มวลชนอิสระพร้อมภาคีเครือข่าย
แต่งชุดไทยไป UN
ยื่นหนังสือและรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงที่เกิดขึ้นจากรัฐไทย
วันนี้
(19 ก.ย. 2565) เวลา 15.00 น.กลุ่มมวลชนอิสระพร้อมภาคีเครือข่าย
จัดกิจกรรม“สามกีบป็อปคัลเจอร์โคฟเวอร์ม็อบ” แต่งชุดไทยไปยูเอ็น
เพื่อยื่นหนังสือถึง "คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ" และ
"ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" ผ่านผู้แทนองค์การสหประชาชาติในประเทศไทย
เพื่อรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงที่เกิดขึ้นจากรัฐไทย
โดยการใช้กฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้เห็นต่างทางอุดมการณ์การเมือง
ทั้งกฎหมายอาญามาตรา 112 และกฎหมายพิเศษอื่น ๆ เช่น พรก.ฉุกเฉิน
และร่วมส่งเสียงไปยังนานาชาติให้รับรู้
เพื่อร่วมกันยืนยันสิทธิเสรีภาพในการแต่งกายของประชาชน
"ไม่ว่าจะแต่งเลียนแบบใคร ก็ไม่ใช่อาชญากรรม"
รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องคดีทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีทุกคน
ทั้งนี้
ผู้ร่วมกิจกรรมต่างแต่งกายชุดไทย เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ยืนยันในสิทธิเสรีภาพของประชาชน
โดย
“เวหา แสนชนชนะศึก” และ “มิ้นท์ นาดสินปฏิวัติ” เป็นตัวแทนเข้ายื่นหนังสือด้านใน
ภายหลังจากยื่นหนังสือ “เวหา” ได้กล่าวขอบคุณพี่น้องประชาชน
ระบุว่ากิจกรรมยื่นหนังสือแล้วเสร็จด้วยความสงบ ปราศจากความวุ่นวาย
พร้อมร่วมเปล่งเสียงศักดินาจงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ ยกเลิก 112 ปล่อยเพื่อนเรา
คืนสิทธิประกันตัวประชาชน และยุติกิจกรรม
สำหรับรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงที่เกิดขึ้นจากรัฐไทย
มีเนื้อหาดังนี้
รายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยใช้กฎหมายของรัฐไทย
เรียน
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
เราคือกลุ่มพลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยใช้กฎหมายในประเทศไทย
ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพไทย
ยึดอำนาจอธิปไตยของปวงชนชนาวไทยไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะผู้ทำการรัฐประหารได้สืบทอดอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาสเผด็จการของประเทศไทยได้ใช้กฎหมายในการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อนักกิจกรรมและผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลเป็นจำนวนมาก
โดยในปัจจุบัน
มีผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลแล้วมากกว่า 1,000
คดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล
รัฐไทยได้ใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง
ได้แก่ กฎหมายอาญามาตรา 112 และกฎหมายอาญามาตรา 116 ซึ่งเป็นการตั้งข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงและมีอัตราโทษสูง
เช่นการตั้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาดมาดร้ายพระมหากษัตริย์
รวมทั้งข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับการยุยงปลุกปั่นให้เกิด
ความวุ่นวายในบ้านเมือง
การใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้แต่ข้อกล่าวหาเล็กน้อยอย่างการฝ่าฝืนพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
มาเป็นเครื่องมือในการตั้งข้อกล่าวหา และนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
โดยมีนักกิจกรรมมากกว่า 1,000 คน ที่ถูกดำเนินคดีและอยู่ระหว่างการประกันตัว ในจำนวนนี้
มีอย่างน้อย 250 คน ถูกตั้งเงื่อนไขโดยศาลเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในหลาย ๆ อย่าง
และมากกว่า 60 คน ถูกจำกัดอิสรภาพโดยติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์
ในการจำกัดการเดินทาง จำกัดเวลาในการออกนอกเคหสถาน
และบางคนศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกเคหสถานตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมง
และที่สำคัญที่สุด
มีประชาชนอย่างน้อย 30 คน ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยไม่ได้รับสิทธิ์การประกันตัว
และทุกคนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดี
โดยยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา
ในฐานะพลเมืองไทย
เราตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดีว่า เราต้องเคารพกฎหมายบ้านเมือง หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว
พวกเราได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมของไทย
เราจึงไม่อาจพึ่งพากระบวนการยุติธรรมของประเทศของเราได้อย่างเป็นธรรม
และมันสร้างปัญหาต่อสิทธิเสรีภาพของพลเมือง และสร้าง
บรรทัดฐานในกระบวนการยุติธรรมที่ผิดเพี้ยนอย่างหนัก
เราทั้งหลายจึงมีหนังสือนี้มายังท่าน
เพื่อรายงานถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และขอความช่วยเหลือผ่านกลไกระหว่างประเทศที่มีความเหมาะสมในการสอดส่องดูแลบนฟื้นฐานสิทธิมนุษยชน
the
Universal Periodic Review เป็นกระบวนกลกที่ดูแลโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
(United Natio Rights Council : UNHRC)
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของพลเมืองไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองโลก
พวกเราขอเรียกร้องให้นานาชาติได้มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อกดดันรัฐบาลไทย
ในการหยุดยั้งการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดการกับนักเคลื่อนไหวที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเผด็จการของไทยอย่างเร่งด่วน
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #ม็อบ19กันยา65
#สามกีบป๊อบคัลเจอร์โคฟเวอร์ชุดไทย
#ใส่ชุดไทยไปยูเอ็น