แลไปข้างหน้า กับ ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.59
ตอน 45 ปี ชีวิตดี ๆ ที่หายไป!
เนื่องในโอกาสวันที่
19กันยา ปรากฏว่ามันก็จะมี Hashtag #15ปีแล้วนะไอ้...
ดิฉันก็กลับมานั่งคิดในส่วนของดิฉันและเพื่อนร่วมรุ่น ซึ่งเป็นคนรุ่น14ตุลา, 6ตุลา
มาจนถึงบัดนี้ ก็จะต้องบอกว่า 45 ปีมาแล้ว ชีวิตดี ๆ ที่หายไป
อันนี้พูดจาแบบผู้ใหญ่ ไม่งั้นก็ต้องบอกว่า #45ปีแล้วนะไอ้...
เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น
ขอคุยในประเด็นว่า 45ปี ชีวิตดี ๆ ที่หายไป!
คือคนรุ่น
14ตุลา 6ตุลา เรานับไปมัน 45 ปี
แต่ถ้าเป็นคนรุ่นคุณณัฐวุฒิกับคนเสื้อแดงก็
15 ปี #15ปีแล้วนะไอ้...ชีวิตดี ๆ ที่หายไป
ถ้าเป็นรุ่น
รุ้ง-เพนกวินและเยาวชนที่มาต่อสู้เหล่านี้ ก็ต้องบอกว่า #7ปีแล้วนะไอ้...ชีวิตดี
ๆ ที่หายไป แล้วชีวิตดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นใหม่มองไม่เห็นเลย
จนกระทั่งต้องออกมาต่อสู้
เพราะฉะนั้น ดิฉันพูดถึง 45 ปี อันเนื่องมาจาก Hashtage ที่บอกว่า #15ปีแล้วนะไอ้... ก็แก่แล้ว ไม่อยากพูดคำหยาบ ซึ่งเป็นคำหยาบที่เหมาะสมกับยุคสมัย ก็คือคนยุคใหม่ไม่หยาบเลย ประมาณนั้น
45
ปีซิคะ เพราะว่าชีวิตดี ๆ ที่หายไป ถ้าย้อนไป ถ้าไม่เกิดรัฐประหาร 2519 ในตอน
6ตุลา ชีวิตดี ๆ ของดิฉันก็คือเป็นนักโบราณคดีสมัครเล่น ท่องเที่ยว
เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชาวค่าย แล้วก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่กำลังเตรียมตัวไปทำปริญญาเอกทาง Microbiology เพราะว่า Advisor ก็รออยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ชีวิตดี
ๆ ที่หายไป คงมีความสุขกับการเป็นนักโบราณคดีสัญจร
มีความสุขที่ได้ไปสัมพันธ์กับพี่น้องประชาชนในชนบท ยังไม่พูดถึงเรื่องอย่างอื่นนะ
ชีวิตหนุ่มสาวหรืออะไรต่าง ๆ ไม่ต้องพูด ก็คือควรจะมีชีวิตดี ๆ
ในช่วงระยะเวลานั้นเพราะว่าเราเพิ่งจบปริญญาโทใหม่ ๆ
แต่กลายเป็นอะไร
รัฐประหาร 2519 กับเหตุการณ์ 6ตุลา ทำให้ดิฉันต้องเข้าไปอยู่ในป่า
ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย ไปใช้ชีวิตนอกระบบอยู่ในป่า อาจจะเข้ามาในเมืองบ้าง 7
ปีค่ะ “7 ปี ชีวิตดี ๆ ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหายไปเลย”
ดิฉันถือว่าเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพ
ลองถามนักศึกษาในยุคนั้นได้ เป็นอาจารย์ฝึกหัดที่ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์เชียงใหม่ แล้วก็มาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ที่คณะเภสัชฯ
คณะทันตแพทย์ ชีวิตดี ๆ หายไปหมด!
แก๊งคณะที่เคยไปเที่ยวด้วยกัน
พอเกิด 14ตุลา 6ตุลา ก็ต้องการให้ดิฉันนำเที่ยวแบบโบราณคดีสัญจรอีก จบ...ไม่ได้ไป!
แล้วชีวิตดี
ๆ ของคนรุ่นณัฐวุฒิ ของคนเสื้อแดง คนที่กำลังจะมีฐานะ
พวกกลุ่มมวลชนพื้นฐานที่กำลังยกระดับขึ้นมาเป็นคนชั้นกลางล่าง
คนชั้นกลางล่างก็ยกระดับเป็นคนชั้นกลางบน เหตุการณ์ 19กันยา 49 ชีวิตดี ๆ
ก็หายไปหมด แทนที่การเมืองจะดำเนินต่อไป นักการเมือง/การเมืองไทยได้พัฒนา
ฝ่ายการเมือง พรรคการเมืองก็พัฒนา ประชาชนก็พัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น
จนมาเกิดรัฐประหารอีกครั้งปี
2557 ครั้งนี้ขนาดคนรุ่นเพนกวิน คนรุ่นรุ้ง เด็กอายุ 18-19-20 ปี ก็มาถูกจับ ถูกยึดโน้ตบุ๊ค
อย่างล่าสุดของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เขามีโน้ตบุ๊ค
เขาต้องเรียนหนังสือด้วย แต่เขาก็ต้องทำงานการเมืองด้วย ถามว่าทำไมเขาต้องทำ?
เพราะชีวิตดี ๆ ของเขาปัจจุบันก็หายไป แล้วชีวิตใหม่ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า
มองไม่เห็นอนาคตเลย เขาจำเป็นที่จะต้องต่อสู้ เหมือนกับที่ อ.ธิดาและคนรุ่น 6ตุลา
14ตุลา ที่มองเห็นปัญหายาวไกล
เราก็ไม่อยากจะบอกว่าเรามีทัศนะที่ถูกต้องอยู่ฝ่ายเดียว แต่มันเป็นจริงอย่างนั้น
มันพิสูจน์ได้จนถึงปัจจุบันว่าทิศทางและเส้นทางของเราถูก
ทั้งที่คนส่วนใหญ่และปัญญาชนส่วนใหญ่ยืนอยู่ข้างฝ่ายจารีต
คำถามก็คือ
#15ปีแล้วนะไอ้... อันนั้นสำหรับคนรุ่นณัฐวุฒิ
คนรุ่นบก.ลายจุดและคนเสื้อแดง แต่อ.ธิดานั้น พอหลังจาก 6ตุลา ทางออกของเรามันเหมือนไม่มีเลย
ก็ต้องไปอยู่กับพรรคปฏิวัติ ต้องเป็นนักปฏิวัติเต็มตัว จนกระทั่งรัฐประหารปี 34
ซึ่งเป็นรัฐประหารที่งี่เง่าที่สุด
คือเพียงแต่คนที่จะเป็นผบ.ทบ.สงสัยว่าตัวเองจะได้เป็นหรือเปล่า ทำรัฐประหารปี 34
ในขณะที่ชีวิตดี ๆ ของประเทศกำลังรุ่งโรจน์
นั่นก็คือเก็บรับบทเรียนแล้วหลัง
6ตุลา มาเข้ายุคของน้าชาตินั่นแหละ (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)
เริ่มมีคณะที่ปรึกษาเป็นคนหนุ่มอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เศรษฐกิจกำลังพุ่ง
ตลาดหลักทรัพย์กำลังพุ่งทะยาน อ้าว...ทำรัฐประหารปี 34 ชีวิตดี ๆ ก็พังทลายหมดเลย
คนทำรัฐประหารทำเพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง แต่ว่าประเทศชาติประชาชนนั้น ชีวิตดี ๆ
หายไป แล้วประเทศชาติล่มสลาย ตลาดหลักทรัพย์ก็ตกฮวบ นั่นยุคปี 35
ในตอนนั้นดิฉันเองออกมาจากป่าแล้ว
ก็คิดไม่ถึงว่ามันจะมีรัฐประหารปี 34 ก็ไม่คิดว่าจะมีทหารโง่ ๆ ที่ทำ
ก็คิดว่าทหารน่าจะสรุปบทเรียน 6ตุลา แล้วก็สรุปบทเรียนของการที่มีคนจับอาวุธสู้
ต่อไปนี้ก็คงเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันพรรคการเมือง
เพื่อที่จะได้พ้นจากยุคการต่อสู้ด้วยอาวุธเสียที ให้เป็นการต่อสู้ทางความคิด
ทางเวทีรัฐสภา เราก็คิดอย่างนั้นนะ เอ้า...มันเกิดรัฐประหารโง่ ๆ ปี 34
ในช่วงหลังปี
34 ดิฉันเองก็ออกมาจากป่าก็ยังสนใจเรื่องวิเคราะห์การเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิเคราะห์สังคมไทย ในปี 35 ที่มีการต่อสู้ของประชาชนบนท้องถนน
เราก็ได้ร่วมในการจัดตั้งสมาพันธ์ประชาธิปไตย
และตัวดิฉันเองก็ก่อตั้งชมรมนักธุรกิจประชาธิปไตย ต่อมาสมาพันธ์ประชาธิปไตยก็แตก
เพราะส่วนหนึ่งไปอยู่กับฝ่ายจารีต ก็เหลือคุณหมอสันต์, ครูประทีป, คุณหมอเหวง,
อ.ธิดา แล้วก็มวลชนอีกจำนวนหนึ่ง ชมรมนักธุรกิจประชาธิปไตยไปหมดเลยค่ะ
ไปอยู่ซีกฝ่ายจารีตนิยมและยอมรับอำนาจนิยมในการทำรัฐประหารเต็มที่ อันนั้นก็จบปี
35
ก็มาเกิดรัฐประหารใหม่ในปี
49 ซึ่งเปลี่ยนจากเรื่องของสงครามเย็น เปลี่ยนจากเรื่องว่าคอรัปชั่น
มากลายเป็นรบกับนายทุนที่เรียกว่า “สามานย์”
รัฐประหารปี
49 เมื่อความนิยมของคุณทักษิณสูงมาก ขนาดออกมาเป็น 96.9%
ที่จะมาเป็นผู้นำ เป็นนายกรัฐมนตรีจากโพล และแม้กระทั่งผลการเลือกตั้ง
อันนี้ซึ่งเราคงต้องพูดเล็กน้อยสั้น ๆ ว่า
คนที่สนับสนุนทำให้เกิดรัฐประหารและทำให้ชีวิตดี ๆ ของประชาชนหายไป
ทำให้ประเทศชาติล่มสลาย ทำให้ประชาชนไม่มีอนาคต เยาวชนก็ไม่มีอนาคต
กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพวกสร้างการเกิดขึ้นของการทำรัฐประหาร
ดิฉันก็ถือว่าขณะนี้ประชาชนอย่างรุ่นของดิฉันเปิดตัวแยกฝ่าย
ก็คือ ฝ่ายที่ไม่เอารัฐประหาร ฝ่ายต่อต้านรัฐประหารและต่อต้านจารีตนิยม
เป็นการแยกฟากกันอย่างเต็มที่ แน่นอนมีคนพยายามข้ามฝั่งมา
ตอนนี้ก็พยายามขอโทษขอโพยเพื่อจะมาสังกัดพรรคการเมืองที่คิดว่าก้าวหน้านั่นแหละ
ย้ายข้างมาจากกปปส. ย้ายมาจากพันธมิตรประชาชนฯ (พธม.)
ย้ายมาจากพรรคการเมืองเก่าแก่ มันก็มีการข้ามฟากมาบ้างเป็นบุคคล ๆ ไป
แต่ดิฉันอยากจะบอกว่า
เรามาอยู่ในประเทศที่ฝ่ายจารีตนิยมไม่ได้ถูกกำจัดไปจากสงครามประชาชาติ
กลุ่มอำนาจจารีตนิยมยังดำรงอยู่ หรือพูดง่าย ๆ ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยยังไม่บรรลุ
ดังนั้นชีวิตดี ๆ ของคนหายไป อย่างของดิฉันนั้นลืมตาตื่นขึ้นมาหรือว่าหลับ
มันไม่มีเรื่องของส่วนตัว ตอนสาว ๆ มันก็ควรจะมีชีวิตที่รื่นรมย์แบบหนึ่ง
หรือตอนที่กำลังจะรุ่งเรืองทางวิชาการก็ควรจะมีชีวิตแบบหนึ่ง
ก็กลายเป็นว่าต้องเข้าป่า ไปอยู่กับขบวนการต่อสู้นักปฏิวัติและการต่อสู้ด้วยอาวุธ
แล้วก็ต้องมามีการสู้รบในเมือง
ซึ่งความจริงประชาชนไม่มีอาวุธเลย พูดง่าย ๆ ว่า
กระบวนการต่อสู้ของการปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยนั้น ย้ายสถานที่ ย้ายองค์กร
แต่ยังอยู่ในปริมณฑลเดิม เพราะว่าฝั่งจารีตนิยมและอำนาจนิยมยังไม่ต้องการคืนอำนาจให้ประชาชน
คือต้องการรักษาอำนาจ พูดง่าย ๆ
ว่าการรัฐประหารเป็นวิธีการของกลุ่มจารีตนิยมเป็นหลักที่ใช้เพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง
ดังนั้น
ในโรงเรียนการเมืองของนปช. และก่อนหน้าที่เราจะมีนปช.ด้วยซ้ำ
ดิฉันได้ทำเรื่องราวของเครือข่ายจารีตนิยม ตอนนั้นเราใช้คำว่าเครือข่ายของระบอบอำมาตย์
แต่พูดให้ชัด ๆ เลยก็ได้ว่าเป็นเครือข่ายจารีตนิยมและสถาบันในระบอบเก่าดั้งเดิม
คือพูดง่าย ๆ
ว่าเครือข่ายจารีตนิยมและสถาบันกษัตริย์ที่ยังต้องการฟื้นอำนาจและรักษาอำนาจของตัวเอง
นั่นก็แปลว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยยังไม่บรรลุ
ชนชั้นนำจารีตถ้าว่าเป็นเชิงบุคคล ก็คือ เป็นชนชั้นนำจารีต ซึ่งยึดสถาบัน ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อค้ำจุนอำนาจของตัวเองทั้งหมด เครือข่ายก็ต้องสร้างเครือข่าย และเครือข่ายเหล่านี้ก็คือสาเหตุของการทำรัฐประหารเพื่อแก้ปัญหา เพราะว่าเมื่อใช้อำนาจอย่างอื่นแล้ว ปรากฏว่าสู้อำนาจประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้
ดังนั้น
พรรคการเมืองใด นักการเมืองใดที่ได้รับการนิยมแบบถล่มทลาย
มันกลายเป็นศัตรูของชนชั้นนำจารีตนิยมและสถาบันเก่าแก่ทั้งหมด
ประมาณว่าเป็นการแข่งอำนาจกันหรือเปล่า เราจะเห็นว่าปัญหาศาสนาก็มีปัญหา
ซึ่งเราค่อยคุยกันอีกทีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระหว่างมหานิกายกับธรรมยุติกนิกาย
ผู้นำธรรมยุต ผู้นำมหานิกาย มากระทั่งในเรื่องการเมืองการปกครอง
คณะที่เป็นสาเหตุ
ในทัศนะของดิฉันไม่ใช่สนธิบัง (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกริน) แล้วก็ยังไม่ใช่สนธิลิ้ม
(สนธิ ลิ้มทองกุล) คนเหล่านี้เป็นตัวละครที่เครือข่ายชนชั้นนำจารีตไปดึงมา
คือจะต้องมีผู้นำม็อบมวลชน ต้องมีผู้นำกองทัพเพื่อมาแก้ปัญหา
เพราะฉะนั้นผู้ก่อการรัฐประหารจริง ๆ และทำลายชีวิตดี ๆ
ของประชาชนก็คือเครือข่ายของกลุ่มชนชั้นนำจารีตนิยมและสถาบันดั้งเดิม
เพื่อที่จะทำให้การปฏิวัติประชาธิปไตยหรือการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจที่แท้จริงยังบรรลุไม่ได้ค่ะ
ดิฉันก็คิดว่าถ้าเราจะพูดว่า
#15ปีแล้วนะไอ้... หรือ #45ปีแล้วนะไอ้...
ที่ทำให้ชีวิตดี ๆ และความรื่นรมย์ของประชาชนหายไป รวมทั้งตัวดิฉันเอง จริง ๆ แล้ว
คณะเครือข่ายเหล่านี้แหละคือผู้ก่อการรัฐประหาร
เพราะใช้การรัฐประหารเป็นการแก้ปัญหาเพื่อที่จะตัดอำนาจประชาชน
ตัดอำนาจนักการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชน ซึ่งเพียงการใช้กฎหมายก็ไม่พอ
เครือข่ายเหล่านี้
ดิฉันได้พูดมาตั้งแต่ปี 49 ไม่ได้เกี่ยวกับ network monarchy ที่
Duncan McCargo นักวิชาการต่างประเทศพูด
อันนี้เป็นประสบการณ์ที่เรายกระดับขึ้นมาเป็นหลักทฤษฎีของเราเองได้
เราอาจจะไม่พูดถึง monarchy network, deep state แต่เราพูดถึงเครือข่ายชนชั้นนำจารีตนิยม
แล้วเราก็พูดถึงรัฐซ้อนรัฐ อันนี้เป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นจากการที่เราได้ทบทวนการต่อสู้ของประชาชน
ซึ่งมันสามารถสรุปได้ว่า ปฏิวัติประชาธิปไตยยังไม่บรรลุ
เพราะระบอบประชาธิปไตยของประชาชนมันไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มชนชั้นนำจารีตนิยม
ดังนั้น การทำรัฐประหาร การทำลายชีวิตที่รื่นรมย์ ผาสุกของประชาชนไทย ในทัศนะดิฉัน
พูดตรง ๆ เลย ก็คือกลุ่มชนชั้นนำจารีตนิยมเหล่านี้นี่เอง
ดังนั้น
ในทัศนะของดิฉัน ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์มันก็ยังอยู่ในปริมณฑลของการที่อยู่ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ดังนั้นความพยายามจะเล่นงานคุณทักษิณในเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์
ความพยายามที่จะเล่นงานคนเสื้อแดงว่าเป็นพวกล้มเจ้า
ความพยายามที่จะจัดการกับเยาวชนคนหนุ่มสาวในเรื่องประเด็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นั้น
ทั้งหมดนี้ยังไม่มีเหตุผลในการที่จะเล่นงานประชาชนได้นะคะ
เพราะมันยังอยู่ในปริมณฑลของการต่อสู้ของประชาชนในการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย
มันไม่ใช่สิ่งผิด ดิฉันยืนยัน
เพราะฉะนั้นใครก็ตาม
หรือพรรคการเมืองใดก็ตามที่หวาดกลัวคำว่าปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ดิฉันคิดว่าไม่ถูก
เขาไม่ได้โค่นล้ม แต่เขาปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
แปลว่านี่คือความต่อเนื่องของการปฏิวัติประชาธิปไตย
เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจต้องเป็นของประชาชน
ไม่ใช่อำนาจเป็นของชนชั้นนำจารีตนิยม
สำหรับ network monarchy ที่มีการเอามาอ้างถึงแต่ดิฉันไม่ได้ใช้ และคนที่บอกดิฉันเป็นคนแรกว่าอาจารย์พูดตรงกันกับ Duncan McCargo ก็คือ อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ซึ่งพูดในที่ประชุมกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารเมื่อปี 2549 ที่อ้างก็เพื่อจะบอกว่า เครือข่ายเหล่านี้แหละก็คือสาเหตุการณ์ทำรัฐประหารนั่นเองค่ะ.