แลไปข้างหน้ากับ
ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.100
ประเด็น
: การประกาศสงครามของฝ่ายจารีตนิยม เมื่อ 19 ก.ย. 2549
สวัสดีค่ะ
เรามาพบกันในวันที่ 15 ก.ย. 2565 มันก็เป็นไฟท์บังคับก็คือ
ถ้านับเวลาย้อนกลับไปก็คือ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถือเป็นวันประกาศสงครามของฝ่ายจารีตนิยมต่อประชาชน
ในทัศนะของดิฉันนะคะ เป็นการประกาศสงครามรอบใหม่
คือมันเป็นไฟท์บังคับที่เราจำเป็นต้องพูด
เพราะว่าดิฉันอยากจะเรียนว่าในทัศนะของดิฉันซึ่งเราผ่านการต่อสู้มายาวนานตั้งแต่
2516 และเมื่อเราย้อนกลับไปดิฉันถือว่านี่เป็นสงครามยืดเยื้อในการแย่งอำนาจระหว่าง
“ประชาชน” กับ”กลุ่มจารีตนิยม”
กลุ่มจารีตนิยมได้ทำการต่อสู้เพื่อที่จะให้อำนาจอยู่ในมือยาวนาน
ถ้านับมาก็ผ่านมาร้อยกว่าปีแล้ว ถ้าว่าไปก็ตั้งแต่ในสมัย ร.5
ตั้งแต่ยุคพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่เสนอ รวมทั้ง ก.ศ.ร. กุหลาบ (กุหลาบ ตฤษณานนท์)
แล้วก็ไล่มาจนถึงกบฎหมอเหล็ง เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าความพยายามของฝ่ายประชาชนในการที่จะขอให้ลดบทบาทหรืออำนาจของฝ่ายจารีตนิยม
แล้วให้ประชาชนมีอำนาจตั้งแต่เล็กน้อยเพิ่มขึ้น ๆ มันเป็นมายาวนาน ต้องเรียกว่านับมาร้อยปี
แต่ถ้าเราจะนับ
2475 ในอีก 10 ปีข้างหน้า ดิฉันไม่รู้ว่าในเดือนก.ย. 2575 ดิฉันจะได้มีโอกาสมานั่งพูดอยู่อีกหรือเปล่า?
พอมา 2475 ก็ถือว่าเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว 100 ปี
2475
ถ้าเราจะไปเทียบกับ “Magna
Carta” ของอังกฤษ ของอังกฤษมัน 807 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1215 Magna
Carta ของอังกฤษก็เป็นการทำสัญญากันระหว่างขุนนางอังกฤษบารอนจำนวนหนึ่ง
กับกษัตริย์อังกฤษคือพระเจ้าจอห์น
อันนั้นก็กลายเป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญที่พูดถึงอิสรภาพ พูดถึงเสรีภาพ พูดถึงความเท่าเทียม
และการที่กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ต่าง ๆ เหล่านี้ก็เป็นปฐมบท
แม้กระทั่งคนเขียนรัฐธรรมนูญประเทศอื่น ๆ แม้กระทั่งสหรัฐฯ ก็ยังอ้างถึง Magna
Carta ก็คือเขาตกลงกัน แต่แน่นอนหลังจากนั้นก็มีการต่อสู้มาเป็นระยะ
ๆ
แต่ถ้าเทียบในประเทศไทย
เราก็ต้องถือว่ารัฐธรรมนูญ 2475 ฉบับที่ลงพระปรมาธิไธย ที่ไม่ได้เขียนว่า “ชั่วคราว”
ในทัศนะดิฉัน อันนั้นก็เปรียบเหมือน Magna Carta ในประเทศไทย มันเป็นการประนีประนอม
เป็นการสัญญาตกลงว่าพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตราก็มีไม่มาก
และเมื่อใช้มา 15 ปี ก็มีการเปลี่ยนแปลง
เพราะว่ามีข้อตกลงว่าจะให้มีการเลือกส.ส.ทางตรงด้านหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งก็คือวุฒิสมาชิกก็ต้องหมดเวลาจากการแต่งตั้งมาเป็นเลือกตั้ง
เพราะว่าในรัฐธรรมนูญนั้นเขียนไว้เลยว่าหลัง 10 ปีแล้ว
สภาที่สองก็จะต้องเป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้ง นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น
ดังนั้น
ของเราถ้าว่าไปก็เป็นระยะเวลาที่ยาวนานจริง แต่ว่าถ้าเทียบ Magna Carta ที่ยืนยาวมา 800 ปี
แต่ว่าสภาพประเทศอังกฤษกับประเทศไทยนั้นไม่เหมือนกันหลายอย่าง
เพราะว่ามีการต่อสู้กันจริงระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนาง และกระทั่งสภาประชาชน
แล้วก็มีพระราชอำนาจของกษัตริย์และจุดมุ่งหมายของกษัตริย์ที่แตกต่างกัน
เพราะว่าความเป็นเจ้าอาณานิคมก็ทำให้พระราชอำนาจของกษัตริย์กับขุนนางก็อาจจะบางช่วงเวลาก็ประนีประนอมกันได้
แต่พูดง่าย ๆ ว่าขุนนางใหญ่เป็นตัวเริ่มต้นลุกขึ้นมาต่อสู้
ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย
หลังจาก
2475 เครือข่ายของฝ่ายจารีตนิยมที่ได้รับผลประโยชน์จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ต้องการที่จะยังคงอำนาจของฝ่ายจารีตนิยมเอาไว้
เพราะฉะนั้นการต่อสู้ระหว่างผู้ครองอำนาจเดิมฝ่ายจารีตนิยมกับประชาชนจึงมีมาเป็นลำดับ
มีผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ
ดิฉันใช้คำว่า
“ประกาศสงครามรอบใหม่” ถือว่าเป็นการประกาศสงครามอย่างจริง ๆ รอบใหม่
คือการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แต่การต่อสู้มีมาตลอด
และบางครั้งก็ดูเหมือนจะตกลงกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เรามีการทำรัฐประหารมากที่สุด
และก็มีการฆ่าประชาชนกลางถนนโดยไม่ต้องรับผิดชอบมาเป็นลำดับ
เพราะผู้ทำรัฐประหารกลายเป็นผู้มีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์และนิรโทษกรรมตัวเอง สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
และในขณะเดียวกัน
กงล้อประวัติศาสตร์ซึ่งมันควรจะไปข้างหน้าก็ถูกผลักให้ถอยหลังบ้าง ประชาชนพยายามจะเดินไปข้างหน้า
บางครั้งก็ถูกผลักให้ถอยหลัง เหมือนดังที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ 19 กันยา 2549
มาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ดิฉันใช้คำว่า “สงคราม” และดิฉันอยากจะบอกว่ามันคือ “สงครามที่ยืดเยื้อ”
ถ้าคนที่ไม่เข้าใจ อาจจะมองว่านี่เป็นความขัดแย้งของประชาชนเหลือง ประชาชนแดง
ดิฉันว่าไม่ใช่!
ความขัดแย้งที่แท้จริงคือความขัดแย้งในเชิงอำนาจโครงสร้างของรัฐ
ว่าอำนาจในการปกครองประเทศจะอยู่ที่ประชาชน
หรือจะอยู่ที่ฝ่ายจารีตนิยมซึ่งเป็นผู้ปกครองเดิมยาวนาน
อำนาจการเมืองการปกครองจะอยู่ในกลุ่มชนชั้นนำ กลุ่มอนุรักษ์นิยม
กลุ่มที่ได้เปรียบทางสังคม หรืออำนาจการเมืองการปกครองจะอยู่ที่ประชาชน
นั่นก็คือความขัดแย้งว่าคุณจะเอาระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน
หรือคุณจะเอาระบอบอื่นที่ล้าหลัง คุณจะเอาระบอบราชาธิปไตย คุณจะเอาระบอบคณาธิปไตย
คุณจะเอาระบอบอำมาตยาธิปไตย หลายอย่างก็ร่วมผสมกัน แต่นั่นก็คือความขัดแย้งระหว่าง
ประชาชนกับ 3 ระบอบนี้ ซึ่งก็เป็นระบอบที่เกื้อหนุนและเป็นเครือข่ายซึ่งกันและกัน “คณาธิปไตย-อำมาตยาธิปไตย-ราชาธิปไตย”
ที่ชนชั้นนำและผู้ปกครองในอดีตสืบทอดอำนาจ มันจึงมีรัฐประหารเป็นระยะ ๆ
เมื่อกงล้อประวัติศาสตร์ผลักไปข้างหน้า ผู้ที่จะหยุดกงล้อประวัติศาสตร์ก็กลายเป็น “กองทัพ”
และนอกจากกองทัพ
ก็จะมีมือกฎหมาย มีเนติบริกร มีการสร้างกฎหมายขึ้นมาจัดการต่อ
นอกจากประชาชนถูกฆ่าตาย ถูกจับกุมคุมขัง และขณะนี้จำนวนหนึ่งก็ไม่สามารถอยู่ในประเทศได้
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้มันจึงเป็นสงครามที่ยืดเยื้อและยาวนาน ในทัศนะของดิฉัน
ปัญหาของเราที่จะแตกต่างกับประเทศในแถบนี้
ดิฉันได้เคยพูดมาแล้วว่า ประเทศที่เป็นอาณานิคม ฝ่ายจารีตนิยมจะถูกจัดการทำลาย
จึงเป็นการง่ายที่มันจะมีสงครามประเภท “กู้ชาติ” กู้ชาติจริงไม่ใช่กู้ชาติแบบพันธมิตรประชาชนนะ
ไม่ใช่กู้ชาติแบบเสื้อเหลืองนะ คือสงครามประชาชาติ กู้ชาติจากการเป็นเมืองขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นพม่า อินโดจีน มาเลเซีย มลายู หรือว่าสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ต่าง ๆ
เหล่านี้ เป็นเมืองขึ้นโดยสมบูรณ์แบบ จึงมีสงครามกู้ชาติ
แล้วฝ่ายจารีตนิยมถูกจัดการหมด เพราะฉะนั้นปัญหาประเทศเขาไม่เหมือนกับของเรา
ถามว่า
แล้วเราเหมือนกับประเทศอื่นที่เขาไม่เป็นเมืองขึ้นมั้ย? แม่แบบของเราก็คืออังกฤษ
แต่เราแตกต่างจากอังกฤษในหลายอย่าง ดังที่เราได้พูดแล้วส่วนหนึ่งก็คือ
เขาเป็นเจ้าอาณานิคมและเขาเป็นประเทศที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ศักดินาของเขากับศักดินาของเราก็มีระดับและมีคุณภาพแตกต่างกัน
เราก็จะไม่ลงรายละเอียด แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ดิฉันคิดว่ามันควรจะพูดตอนนี้
ในความแตกต่างอันนี้ด้วย ที่ทำให้ปัญหาการเมืองการปกครองและการต่อสู้ของประชาชนที่ยังยืดเยื้อ
ไม่สามารถที่จะไปสู่แสงสว่างของประชาธิปไตยได้
ดิฉันอยากจะยกตัวอย่าง
เนื่องจากขณะนี้ในประเทศอังกฤษเพิ่งมีข่าวคราวการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถของอังกฤษ
พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งถือว่าครองราชย์ยาวนานที่สุด
เป็นรองก็แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ก็เรียกว่าเอาชนะในหลวง ร.9 ของเราไปได้
ถือว่าเป็นกษัตริย์ในยุคสมัยใหม่ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุด
ก็น่าสนใจว่าทำไมระบบการเมืองการปกครองของอังกฤษเขาถึงได้ราบรื่น
ดิฉันจะไม่ลงรายละเอียดนะคะ
เพราะว่าเราไม่มีเวลา เอาสั้น ๆ ที่สำคัญก็คือ แนวความคิดก็คือ
อังกฤษเขาไม่ทำลายประวัติศาสตร์ เขาเคารพความจริง ไม่ว่าชนชั้นปกครองเดิมของเขา
ไม่ว่าสถาบันต่าง ๆ ของเขา มีปัญหาอย่างไร เขายอมรับความจริง เขาไม่มีการทำลายชื่อ
ทำลายรูปปั้น
อย่างของเราชื่อค่ายทหารก็เปลี่ยน!!!
อนุสาวรีย์
ไม่รู้หายไปไหน???
หลักหมุดของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หาย!!!
ห้องของกองทัพยังเปลี่ยนชื่อเลย!!!
จาก
“กบฏบวรเดช” ในประวัติศาสตร์ ก็กลายเป็นห้องบวรเดช ห้องศรีสิทธิสงคราม
แปลว่าต้องการเปลี่ยนประวัติศาสตร์ให้เป็นประวัติศาสตร์ที่เขียนใหม่ ใช่หรือเปล่า?
ดิฉันคิดว่าความดื้อรั้นของฝ่ายจารีตนิยม อำนาจนิยมในประเทศไทย
ตัวนี้มีทั้งผลดีและไม่ดี ผลมันไม่ดีกับประเทศและไม่ดีกับฝ่ายจารีตเอง
แต่มันดีตรงทำลายตัวเอง คุณไม่ยอมรับความจริง คุณไม่ยอมปรับเปลี่ยน ดูในอังกฤษ Magna Carta คือกระบวนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่ 807 ปีที่แล้ว
และสถาบันกษัตริย์ก็มีการปรับเปลี่ยนมาเรื่อย ๆ
จนกระทั่งฝ่ายอนุรักษ์นิยมสามารถสร้างพรรคการเมืองของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลได้ยาวนาน
มากกว่าพรรคกรรมกรเยอะแยะ พรรคฝ่ายซ้ายก็ไม่ได้เกิด เช่นเดียวกับสหรัฐฯ
แต่เอาอังกฤษนี่แหละ แม้กระทั่งในญี่ปุ่นก็เหมือนกัน
เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศนี้ได้มีการปฏิรูป ตกลงตามสัญญา
แล้วก็พัฒนาสัญญาให้ก้าวหน้ามาเรื่อย ๆ และนี่เราจึงเห็นภาพที่เราเพิ่งเห็นไม่นานมานี้ถึงความยิ่งใหญ่ของจารีตนิยมอังกฤษ
ความยิ่งใหญ่ของคนก็คือคนที่ยิ่งใหญ่จริง
ๆ นั้นก็คือคนที่ยอมรับความจริง ไม่ใช่สร้างภาพปลอม ๆ แล้วก็พากันชื่นชม
เหมือนถ้าเป็นละครสมัยเก่าที่ดิฉันชอบพูดถึงนิทานเรื่องพระราชาแก้ผ้า
ทุกคนก็บอกว่าภัสราภรณ์ของพระองค์สวยสดงดงามที่สุด และดิฉันว่าเรายังมีคอนเซ็ปต์เทพมารอยู่ด้วย
หรือเปล่า? เพราะฉะนั้น เหล่าคนดีและเครือข่ายของฝ่ายจารีตนิยมก็กลายเป็นเทพ
แล้วฝ่ายประชาชนก็กลายเป็นมาร เป็นอสรู ซะงั้น!
นี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง
นอกจากไม่ยอมรับความเป็นจริงของภววิสัย ไม่ยอมปรับเปลี่ยนตามภววิสัยที่เปลี่ยนไป
ดิฉันยกตัวอย่างง่าย ๆ บางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วตั้งแต่สมัย ร.5, ร.6
ไม่ว่าจะเป็นการที่กลับไปเป็นจารีตมากเกินไป การหมอบกราบ
หรือขณะนี้ก็มีปัญหาเรื่องการถวายบังคม อะไรต่าง ๆ
เหล่านี้ที่นักศึกษาบางที่ก็มีความเห็น จริง ๆ ต้องไปดูเรื่องราวตั้งแต่ในสมัย ร.5
ซึ่งจดหมายของคนต่างประเทศในยุคนั้นดูถูกเหยียดหยามประเทศไทยมากในเรื่องการกราบกราน
คือเป็นเรื่องที่ถูกยกเลิก ซึ่งดิฉันมองว่ามันอยู่ที่ผู้รายรอบและเครือข่ายทั้งหลายยังต้องการให้ย้อนถอยหลังประหนึ่งเป็นในยุคเก่า
ซึ่งความจริงยุคเก่าเขาก็มีการพัฒนา ดิฉันพูดบ่อย ๆ ว่าถ้า ร.5
ท่านอยู่จนถึงป่านนี้ท่านคงรำคาญมากหลายอย่าง
และดิฉันคิดว่าท่านคงมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าชื่นชม ดิฉันเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ นะ
เพราะว่าวิสัยทัศน์ของผู้นำ มองเห็นการณ์ไกล มองเห็นภววิสัย มันต้องเป็นเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น ประเทศอังกฤษก็ยากลำบากนะ แต่เขาก็ผ่านอุปสรรคมามากมายได้
ความจริงดิฉันจะไปเน้นที่
19 ก.ย. แต่ว่าดิฉันถือว่า 19 ก.ย. 2549
มันเป็นความดิ้นรนในการที่จะเอาอำนาจคืนรอบใหม่ จากเป้าแรกก็คือคณะราษฎร จบไปเมื่อ
พูดกันตรง ๆ ถ้าคิดถึงจอมพล ป. ด้วย ก็คือหมดที่ปี 2500 จบจากคณะราษฎรเป็นเป้าหมายที่จะต้องถูกทำลายจนหมดสิ้น
แต่ชื่อยังอยู่ ไม่รู้ว่าตอนนี้จะเปลี่ยนชื่อถนนพหลโยธินมั้ย? ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นอีกมั้ย?
ไม่รู้ว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะอยู่มั้ย เพราะว่าอนุสาวรีย์หลักสี่ยังหายไปเลย!!!
ยกตัวอย่างเป็นต้น เป้าหมายที่ 2 คือ พคท.และฝ่ายซ้ายในประเทศไทย
เป็นที่มาของรัฐประหาร 2519 และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
19
ก.ย. 2549 เป้าหมายในการต่อสู้รอบใหม่ของฝ่ายจารีต ก็คือคุณทักษิณ ชินวัตร
พรรคไทยรักไทย เพราะฉะนั้น 19 ก.ย. 2549 ต้องการจัดการให้หมดสิ้น ถามว่าหมดมั้ย?
ไม่หมด! ไม่หมดจนกระทั่งต้องมาทำรัฐประหาร 2557
แต่ดิฉันถือว่ามันเป็นความต่อเนื่องของการประกาศสงครามเริ่มตั้งแต่ 2549
แล้วก็ต่อเนื่องมา แต่ความต่อเนื่องจริง ๆ มันต่อเนื่องมาตั้งแต่คณะราษฎร
ไม่งั้นไม่เปลี่ยนชื่อห้องหรอกค่ะ ในปัจจุบัน เป็นความพยายามจะลบประวัติศาสตร์
ซึ่งนั่นคือข้อด้อยอย่างยิ่งในทัศนะดิฉัน ไม่มีอะไรสำคัญเท่าความจริง ความสำเร็จของทุกเรื่องจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อสิ่งที่ทำนั้นสอดคล้องกับความเป็นจริง
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายประชาชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอำนาจนิยม
เพระว่าฝ่ายประชาชนก็ต้องรู้ว่ามีพวกจารีตและพวกอำนาจนิยมอยู่จำนวนหนึ่ง
ซึ่งเขาได้ประโยชน์จากการทำรัฐประหาร และการรักษาอำนาจจารีตนิยม
พวกคุณลองดูซิ
พวกกลุ่มคณะที่เป็นวุฒิสมาชิกตอนนี้ได้เงินตั้งเท่าไหร่ เป็นสิบ ๆ ล้าน แล้วบางคนเป็นมาตั้งแต่
สนช. บางคนเป็นมาตั้งแต่รัฐประหารรอบแรก
มันมีแค่หน้าคนอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งได้ผลประโยชน์จากการทำรัฐประหารตั้งแต่ 2549
มาจนถึงปัจจุบัน พวกนี้ก็เสียงแข็งซิคะ นี่จะหนุนให้มีรัฐประหารรอบใหม่อีกหรือเปล่า
ถ้าเกิดบิ๊กตู่ถูกตัดสินหลุด ถ้าเกิดการสรรหานายกฯ ใหม่ไม่ลงตัว แล้วถ้าเกิดบิ๊กตู่ไม่สามารถที่จะทำงานโดยมีตัวแทนเป็นนายกฯ
ได้ ไม่สมกับความต้องการ ใครจะไปรู้ เพราะการรัฐประหารมีครั้งที่ 1 แล้ว
มีครั้งที่ 2 แล้ว ทั้งที่ยังเป็นสงครามเรื่องเดียวกัน คือมีศัตรูเป็นพรรคการเมืองรุ่นใหม่
กลายเป็นว่านอกจากคุณทำลาย
“ไทยรักไทย” ไม่ได้ คุณก็ยังได้ “อนาคตใหม่” คุณยุบ “อนาคตใหม่” คุณได้ “ก้าวไกล” ขึ้นมา
ถ้าคุณดูวิธีการคัดคนของ “ก้าวไกล” ขณะนี้น่าสนใจมากนะเพราะมีบทเรียนเรื่องงูเห่า ดังนั้น
ดิฉันอยากจะบอกว่าการทำรัฐประหาร มันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดิฉันท้าให้ว่า ไม่สำเร็จหรอก! คุณทำสงครามกับประชาชนนั้น
ไม่สำเร็จหรอก แม้คุณจะมีขุนนาง แม้คุณจะมีขุนศึก แม้คุณจะมีเจ้าสัวอยู่ข้างเดียวกัน
ตัวอย่างของคุณชัชชาติ
ก็ได้ทำลายภาพลักษณ์ของคนดีของฝ่ายจารีต ก็คือคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็เป็นคนดีได้
ตอนนี้ก็ยอมรับเป็นแถวเลย เพราะฉะนั้น คนดีไม่ได้มาจากการเป็นเทพ แล้วก็ไม่ได้ว่าคนชั่วต้องมาจากพวกมาร
คือถ้าเป็นพรรคการเมืองที่ต่อต้านรัฐประหาร มารหมด อะไรอย่างนี้ ถ้าสนับสนุนรัฐประหาร
สนับสนุนจารีต ก็เป็นเทพหมด ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว มันพิสูจน์ให้คนเห็นชัดเจน
การไม่ยอมรับความจริง
การพยายามจะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ บิดเบือน การพยายามที่จะรักษาอำนาจไว้ตลอด
มีคอนเซ็ปต์เรื่องเทพกับมาร ความชอบธรรมในการที่จะเป็นผู้มีอำนาจ
ตัวนี้มันมีผลต่อประเทศชาติที่ทำให้เกิดรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำอีก
คือไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนนั่นเอง
ถ้าย้อมกลับมาตรง
2549 ในตอนนั้น ดิฉันจะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ปฏิญญาฟินแลนด์
เพราะมันจะเทียบได้กับประเทศอังกฤษ มีการพูดเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์กันใหญ่โตเลย ทั้ง
ๆ ที่ในปฏิญญาฟินแลนด์ที่เขาเอาพูดกัน 1) มันไม่เคยเกิดขึ้นจริง
มันไม่มีใครไปพูดกันที่หัวเรือที่หนาวสั่นเป็นน้ำแข็ง ทำไมต้องไปพูดที่ฟินแลนด์
มันไม่มีหรอก มันพอ ๆ กับเรื่องผังล้มเจ้า คือคนที่อยากจะใส่ความหรือพูดเท็จ
ก็สามารถเขียนเป็นนิยายเรื่องได้
การพูดเท็จมันกลายเป็นเครื่องมือซึ่งฝ่ายที่ไม่ชอบธรรมต้องใช้
เพราะว่าเขาอยู่กับความจริงไม่ได้ จึงสร้างเรื่องเท็จขึ้นมา
เรื่องปฏิญญาฟินแลนด์เป็นเรื่องเท็จ!
2)
แต่มันน่าสนใจสำหรับดิฉันนะ มันไม่ใช่ว่าอยู่ที่เรื่องเท็จกับเรื่องจริง แต่กลายเป็นว่าปฏิญญาฟินแลนด์ที่เอามากล่าวโทษกันก็คือ
สถาบันกษัตริย์ในระบอบที่ว่าพูดถึงปฏิญญาฟินแลนด์ก็คือ ประเทศไทยจะมีสถาบันกษัตริย์ที่มีพระมหากษัตริย์ประมาณเป็นประกอบองค์ประกอบพิธีกรรมและเป็นเชิงสัญลักษณ์
ซึ่งดิฉันไปอ่านแล้ว นี่คือสิ่งที่ในประเทศอังกฤษทำอยู่ในเวลานี้
พระมหากษัตริย์ต้องเป็นกลางทางการเมือง และ The king can do no wrong เพราะว่า
The king can do nothing เพราะว่าทำอะไรไม่ได้ จึงไม่ผิด!
ทุกอย่างต้องทำ แม้กระทั่งจะมีพระบรมราชโองการตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
ใช่ เขาต้องมีการคุยกัน พระมหากษัตริย์ให้คำแนะนำได้ แต่ต่อสาธารณะ
พระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไร เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์จะมีพระราชดำรัสเองต่อรับบาล
ในประเทศอังกฤษไม่ได้ แล้วก็เป็นกลาง อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
แล้วเขาก็มีกติกาคือนับถือศาสนาคริสต์ Church of England และที่สำคัญ
The King can do no wrong เพราะว่าต้องมีคนอื่นทำหมด
ดิฉันเข้าใจว่าสมัยคณะราษฎรก็ต้องการทำแบบนี้
จนกระทั่งมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อจัดการ กระทรวงการคลังดูแลทรัพย์สิน
ก็แบบเดียวกับทางประเทศอังกฤษ แต่ว่าในขณะนี้ทรัพย์สินส่วนพระองค์ของควีนเอลิซาเบธก็มีไม่มากนะ
ประมาณ 470 ล้านเหรียญ ก็ประมาณหมื่นกว่าล้านบาท ในขณะที่ของประเทศไทยนั้นน่าจะรวมทรัพย์สินในฝ่ายพระมหากษัตริย์เข้าไปด้วย
ก็เป็นประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ล้านล้านบาทกับหมื่นกว่าล้านบาท มันต่างกันลิบลับ
แต่ว่าถ้าพูดเป็นราชวงศ์
ราชวงศ์ไทยไม่ได้เป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุด ไม่ได้ติด 10 อันดับแรก แต่ว่าความที่ทรัพย์สินของเรารวมศูนย์
พอรวมศูนย์ก็เลยกลายเป็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยร่ำรวยที่สุดเมื่อเทียบกับพระมหากษัตริย์อื่น
ๆ ซึ่งทุกคนหาได้ สิ่งที่ดิฉันพูดก็คือ พูดถึงปัญหาและความเป็นจริงของประเทศไทย
โดยเอาข่าวของประเทศอังกฤษขณะนี้มาลองเทียบ
เพราะฉะนั้น
ปฏิญญาฟินแลนด์ จริง ๆ มันไม่มีอะไร ถ้าปฏิญญาฟินแลนด์แบบเดียวกับประเทศอังกฤษ
คือมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แล้วก็ The king can do no wrong เพราะนี่คือระบอบประชาธิปไตย
ไม่ใช่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ The king can do nothing เพราะฉะนั้น
ก็จะไม่มีใครไปละเมิด มีคนชอบ/ไม่ชอบ มีคนบอกไม่ชอบ 20 กว่าเปอร์เซ็น
แต่ก็ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหาระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาชน (หนักหน่วง)
แล้วทำไมประเทศไทยเราจะต้องมีปัญหา 112 มีปัญหากับเรื่องเด็ก ๆ แล้วขณะนี้ข่าวต่างประเทศในกรณีของ “จตุพร” ที่แต่งตัวชุดไทย มันเป็นข่าวไปทั่วโลกเลย มันกลายเป็นเรื่องที่แปลก และมันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อสำหรับต่างประเทศว่า ประเทศไทยมีการลงโทษคนที่แต่งตัวล้อเลียน แต่งตัวสวยด้วย นี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นว่าจารีตนิยมไทยนั้นแต่งต่างอย่างสิ้นเชิงกับจารีตนิยมของประเทศอื่น ขณะนี้เราไม่อยากจะไปเทียบหลาย ๆ ประเทศ ของอังกฤษกำลังอยู่ในข่าว ดิฉันก็ลองยกมาย่อ ๆ แต่ว่าความที่จารีตนิยมไทยไม่ยอมรับความเป็นจริง ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง และยังต้องการทวงอำนาจคืน ไม่พอ! จะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ เอาปัจจุบันไปแก้ในอดีต ไปถอนหมุด ไปเอาอนุสาวรีย์ออก เปลี่ยนคำว่า “กบฏบวรเดช” ไม่ให้เป็นกบฏ ทั้งที่เป็นประวัติศาสตร์จริง
บางที่นะ
อย่างเช่นมีอนุสาวรีย์ของทหารบางคน บางคนก็ทำอย่างของ จอมพลสฤษดิ์ ของพล.ต.อ.เผ่า
บางทีคนก็ไม่ชอบ แต่มันเกิดขึ้นแล้วก็เกิดขึ้น เหมือนครอมเวลล์ในอังกฤษนั่นแหละ
ก็ไม่เห็นเป็นไร มันคือส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ เหมือนอย่างถนนอักษะ
ก็ตั้งถนนอักษะ คนก็เรียกถนนอักษะ มันจะได้ความรู้ในประวัติศาสตร์
ดิฉันไม่เห็นว่าในประเทศอังกฤษเขาจะมีปัญหากับการที่พูดความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอังกฤษ
กษัตริย์บางคนโหดร้าย ฆ่าพระชายาไม่รู้เท่าไหร่ ก็ยังกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ที่ตัดพระเศียรหรือว่าที่คุมขัง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
เขาก็ถือว่ามันเป็นประวัติศาสตร์ มันเป็นความจริง
ดิฉันคิดว่าถ้าประเทศไทย
ถ้าฝ่ายจารีตนิยม ยอมรับเรื่องเหล่านี้
แล้วก็เปลี่ยนแปลงตัวเองให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ทุกอย่างมันก็จะดีขึ้นสำหรับประเทศไทย
นี่ดิฉันมองทางบวกนะ แต่ว่าที่ผ่านมาจาก 2475 มาจนถึงปัจจุบัน
ดิฉันไม่มีความหวังเลย มันยิ่งรุนแรงหนักขึ้น
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังไม่ลงโทษคนกรณี 112 ขนาดนี้ ดิฉันเคยพูดว่าสมัย ร.6
ไม่มีโทษขั้นต่ำแบบนี้นะ ที่ว่ากรรมละ 3 ปี ไม่มี! อันนี้ยิ่งหนักเข้าไป
เพราะฉะนั้น
คนอาจจะมองแค่ “สนธิ บุญยรัตกลิน” ในฐานะผู้ทำการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
แต่สนธิบอกว่าจนตายแล้วก็พูดไม่ได้ เพราะความคิดของตัวเองนั้นก็คือถูกบีบ ถูกบังคับให้ทำ
ก่อนหน้าที่จะทำรัฐประหารวันสองวัน สนธิ (ลิ้ม) ก็ไปพบ เพราะฉะนั้น
การเกิดรัฐประหาร บางคนก็เรียกว่า สนธิ (ลิ้ม) เป็นสารตั้งต้น
แต่ดิฉันนอกจากพูดเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์
ดิฉันขอพูดอีกเรื่องหนึ่งนะคะ ก็คือปัญหาของเราซึ่งคนจะไม่พูดในกรณีเป็นสารตั้งต้น
และเป็นสาเหตุปัจจัยส่วนหนึ่ง คือสาเหตุจากความคิดที่ต้องการดึงอำนาจคืน
ดิฉันพูดไปแล้วอันนั้นคือสาเหตุหลัก สาเหตุสำคัญไม่ยอมรับความจริง สาเหตุของการที่บิดเบือนประวัติศาสตร์
ปัจจุบันนี้ยังต้องการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง
แต่ปัจจัยที่เป็นรูปธรรม
ทางความคิดก็คือ ปฏิญญาฟินแลนด์ก็คือไม่สามารถยอมรับให้การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
และ The
king can do no wrong ไม่สามารถยอมรับได้
ก็เอาเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์มาชู
แต่เนื้อแท้มันก็คือไม่ยอมรับระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
แล้วอำนาจเป็นของประชาชน มองว่าเป็นสิ่งที่ผิด เอาไง? อย่างนี้ก็แปลว่าคุณก็ไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตย
ก็บอกตรง ๆ ซิ
สารตั้งต้นอีกอันก็คือปัญหาศาสนา
นี่เป็นเรื่องของฝ่ายจารีตเหมือนกัน การที่เรามีนิกาย ธรรมยุตนิกาย มหานิกาย
มันก็เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ เราปฏิเสธไม่ได้ ความพยายามของคณะราษฎรที่ตอนแรกมีวัดพระศรีมหาธาตุ
และเดิมชื่อวัดประชาธิปไตย สมัยนั้นคณะราษฎรพยายามจะให้ผสมกันนะ ระหว่างมหานิกายกับธรรมยุตนิกาย
สุดท้ายก็เป็นไปไม่ได้ แต่มันก็เป็นประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันจะทำให้ดีอย่างไร
กลายเป็นว่าแทนที่มันจะเดินไปข้างหน้า ก็กลายเป็นว่าเรื่องของศาสนา
กลายเป็นย้อนกลับไปเหมือนสมัย ร.5
ดิฉันก็อยากจะเรียนว่ามหานิกายมีพระสงฆ์เป็นแสน
สองแสนกว่ารูป แต่ธรรมยุตมีแค่หลักหมื่น ไม่มีปัญหา มีสัดส่วนในเถระสมาคมเท่ากัน
ก็ไม่มีปัญหา กระทั่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นธรรมยุตติดต่อกันมายาวนาน
ก็ยังไม่มีปัญหา แต่ว่าความขัดแย้งมันมาปะทุขึ้นสูงด้วยก็คือปัญหาของวัดธรรมกายด้วย
ดิฉันไม่ใช่สาวกธรรมกาย ดิฉันเป็นลูกศิษย์ท่านพุทธทาส แต่ว่าการที่สมเด็จช่วงซึ่งตามกติกาจะต้องเป็นสังฆราชต่อไป
กลายเป็นว่าเป็นพระอุปัชฌาย์และมีความใกล้ชิดกับธัมชโย
และธรรมกายก็ใช้วิธีการตลาดแบบสมัยใหม่ คือทำอย่างไรจะดึงคน
ซึ่งเขาก็ถือว่าเขาไม่ผิด ดึงคนมาให้นับถือศาสนามันผิดตรงไหน
และปัญหาที่คุณทักษิณเผอิญมันมีเรื่องคดีความเจ้าอาวาสวัดธรรมกายที่มีการฟ้องร้อง
จะจัดการสำนักธรรมกาย
และคุณทักษิณมีความคิดเห็นว่ามันไม่มีเหตุผลเลยที่จะไปจับพระหรือไปเล่นงานพระ
อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ดิฉันเองก็จะไม่ลงลึก เอาเป็นว่ามันมีสารตั้งต้นสำคัญด้วย
นอกจากความคิดของฝ่ายจารีตที่ต้องการอำนาจทางโลก (อาณาจักร) แล้ว
ยังต้องการอำนาจทางสงฆ์ (ศาสนจักร) ด้วย เวลาฆราวาสทะเลาะกัน ดิฉันบอกตรง ๆ นะ
ยังไม่แรงเท่ากับพระทะเลาะกันนะ แล้วพระทะเลาะกันธรรมดายังไม่แรงเท่ากับพระทะเลาะกันที่มีระดับ
บางคนก็อาจจะอ้างว่าตัวเองบรรลุพระอรหันต์แล้ว หรือเปล่าก็ไม่รู้
ยิ่งหนักเข้าไปอีก!
แล้วแต่ละคนก็มีลูกศิษย์ลูกหา ยอมรับเลยว่าหลวงตามหาบัวของค่ายธรรมยุตมีบทบาทสำคัญ
แล้วก็เวลาด่ากันกับพระด้วยกัน ดิฉันได้ยินเลย (จากเครื่องรับวิทยุในรถยนต์)
เป็นหมูหมากาไก่ไปเลย ซึ่งมันรุนแรง แรงกว่าที่ฆราวาสว่ากันอีก
เพราะฉะนั้น
สารตั้งต้นมันขึ้นจากกลุ่มของจารีตนิยมที่ยังต้องการอำนาจ
และไม่ได้ต้องการอำนาจการเมืองการปกครองอย่างเดียว ต้องการอำนาจทางวัฒนธรรม
ต้องการอำนาจในทางการศึกษา ต้องการอำนาจทางอุดมการณ์ ทางศาสนา ทุกเรื่อง
โครงสร้างชั้นบนของสังคม หมด เศรษฐกิจไม่ต้องพูด
เพราะว่ามีเจ้าสัวสวามิภักดิ์อยู่จำนวนมาก
นี่คือความยากลำบากและความน่าพิศวงของจารีตนิยมไทยที่ใช้กลเม็ดทุกวิธีที่จะถ่วงรั้งกงล้อประวัติศาสตร์
ดังนั้น
ดิฉันอยากจะบอกกับเยาวชนและนักต่อสู้รุ่นต่อไปว่า นี่เป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อ
ต้องเข้าใจตรงนี้ และเราต้องเข้าใจว่านอกจากชนชั้นนำและกลุ่มข้าราชการ ทหาร
พลเรือน สื่อ นักวิชาการ กลุ่มที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน กลุ่มที่ไม่ได้มีจุดยืนอยู่กับประชาชนแล้ว
ก็ยังมีชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ชื่นชมจารีตนิยมด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะคนชั้นกลางบน
ดังนั้น เราไม่ใช่ประเทศอาณานิคมเก่า และเราก็ไม่ใช่ประเทศเจ้าอาณานิคมที่สามารถจะมีนายทุนชาติ
หรือมี
Landlord ที่สามารถจะเป็นตัวแทนในการต่อสู้ได้ ดังนั้น
มันจึงไม่ง่าย! และขอให้เข้าใจว่ามันคือสงครามยืดเยื้อ
มันจะไม่จบสิ้นภายในวันสองวัน มันเป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายจะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
แต่ถ้าถามว่าในตอนนี้ดีมั้ย?
ในทัศนะดิฉัน คิดว่าดี!
ดีตรงที่ว่าคนเรียนรู้มากขึ้นเรื่อง ๆ พูดตรง ๆ ว่าสลิ่มทั้งหลายแม้จะยังเกลียดทักษิณ
เกลียดไทยรักไทย แต่ก็เปลี่ยนใจเยอะ เพราะมีพรรคการเมืองให้เลือกมากขึ้น นั่นก็ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งก็คือเรียนรู้เยอะ
ดังนั้น
3ป ฝั่งสลิ่มตัวพ่อตัวแม่ และฝั่งจารีต ก็คือครูที่ดีที่สอนพวกที่นิยมจารีตและอำนาจนิยมว่า
ไอ้ที่ตัวเองสอนและตัวเองพูดมันเป็นบทเรียนที่สะท้อนว่า มันเหมือน X-ray คือยืนสวย
ๆ พอ X-ray แล้วเห็นโครงกระดูกหมดเลย ก็คือสิ่งที่ตัวเองพูด
สิ่งที่ตัวเองออกมาหลอกลวง จะคืนอำนาจ อยู่ไม่นาน ร้องเพลงก็ได้ ทำอะไรก็ได้
การพูดเท็จเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าถ้าคุณเป็นคนรักความจริง
คุณจะไม่ใช่พวกจารีตนิยม
ดังนั้น
“ประชาชน” ขอให้เข้าใจว่ามันเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อ นี่สงครามรอบใหม่ประกาศวันที่
19 กันยายน 2549 มันยังไม่จบนะคะ มาจนถึงบัดนี้ ยังไม่จบค่ะ เรายังไม่รู้จะมีการทำรัฐประหารรอบใหม่อีกหรือเปล่า?
แต่ว่าในขณะเดียวกันประชาชนก็ได้เรียนรู้และมีการศึกษามากขึ้น เราไม่มีกำลังกองทัพ
เราไม่มีองค์กรอิสระ ไม่มีอำนาจอะไร มันมีแต่ประชาชนกับสมองเท่านั้นเองค่ะ
ดิฉันก็อยากจะฝากไว้ว่า
ในลบก็มีบวก ในขณะที่เราคิดว่ามันเป็นความมืดของสถานการณ์ จริง ๆ นั้น ประชาชนได้เรียนรู้มากมาก
และขอให้การเปลี่ยนแปลงในวันข้างหน้าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวร ไม่ย้อนกลับค่ะ
#ธิดาถาวรเศรษฐ
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #16ปีรัฐประหาร2549