แลไปข้างหน้ากับ
ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.99
ประเด็น
: ปอกเปลือก “ประยุทธ์-มีชัย” จากเอกสารหลุด!!!
สวัสดีค่ะ
ดิฉันเว้นไปหนึ่งสัปดาห์ รอให้สถานการณ์ต่าง ๆ มันสุกงอมจนเราจะเริ่มเห็นทิศทางว่าเรื่องราวมันจะไปทางไหน
ความจริงเมื่อกี้ตอนที่แอดมินอธิบายอันนั้นก็จะเป็นอีกสเต็ปหนึ่ง ก็คือฉากทัศน์ของสังคมไทยหลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
แต่ว่าวันนี้ดิฉันก็จะเริ่มต้นจากการ
“ปอกเปลือก” เพราะว่าเอกสารที่หลุด เราเริ่มต้นจากคำว่าเอกสารที่หลุดก่อน
เอกสารที่หลุดนี้มันมีเอกสารที่เป็นบันทึกการประชุมครั้งที่ 500
ของคณะกรธ. ซึ่งท่านผู้ชมสามารถที่จะไปติดตามดูได้
และอีกอันหนึ่งก็คือบันทึกการประชุมครั้งที่ 501
เป็นการประชุมเพื่อตรวจสอบรับรองมติของการประชุมครั้งที่ 500
ซึ่งวันนี้
(8 ก.ย. 2565) หยก ๆ นะคะ ศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีการส่งมอบบันทึกการประชุมที่
501 แสดงให้เห็นว่าสำคัญ เพื่อมาประกอบการพิจารณา แต่ว่าก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นก็คือเป็นเอกสารหลุด! เพราะฉะนั้น เอกสารหลุดก็มีคำชี้แจงของท่านนายกฯ หนึ่ง คำชี้แจงของ มีชัย
ฤชุพันธุ์ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ สองอันนี้หลุดแล้ว หลายคนบอกว่าไม่รู้จริงหรือเปล่า?
แต่ว่าในทัศนะของดิฉัน น่าจะจริง! เพราะว่าศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมาออกตัวแล้วว่า
ต้องสืบว่ามันหลุดได้ยังไง? มันหลุดที่ไหน? เป็นเอกสารจริงหรือเปล่า?
ความจริงก็เป็นการบอกกลาย ๆ ว่าถ้ามันไม่ใช่ ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมาบอกเลยว่า
อันนี้มันเป็น Fake news ฝ่ายนายกรัฐมนตรีก็ต้องมาบอกเลยว่า
ไม่ใช่! ใครปลอมเอกสารผม แต่นี่มันไม่มี ในทัศนะดิฉัน
น่าจะเป็นเอกสารจริง ทั้งของ พล.อ.ประยุทธ์ และก็ของ มีชัย ฤชุพันธุ์
และเมื่อเราพิจารณาเอกสาร 2
ฉบับนี้ รวมทั้งเรามาพิจารณาบันทึกการประชุมกรธ. ในปี 2561
ผ่านมาแล้ว 1 ปี แล้วมีการบันทึกการประชุมเพื่อแสดงเจตนารมณ์หรือใช้คำว่าจุดมุ่งหมายของการออกมาตราทีละข้อ
ๆ แล้วก็มีการรับรอง ไม่ใช่เป็นการนั่งคุยกันสองคนแบบคำชี้แจงของพล.อ.ประยุทธ์
หรือว่าตามที่คุณมีชัยบอกว่าเป็นบันทึกที่เขียนเอาเองและไม่ได้ให้ค่า แต่ว่ามันมีความสำคัญแล้ว
เราลองไปติดตามดู
ดิฉันจะเริ่มว่าเอกสารหลุด
4 ฉบับนี้ มันได้แสดงตัวตน เป็นการปอกเปลือก คือจริง ๆ เราพอจะรู้
โดยเฉพาะคุณมีชัยซึ่งแสดงตัวตนมาตั้งแต่สมัยปีก่อน ๆ ตั้งแต่ 2533, 2534 คือ คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ อยู่มานาน อยู่กับอำนาจรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายที่มาจากการใช้อำนาจปืน-ยึด
แล้วก็ร่างรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งเป็นที่มาของการที่ต้องออกมาต่อต้านในปี 2535 ของประชาชน จนกระทั่งคุณมีชัยต้องมารักษาการเป็นนายกฯ ส่วนหนึ่ง คือตัวตนของคุณมีชัยในการที่ไม่ได้มีจุดยืนอยู่กับระบอบประชาธิปไตย
แล้วก็เป็นเนติบริกรที่รับใช้ขุนทหารมายาวนาน
มาจนกระทั่งบัดนี้ซึ่งน่าจะเป็นฉากสุดท้าย แต่ว่ารักษาจุดยืนได้แน่นอนมาก
ต้องชื่นชมว่าคุณมีชัยเป็นคนที่รักษาจุดยืนของตัวเองที่ยืนอยู่บนการรับใช้นายทหารที่ทำรัฐประหารแล้วเขียนรัฐธรรมนูญให้กับการสืบทอดอำนาจ
เขียนรัฐธรรมนูญให้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยหรือว่าคณาธิปไตย
เขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้มาเป็นลำดับไม่เคยเปลี่ยน และมาในครั้งนี้ซึ่งเราจะเห็นว่า
ดิฉันเริ่มต้นจากคุณมีชัยก่อนเลยก็ได้
ก็คือ
ในบันทึกการประชุม ครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7
กันยายน 2561 ในบันทึกการประชุมนี้ก็มีประเด็นพิจารณา ประธานกรรมการคือคุณมีชัย
กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับสามารถนับรวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเข้ากับวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ
2560 หรือไม่” เพราะอันนี้เป็นการเขียนเพื่อประกอบบทเฉพาะกาล
และการตีความมาตรา 158
เพราะว่ามาตรา
158 ในวรรคที่ 4 “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลา
ในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”
เพราะฉะนั้น
ประเด็นที่พิจารณาก็คือ สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ก็คือการที่ดำรงตำแหน่งเกินแปดปีมิได้ซึ่งมีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญ 2550
แต่ในนี้มาเพิ่มว่า “ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่”
แต่ในวันนั้น
คุณสุพจน์ ไข่มุกด์ ก็กลับลำไปคนหนึ่งแล้ว เพราะคุณสุพจน์บอกว่า “ก็ควรนับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ
2560 ด้วย” เพราะคำถามก็คือ หากนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ
2560 ประกาศใช้บังคับ
เมื่อประเทศไทยยังคงมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ควรนับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเข้าด้วย
ส่วนประธานก็คือคุณมีชัยก็บอกว่า
เมื่อพิจารณาบทเฉพาะกาลในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่และให้นำความในมาตรา
263 วรรคสาม
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม” การบัญญัติในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
แม้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับก็สามารถนับรวมระยะเวลาดังกล่าวรวมกับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ
2560 ได้ ซึ่งเมื่อนับรวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมีระยะเวลาไม่เกินแปดปี
คือพูดง่าย ๆ ว่าคุณสุพจน์กับคุณมีชัย พูดชัดเจน!
จากนั้นก็ไปพูดในประเด็นอื่น
แต่คำถามก็คือว่า
จากนั้นมันก็มีการประชุมครั้งที่ 501 เพื่อรับรองอันนี้
นี่ไม่ใช่การคุยกันสองคน ในบันทึกการประชุมมีรายชื่อผู้เข้าประชุมมากมาย
มีคณะอนุกรรมการที่จดบันทึก แล้วการประชุมที่ 501 ก็ไปรับรอง
คุณมีชัยคงลืม แก่ไปแล้วหรือเปล่า? ลืมไปแล้วว่ามันมีการรับรอง คืออ้างว่าเป็นการเขียนตามความคิดของผู้บันทึกโดยไม่ได้มีการรับรอง
เมื่อมาประกอบเข้ากับท่านนายกรัฐมนตรีที่ถูกพักงานได้มีคำร้องไป ก็ไม่ให้ค่าอันนี้เหมือนกัน
แต่ว่าวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญบอกให้เอาเอกสารบันทึกการประชุม ครั้งที่ 501 มา
เพราะว่าในส่วนของนายกรัฐมนตรีก็พูดแบบไม่ให้ค่าเลย
ดิฉันคิดว่าเราไม่สามารถพูดได้ทั้งหมด 8 ข้อ
แต่ว่าในส่วนของความคิดเห็นก็อ้างว่า ไม่มีการเอาหนังสือรวมในบันทึก คือไม่ให้ค่า
ดิฉันสรุปได้เลยว่าสำหรับ
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประการแรก เป็นคนที่รักษาจุดยืนของการยืนอยู่กับฝ่ายรัฐประหารและการสืบทอดอำนาจอย่างแน่นอน
ประการที่สอง สามารถพูดอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ กล่าวอะไรก็ได้ กลับไปกลับมาก็ได้
เพื่อทำให้การสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร ถ้าแม้นสามารถเกิดขึ้นได้ยาวนาน
สามารถที่จะเปลี่ยนคำพูด เปลี่ยนการตีความของรัฐธรรมนูญที่ตัวเองเขียนเองและมีความเห็นอย่างหนึ่งในปี
2560 และในปี 2561
ในทัศนะดิฉัน
เจตนารมณ์เรื่องของเวลา 8 ปี ไม่ต้องไปหาที่บันทึกก็ได้ เจตนารมณ์มันเขียนอยู่ชัดเจนในมาตรา อยู่ในเหตุการณ์ในเรื่องของอันนี้ว่ามีเหตุผลอยู่ก็คือไม่ต้องการที่จะให้
คือในรัฐธรรมนูญก็เขียนอยู่แล้วว่าไม่ต้องการที่จะให้มีการใช้อำนาจยาวนานนะคะ
ถ้าในมาตรา 158 “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้...”
ในนี้ก็พูดอย่างชัดเจนว่า “ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่” คือมันมีเจตนารมณ์อยู่ชัดเจนอยู่แล้วว่าถ้าอยู่นานก็จะมีการใช้อำนาจเกิน
ซึ่งตรงนี้ในทัศนะของดิฉันมันมีชัดเจนอยู่แล้ว
[ในเอกสารความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ 2560 ผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้เขียนขยายความมาตรา 158 ว่า "การกำหนดระยะเวลาแปดปีไว้ก็เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอานาจในทางการเมืองยาวเกินไป
อันจะเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤติทางการเมืองได้"]
เอาล่ะ
เราผ่านมีชัย สรุปไปแล้วนะ ใครจะนับถือว่าเป็นเนติบริกรที่เยี่ยมยอดก็ขอให้บอกว่าเยี่ยมยอดสำหรับผู้ทำรัฐประหารและผู้สืบทอดอำนาจ
เยี่ยมยอดที่สุด แล้วทำอะไรก็ได้เพื่อที่จะรับใช้จนกระทั่งนาทีสุดท้ายในวาระเช่นนี้
กลับมาที่ตัวนายกรัฐมนตรี
ในข้อโต้แย้งของนายกรัฐมนตรีซึ่งเราจะเห็นเอกสารที่หลุดออกมาทั้งหมดตั้ง 23 หน้า
ดิฉันจะพูดประเด็นสำคัญประเด็นแรก ๆ ก่อนก็คือว่า ในทางกฎหมายที่ทางผู้เขียน และก็คือตัวนายกฯ
ที่เป็นผู้ร้องก็ประหนึ่งเป็นผู้เขียนนั่นแหละ บอกมาว่าตัวเองเป็นนายกฯ 2 รอบ รอบที่ 1 ก็คือรอบก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ แล้วถือว่าขาดตอนไปแล้ว และรอบที่ 2
ก็คือนายกฯ ที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งหลังจากมีการเลือกตั้งในปี 2562 แล้วก็อ้างว่ามันขาดตอนไปแล้ว แต่ว่าที่เป็นนายกฯ ต่อจาก 2560 มา 2562 เป็นเพราะตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 ที่ว่า “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่...”
ก็อ้างว่าอย่างนี้
แต่ดิฉันอยากจะมีความคิดเห็นโต้แย้งตรงนี้นะ
ซึ่งดิฉันก็ไม่รู้ว่านักกฎหมายคนอื่นเขาคิดเหมือนดิฉันไหม? ก็คือว่า
คุณบอกว่าคุณเป็นนายกฯ 2 ครั้ง แต่เวลาคุณอ้างเท่ากับคุณเป็นนายกฯ 3 ครั้งนะ
เพราะครั้งที่ 1 คุณบอกเป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 แล้วเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ก็เท่ากับจบนะ
แล้วมาเป็นนายกฯ ตามมาตรา 264 บอกว่าเป็นนายกฯ ได้
แต่เวลามายื่นบอกว่าเป็น 2 ครั้ง
แต่ถ้าเป็นอย่างนี้ดิฉันว่าเป็นนายกฯ 3 ครั้งนะ ก็เป็นนายกฯ
ตอน 2557 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง แล้วพอมา 2560 ถ้าคุณบอกว่ามันจบไปแล้ว นายกฯ จากปี 2557 แปลว่าคุณก็เป็นนายกฯ
ครั้งที่ 2 ในปี 2560 แล้ว 2562
นี่เป็นนายกฯ ครั้งที่ 3 ซิคะ แต่คุณบอกคุณเป็นนายกฯ
2 ครั้ง ก็แปลว่าคุณนับปี 2557 ยาวมาจนถึง
2562 ใช่หรือเปล่า? ถ้ามันหมดสิ้นความเป็นนายกฯ ปี 2557 แล้วคุณไม่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ทุกอย่างมันสอดคล้องกันหมด
ป.ป.ช.ก็บอกไม่ต้องรายงานทรัพย์สิน อันนี้ก็อ้างว่า กลายเป็นดูถูกนะ
ศักดิ์ของกฎหมาย ป.ป.ช. ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ ดิฉันยกเฉพาะบางประเด็น
ที่จะยกอีกอันหนึ่งก็คือว่า
เมื่อกี้ประเด็นแรกในเชิงกฎหมายมันมีความขัดแย้งกัน คุณบอกคุณเป็นนายกฯ 2 ครั้ง
แต่ว่าเวลาคุณอ้างในคำชี้แจงคุณบอกคุณจบ เท่ากับคุณเป็นนายกฯ 3 ครั้ง ไม่ตรงกันเลย ถ้าคุณเป็นนายกฯ 2 ครั้ง ก็แปลว่าความเป็นนายกฯ
ตั้งแต่ปี 2557 มันก็ยาวมา แล้วดิฉันอ่านยังไง ๆ มาตรา 264 ความหมายเขาก็คือ
คณะรัฐมนตรีที่มาจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้นก็มาเป็นคณะรัฐมนตรีต่อจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่
แปลว่ามาตรา 264 ยอมรับความต่อเนื่อง
บทเฉพาะกาลเขียนขึ้นมาเพื่ออะไร
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จากการที่คุณใช้อำนาจรัฐประหาร แล้วกว่าจะได้มีคณะรัฐมนตรีใหม่
ความต่อเนื่องมันไม่ใช่เป็นการตัดต่อนะ เขาบอกคือความต่อเนื่อง
องคมนตรีก็รับรองจากองคมนตรีตั้งแต่ 2557 ก็เป็นองคมนตรีต่อเนื่อง
คณะรัฐมนตรีก็เป็นคณะรัฐมนตรีต่อเนื่อง ไม่ได้มีการถวายสัตย์ใหม่เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
2560 ไปประกาศอีกทีก็คือ 2562
หลังจากมีผลการเลือกตั้งและมีการโหวตนายกรัฐมนตรีแล้ว
เพราะฉะนั้น
ในทัศนะของดิฉัน นอกจากฟังไม่ขึ้นด้วยเหตุผลว่ามันจบไปแล้ว
ในคำขอและคำแย้งนั้นก็ขัดแย้งกันเอง ฟังไม่ขึ้น แต่ในทัศนะของดิฉัน สิ่งที่แย่มาก
ๆ ก็คือ ในหลายข้อดิฉันไม่สามารถพูดทุกข้อได้เพราะมันจะยาวเกินไป
ที่ดิฉันมองว่าเป็นการพูดเอาแต่ได้ อันแรกก็คือการแถบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ แถ
อ้างว่าตัวเองเป็นนายกฯ ที่จบ ตัดตอนไปแล้วของปี 2557 เพราะฉะนั้นให้นับตั้งแต่ปี
2560 มันไม่ใช่ตัดตอน แต่มันเป็นเรื่องต่อเนื่อง
เพราะบทเฉพาะกาลมีไว้สำหรับทำให้เกิดความต่อเนื่อง บ้านเมืองไม่เกิดสุญญากาศ เป็นความต่อเนื่องซึ่งจริง
ๆ ไม่มีความชอบธรรม แต่นั่นก็คือสิ่งที่เขาเขียนขึ้นมาเพื่อให้เขามีอำนาจต่อเนื่อง
แล้วก็ไม่เกิดสุญญากาศ มันไม่เกิดช่องว่าง ในทัศนะของดิฉัน คือนอกจากตีความกฎหมายผิด
อันที่สองก็คือการที่เห็นแก่ตัว
เอาแต่ได้ แล้วก็ยกย่องตัวเองว่าทำตามหลักนิติธรรมสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อ 4 ยืนยันว่า
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตน ไม่ขัดกับหลักมาตรฐานสากล
และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
เพราะการจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้นำประเทศตามมาตรฐานสากล
เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติธรรม
ไม่ปล่อยให้ผู้มีอำนาจอยู่แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดยาวนานเกินไป ไม่ปล่อยให้คนทุจริต
มีอำนาจทำการทุจริตได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และข้อกำหนดนี้มิใช่ทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
“ข้าพเจ้าสำนึกและปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตลอดมาด้วยความซื่อสัตย์
สุจริตและด้วยความจงรักภักดี
ด้วยสำนึกในหน้าที่และประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน”
ประโยคที่สำคัญก็คือตรงที่บอกว่า
“ข้าพเจ้าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ (ก็ได้)
ตราบใดที่ข้าพเจ้าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะที่เป็นเหตุให้เสียหายต่อประโยชน์ของประเทศ
ประโยชน์สาธารณะของประชาชนแล้ว ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของข้าพเจ้า
ก็ไม่ได้ขัดต่อหลักมาตรฐานสากลและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ 2560
แต่อย่างใด” แปลว่าผมเป็นคนดี ผมจงรักภักดี เวลาไม่สำคัญ ตรงนี้สำคัญกว่า! ดิฉันไม่รู้ว่าพูดมาได้อย่างไร?
ยังมีอีกตอนหนึ่งซึ่งเป็นตอนที่สำคัญ
พอดีเอกสารที่หลุดมันเขียนไม่เท่ากันสักเท่าไหร่
ดิฉันก็จำเป็นต้องใช้เอกสารหลายส่วนเพื่อที่จะประกอบ ตรงที่ว่า เรื่องของ 8 ปี
เป็นเรื่องการจำกัดสิทธิบุคคล เพราะฉะนั้นให้ตีความอย่างแคบและอย่างเป็นประโยชน์
อันนี้เป็นการพูดที่เอาแต่ได้มาก
อันนี้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียประโยชน์สำหรับผู้ที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิ
ทีนี้มีอีกส่วนหนึ่งของคำชี้แจงในข้อ
7 ศาลรัฐธรรมนูญต้องตีความและใช้รัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยลักษณะและลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ใช่ตามข้อเท็จจริงรับรู้โดยทั่วไปของประชาชน
เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
เพราะการรับฟังข้อเท็จจริงที่รู้กันโดยทั่วไป
เป็นหลักที่ใช้ในการฟังพยานหลักฐานของศาลเท่านั้น ไม่ใช่หลักกฎหมายที่ใช่ในการตีความกฎหมาย
คือพูดอย่างนั้นจริง
ๆ ว่า การตีความให้ตีความตามกฎหมาย และก่อนหน้าที่ก็บอกตีความอย่างแคบด้วยนะ
อย่างที่แบบไม่ให้ตัวนายกฯ เสียประโยชน์ แต่ไม่ให้ตีความ ไม่ให้ขึ้นต่อข้อเท็จจริงสำหรับประชาชนทั่วไป
ตรงนี้สำหรับดิฉันถือว่าเป็นเรื่องรุนแรงมาก มีการไปชี้แนะศาลรัฐธรรมนูญด้วย
แล้วก็เหมือนขู่กลาย ๆ แปลว่าอะไร? ก็แปลว่าข้อเท็จจริงไม่มีความสำคัญ ถ้าเขียนกฎหมายแบบไหนที่ข้าพเจ้าได้ประโยชน์
เพราะว่าข้าพเจ้าก็คือผู้รักษาประโยชน์ ประมาณเป็นนายกฯ ที่ดีที่สุดนั่นแหละ
อันนั้นก็คือสิ่งที่ดีและถูกต้องและควรปฏิบัติ แต่ไม่จำเป็นต้องดูข้อเท็จจริง
ซึ่งตรงนี้ดิฉันถือว่าเป็นเรื่องที่
แสดงว่าจุดยืนไม่ได้ยืนอยู่ที่ประชาชนและไม่ยี่หระประชาชน
ขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ 51 คน นักวิชาการ
และดิฉันบอกได้ว่าคนทั้งโลกเขาตีความเหมือนกันว่าคุณประยุทธ์หมดแล้ว หมดอายุไปแล้ว
เพราะว่าในบทบัญญัตินั้นบอกชัดเจนว่าไม่ว่าจะอยู่ต่อเนื่องกันหรือนับคนละคราว
เพราะไม่ต้องการที่จะให้มันเกิดการผูกขาดอำนาจและมีอำนาจมากเกินไป ใคร ๆ
ก็ตีความเหมือนกันอย่างนี้ทั้งหมด ดิฉันฟันธงแบบนี้แหละว่าคนทั่วไปเขาคิดแบบนี้ทั้งนั้น
ว่ามันถึงเวลาแล้ว 8 ปีแล้ว แต่ระบอบคสช. เครือข่ายของ 3ป และผู้ที่ได้ประโยชน์จากการสืบทอดอำนาจเท่านั้นที่พยายามจะแถไปว่านับปี 2560 หรือ 2562 เท่านั้น
เราไม่ได้ไปกดดันศาลรัฐธรรมนูญ
ดิฉันเชื่อว่าคนที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมาย ครูบาอาจารย์และประชาชนที่แสดงความคิดเห็น
ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ดิฉันก็มีความคิดเห็นโดยสุจริต เพราะว่าจุดยืนของดิฉันนั้นมันตรงข้ามกับคณะรัฐประหาร
จุดยืนดิฉันมันตรงข้ามกับเนติบริกรและคณะที่ไม่เห็นหัวประชาชน จุดยืนเราไม่ต้องการให้คนที่ปล้นอำนาจประชาชนแล้วสืบทอดอำนาจไปยาวนาน
อันนี้ 8 ปีแล้วยังไม่พอ
ดังนั้น
ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ความชอบธรรม และข้อเท็จจริง
ทั้งหมดมันเกินกว่าที่ควรจะอยู่แล้ว
แต่ถามว่าถ้าใครติดตามสิ่งที่ดิฉันได้พูดมาตั้งแต่รอบแรก ดิฉันมี 3 รายการก่อนหน้านี้
รายการแรกก็คือ ประยุทธ์ไม่ยอมลงจากหลังเสือ ซึ่งก็เป็นความจริงจนกระทั่งถึงบัดนี้
ไม่ยอมลงจากหลังเสือก็นั่งเฝ้าอยู่ที่กระทรวงกลาโหมนั่นแหละ ใครจะทำไม
เพราะฉะนั้น
ข้อสรุปสำหรับตัวตนของตัวนายกรัฐมนตรีก็คือ
ประการแรก
ไม่ยอมลงจากหลังเสือ ไม่ยอมลงจากอำนาจ ด้วยเหตุผลซึ่งย้อนไปดูอีกทีก็ได้
มีทั้งความเกรงกลัวจะถูกเช็คบิล และมีการใช้อำนาจในทางที่มิชอบ
ดิฉันไม่ได้กล่าวหาว่าคุณไปใช้อำนาจเพื่อสร้างอะไรนะ
เพราะว่าการพูดอะไรต้องมีหลักฐาน แต่ว่าการกระทำต่อประชาชนตั้งแต่ปี 2553
และการกระทำต่อประชาชนต่อมาหลังจากมีการทำรัฐประหารนั้น มีใบเสร็จหมด
จึงไม่ยอมลงจากอำนาจ หรือเปล่า
อีกข้อก็คือ
พร้อมจะใช้เล่ห์เพทุบายเพื่อจะให้มีอำนาจต่อ ไม่ว่าเล่ห์เพทุบายนั้นมันจะน่าเกลียดอย่างไร
คือพูดตรง ๆ ว่าไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ถ้าภาษาโบราณไม่ได้มนต์ก็เอาด้วยคาถา แต่ว่าถ้ามาเขียนอีกทีก็คือสามารถใช้กำลังอาวุธ
กฎหมาย กลอุบายหลอกลวง แล้วก็การโปรยทาน เพื่อที่จะรักษาอำนาจนี้เอาไว้ให้ยาวนาน
เพราะฉะนั้น
“ปอกเปลือก” มาแล้วก็คือ ตัวพล.อ.ประยุทธ์
จะต้องการที่จะยึดอำนาจจากประชาชนและถือครองอำนาจนี้ไว้ยาวนานที่สุด ต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าปี
2557 คือหมายความว่าความเป็นนายกรัฐมนตรีคุณหมดอายุไปแล้ว คุณก็จะอยู่ เชื่อซิ!
อยู่ได้ ก็ผมเป็นรัฐมนตรีกลาโหมก็ได้ ผมเป็นรองนายกฯ ก็ได้ เพื่ออยู่ต่อเป็นแคนดิเดตปี
2566
ถ้าตัดสินปี
2560 ผมก็จะอยู่ โอเค เขาไม่ให้เป็นแคนดิเดตนายกฯ ผมก็เป็นรองนายกฯ ได้
และผมก็เป็นรัฐมนตรีกลาโหมก็ได้ มีตั้ง 2ป ให้คนใดคนหนึ่งเป็นนายกฯ
ก็ได้
ถ้าเป็นติดสินว่านับปี
2562 สบายบรื๋อเลย ก็คืออยู่ได้เป็นสิบ ๆ ปี
ดังนั้น
“ปอกเปลือก” มาแล้วก็คือ ไม่ยอมลงจากอำนาจเด็ดขาด ต้องการถืออำนาจไปยาวนาน ระบอบ 3ป และเครือข่าย
ซึ่งเรามองเห็นชัด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนติบริกร ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ
ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระทั้งหลาย ดิฉันไม่พูดถึงศาลนะ
แต่ว่าศาลในประเทศไทยยึดอยู่ในระบอบอะไร อันนั้นเป็นคำถาม
การรับรองคณะรัฐประหารว่าเมื่อได้รับชัยชนะแล้ว มีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์
จะเขียนกฎหมายอะไรก็ได้ แล้วจากนั้นองค์กรอิสระ รวมทั้งมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ
ก็สามารถที่จะทำให้สิ่งที่เขียนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงและตีความไปในทางที่สืบทอดอำนาจได้
ใช่หรือเปล่า? ยาวนาน ใช่หรือเปล่า? ดิฉันตั้งคำถามอันนี้
“บิ๊กตู่”
หรือนายกรัฐมนตรี รอดมาจากการถูกวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญมา 4 ครั้งแล้ว
นี่เป็นครั้งที่ 5 ที่คนคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญอาจจะตีความว่านับจากปี
2560 แต่ดิฉันจะบอกว่า ไม่ว่าจะออกมาเป็นปี 2557 ออกมา 2560 หรือ 2562 “3ป” ก็ยังไม่ยอมลงจากอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีลูกขุนพลอยพยัก
มีเนติบริกรที่จงรักภักดีต่อการสืบทอดอำนาจ
แล้วกระบวนการยุติธรรมที่เริ่มต้นตั้งแต่รับรองคณะรัฐประหาร แล้วจะต่อการสืบทอดอำนาจไปถึงไหน
ประชาชนจะคอยดูค่ะ
#ธิดาถาวรเศรษฐ
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #8ปีประยุทธ์ #ประยุทธ์ #นายกเถื่อน