151 คน ใน 156 คดี เป็นเยาวชน
12 คน มีที่น่าสังเกตก็คือประชาชนไปฟ้องร้องจำนวนหนึ่ง แต่องค์กรรัฐไปเอาเรื่องไปฟ้องร้องอีกเกือบครึ่งหนึ่ง
คือประชาชนไปร้องทุกข์ 77 คดี
ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นประชาชนที่ถูกจัดตั้งหรือถูกมอบบทบาทให้ไปฟ้องร้องหรือเปล่า?
คือฟ้องร้องโดยความรู้สึกตัวเอง หรือฟ้องร้องโดยการจัดตั้ง แล้วก็การชี้แนะ
กระทรวงดิจิตทัล, กรรมการผู้ช่วยรมต.สำนักนายกฯ แล้วก็ตำรวจ
คือเจ้าหน้าที่รัฐรวมทั้งรัฐมนตรีไปกล่าวหาอีกประมาณครึ่งหนึ่ง
ดิฉันก็ข้ามมาเลยว่าในนี้เป็นเยาวชนอายุไม่เกิน
18 ปี 12 ราย แล้วก็เป็นคดีกิ๊กก๊อก มีปราศรัย 34 คดี แต่ที่เหลือเป็นการติดป้าย,
พิมพ์หนังสือ, แปะสติ๊กเกอร์, ติดไวนิลอะไรต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น
แล้วก็ความคิดเห็นบนโลกออนไลน์
ที่น่าสังเกตก็คือว่า
เมื่อโทษ 112 ขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 15 ปี เพนกวิน หรือพริษฐ์ ชิวารักษ์
ถูกดำเนินคดีจำนวน 21 คดี ถ้าคูณไปก็คืออย่างสูงก็เรียกว่า 315 ปี อย่างต่ำก็ 63
ปี นี่แปลว่าสมมุติ 63 ปี ตอนนี้เพนกวินติ๊งต่างว่าอายุ 20 ปี
ก็คือจะขังเพนกวินไว้จนอายุ 83 ปี เป็นขั้นต่ำหรืออย่างไร? เพราะว่าเพนกวิน 21
คดี, อานนท์ 14 คดี, ไมค์ ภาณุพงศ์ 9 คดีฐ รุ้ง 8 คดี, เบนจา 6 คดี, ณวรรษ
เลี้ยงวัฒนา 4 คดี, ฟ้า พรหมศร 4 คดี, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง 4 คดี, ชูเกียรติ 4
คดี, วรรณวลี 4 คดี และน้องมายด์ ภัสราวลี 3 คดี ดังนี้เป็นต้น นี่เป็นสถานภาพปัจจุบันซึ่งในทัศนะดิฉัน
มันร้ายแรง!!!
เพราะฉะนั้นดิฉันก็อยากจะเตือนสติรัฐบาลนี้
ผู้มีอำนาจ และกลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมทั้งหมดว่า คุณรู้หรือเปล่าว่าที่ทำ ๆ
อยู่มันหนักข้อนะ เอาว่าถ้าเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีตได้มารับรู้ก็คงบอกว่า
คงด่าแหละ เอาพูดตรง ๆ ว่าทำไมเป็นขนาดนี้
หรือไม่ต้องอะไร
จริง ๆ ถ้าเอาพระราชดำรัสของ ร.9 ซึ่งใคร ๆ ก็เป็นที่รับรู้กัน
เพราะท่านก็เคยมีพระราชดำรัสว่า ยิ่งฟ้องร้องมากก็ยิ่งเสื่อมเสียพระมหากษัตริย์ ลองคิดดูเอาก็แล้วกัน
ก็มีอยู่รอบหนึ่งซึ่งมันซาลงไปในยุคนี้ แล้วก็กลับมาอีก
แล้วครั้งนี้หมายความว่าหน่วยงานรัฐเป็นผู้ฟ้องร้องเกินครึ่งเลย ก็หมายความว่า
“ผู้ปกครอง” เป็นอะไรหรือเปล่า? พูดภาษาบ้าน ๆ
ก็ถามว่าเป็นบ้าไปหรือเปล่าที่มาเล่นงานเยาวชนได้ขนาดนี้ รู้หรือเปล่าว่ากลายเป็นว่าผู้ที่เสียหายก็คือคนที่เอาเรื่อง
ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือแม้กระทั่งตัวพระมหากษัตริย์เอง
มันก็จะเป็นข่าวเล่าลือไปทั่วโลกว่าประเทศไทยมีคดีที่ไปแปะป้าย แปะสติ๊กเกอร์
แล้วก็เป็นเยาวชน กลายเป็นว่าถูกจำคุก ถูกจับกุมคุมขัง ลงโทษอย่างหนัก ถามว่าใครเสีย?
ไม่รู้สติสตังดีอยู่หรือเปล่า? อาจารย์คิดว่าไม่สมบูรณ์
ถ้าคนสมบูรณ์ทำไม่ได้แบบนี้ เพราะว่าทำอะไรไปแล้วเสียหายเอง เสียหายหนักอีกนะ เด็ก
ๆ แค่ติดสติ๊กเกอร์ แขวนป้ายยกเลิก 112 ก็โดน อะไรอย่างนี้
เพราะฉะนั้น
ถามว่าวิญญูชนทั่วไปเขาฟังแล้วเขาจะรู้สึกยังไง? โดยเฉพาะคนต่างประเทศ
โดยเฉพาะคนที่อยู่ในโลกอารยธรรมที่มองคนเป็นคนเท่ากัน ไม่ได้มีลักษณะเป็นชนชั้น
ก็นี่ไง เด็กเขาถึงได้วางเสลี่ยงในงาน (ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์)
ตรงนี้เขาบอกว่าคนเป็นคนเท่ากัน บางคนก็ยังคิดไม่ได้ ทำไม?
เขาไม่ได้หมายถึงพระเกี้ยว เขาหมายถึงทำไมจะต้องไปนั่งแล้วมีเสลี่ยงคานหาม
นี่มันไม่ใช่วิถีทางของโลกในยุคปัจจุบัน
แล้วแถมถ้าไปดูประวัติเด็กที่พวกกลุ่มปีหนึ่งที่ต้องไปหามเสลี่ยง
ได้รับการดูแลอย่างไม่ทั่วถึง ขนาดกลุ่มประธานเชียร์
กลุ่มเชียร์ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมยังสนับสนุนเลย เรื่องวางเสลี่ยง
นี่คือปัญหาที่เยาวชนคนรุ่นใหม่เขามองเห็นว่าบ้านเมืองมันจะก้าวต่อไปได้มันต้องมีสิทธิทางการเมือง
สิทธิมนุษยชน สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิอื่น ๆ เท่าเทียมกัน
สิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ ก็ต้องเท่าเทียมกัน ทำไมจะต้องไปหามเสลี่ยง
นี่มันไม่ใช่วัฒนธรรมยุคนี้ ดังนั้น ดิฉันบอกได้เลยว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้
อย่าไปเรียกว่าชาญฉลาด ต้องเรียกว่าเป็นความโง่ระดับไหน
ระดับต่ำสุดเลยที่ทำเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้
ดิฉันจะย้อนรอยให้เห็นว่าพัฒนาการวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอาตั้งแต่ยุคกฎหมายตราสามดวง ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุค ร.1 ในกฎหมายตราสามดวง
แน่นอนถ้าเป็นยุคต้นซึ่งปรับปรุงมาจากสมัยอยุธยา ยกตัวอย่างเช่น ในมาตรา 7
ซึ่งอยู่ในความผิดของหมวดพระไอยการอาชาหลวง ความจริงก็คืออาชญานั่นแหละ ก็มาดู
อันนี้มันของเก่านะ คุณจะบอกว่าถ้าสมบูรณาญาสิทธิราชย์เขาตัดหัวเป็นชั่วโคตร
ประหารชีวิต ใช่!
มาตรา
7 “ผู้ใดทะนงองอาจ์บยำบกลัว เจรจาหยาบช้าต่อพระเจ้าอยู่หัว
ประมาทหมิ่นพระราชบัญญัติแลพระบันทูลพระโองการ
ท่านว่าผู้นั้นเลมิดพระราชอาชาพระเจ้าอยู่หัว ท่านให้ลงโทษ 8 สถาน ๆ หนึ่งคือ
ให้ฟันคอริบเรือน, ให้ตัดปากตัดหูตัดมือตัดตีนเสีย, ให้ทวนด้วยลวดหนัง 25/50 ที,
ให้จำไว้เดือนหนึ่งแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง คือไปเลี้ยงช้าง, ให้ไหมจัตุระคูน
แล้วเอาตัวลงเปนไพร่, ให้ไหมทวีคูน, ให้ไหมลาหนึ่ง, ให้ภาคทัณฑ์ไว้”
ก็แปลว่า
แต่ขนาดฟันคอริบเรือนนะ ยังมีคำว่า “ให้ภาคทัณฑ์ไว้” นะ
ซึ่งดิฉันแปลว่าอาจจะไม่ต้องฟันคอริบเรือนก็ได้ เพราะว่าฟ้องแล้วก็ต้องมีการสอบสวน
ถูกมั้ยคะ ก็แปลว่าโทษขั้นต่ำไม่มีก็ได้ คือ ภาคทัณฑ์ ถูกมั้ยคะ
ทีนี้มาดูมาตรา
72
มาตรา
72 “ถ้าผู้ใดติเติยนนินทาว่ากล่าวพระเจ้าอยู่หัวต่างต่าง พิจารณาเปนสัจ ให้ลงโทษ 3
สถาน ๆ หนึ่งคือ ให้ฟันคอริบเรือน, ให้ริบเอาสิ่ง สีน แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง,
ให้ทวนด้วยลวดหนังโดยสกัน 50 ที หมีสกัน 25 ที”
อันนี้หมายความว่าชัดเจนว่าติเตียนนินทา
พิจารณาเปนสัจ หมายความว่าพิจารณาแล้วนะ ไม่ได้เขียนว่าขั้นต่ำนะ
โทษขั้นต่ำให้โบยนะ พิจารณาเปนสัจ คือหลังจากพิจารณาแล้วลงโทษได้แบบนี้
ก็หมายความว่ามีความผิดจริง นี่มันสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในตอนยุคต้น
แต่ว่าถ้าเรามาดูว่าในยุคของ
ร.5 ก็ปรากฏว่า อันนี้ ร.ศ.118 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินกว่า 1,500 บาท
หรือทั้งจำคุกและปรับ ถามว่าอะไร จำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี มีโทษขั้นต่ำมั้ย?
ของเราตอนนี้ 3 ปี – 15 ปี ที่เมื่อกี้คำนวณว่าเพนกวินเจอเข้าไปอย่างต่ำ 63 ปี เอา
3 คูณนะ อันนี้แปลว่าไม่เกินนะคะ นี่ ร.5 นะ
คำถามว่าแล้วที่ดิฉันตั้งเอาไว้มันจริงหรือเปล่าล่ะ
นี่หมายถึงตัวกำหนดนะ ยังไม่ได้พูดถึงการบังคับใช้ด้วยซ้ำ
ในนี้บุคคลที่คุ้มครองหมายถึง
3 คนนะ พระมหากษัตริย์, พระมเหสี, พระบรมโอรสาธิราช
ในขณะเดียวกันก็มีโทษ
มาตรา 98 ว่า “ทะนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาท โทษจำคุกไม่เกิน 7
ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท” อันนี้ก็เหมือนกัน ไม่มีโทษขั้นต่ำ
โทษสูงไม่ให้เกิน
7 ปี นี่ของเราโทษสูงไปถึง 15 ปี เป็นสองเท่า
ในกฎหมายส่วนอื่น
ๆ โดยทั่วไปเท่าที่ดิฉันดูก็คือ เช่น พระราชโอรส พระราชธิดา หรือเรื่องราวอื่น ๆ
ดิฉันก็คิดว่าจะข้ามไป แต่จำคุกไม่เกิน 3 ปีและปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือไม่เกิน
1,000 บาท
มา
ร.7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 104 เพิ่มโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
คือพูดง่าย
ๆ ว่าในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เขาไม่มีโทษขั้นต่ำ
เขาเตรียมเอาไว้ว่าถูกกลั่นแกล้งก็ได้ หรือว่าไม่ได้มีลักษณะอาฆาตมาดร้าย
พูดแล้วอาจจะเป็นประโยชน์กับพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ หรือว่าอย่างพระสงฆ์
สมเด็จโตท่านถือตะเกียงเข้าไปในวัง
จะตีความมั้ยว่าอันนี้เป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย
คือเขาต้องมีเอาไว้ว่าไม่ต้องไปกำหนดโทษขั้นต่ำ เผื่อถูกกลั่นแกล้ง
เพราะฉะนั้น
ดิฉันถือว่าตรงนี้สำคัญที่สุด ทีนี้ดิฉันก็คิดว่าคีย์ที่สำคัญก็คือ มาในยุค 2475
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก่อนหน้านั้นไม่ว่าจะเป็น ร.ศ.127 ปี 2451 หรือว่าปี
2470 ดังที่ดิฉันได้พูดไปแล้วว่าปี 2470 จำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ปี 2451
ถ้าเป็นมาตรา 98 จำคุกไม่เกิน 7 ปี แต่ว่าในกรณีมาตรา 104 การจำคุกไม่เกิน 3 ปี
เพราะมันมีมาตรา 100 กับมาตรา 104
มาตรา
100 “ทะนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาท พระราชโอรส พระราชธิดา
จำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2,000 บาท”
แต่ว่าของพระมหากษัตริย์
พระราชินี มกุฎราชกุมาร จำคุกไม่เกิน 7 ปี อย่างที่บอกคือทุกโทษไม่มีขั้นต่ำ ทีนี้ที่ดิฉันจะพูดคีย์สำคัญตรงนี้ก็คือว่า
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง
สิ่งทีเกิดขึ้นก็คือว่ามีการแก้ไขข้อความลดโทษกำหนดบทความผิดมาตรา 104
ของประมวลกฎหมายอาญา ร.ศ.127 ที่พูดไปเมื่อกี้ คือการกระทำความผิดมีข้อยกเว้น
“ถ้าวาจา
หรือลายลักษณ์อักษร หรือเอกสารตีพิมพ์ หรืออุบายอย่างใด ๆ
ที่ได้กระทำไปภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์
หรือเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
หรือเป็นเพียงการติชมตามปกติวิสัยในบรรดาการกระทำของรัฐบาลหรือของราชการแผ่นดิน
การกระทำนั้นไม่ให้ถือว่าเป็นความผิด”
บุคคลที่คุ้มครองก็คือพระมหากษัตริย์
โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 2,000 บาท
หมายความว่าจะจำคุกหรือปรับ
ถ้าติชมโดยสุจริตและเป็นไปเพื่อสาธารณะประโยชน์ก็เอาผิดไม่ได้ พูดกันตรง ๆ
ว่าถ้ามีการแก้ไขตัวนี้ยังอยู่นะ เด็ก ๆ ทั้งหลาย ดิฉันคิดว่าเกือบทั้งหมดไม่มีความผิด
คำถามว่าข้อยกเว้นอันนี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าก็คือ การเมืองการปกครอง
พระมหากษัตริย์ยังเป็นพระประมุข
แต่ว่าได้ยกระดับว่าจะมีการติชมได้ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เป็นการติชมโดยสุจริต
แล้วก็เป็นความจริงที่ประจักษ์โดยทั่วไป ความจริงที่ประจักษ์โดยทั่วไปอันนี้อาจารย์พูดนะ
ไม่ได้มีอยู่ในเอกสารนี้
นี่คือเป็นที่น่าสังเกต
นั่นแปลว่าก้าวหน้าขึ้น
แต่อย่าลืมว่าเมื่อเราแก้กฎหมายให้พระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่เหนือการเมือง
ไม่ว่าจะกระทำการใดต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ดังนั้นถ้าว่าไปแล้วไม่มีโอกาสที่จะทำผิดเลย คนทำผิดคือคนผู้เสนอนั่นแหละ
ก็ใช้คำว่า
The King can do no wrong หลายท่านหรือแม้กระทั่งในหลวง ร.9
พระองค์ท่านอาจจะไม่เห็นด้วย หรือคนอื่นอาจจะไม่เห็นด้วย
ท่านบอกว่าพระเจ้าแผ่นดินก็ทำผิดได้ เพราะฉะนั้นนั่นก็คือพระเจ้าแผ่นดินต้องทำ
แต่ถ้าไม่ทำอะไรก็คือไม่ผิด แต่ในกฎหมายมันมีสิ่งที่สอดรับกัน
เพราะว่ามีผู้รับสนองพระบรมราชโองการและอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ดังนั้นเมื่อการอันใดที่เป็นไปภายใต้รัฐธรรมนูญและมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
โดยปกติก็จะไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะต้องถูกหมิ่นหรือกล่าวอาฆาตมาดร้ายได้เลย
แต่ปรากฏว่า
สิ่งที่สำคัญก็คือว่า พอเรามีการทำรัฐประหารปี 2490 นี่เป็นรัฐประหารที่แม้นจอมพล
ป. จะอยู่เบื้องหลัง แต่จอมพล ป.
จงใจที่จะชิงอำนาจและขจัดอาจารย์ปรีดีโดยจับมือกับฝ่ายจารีตนิยม ดังนั้นหลังจากปี
2490 เราก็มีรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญแย่ ๆ จนกระทั่งทีหลังจอมพล ป.
ต้องกลับไปเอารัฐธรรมนูญปี 2475
กลับมาใช้ต่อเพราะว่าทนไม่ไหวกับรัฐธรรมนูญที่ล้าหลัง
แต่ว่าไม่ใช่แต่เพียงรัฐธรรมนูญที่ล้าหลัง
ไม่ใช่การปกครองทีเป็นเผด็จการที่ล้าหลัง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมาตรา 112
ปรากฏว่าไม่มีบทยกเว้นความผิด อย่าลืมว่าหลังจากปี 2475 มีบทยกเว้น
มันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ดิฉันไม่คิดว่ามีการฟ้องร้องอะไร
เพราะว่าถ้าว่าไปก็คือการจะรับฟ้องก็ต้องดูก่อนว่ามันเป็นเรื่องจริง
เรื่องติชมสุจริต อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
เป็นไปตามรัฐธรรมนูญในปัญหาข้อกฎหมายอะไรต่าง ๆ เหล่านี้
เพราะฉะนั้น
มันไม่มีอะไรที่ปกป้องประชาชน แปลว่า “ถ้าพูดแล้วลายลักษณ์อักษร
เอกสารตีพิมพ์หรือการพูด
แล้วกระทำไปภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือเพื่อสาธารณะประโยชน์
หรือเป็นเพียงการติชมตามปกติวิสัยในบรรดาการกระทำของรัฐบาล
เพราะเป็นรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว ไม่ให้ถือเป็นความผิด”
งั้นก็แปลว่า
ถ้าทำอย่างนี้ปัจจุบันแปลว่าผิดใช่มั้ย? คุณติชมโดยสุจริตก็ผิดใช่มั้ย?
คุณพูดเพื่อสาธารณะประโยชน์ก็ผิดใช่มั้ย? ใช่หรือเปล่า?
นี่คือจารีตนิยมที่ล้ำเส้นเข้ามาในสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือเปล่า? เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราควรจะรู้
ดิฉันเคยออกคลับเฮ้าส์
มีคนมาถามดิฉันว่าควรจะบอกอะไรกับเยาวชนคนรุ่นหลังที่จะทำให้เขาเข้าใจการเมืองการปกครองแล้วก็เดินหน้าไปในทางที่ถูกต้อง
ดิฉันบอกว่า “ความจริง” ความจริงสำคัญที่สุด และนี่คืออาวุธของผู้ถูกกระทำ พูดง่าย
ๆ ว่า “คน” มีทั้งด้านสว่างและด้านมืด โลกก็เหมือนกันมีทั้งกลางวันและกลางคืน
ดังนั้น นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเมื่อหลังจากปี 2490 เป็นปี 2499
ก็กลายเป็นว่าไม่มีบทยกเว้นความผิด แต่ว่ายังจำคุกไม่เกิน 7 ปีเหมือนเดิม
และพอมารัฐประหารปี
2519 ในช่วงที่กำลังกลัว คิดว่าพวกเยาวชนเป็นคอมมิวนิสต์และก็จะล้มล้างสถาบัน
คิดอย่างนั้นนะ ปรากฏว่าก็มีการเพิ่มโทษ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือมีโทษขั้นต่ำ
3 ปี จาก 7 ปี ไม่มีโทษขั้นต่ำ แปลว่าลงโทษ 3 วันก็ได้ 3 เดือนก็ได้
นี่ตั้งแต่อดีตนะ ตั้งแต่ ร.5 เขากลัวคนจะกลั่นแกล้ง กลัวคนจะโดนกลั่นแกล้ง
อะไรต่าง ๆ แล้วสมัยโบราณยังมีว่า “รอภาคทัณฑ์” นะ ก็แปลว่าอาจจะไม่ต้องลงโทษก็ได้
แต่ตอนนี้จำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหารและปราบปรามประชาชนในปี 2519
แล้วก็ใช้มาจนบัดนี้
แต่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าคนที่ถูกดำเนินคดี
แม้กระทั่งใช้มา บางครั้งคนก็ไม่ใส่ใจเพราะมันไม่ได้เกิดปัญหา แต่ว่าพอมายุคนี้
มาจับเด็ก จับคนไปเป็นจำนวนมาก เมื่อกี้ที่ดิฉันอ่าน 100 กว่าคดี ยังไม่นับคดีอื่น
ๆ อีกเป็นร่วม 1,000 คดี
คำถามว่าคุณกำลังไปทางไหนกัน
ถ้าหลังจากนี้ก็คือคุณจะย้อนไปเอาแบบว่าประหารชีวิตแล้วก็ฆ่าทั้งโคตรมั้ย
ถ้าเป็นกบฏก็ฆ่าทั้งโคตร แต่ว่าดูหมิ่นนี่ก็ประหารชีวิต แต่ว่าเขาก็มีโทษนะ โบย
แล้วก็มีภาคทัณฑ์ คือคุณจะเอาไปถึงขนาดนั้นเลยหรือ เพราะว่าจาก 2519 มาจนปัจจุบัน
มาในยุคที่หลังจากมีกรณีเสื้อแดงที่มีคนถูกบทลงโทษนี้เช่น คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข
เป็นต้น ซึ่งก็โดนเต็ม ๆ 7 ปี เป็น บก. ที่อยู่ ๆ ก็โดนเอาดื้อ ๆ อย่างนั้น
แล้วก็อีกหลายคนจำนวนมาก บางครั้งคนก็โดนในกรณีเทคโนโลยี น้อยคนมากที่จะหลุด
นอกจากพิสูจน์ได้ในทางเทคโนโลยีแบบดิ้นไม่หลุดว่าไม่ใช่เขา แต่ถ้ามีความคลุมเครือ
แทนที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ถูกฟ้องร้อง ไม่ใช่!
เพราะฉะนั้น
ดิฉันมองว่ายุคปัจจุบัน ความผิดในกรณีนี้ ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
มันร้ายแรงกว่าในยุคโบราณ แล้วปัญหาการบังคับใช้ เมื่อตอนก่อนหน้านี้ดิฉันคิดเอา
คือเรารณรงค์เรื่องนี้ร่วม 10 ปีกันมาแล้ว ดิฉันอยากจะเพิ่มเติมรูปธรรมที่เป็นจริง
ตอนนั้นมีคณะนิติราษฎร์
แล้วก็มีคนจำนวนมากก็มีการมาขอลายเซ็นแบบที่เด็ก ๆ จะทำ
ดิฉันจำได้ว่าเราจัดงานที่เขาใหญ่
ที่พวกเราได้ยินเพลงที่อาจารย์ร้องก็มาจากกรณีเวลาเราไปเขาใหญ่กันนี่แหละ
เป็นคอนเสิร์ต มีร้องเพลง มีแกนนำร้องเพลง มีการแสดงเพื่อให้มีความสนุกสนาน มีอยู่ครั้งหนึ่งคณะที่รณรงค์เรื่องมีซึ่งมีปัญญาชนอยู่จำนวนหนึ่ง
ก่อนหน้านั้นได้เข้ามาในที่ประชุมของเรา
เราก็บอกว่าเราจะทำอะไรด้วยองค์กรมันต้องมีมติเป็นขององค์กร
จะทำตอนนั้นอาจารย์เป็นประธาน ไม่ได้
แต่ถ้าถามว่าโดยส่วนตัวสนับสนุนมั้ยในการที่จะลงชื่อเพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขตามที่คณะนิติราษฎร์เสนอ
เราสนับสนุน
ดังนั้น
คุณจิตรานี่แหละที่เป็นคนไปที่เขาใหญ่ในช่วงเวลานั้น ก็คือไปกับรถโมบาย
แล้วก็มีที่ถ่ายเอกสารให้คนมาเซ็น เพราะฉะนั้นทุกครั้งถ้ามีการขอความร่วมมือ
นปช.และดิฉันซึ่งเป็นอดีตประธานเราไม่เคยขัดข้อง แต่ก็มีคนไปพูดนะว่าเราไม่สนับสนุน
ซึ่งไม่จริง ก็ถามคุณจิตราดูได้
ซึ่งดิฉันดีใจมากเพราะว่าคุณจิตราจะเข้าใจว่าเราเต็มที่
แต่ว่าในลักษณะองค์กรมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม
เราก็ตกลงกันในองค์กรแล้วว่าให้เป็นสิทธิส่วนบุคคล ก็คือใครจะไปเซ็นก็ไปเซ็น
ใครไม่อยากเซ็นก็ไม่เป็นไร เพราะว่าเราไม่ได้ต้องการบังคับ
เพราะฉะนั้น
ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายใด ๆ อย่างตอนนี้ก็เหมือนกัน
ดิฉันก็อยากจะบอกมายังพวกเราคนเสื้อแดงว่า มันพัฒนาการจากที่ขอแก้ไข ในทัศนะดิฉันตอนที่ดิฉันได้พูดเมื่อเกือบ
10 ปีมาแล้วว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ตอนนี้เราก็ยังคิดว่าอย่างน้อยที่สุดมันต้องแก้ไข
อย่างน้อย 2 ประเด็น
ประเด็นที่
1 ก็คือไม่ใช่ว่าใครมาฟ้องร้องก็ได้ มันทำให้เกิดการกลั่นแกล้ง
พี่น้องกลั่นแกล้งกันก็ยังมี สามีภรรยากลั่นแกล้งกันก็ยังมี หรือว่าใส่ความ แกล้ง
ดังนั้นผู้ฟ้องต้องเป็นสำนักราชเลขา หรือสำนักพระราชวัง แบบเดียวกับอังกฤษ
ไม่ใช่ว่า หมู หมา กา ไก่ นายตำรวจกลัว ฟ้องมันหมดเลย เอาสติ๊กเกอร์ไปติดก็ฟ้อง
อะไรก็ฟ้อง
ประเด็นที่
2 ก็คือ น้ำหนักของการลงโทษ ต้องขอแก้ไขว่า 3 – 15 ปี มันใช้ไม่ได้ มันหนักเกินไป
กฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลในปัจจุบัน ดิฉันเห็นด้วยว่าไม่ควรจะเป็นกฎหมายอาญา
แม้บุคคลธรรมดา ไม่ใช่แบบแกนนำนปช. ต้องเจอคุกกันตั้งกี่รอบ
นั่นหมิ่นประมาทส่วนบุคคลนะ ไม่ควรจะต้องดำเนินคดีอาญา แพ่งซิคะ ฟ้องไปเลย 1 แสน 2
แสน 3 แสน 4 แสน 5 แสน 5 ล้าน ฟ้องไป ควรจะเป็นโทษทางแพ่งไม่ใช่โทษอาญา
แต่ว่าในกรณีของหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
มันไม่ควรจะมีโทษขั้นต่ำแบบนี้ 3 ปี ไม่ควรจะมีเลย เอาว่าพระเจ้าแผ่นดินยุคก่อน ๆ
เขายังไม่กำหนดโทษขั้นต่ำ เพราะว่าถ้ามันมีเรื่องกลั่นแกล้ง หรือเรื่องไม่ถูกต้อง
หรือว่าเป็นเรื่องโดยสุจริต ไม่ต้องรับโทษก็ได้ หรือ 3 เดือนก็ได้ หรือ 3 วันก็ได้
อย่างน้อย
2 ประเด็นนี้จะต้องแก้ไข แต่ว่ามา ณ บัดนี้
เมื่อมันถูกใช้เป็นเครื่องมือในการที่จับเยาวชนเรียกว่าไม่เลือกหน้า
ขณะนี้ประชาชนไม่พูดเรื่องแก้ไข ประชาชนพูดเรื่องยกเลิก
ดิฉันก็คิดว่าสมควรที่เขาจะเสนอขนาดนั้น เพราะว่าแก้ไขก็ยังถูกกลั่นแกล้งได้
สมมุติว่าไม่เกิน 7 ปี ไม่มีโทษขั้นต่ำ ดี/ไม่ดี พวกนี้ก็โดน 7 ปีหมด
เพราะฉะนั้น
นี่คือเหตุผลที่ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย
ทำให้เยาวชนและประชาชนในเวลานี้ก็คือไม่แก้ไขมันล่ะ ยกเลิกเลย
มันกลายเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเขาขาดความเชื่อมั่น ซึ่งมันชี้ให้เห็น
ไม่ใช่แต่เฉพาะมาตรา 112 มาตราอื่น ๆ ด้วย
ก็คือความพยายามในการที่จะจัดการผู้เห็นต่าง แล้วเรื่องนี้ในอดีต
คุณอาจจะจัดการกับพวกที่คิดว่าเป็นคอมมิวนิสต์ คนก็ยังโอเคนะ
ถ้ามันเป็นคอมมิวนิสต์จริงอะไรอย่างนี้ คนบางส่วนนะ
แต่ว่าเสรีชนเขาไม่เห็นด้วยทั้งนั้นแหละในการที่มีมาตรานี้
เพราะว่าถือว่าคนเท่าเทียมกัน ไม่ใช่แต่เพียงพระมหากษัตริย์
ประชาชนก็ต้องถูกเรียกว่าไม่ใช่ให้คนมาดูหมิ่นหรือใส่ความให้เกลียดชังกันง่าย ๆ
เหมือนกัน แน่นอนของพระมหากษัตริย์ ก็อาจจะความรู้สึกจะหนักกว่า จริง ๆ
มันไม่ควรจะมีโทษอาญาเหมือนกันหมด
แต่ว่าอย่างไรก็ตามว่าเมื่อสังคมไทยยังเป็นสังคมที่จารีตนิยมอำนาจนิยมอยู่ในฐานะครอบงำ
ดิฉันก็จะพูดอีกครั้งหนึ่งว่า กระบวนการยุติธรรมหรือว่าสถาบันต่าง ๆ
ก็จะเป็นสถาบันที่อยู่ในการครอบงำของชนชั้นนำจารีตนิยมอำนาจนิยม ทุกสถาบัน
ทุกโครงสร้าง จะอยู่ในระบบอุปถัมภ์ที่ขึ้นตรงต่อจารีตนิยมอำนาจนิยม
ก็คือเผด็จการในเวลานี้ เป็นทั้งเผด็จการและเป็นทั้งจารีตนิยมด้วย มันหนักข้อมากทีเดียวเลย
ดังนั้น
ไม่แต่เฉพาะกรณี 112 ในทุกเรื่อง ดังนั้นความยุติธรรมหรือสถาบันตุลาการที่มีอยู่
มันก็อยู่กับระบอบนี้ มันไม่ใช่ระบอบที่เห็นคนเป็นคนเท่าเทียมกัน
มันยังเป็นความยุติธรรมหรือเป็นสถาบันเกี่ยวข้องกับความยุติธรรมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
จากตำรวจจนกระทั่งถึงตุลาการ มันยังอยู่ในระบอบที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
ยังเป็นระบอบเผด็จการจารีตนิยมอยู่ มันเหมือนกับว่าคุณเอาโทษเอากฎหมายตราสามดวงซึ่งอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบโบราณเลย
จะสั่งโบยก็ได้ จะสั่งเอาให้ฆ่าชั่วโคตรเลยก็ได้ถ้าเป็นกบฏ ทั้งโคตรเลยนะ
ถ้าหมิ่นประมาทนี่ประหารชีวิต
เพราะฉะนั้น
อันนี้มันต่าง ก็คือยกระดับมานิดนึง ไม่ฆ่าทั้งโคตร ไม่ประหารชีวิต แต่ลงโทษหนัก
แล้วไม่ให้ประกันตัว ปัญหาตรงนี้อีก
ก็คือการไม่ให้ประกันตัวก็คือการไม่อยู่ในกติกาที่ว่าเขายังไม่ได้ถูกพิสูจน์ความผิด
เมื่อเขายังไม่ได้ถูกพิสูจน์ความผิดจะไปถือว่าเป็นผู้ผิดไม่ได้
หรือว่ากระทำความผิดซ้ำ ดิฉันคิดว่ามันไม่ได้
ทั้งหมดนี้ที่ดิฉันพูดก็คือ
ดิฉันคิดว่าต้องการให้ฝั่งจารีตนิยมและเผด็จการได้ตระหนักเอาไว้ว่ามันเกินไปแล้วนะ
ไอ้ที่เกินมากไปแล้วนะ มันไม่ดีสำหรับพวกคุณเอง
แล้วมันจะทำให้คนตาสว่างขึ้นมาอีกเยอะเลยว่า
กระบวนการเข้าสู่ความยุติธรรมของประเทศไทยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางมันมีปัญหา
แล้วมันเป็นสิ่งสุดท้าย มันเป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้ายของสังคม
เขาอาจจะมีปัญหากับส่วนต่าง ๆ มีปัญหากับรัฐบาล มีปัญหากับทหาร มีปัญหากับตำรวจ
แต่เขาไม่ควรจะมีปัญหากับกระบวนการยุติธรรมตรงสุดท้ายอันได้แก่สถาบันตุลาการ
ซึ่งจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่เป็นที่ยึดมั่นของประชาชน
แต่ดิฉันเข้าใจว่าสถาบันทุกสถาบันมันขึ้นต่อระบอบ
จะเอาแบบตัดลิ้นตัดปากตัดหู เขาก็ถูกต้องในยุคนั้น
แต่คำถามว่าที่ทำอยู่ตอนนี้มันถูกต้องในยุคนี้หรือเปล่า
แล้วจะสามารถมองหน้าคนในสังคมไทย สังคมโลก ได้หรือ?