ปัญหาของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล
[ปรากฏการณ์วิวาทะระหว่างผู้สนับสนุนพรรคทั้งสอง]
วันนี้จะคุยเรื่องปัญหาในเวทีรัฐสภา
ประเด็นก็คือปัญหาพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล [ปรากฏการณ์วิวาทะระหว่างผู้สนับสนุนพรรคทั้งสอง]
ความจริงปกติดิฉันจะคุยในประเด็นการต่อสู้และปัญหาของประชาชนนอกรัฐสภา
แต่เนื่องจากพรรคการเมืองสองพรรคนี้ มีจุดร่วมในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองฝ่ายต่อต้านการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลคสช.ทีได้มาจากการทำรัฐประหาร
ซึ่งจุดนี้เป็นหลักการเดียวกันของการต่อสู้ของประชาชนนอกรัฐสภา
ดังที่เราเคยกล่าวว่า
เรายอมรับความจริงว่าการต่อสู้สันติวิธีนั้นเราใช้สองขา
ขาที่หนึ่งก็คือในเวทีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจควรจะต้องเป็นของประชาชนโดยแท้จริง
ตอนนี้ได้เรียกว่ามีอำนาจประมาณหนึ่งในสี่, หนึ่งในห้า ได้ ประมาณนั้น
หรือจะพูดได้เลยว่าอำนาจจริง ๆ ของประชาชนนั้นไม่มีเลย แต่มันเป็นการแสดงหลอก ๆ
อย่างไรก็ตาม
สองพรรคนี้ก็มีจุดร่วมในการคัดค้านรัฐบาลที่มาจากการสืบทอดอำนาจ
แล้วก็เป็นฝ่ายค้านที่เป็นหลักแล้วก็มีเสียงมากมิใช่น้อย
เพราะฉะนั้นจุดร่วมของสองพรรคนี้ก็คืออุดมการณ์ประชาธิปไตยในการเมืองการปกครองและอุดมการณ์แนวคิดเสรีนิยม
สองอย่างนี้ไปด้วยกัน นั่นก็คืออีกปีกหนึ่งก็เป็นฝ่ายจารีตนิยม
ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง จารีตนิยมและอำนาจนิยมก็ตรงข้ามกับเสรีนิยม
และตรงข้ามกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากล
เมื่อเป็นเช่นนี้
ฝ่ายประชาชนที่รักประชาธิปไตยก็เอาใจช่วยสองพรรคนี้ แล้วการที่มีสองพรรคการเมือง
และรวมทั้งพรรคเล็กอื่น ๆ ดิฉันก็มองว่ามันก็เป็นเรื่องที่ดี นั่นก็คือ อาจจะมีความคิดในเรื่องของจังหวะก้าว
ในเรื่องวิธีการ ในเรื่องการเสนอกฎหมายที่แตกต่างกันก็ได้ แต่ว่าลงท้ายแล้วถ้าอยู่บนหลักการแนวคิดอุดมการณ์ใหญ่เหมือนกันก็จะได้ช่วยกัน
แล้วก็ไม่ทำให้พรรคใดพรรคหนึ่งผูกขาดแต่เพียงพรรคเดียว
ประหนึ่งว่าฝ่ายต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่เป็นประชาชนนอกเวทีรัฐสภานั้นต้องขึ้นอยู่กับพรรคเดียว
ถามว่าดีมั้ย? ในแง่ความเป็นปึกแผ่น ดี! แต่ว่าถ้าหากว่าพรรคเดียว
แล้วมีจุดอ่อนมีข้อบกพร่อง มันก็กระทบกระเทือนมาก นั่นก็คือเวทีรัฐสภาให้มีลักษณะเป็นเสรีประชาธิปไตย
เพราะฉะนั้น
ในบรรยากาศในขณะนี้ดิฉันถือว่าก็เป็นเรื่องที่ดีที่เรามีพรรคฝ่ายค้านทั้งพรรคใหญ่สองพรรค
ก็คือ “พรรคเพื่อไทย” และ “พรรคก้าวไกล” แล้วก็มีพรรคเล็กอยู่จำนวนหนึ่ง
ดิฉันถือว่าที่แล้วมา การได้ส.ส.และการเสียส.ส.ไปจำนวนหนึ่ง มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้
และกติกา พูดง่าย ๆ ว่าถ้าไม่ถูก กกต. ซึ่งทำการคำนวณแบบวิปริต จริง ๆ
แล้วฝั่งนี้ส.ส.ต้องมากกว่านี้ แต่อันนี้มันเป็นการใช้กลแบบน่าเกลียด
ที่ผ่านมาเราก็ถือว่าว่างเว้นมานาน เมื่อมีรัฐบาล เมื่อมีรัฐสภา
ก็มีการขลุกขลักบ้าง แต่ที่ดิฉันเห็นก็มีปรากฏการณ์ความไม่ราบรื่นอยู่ในระหว่างสองพรรค
ในการประสานงานในฐานะฝ่ายค้าน
ในฐานะที่ว่ามีจุดร่วมกันก็คือต่อสู้กับพรรคฝ่ายรัฐบาลในการที่จะทำให้แนวทางระบอบประชาธิปไตยแบบสากล
ทำให้อุดมการณ์แนวคิดเสรีนิยมและกฎหมายต่าง ๆ ควรจะขับเคลื่อนไปได้ราบรื่นกว่านี้ แต่อย่างไรก็ตามก็มีการแก้ปัญหามาเป็นลำดับ
มาในช่วงนี้ปรากฏการณ์ของวิวาทะที่เราเรียกกันว่า
“ติ่งส้ม” “ติ่งแดง” มันก็มีค่อนข้างมาก แล้วก็ค่อนข้างน่าเป็นห่วง
ซึ่งดิฉันก็เคยพูดมาหลายครั้งแล้วว่า เอาหลักใหญ่
หลักใหญ่ของการที่สามัคคีกันเพื่อต่อสู้กับแนวคิดล้าหลัง
ต่อสู้กับการเมืองการปกครองที่อยู่ในมือของฝ่ายจารีตนิยม อำนาจนิยม
ต้องเอาหลักนี้เป็นหลัก เมื่อผลการเลือกตั้งมาแบบนี้ เวทีในรัฐสภาก็ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยฝ่ายเดียวกัน
เพราะฉะนั้น
อันแรกเลยดิฉันมีความเห็นว่า ในพรรคจะเป็นผู้มีตำแหน่ง ผู้บริหารพรรค โฆษกพรรค
ต่าง ๆ เหล่านี้ต้องยึดกุมหลักการให้ได้ เพราะว่ากองเชียร์บางครั้งก็ใช้อารมณ์
บางทีกองเชียร์ก็เล็งผลเลิศ แล้วก็ยึดติดกับพรรค ยึดติดกับบุคคล
อาจจะอ่อนในเรื่องหลักการ เหมือนกองเชียร์การแข่งขัน แต่ลืมไปว่าจริง ๆ
ที่เราจะต้องต่อสู้นั้นก็คือเผด็จการจารีตนิยม
เมื่อมีการแข่งขันก็กลายเป็นว่ามาต่อสู้กันเอง วิวาทะโดยเฉพาะในออนไลน์จึงมีมาก
แล้วก็อาจจะมากเกินไปในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการที่จะทำให้เผด็จการจารีตนิยมเสื่อมทรุด
เพราะฉะนั้น
ดิฉันคิดว่าผู้บริหารพรรค ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทย แล้วก็ก้าวไกล
และรวมทั้งคณะก้าวหน้า ควรจะต้องส่งสัญญาณหลักการ ไม่ใช่ส่งสัญญาณของการวิวาทะ
เพราะถ้ายิ่งผู้บริหารออกมาพูด แม้กระทั่งส.ส.บางคน ถ้าออกมาพูดโดยไม่ยึดกุมหลักการ
พวกกองเชียร์ก็จะไปในเส้นทางที่เกิดโทษมากกว่าคุณสำหรับการต่อสู้กับเผด็จการ
มีความเห็นต่างได้ อย่างที่มีการพูดถึง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” เพราะว่าจุดร่วม
ถ้าไม่หลงทิศผิดทางนะ จุดร่วมก็คือต่อต้านจารีตนิยมอำนาจนิยม
เป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบสากล ไม่ใช่แบบไทย ๆ
จุดร่วมอีกก็คือผู้สนับสนุนและฐานเสียง มีจุดร่วมกันก็คือผู้รักประชาธิปไตย
ไม่เอาอำนาจนิยม ไม่เอาระบอบเผด็จการทหาร ไม่เอาจารีตนิยม
ปัญหานี้ควรจะต้องชัดเจน
ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็ได้ที่จะเป็นผู้สนับสนุน ถ้าเราดูดังที่ดิฉันได้พูดมาแล้วรอบก่อนว่าคุณดูภาคใต้
พรรคฝ่ายที่สนับสนุนจารีตนิยมอำนาจนิยมสามารถครองอำนาจในภาคใต้ได้ เปลี่ยนพรรคได้
แต่ก็ยังอยู่ในซีกความคิดแบบนี้ เป็นสิทธิ์ของคนภาคใต้ที่จะนำเสนออย่างนั้น
ไม่เอาประชาธิปัตย์ แต่ก็เอาพลังประชารัฐ แล้วพลังประชารัฐกับภูมิใจไทยแย่งพื้นที่ประชาธิปัตย์ได้มากมาย
ถามว่าทำไมเพื่อไทยกับก้าวไกลไม่สามารถได้เสียงค่อนข้างมาก
แต่พรรคประชาชาติที่อยู่ใน 3-4 จังหวัดภาคใต้ก็ยังได้เสียงอยู่
แสดงว่าผู้คนเขามีแนวคิด มีระบบคิดด้วย ดิฉันเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มันมีอยู่อย่างเดียวก็คือทำอย่างไรถึงจะทำให้กลุ่มแนวคิดจารีตนิยมอำนาจนิยมมองเห็นข้อเสีย
ขณะนี้เขาก็คงมองเห็นข้อเสียบางอย่าง
ดังนั้นมันจึงเปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่างพรรคที่มีความคิดแนวเดียวกัน
แต่เขายังไม่กระโดดข้ามความคิด
คือกลุ่มประชาชนภาคใต้จำนวนมากก็คือแน่นอนไม่เอาทักษิณ ไม่เอาเพื่อไทย จำนวนมากก็จะเป็นอย่างนั้น
แล้วก็ไม่เอาแม้กระทั่งพรรคการเมืองในแนวคิดที่เป็นฝ่ายต่อต้านจารีตนิยมอำนาจนิยมด้วยหรือเปล่า?
ซึ่งพื้นฐานความเข้าใจของดิฉันก็คือ
ความคิดทางการเมืองของคนไทยนั้นมันได้ปักธงลงไปแล้ว แล้วดิฉันเข้าใจว่าในพรรคเพื่อไทยก็มองเห็นอันนี้
ขณะนี้เพื่อไทยก็เปลี่ยนสัญลักษณ์และก็สี “แดง” ชัด
แปลว่าผู้นำของพรรคมองเห็นแล้วว่า
แนวคิดซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นการต่อสู้ของคนเสื้อแดงและนปช.ในอดีตนั้น
เป็นพื้นฐานของการสนับสนุนและมันเป็นการแบ่งข้างให้รู้ ถามว่าคุณจะลบเส้นแบ่งข้างนี้ได้มั้ย?
ในทัศนะของดิฉันก็คือ คุณจะบอกว่าปรองดอง อย่าไปสนใจเลยระบอบอะไร?
สนใจบุคคลว่าเป็นคนดี สนใจว่าทำยังไงไม่ให้มีการโกง เอาคนดีมาปกครองไม่ให้มีการโกง
แล้วไม่ต้องพูดเรื่องสี จริง ๆ ก็คือไม่ต้องพูดเรื่องระบอบ คุณเอามั้ย?
จริง
ๆ ประชาชนน่ะมันชัดว่าเขาจะเอาระบอบ ก็คือระบอบประชาธิปไตยแบบสากล
เขาไม่เอาระบอบที่ล้าหลังกว่านั้น เขาไม่เอาสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เขาไม่เอาเผด็จการทหาร เขาไม่เอารัฐประหาร ดังนั้น นักการเมืองจะมาตีขลุมแล้วมั่ว
ๆ อันนั้นก็แล้วแต่ แต่ในทัศนะดิฉัน เวลาที่ต่อสู้ที่ผ่านมา
อย่างการรัฐประหารในยุคหลังจากปี 2549 มาถึงบัดนี้ ถ้านับ 2550 มา 15 ปี
ถ้านับการสูญเสียของคนเสื้อแดงจากการถูกปราบ 12 ปี
มันนานมากพอที่จะทำให้ประชาชนนั้นเข้าใจและเขาเลือกระบอบการเมืองการปกครอง
ดังนั้น
พรรคก็ต้องชัดว่าเลือกระบอบอะไร? เราได้แบ่งกันได้แล้วว่าผู้ร่วมรัฐบาลคราวนี้สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ
แปลว่าไม่รังเกียจการทำรัฐประหาร
ไม่รังเกียจรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากการทำรัฐประหาร แล้วก็มีแนวคิดจารีตนิยมชัดเจน ดังนั้น
เมื่อมีจุดร่วมกันของฝ่ายค้าน แม้นจะมีการแข่งขันกัน
ก็เป็นการแข่งขันที่ยังต้องอยู่ในอุดมการณ์ที่อยู่ในค่ายความคิดเดียวกัน
ก็คือสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองในขณะนี้ อย่างพรรคกล้า
ตอนแรกก็บอกว่ากลาง ๆ พอต่อมาก็บอกว่าสนับสนุนชูพล.อ.ประยุทธ์
เพราะว่าหวังจะไปแย่งคะแนนเสียงดึงจากที่เคยเชียร์พรรคประชาธิปัตย์ในเมือง
หรือคนชั้นกลางในเมืองจารีตนิยม
ก็แปลว่าตัวเองจากกลางก็ยกมือบอกแล้วว่าผมอยู่ค่ายนี้ ดังนั้น
เพื่อไทยหรือก้าวไกลก็ต้องชัดว่าตัวเองสนับสนุนระบอบไหน
เพราะว่าผู้สนับสนุนร่วมกัน ดิฉันเชื่อว่าสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย (แบบสากล)
เมื่อกี้เราได้พูดแล้วว่าผู้บริหารพรรคต้องยึดกุมหลักการ
สมมุติในการเลือกตั้งครั้งหน้าไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร
แนวคิดอุดมการณ์มันก็จะทำให้มีการจับมือกันว่าจะเป็นรัฐบาลหรือเป็นฝ่ายค้าน
แต่ถ้าสมมุติว่าพรรคเพื่อไทยบอกว่าผมผสมกับพลังประชารัฐก็ได้ ยกตัวอย่างนะ พรรคพลังประชารัฐที่ยังมีพล.อ.ประวิตรเป็นหัวหน้า
ดิฉันว่ามันก็เป็นเรื่องทันทีสำหรับผู้สนับสนุน
หรือพรรคก้าวไกลบอกว่าผสมกับประชาธิปัตย์ก็ได้
อย่างตอนนี้ก็มีเสียงคัดค้านโจมตีที่มีอดีตคนจากพรรคประชาธิปัตย์และจำนวนหนึ่งที่เป็นกปปส.แล้วก็ไม่ได้บอกว่าตัวเองคิดผิดคิดอะไร
อันนี้ก็เริ่มมีเสียงค้ดค้านแล้ว
เพราะฉะนั้น
ดิฉันมีความเห็นต่อทางพรรคสองพรรคนี้ว่า ในส่วนผู้สนับสนุนนั้น ประชาชนกองเชียร์เขาชัดเจนเรื่องระบอบ
แล้วต้องการให้คิดว่าจะร่วมมือประสานงานในเวทีรัฐสภาอย่างไร ที่แล้วมาที่มีวิวาทะ
ต่างคนต่างบอกว่าอีกคนแทงข้างหลัง ก็ต้องไปสำรวจ
นั่นก็คือคุณจะวางระบบประสานงานในรัฐสภาอย่างไร
อันแรกเลยคือคุณชัดเจนว่าคุณจะเอาระบอบอะไร
ดิฉันไม่ค่อยเห็นด้วยที่ว่า “สามัคคีคนส่วนใหญ่เพื่อไปจัดการคนส่วนน้อย”
อันนั้นพูดแบบทั่วไปได้ แต่ขณะนี้มันต้องชัดเจนว่าคุณจะเอาระบอบอะไร? ทุกระบอบมีปัญหาคนส่วนน้อยหมด
ตั้งแต่ขวาสุดจนซ้ายสุด แต่ปัญหาอยู่ว่าคุณจะเอาการเมืองการปกครองระบอบอะไร? (นี่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด)
อันที่สองเรื่องระบบการทำงาน
ระบบการทำงานในเวทีรัฐสภา ระบบการทำงานในการประสานกับมวลชนนอกรัฐสภา
ระบบในเวทีรัฐสภาในระหว่างพรรคฝ่ายค้านด้วยกัน
คุณจะทำอย่างไรไม่ให้มันเกิดปัญหาแบบที่แล้วมา ก็คือญัตติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ
หรืออะไรต่าง ๆ มันต้องเอาให้ชัดว่าอันไหนที่จะโหวตไปด้วยกัน อันไหนที่จะฟรีโหวต
ต้องมีระบบในการประสานงานที่ดี
เพราะว่ากองเชียร์สองฝ่ายจ้องแต่จะทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างรุนแรง ถ้าคุณเป็นพรรคการเมือง
คุณต้องมีระบบในการทำงาน มันไม่ใช่บุคคล แล้วถ้าผู้บริหาร
หรือกระทั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเป็นส.ส.ก็มีบทบาท คิดจะเขียนอะไร
พิมพ์อะไรโดยไม่ได้หยุดคิดให้ดีก่อน มีผลต่อกองเชียร์
เพราะฉะนั้นก็คือ
ระหว่างสองพรรคต้องมีผู้ประสานงานที่ดี ระบอบการเมืองการปกครองต้องชัด
และถ้าระบอบของคุณไม่ชัด คุณก็เอาคนที่เชื่อถือต่างระบอบมาอยู่ในพรรคได้มั้ย?
ถ้าเป็นคนที่ยังสนับสนุนจารีตนิยมแล้วมาอยู่ในพรรคเดียวกัน
คำถามว่ากองเชียร์ว่าไง? กองเชียร์งง! คุณอาจจะหวังว่ามีพวกจารีตนิยมมาสนับสนุนพรรคคุณมากขึ้น
ถามว่าเป็นไปได้มั้ย? ดิฉันคิดว่ายาก คุณดูภาคใต้เป็นตัวอย่าง
ถ้าได้ก็เป็นส่วนน้อย หรือคุณจะทิ้งผู้สนับสนุนหลัก
ผู้สนับสนุนหลักของพรรคฝ่ายค้านคือผู้รักประชาธิปไตย
เอาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นแบบสากล แบบไทย ๆ ไม่เอา
และถ้าคุณเอาแบบไทย ๆ (แบบจารีตนิยม) หรือคนที่สนับสนุนทุนผูกขาดเข้ามาร่วม
อยากจะสามัคคีคนให้มาก มันก็อาจจะเกิดปัญหากันเองได้
เพราะฉะนั้น
จุดร่วมมีมาก แต่จุดต่างก็อาจจะเป็นว่านโยบายแต่ละพรรค ดูในรูปแบบดูเหมือน
“ก้าวไกล” จะวิ่งแรงกว่า อาจจะมีความสัมพันธ์กับการเมืองนอกรัฐสภามากกว่า
“เพื่อไทย” หรือเปล่า? แต่ดิฉันก็คิดว่า “เพื่อไทย”
ก็ไม่ได้ดูเบาการเมืองนอกเวทีรัฐสภา แต่ท่วงทำนองอาจจะไม่เหมือนกัน ท่วงทำนองของ
“ก้าวไกล” กับท่วงทำนองของ “เพื่อไทย” อาจจะไม่เหมือนกันไม่เป็นไร
แต่หลักการอุดมการณ์ใหญ่ควรเหมือนกัน และต้องให้ผู้สนับสนุนหลักมีความเชื่อมั่น
พรรคไหนสร้างความเชื่อมั่นได้มากกว่า พรรคนั้นผู้สนับสนุนหลักก็ไม่หนีไปไหน
ในบรรดากลุ่มคนจารีตนิยมอำนาจนิยมจะมีส่วนหนึ่งที่เรียกว่าฝ่ายเสื้อเหลือง
ฝ่ายสลิ่ม ตอนนี้มีสลิ่มเฟส 1 เฟส 2 ดิฉันก็ชักงงแล้วนะ แต่ว่าเอาเป็นว่า จริง ๆ
ก็คือคนที่ใช้ฉายาสลิ่มก็คือไม่อยากใช้คำว่าเสื้อเหลือง ใช้คำว่าเสื้อหลากสี จริง
ๆ กลุ่มคนเหล่านี้เป็นพวกจารีตนิยม แต่ความเป็นอำนาจนิยมอาจจะมีมากน้อยไม่เท่ากัน
พูดง่าย ๆ ก็คือจารีตนิยมแต่บางคนอาจจะสนับสนุนเผด็จการ บางคนไม่สนับสนุน
หรือว่าไม่เอาทักษิณ ไม่เอาเพื่อไทย แรงกว่า
ให้เลือกในยุคก่อนให้เลือกระหว่างหนุนเผด็จการทหารกับพรรคเพื่อไทย
เลือกหนุนเผด็จการทหาร แล้วบัดนี้คนเหล่านั้นอาจจะเปลี่ยนใจ
แต่ต้องเข้าใจว่าความเป็นจารีตนิยมอำนาจนิยมที่เป็นพื้นฐานยังดำรงอยู่
เพียงแต่ว่าปรากฏการณ์ของความล้มเหลว
ความไม่สามารถของรัฐบาลนี้ก็อาจจะทำให้คนส่วนหนึ่งเปลี่ยน
เพราะฉะนั้น
ดิฉันจึงต้องการให้พรรคฝ่ายค้านซึ่งเป็นพลังสำคัญในการต่อสู้ของประชาชนด้วยส่วนหนึ่ง
ไม่ใช่แต่เพียงนอกรัฐสภาอย่างเดียว
ได้ตระหนักว่าปัญหาระบอบการเมืองการปกครองต้องชัดเจน ปัญหาอุดมการณ์ต้องชัดเจน
ไม่ให้คลุมเครือ แล้วต้องเข้าใจว่ามวลชนเขาไปแล้ว การเมืองการปกครองเอาแบบไหน
อุดมการณ์เอาแบบไหน เขาชัดเจนแล้ว แล้วก็คนที่เปลี่ยนใจมาเห็นด้วยก็อาจจะมีมากขึ้น
ซึ่งนี่เป็นเรื่องระยะยาว เพราะฉะนั้นการสร้างผลงาน
การสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชน ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี มีทัศนะมวลชน
มีขีดความสามารถในการทำงานในเวทีรัฐสภา รวมทั้งถ้ามีโอกาสได้เป็นรัฐบาล
แต่ว่าเหนือกว่าสิ่งเหล่านี้ เหนือว่าความสามารถก็คือปัญหาหลักการ
ถ้าคุณยึดกุมหลักการไม่ได้ ดิฉันเชื่อว่าประชาชนก็จะทิ้ง!
หลักการการเมืองการปกครองคุณต้องเอาให้ชัดว่าคุณเอาระบอบไหน?
แล้วคุณไม่เอาแนวคิดจารีตนิยม ไม่สนับสนุนรัฐประหาร ไม่สนับสนุนอำนาจนิยม
อย่างเช่น ส.ว. (แต่งตั้ง) สมมุติคนที่เป็นอดีตส.ว. (แต่งตั้ง)
แล้วเข้ามามีบทบาทในพรรคการเมือง นี่ดิฉันยกตัวอย่างนะ อาจจะไม่มีก็ได้
ถามว่ามวลชนบางคนก็รับไม่ได้ เพราะฉะนั้นดิฉันก็เตือนเอาไว้ว่า
อยู่ฝ่ายประชาชนนั้นละเอียดอ่อน ประชาชนจับตาดู ขอให้ยึดกุมหลักการให้ได้
ท่วงทำนองในการสามัคคีคนที่เห็นแตกต่าง ก็ต้องเป็นคนที่เห็นแตกต่างในรายละเอียด
แต่อยู่บนหลักการระบอบและแนวคิดเดียวกัน
ไม่ใช่ไปใช้ท่วงทำนองสามัคคีกับคนที่มีอุดมการณ์ต่างกัน
แต่ทีเวลาอุดมการณ์เดียวกัน ซัดกันไม่เลี้ยงเลย ซัดกันรุนแรง
เพราะฉะนั้น
ท่วงทำนองสามัคคีก็ต้องใช้ให้ถูก แล้วก็ท่วงทำนองในคำว่า “แยกมิตร แยกศัตรู”
มีหลายคนในพรรคการเมืองนั้นไม่มีมิตรแท้ศัตรูถาวร
แต่ดิฉันบอกได้ว่าพรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองของประชาชนที่ต่อสู้ให้ได้ความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยจริง
ประชาชนนะ ต้องเข้าใจ คุณจะบอกว่าคุณไม่มีมิตรแท้ ไม่มีศัตรูถาวร แต่ประชาชนไม่ใช่!
ประชาชนมีมิตรและก็มีศัตรูถาวร
นอกจากว่าศัตรูตัวนั้นมีการเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งเป็นที่ยอมรับได้
ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงพอเป็นพิธีกรรม
ศัตรูถาวรคืออะไร?
ก็คือศัตรูฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับการที่จะทำให้ระบอบการเมืองการปกครองประชาชนมีอำนาจแท้จริง
ถ้าคุณเป็นปฏิปักษ์ คุณนั่นแหละเป็นศัตรูถาวร เพราะฉะนั้นไม่มีคำว่าชั่วคราว
เพราะการต่อสู้ของประชาชนนั้นมันไม่ใช่รอบของการเลือกตั้ง
แต่มันเป็นการต่อสู้มายาวนานแล้ว กี่ศพที่ต้องเสียเพื่อการต่อสู้
กี่ครอบครัวที่ต้องทุกข์ระทม ไม่ว่าจะคนติดคุก มันไม่ใช่เรื่องของรอบของการเลือกตั้งแล้วใครจะมาเป็นรัฐบาล
ถ้าคิดแบบนั้น ก็คืออาจจะจับมือกันเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ฝ่ายประชาชนไม่ใช่นะ!
เพราะฉะนั้น
พรรคการเมืองที่เลือกอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย
แล้วก็อยู่ฝ่ายประชาชนขอให้เข้าใจชัดเจนว่าประชาชนนั้นชัด แต่พรรคการเมืองขอให้ชัดในหลักการ
และมีท่วงทำนองต่อมิตร ต่อศัตรู ให้ถูกต้องค่ะ.
#ธิดาถาวรเศรษฐ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์