เปิดหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนฯ
จาก ภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียมและนักกิจกรรมเพื่อความหลากหลายทางเพศ
สมรสเท่าเทียม
8
กันยายน 2565
เรียน
คุณชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร
สำเนาถึง
คุณอนุชา นาคาศัย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการ
วิสามัญ
เนื่องด้วยเมื่อวันที่
15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการในวาระที่หนึ่ง
ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่....) พ.ศ.....หรือที่รู้จักกันในนาม พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม
และมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายรายมาตราแล้วนั้น
เรา
ในนามของนักกิจกรรมภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียมและนักกิจกรรมที่ทำงานเพื่อสนับสนุนกฎหมายคุ้มครองการจัดตั้งครอบครัวที่เท่าเทียมและเป็นธรรมให้กับทุกเพศ
หรือที่รู้จักในนาม "สมรสเท่าเทียม" ขอเรียกร้องให้คณะกรมาธิการวิสามัญ
ดำเนินการพิจารณากฎหมายรายมาตราให้แล้วเสร็จ
ภายในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมาธิการฯ สิ้นสุดการทำงาน
และเป็นวันสุดท้ายก่อนปิดประชุมสภาสมัยสามัญครั้งที่หนึ่ง ประจำปี พ.ศ. 2565
ตามขั้นตอนการออกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
ฉบับพ.. 2560 เราขอเรียกร้องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกรัฐสภา
เร่งนำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่....)
พ.ศ. ..... ขึ้นเป็นวาระเพื่อพิจารณาโดยเร่งด่วน
เพื่อเป็นการผลักตันร่างกฎหมายให้เข้าสู่การพิจารณาตามวาระที่เหลืออีกสองขั้นตอน โดยในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้เราซอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลพิจารณาเพื่อลงมติเห็นขอบกฎหมายสมรสเท่าเทียมในวาระที่สองและที่สาม
เพื่อให้สามารถนำร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในลำดับต่อไปใด้
เราขอยืนยันจากการรวบรวมรายชื่อของประชาชน
ที่สนับสนุนสมรสเท่าเทียมในเว็บไซต์ www.support1448.org มีมากถึง
356,148 รายชื่อ และผ่านการแสดงความคิดเห็นในเว็บไชตัรัฐสภา จำนวน 54,444 รายชื่อ
แสตงให้เห็นว่าพลเมืองไทยต้องการกฎหมายสมรสเท่าเทียม
และเป็นเสียงที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งต้องคำนึงถึงอย่างยิ่ง
นอกจากนี้
ในการทำงานของสมาชิกกรรมาชิกรวิสามัญและในการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา เราชอประณามถ้อยคำการกระทำ
และทัศนติที่แสดงออกซึ่งความเกสียดกลัวเพศหลากหลาย อันไม่สมควรปรากฎในการแสดงออกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่พึงเป็นตัวแทนเรียกร้องความสมอภาคเท่าเทียมในนามของประชาชน
พวกเราในฐานะสมาชิกชุมชนคนเพศหลากหลาย ขอแสดงจุดยืนไม่ยอมรับต่อพฤตีกรรมหรือการแสตงออกที่สื่อถึงการเลือกปฏิบัติโดยตรงเช่นนี้
ทั้งนี้
การผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะถือเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศไทย
ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ
23 ซึ่งคุ้มครองสิทธิการมีครอบครัวและการสมรส โดยกำหนดว่าเป็น "สิทธิของ
ชายและหญิงในวัยที่อาจสมรสได้ในการที่จะสมรสและมีครอบครัวย่อมได้รับการรับรอง"
ในฐานะรัฐภาคีต่อกติกา ICCPR
ประเทศไทยมีพันธกรณีจะต้อง
"ดำเนินการโดยเหมาะสมเพื่อประกันความสมอภาคแห่งสิทธิ
และความรับผิดชอบของคู่สมรส ในการที่จะสมรส ระหว่างการสมรส
และเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง" รวมถึง ข้อ 26 ของกติกา ICCPR ซึ่งประกันความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมายโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด
ๆ
หลักการไม่เลือกปฏิบัติยังเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและมีผลผูกพันต่อทุกรัฐ
ในทำนองเตียวกัน มาตรา 27
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็มีข้อห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติใด ๆ
ต่อบุคคลเช่นกัน
เราหวังว่าประธานรัฐสภาและสมาชิกคณะกรรมาชิการวิสามัญฯ
นำเอาข้อเรียกร้องของเราไปพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
ภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียมและนักกิจกรรมเพื่อความหลากหลายทางเพศ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #สมรสเท่าเทียม