อย่าปล่อยให้การต่อสู้เพื่อเสรีภาพสูญเปล่า
'สมยศ-รุ้ง-ใบปอ' เดินขบวนยื่นข้อเรียกร้อง
รมว.ยุติธรรม แสดงพลังปณิธานของ"บุ้ง-เนติพร"
สู่ข้อเรียกเรียกปล่อยนักโทษการเมือง จี้ทวงถามหลักฐานการเสียชีวิต ‘บุ้ง‘ ด้านทวี
นัดมาคุย 27 พ.ค. นี้
วันนี้
(24 พฤษภาคม 2567) เวลา 10.00 น.
กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
พร้อมด้วยนักกิจกรรมและมวลชน อาทิ รุ้ง - ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ใบปอ - ณัฐนิช
ดวงมุสิทธิ์ ณัฐชนน ไพโรจน์ เจษฎา ศรีปลั่ง ธนพร วิจันทร์ เป็นต้น
โดยเดินขบวนจากบริเวณปั๊มแก๊ส
PTT-NGV ถนนแจ้งวัฒนะ (ตรงข้ามศาลปกครอง) ไปยังกระทรวงยุติธรรม
เพื่อพูดคุยและยื่นหนังสือถึง นายทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
เรียกร้อง ”นิรโทษกรรมคนเป็น คืนความยุติธรรมคนตาย“
โดยระบุการเสียชีวิตของนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ต้องมีคนรับผิดชอบ และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทุกคน
สำหรับบรรยากาศการเดินขบวนได้มีการนำโกศอัฐิของ
น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง พร้อมรูปหน้าศพ มาร่วมเดินขบวน
นอกจากนี้ยังมีการถือป้ายข้อความ อาทิ นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง 112 , ปฏิรูปขบวนการยุติธรรม
รูปถึงรูปผู้ต้องขังทางการเมืองที่อยู่ในเรือนจำในขณะนี้อาทิ อานนท์ นำภา เก็ท
โสภณ เป็นต้น พร้อมมีการตะโกน “ปล่อยเพื่อนเรา..เดี๋ยวนี้” ตลอดการเดินขบวน
โดยเมื่อเดินทางถึงกระทรวงยุติธรรมเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เฉพาะบุคคลและรูปภาพและป้ายข้อความเข้าไปด้านในเท่านั้น
ยกเว้นรถเครื่องเสียงให้จอดรออยู่ด้านนอก โดยมีนายกูเฮง ยาวอหะซัน
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นตัวแทนพูดคุยและรับหนังสือ
ด้าน
น.ส.ปนัสยา กล่าวว่า ฝากไปถึง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ที่ขณะนี้อยู่ต่างประเทศ และไม่ได้มาฟังข้อเรียกร้องในวันนี้ เรื่องการตายของบุ้ง
นับว่าเกินหนึ่งอาทิตย์แล้วยังไม่มีการสอบสวนการตาย
ในส่วนของกล้องวงจรปิดตนได้ดูแล้วแต่ทางกรมราชทัณฑ์ไม่ได้ให้มา
รายงานการรักษาให้มาไม่ครบ มีแต่เรื่องปกปิดเต็มไปหมด
คนหนึ่งคนเสียชีวิตไม่ใช่เรื่องเล็ก
รัฐบาลควรกระตือรือร้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้
การเสียชีวิตของนักกิจกรรมภายใต้การนำของรัฐบาลเพื่อไทยไม่ใช่เรื่องเล่น
ยิ่งจะไปสมัครเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ยิ่งเป็นเรื่องที่น่าละอาย
น.ส. ปนัสยา กล่าว
ขณะที่
นางสาวณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ หรือใบปอ เพื่อนรุ่นน้อง คนสนิทของบุ้ง กล่าวว่า เมื่อครั้งที่
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ไปร่วมงานฌาปนกิจได้พูดกับครอบครัวพี่บุ้งว่า เสียใจมาก รักเหมือนลูกหลาน
พร้อมรับปากว่าจะให้หลักฐานการเสียชีวิตและไฟล์กล้องวงจรปิด
แต่วันนี้กลับให้ไม่ครบ
ณัฐนิช
ระบุด้วยว่า เราจะสานต่อ 2
ปณิธานของพี่บุ้ง ก่อนถูกคุมขัง โดยศาลอาญากรุงเทพใต้คือ 1.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 2.ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่างทางการเมือง
เชื่อว่าคนทั้งประเทศต้องการคำตอบถึงสาเหตุการเสียชีวิตของพี่บุ้ง
ไม่ใช่มีเพียงคำพูดลอย ๆ ของรัฐมนตรี เราไม่ต้องการคำมั่นสัญญาหรือพวงหรีด
พี่บุ้งต้องไม่ตายฟรี หากยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เราจะกลับมาทวงอีก
สำหรับรายละเอียดในหนังสือที่ยื่นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายทวี สอดส่อง โดย น.ส.ธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
เป็นตัวแทนอ่านมีรายละเอียดระบุว่า
ข้อเรียกร้องว่า
เนติพร เสน่ห์สังคม (บุ้ง)
ประกาศอดอาหารเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
และจะต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่างทางการเมืองรวมอดอาหาร 109 วัน
ทั้งนี้บุ้งถูกดำเนินคดีมาตรา 112 รวมสองคดีไม่มีคดีใดที่ศาลมีคำตัดสินถึงที่สุด
มีการให้ร้ายว่าบุ้งได้การประกันตัวแล้วไปทำผิดเงื่อนไขของศาลเอง
ความจริงแล้วบุ้งถูกกล่าวหาเพราะทำโพล ยังไม่มีคำพิพากษาว่าเป็นความผิด ดังนั้น
จึงจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเธอทำผิดซ้ำ และการกระทำครั้งที่สองนั้นก็ยังไม่ได้มีการตัดสินว่าเป็นความผิด
ข้อเรียกร้องของบุ้งจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สังคมในการป้องกัน และปกป้องเสรีภาพ
และความยุติธรรม
การที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์
นำตัวบุ้งกลับจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 4 เม.ย.
ทั้งที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่มีศักยภาพในการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่อดอาหารหรือผู้ป่วยฉุกเฉิน
เป็นจุดเริ่มต้นแสดงถึงเจตนาเล็งเห็นผลที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตได้
จนกระทั่งในวันที่ 14 พ.ค. บุ้งเสียชีวิต ต่อมาทนายกฤษดา
นุตจรัส แถลงถึงข้อพิรุธการเสียชีวิต
และเพื่อปกป้องเสรีภาพและความยุติธรรมตามปณิธานของบุ้ง
ทางกลุ่มฯ
จึงมีข้อเรียกร้องทั้งหมด 4
ข้อ ได้แก่
1.
ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนของการช่วยชีวิตนางสาวเนติพรที่เป็นกลาง
จากภาคประชาสังคมและผู้เสียหาย และสั่งให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชทัณฑ์
หัวหน้าผู้ตรวจการกรมราชทัณฑ์พักราชการหรือย้ายออกไปก่อนเพื่อไม่ให้มีการปกปิด
หรือยุ่งเหยิงต่อพยานหลักฐาน
2.
ชะลอการดำเนินคดีการจับกุมคุมขังคดีในการเมือง
ปกป้องสิทธิการประกันตัว ไม่ให้ศาลใช้ดุลยพินิจไปในทางละเมิดสิทธิประกันตัว
เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
3. นิรโทษกรรมประชาชนทุกกรณี โดยรวมมาตรา 112 เพราะเป็นคดีที่เกิดขึ้นอันเนื่องมากจากการต่อต้านการรัฐประหารตั้งแต่ปี
2549 เป็นต้นมา
4. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ศาลเป็นอิสระจากอำนาจนอกระบบ
อย่างไรก็ตาม
นายกูเฮง ยาวอหะซัน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า นายทวี
สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นัดหมายให้ทางกลุ่มฯ
ส่งตัวแทนมาพูดคุยในวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 8.30 น. อีกครั้งหนึ่ง
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #บู้งทะลุวัง #บุ้งเนติพร #กระทรวงยุติธรรม #ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม