คณะกรรมการจัดงาน
45 ปี 6 ตุลา 19 และสภานักศึกษามธ. ยืนยันจัดงานที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เริ่มตั้งแต่
7 โมงเช้า ไม่ควรพลาดงานนี้!
วันนี้ (28 ก.ย. 64) เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ห้องสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการแถลงข่าวการจัดงานรำลึก “45 ปี 6 ตุลา 19” โดยนายสุเทพ สุริยะมงคล ประธานคณะกรรมการจัดงานฯ กล่าวในฐานะที่ตนได้รับการแต่งตั้งจาก รศ.เกศินี วิทูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เป็นกรรมการจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ครบรอบ “6 ตุลา 2519” ประจำปี แม้เวลานี้อยู่ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่การจัดงานดังกล่าวจัดในที่โล่งแจ้ง ประกอบกับการที่ ศบค. ได้มีมาตรการผ่อนคลายต่าง ๆ แม้กระทั่งโรงภาพยนตร์สามารถเปิดได้ ร้านอาหารสามารถมีดนตรีเล่นได้ การจัดงานเพื่อรำลึกถึงวีรชน 6 ตุลา ผมมองไม่เห็นเหตุผลเลยว่าทำไมทางมหาวิทยาลัยไม่ให้เราจัดงาน นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องจัดการแถลงข่าวเพื่อยืนยันที่จะจัดงานฯ ในสถานที่จริง เราจะมีพิธีกรรมเพื่อระลึกถึงคนตายในวันที่ 6 ตุลา มีพิธีสงฆ์ มีการกล่าวปาฐกถา มีการวางพวงหรีดมาลา
นายกฤษฎางค์
นุตจรัส กล่าวว่า เราจะจัดงานครบรอบ 45 ปี 6 ตุลา 19 ที่ธรรมศาสตร์ เราตกลงใจร่วมกันในฐานะเป็นกรรมการจัดงานที่ทางมหาวิทยาลัยแต่งตั้งขึ้น
เรายืนยันที่จะดำเนินการจัดงานดังกล่าวที่หน้าลานประติมากรรม หน้าหอประชุมใหญ่
ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 07.00 น. อย่างแน่นอน ภายใต้การระมัดระวังเรื่องการระบาดของโรคโควิด-19
เท่าที่จะทำได้ โดยอาจจะจัดเป็นกิจกรรมเป็นกลุ่มละไม่เกิน 25 คน เพื่อความปลอดภัย
แต่เราจะไม่เอาเรื่องโควิด-19 มาเป็นข้ออ้างเพียงเพื่อที่จะไม่ดำเนินการรำลึกถึงวีรชน
6 ตุลา 19
นายกฤษฎางค์
กล่าวต่อไปว่า เหตุผลที่เราพูดกับทางมหาวิทยาลัยมาตลอดก็คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ไม่ได้เป็นเรื่องของการจัดงานรำลึกอย่างเดียวและมันไม่ใช่ของธรรมศาสตร์
เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ธรรมศาสตร์ก็จริง แต่ว่ามีประชาชน นิสิต นักศึกษา
ทุกมหาวิทยาลัยเมื่อ 45 ปีที่แล้วเสียสละชีวิตเสรีภาพไปเพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิทธิประชาธิปไตยของประชาชนและรักษาไว้ซึ่งอุดมการณ์
14 ตุลา ที่เราชนะจากพวก 3 ทรราช และเราคิดว่าอุดมการณ์เหล่านี้ยังไม่สำเร็จ
สิ่งที่เยาวชนคนหนุ่มสาวเสียสละชีวิตในวัยรุ่นของเขามันก็ไม่แตกต่างกับเยาวชนคนหนุ่มสาวในปัจจุบันที่ต้องไปติดคุกติดตาราง
โดนตีด้วยกระบอง โดนฉีดด้วยแก๊สน้ำตาหรือน้ำแรงดันสูง
ซึ่งรัฐบาลเผด็จการได้ทำกับเราและกับน้อง ๆ ในรุ่นหลังนี้ สิ่งที่เราจะจัดงาน 6
ตุลาก็คือเหตุผลเดียวกับทางมหาวิทยาลัยพูดคือรำลึกถึงผู้เสียชีวิตและทำยังไงที่จะศึกษาและเรียนรู้ไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก
นายกฤษฎางค์ กล่าว
เราไม่สามารถจัดฉลองงานวันเกิดผ่านออนไลน์โดยคนไม่มาเจอกัน
ผมบอกเลยว่าถ้าเราจัดงานวันที่ 6 ตุลา ปีนี้ เราจะไม่มีลักษณะของการจัดกลุ่มชุมนุมแออัดยัดเยียด
อย่างน้อยที่สุดก็น้อยกว่าที่คุณประยุทธ์ไปที่สุโขทัย หรือไปกรวดน้ำท่วมที่เพชรบุรี
ฉะนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่มหาวิทยาลัยจะไม่ให้เราจัด
ดังนั้น
งาน “45 ปี 6 ตุลา 2519” เราจัดแน่นอนและจัดในธรรมศาสตร์ด้วย เพราะธรรมศาสตร์ไม่ใช่เป็นของคนธรรมศาสตร์ด้วยซ้ำ
เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่แตกต่างจากเหตุผลที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยพูดหลาย
ๆ ครั้ง และเหตุผลในการจัดงานก็คือ
1)
ศบค. ได้ผ่อนปรนมาตรการหลาย ๆ อย่าง เช่น ฟิตเนตเปิดได้ ดูหนังก็ได้
ร้านอาหารก็มีดนตรีได้ ทำไมเราจะจัดงานให้วีรชน 6 ตุลา ไม่ได้
2)
น้อง ๆ สภานักศึกษา มธ. เขาจะจัดอยู่แล้ว เพราะเขาต้องรำลึกถึงเกียรติภูมิของ ชาวมธ.
ที่สูญเสียไปและรำลึกวีรชน 6 ตุลา
หลายคนบอกว่าการจัดงาน
6 ตุลา ไม่ใช่แค่เอาภาพความทารุณโหดร้ายมาดู
มันต้องเป็นการกู้ศักดิ์ศรีของคนที่สูญเสียไปด้วย เช่น ผู้หญิงนักศึกษาที่ถูกทำร้ายอย่างทรมานแล้วเอาศพไปทำทารุณกรรมทางเพศ
หรือการทำร้ายเด็กอายุ 17-18 แล้วเอาไปแขวนคอที่ต้นไม้ที่สนามหลวง
หรือการที่ทำลายเกียรติภูมิของ “อาจารย์ป๋วย อึ้งภากร”
ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นภาระของชาวธรรมศาสตร์ผู้รักประชาธิปไตยต้องทำอยู่แล้ว
นี่เป็นเหตุผลชัดเจน และวันนี้เป็นโอกาสที่เราทำมาตลอด เราก็ยังยืนยันอยู่
สุดท้ายขอเชิญชวนผ่านสื่อมวลชนว่า
นักเรียนนิสิตนักศึกษาเยาวชนที่อยากเรียนรู้เหตุการณ์ในวันนั้น
อย่างน้อยที่สุดในปีนี้เราก็มีรายการต่าง ๆ ที่จะสามารถอธิบายให้เข้าใจประวัติศาสตร์ได้มากขึ้น
มีหนังสือที่ธรรมศาสตร์เองก็เป็นคนทำเกี่ยวกับเรื่องนี้แจก
สำหรับรายการที่จัดครบรอบ
“45 ปี 6 ตุลา 19” ในเวลา 07.00 น. เริ่มต้นด้วยการตักบาตรทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลและรำลึกถึงวีรชนที่เสียสละชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บพิการ
และผู้ที่ถูกเสื่อมเสียเกียรติภูมิ รวมทั้งท่านอาจารย์ป๋วย อึ้งภากร จากนั้นก็จะมีการวางหรีดจากผู้แทนขององค์กรต่าง
ๆ จำนวนมาก เช่น สภานิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แล้วก็มีตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ จากนั้นก็จะมีการกล่าวปาฐกถาในเหตุการณ์ 6 ตุลา
ในการครบรอบ 45 ปี และมีการเปิดนิทรรศการเกี่ยวกับ 6 ตุลา 19 ซึ่งจะเปิดแค่วันเดียว
โดยจัดในพื้นที่ที่เหมาะสมและรับประทานอาหารร่วมกัน
และขอยืนยันว่าการจัดงานดังกล่าว ตลอดงานเราจัดกิจกรรมภายใต้การระมัดระวังการแพร่กระจายของโรคไวรัสโควิด-19 มีระบบคัดกรอง มีการเว้นระยะห่าง มีการขอให้สวมหน้ากากอนามัย ถ้าเป็นไปได้จะมีการจัดในแต่ละกลุ่มไม่ให้หนาแน่นเกินไป และที่สำคัญก็คือยังยึดถืออยู่ว่าทำอย่างไรที่จะฟื้นฟูเกียรติภูมิของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ทำอย่างไรที่จะสานปณิธานของวีรชนเหล่านั้นให้สังคมไทยเดินหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยตามที่เขาต้องการ ไม่ใช่เป็นเครื่องเล่นของนักการเมืองหรือทหารที่ก่อการรัฐประหารตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรที่จะไม่ให้มีการปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่รักชาติรักประชาธิปไตยอย่างโหดร้ายทารุณอย่างที่ผ่านมา สุดท้ายคือเอาคนผิดมาลงโทษ ไม่ว่าคนผิดนั้นจะตายไปหรือยัง การลงโทษคือการลงโทษทางสังคมเพื่ออธิบายให้สังคมเห็นว่าสิ่งที่คุณทำในอดีตเป็นสิ่งที่ผิด
ขอเชิญชวนทุกท่านโดยเฉพาะเยาวชนคนหนุ่มสาวมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ วันที่ 6 ตุลานี้ เพราะการจัดงานในปีนี้เรามีรูปแบบการจัดงานที่สามารถอธิบายเรื่องของ
6 ตุลา 19 ให้กับคนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน จะเข้าใจได้ง่าย นายกฤษฎางค์ กล่าว
ส่วนกิจกรรมในช่วงบ่าย
น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ หรือ “อั๋ว” กล่าวว่า พวกเรายืนยันจะจัดงานในสถานที่จริงแม้ว่าจะโดนมหาวิทยาลัยต่อต้านและยังไม่มีการอนุมัติให้จัดงาน
ทางสภานักศึกษา มธ. ท่าพระจันทร์ ได้ทำเอกสารขอใช้สถานที่ไปตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.
ขอให้สื่อมวลชนจับตาดูคำตอบจากทางมหาวิทยาลัยในวันที่ 1 ต.ค. นี้
การจัดงานครั้งนี้ไม่ใช่การรำลึกเพียงอย่างเดียว
เรามองว่าการต่อสู้ยังไม่จบ ตั้งแต่ปี 2519 หรือในอดีตที่ผ่านมา
เรายังต้องต่อสู้กับเผด็จการและทรราชอยู่ จนมาถึงปีนี้ ปี 2564
ทุกอย่างมันยังคงอยู่เหมือนเดิม คนที่ตายในเหตุการณ์ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม
ประวัติศาสตร์ยังไม่ได้ถูกชำระ คนที่ผิดก็ยังไม่ได้ถูกนำไปลงโทษ เรามองว่าสังคมจะเป็นแรงหนุนให้เหตุการณ์เหล่านี้ยังอยู่ในความทรงจำและการต่อสู้ของคนรวมถึงเรื่องความยุติธรรม
เราคิดว่าทางภาครัฐก็ไม่น่าคืนความยุติธรรมให้กับคนที่เสียชีวิตไปแล้วได้ เราคิดว่าประชาชนคนที่ยึดมั่นในประชาธิปไตยจะเป็นผู้คืนความยุติธรรมให้กับวีรชน
6 ตุลา รวมถึงหลาย ๆ คนที่ผ่านเหตุการณ์มา และถึงปัจจุบันที่นักศึกษายังไม่เคยได้รับความยุติธรรมจากระบบของไทยเลย
การจัดงานวันที่
6 ตุลา นอกจากจะมีความสำคัญของการครบรอบ 45 ปีแล้ว
ยังเป็นหมุดหมายสำคัญที่เราจะได้ร่วมกันประกาศอีกครั้งว่าเรายังสู้ต่อไปและการต่อสู้ยังไม่จบ
การต่อสู้ยังคงเป็นการต่อสู้ แม้จะมีโควิดหรือเหตุการณ์อะไรต่าง ๆ ที่จะมาบีบก็ตาม
“อั๋ว” กล่าว
ต่อมารองประธานสภานักศึกษา
มธ. ท่าพระจันทร์ กล่าวถึงกิจกรรมในส่วนของนักศึกษา
ในช่วงเย็นจะมีการจัดนิทรรศการต่าง ๆ มีป้ายผ้า มีการจำลองเหตุการณ์ รวมถึงป้ายต่าง
ๆ ทั่วพื้นที่ มีการเชิญคนมาปราศรัยพูดเรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลา และยังมีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่ขอปิดเอาไว้ก่อน สุดท้ายที่บอกว่าคนตายยังไม่ได้รับความเป็นธรรม
เราจะร่วมกันทวงความเป็นธรรมให้พวกเขา เรียกร้องไปยังอาชญากรที่ยังมีชีวิตอยู่
เรียกร้องให้ถึงบ้านพวกเขาว่าเราจะไม่ยอม เราจะส่งจดหมายไปหาพวกเขา
เรียกร้องให้พวกเขารับผิดชอบในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไป
ในฐานะนักศึกษาและในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมประชาคมมธ.
ผมขอแจ้งว่า นักศึกษามธ. หน้าที่ของเราไม่ใช่แค่การเรียนเพื่อหวังมุ่งเพียงปริญญา
แก่นแท้และจิตวิญญาณของธรรมศาสตร์คือการที่เราคิดถึงสังคม การที่เรามีจิตวิญญาณ
มีอุดมการณ์เพื่อสังคม 6 ตุลา
เองก็ไม่ใช่เพียงแค่หน้าประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้หน้าหนึ่ง
ผ่านเหตุการณ์ไปแล้วคนจะลืม แต่ 6 ตุลา มันคือสายธารแห่งจิตวิญญาณ สายธารแห่งอุดมการณ์
ในสังคมที่ไม่อุดมพัฒนา ในสังคมที่ไม่เป็นธรรมแบบนี้ จิตวิญญาณของ 6 ตุลา
เป็นอะไรที่ยังคงต้องดำรงอยู่และควรดำรงอยู่ต่อไปจนกว่าที่เราจะได้สังคมที่เราใฝ่ฝัน
นายกฤษฎางค์
กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันจัดงาน “45 ปี 6 ตุลา 19” จะมีการมอบรางวัล จารุพงษ์
ทองสินธุ์ ซึ่งเป็นรางวัลนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้กับเยาวชน
และปีนี้คณะกรรมการสภานักศึกษาได้คัดเลือกแล้วว่าจะมอบให้กับ “พริษฐ์ ชิวารักษ์”
หรือ “เพนกวิน” ซึ่งถ้าได้ประกันตัวมาก็คงจะมารับเอง ถ้าไม่ได้ประกันตัวอาจจะมอบให้แม่หรือพ่อหรือน้องสาวมารับแทน
อีกเรื่องคือขณะนี้นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนกำลังรวบรวมเกี่ยวกับเหตุการณ์
6 ตุลา รวมทั้งพฤษภาทมิฬ และเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 เรามองเห็นแล้วว่าอันนี้เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างทารุณโหดร้ายตามความหมายของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยอาชญากรสงคราม
กรณีนี้ไม่มีอายุความ ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ก็นำตัวไปขึ้นศาลได้
แม้ประเทศไทยในรัฐบาลชุดก่อนจนถึงชุดนี้ยังไม่ยอมรับเข้าเป็นภาคีก็ตามแต่
แต่อาชญากรสงครามที่กระทำความผิดต่อมนุษยชาติไม่ได้รับการยกเว้น
ถ้านำตัวไปขึ้นศาลที่กรุงเฮกได้ก็ต้องขึ้น นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนกลุ่มนี้กำลังดำเนินการเรื่องนี้ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์
45 ปี 6 ตุลา เป็นความก้าวหน้าทางกฎหมายอันหนึ่งที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
นายกฤษฎางค์ กล่าวในที่สุด.
#45ปี6ตุลา19
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์