แลไปข้างหน้ากับ
ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.92
ประเด็น
: 90 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองยังไม่บรรลุ แล้ว 100 ปี จะเป็นอย่างไร?
สวัสดีค่ะ
ในวาระการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราผ่านมา 90 ปี ในวันนี้ดิฉันจึงอยากจะพูดถึง 90
ปี ของความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย
เราตั้งคำถามวา 100 ปี จะเป็นอย่างไร
แน่นอน
บทเรียนของเยาวชนในสังคมไทยปัจจุบันนี้ แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ หรือก่อนหน้านี้
ถ้ามันขัดแย้งกับประวัติศาสตร์แนวคิดจารีตนิยม อำนาจนิยม ก็จะไม่ได้ถูกบรรจุ
แม้กระทั่งเรื่องราว 14ตุลา ที่จะถูกบรรจุลงไปให้ได้มีพลังของประชาชนก็ยังทำไม่ได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเรื่องการลุกขึ้นมาต่อสู้ของประชาชนหลังจาก 14ตุลา2516
ดังนั้นก็เป็นภารกิจของคนที่อยู่ในขบวนการประชาชนที่ต้องการสืบทอดเจตนารมณ์ของ
“คณะราษฎร 2475” ก็คือทำให้การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองบรรลุให้ได้ระบอบประชาธิปไตย
ซึ่งถ้าพูดในยุคนั้นก็คือ เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
คือจากราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ
ก็มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่สำหรับดิฉันถือว่าขณะนี้มันก็ยังไม่บรรลุ
ก็คือยังเป็นราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ แล้วก็มีการฉีกกฎหมาย มีการทำรัฐประหาร
ตั้ง 13 ครั้ง แล้วก็มีการฉีกรัฐธรรมนูญอยู่ตลอด เพราะฉะนั้น
เราจึงเป็นประเทศที่มีรัฐประหารมากที่สุด และมีรัฐธรรมนูญน่าจะกว่า 20 ฉบับ
มากที่สุด นี่เป็นเรื่องที่สังคมไทยที่ยังไม่มีอารยธรรมเพียงพอในการที่จะบอกว่า เรา
ประเทศได้เปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยจริง ๆ ดิฉันใช้คำว่า
ปลอม ๆ มาตลอด แต่ว่าประชาธิปไตยปลอม ๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ
ราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ ไม่ได้บอกใครอยู่เหนือ อยู่ใต้
นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยังไม่บรรลุนั่นเอง
ดังนั้น
ผ่านมา 90 ปี เราจึงมีทั้ง “เหลียวหลัง” และ “แลไปข้างหน้า” แต่ในวันนี้ดิฉันก็ยังจะต้องพูด
แต่ดิฉันจะเพิ่มในปัญหาทัศนะชนชั้น ซึ่งคนอื่นยังไม่ได้พูด
วันนี้ก็จะพยายามพูดโดยย่อที่สุด ก็คือยกเอาผลึกมาพูด เพราะเรามีเวลาไม่มากพอ
แล้วแต่ละเรื่องก็มีรายละเอียดซึ่งสามารถไปค้นคว้าได้แล้วก็มีคนพูดมากอยู่แล้ว
ดิฉันพูดถึงคณะราษฎรก่อนว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงมีอำนาจอยู่เพียง
ได้ผลอยู่เพียง 15 ปี ก็แบ่งเป็นสั้น ๆ ก็คือส่วนปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
ส่วนปัจจัยภายในก็คือในกลุ่มคณะราษฎรเอง ส่วนปัจจัยภายนอกก็ได้แก่สังคมไทยทั้งหมด
และเครือข่ายอำนาจนิยม จารีตนิยม และรวมถึงจักรวรรดินิยมด้วย
เพราะในช่วงเวลานั้นเราอาจจะวิเคราะห์ได้ว่าเป็นสังคมในลักษณะกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา
ซึ่งดิฉันถือว่าเป็นการวิเคราะห์ที่สอดคล้องในยุคนั้น
ทีนี้ว่าด้วยเรื่องของปัจจัยภายใน
อันแรกดิฉันมองว่า พูดกันตรง ๆ ก็คือ “ทัศนะชนชั้น” กลุ่มคณะราษฎร จริง ๆ
ก็คือเป็นข้าราชการที่เป็นขุนนางในส่วนล่าง
คือในขณะนั้นสังคมไทยต้องถือว่าเป็นสังคมที่มีแต่ขุนนางกับไพร่เป็นหลัก
ยังไม่ใช่สังคมทุนนิยม ทุนนิยมเข้ามานั้นน้อยมาก
แล้วผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นก็ไม่ใช่ขุนนางระดับสูงที่มีเครือข่ายอำนาจต่อรอง
ไม่ได้เป็นเจ้าที่ดินใหญ่แบบประเทศอังกฤษและเป็นขุนนทางที่มีอิทธิพล
แต่เป็นขุนนางระดับล่างที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ
แล้วก็มองเอาว่าความเจริญนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ดังนั้น
ในทัศนะชนชั้น การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบอบประชาธิปไตย กำลังสำคัญจริง ๆ
มันต้องเป็นกลุ่มนายทุน ชนชั้นกรรมาชีพ รวมทั้งชนชั้นกลางปัญญาชน
แต่เมื่อผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคณะขุนนางเป็นส่วนใหญ่
ก็มีความจำกัดในทัศนะชนชั้น ความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงและเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงก็ไม่เท่ากัน
อาจารย์ปรีดีก็ใช้คำว่า “ข้อมูลก็ไม่เท่ากัน”
จุดยืนในการที่จะเดินไปสู่เป้าหมายไม่เท่ากัน ลักษณะขุนนางขุนศึก
เพราะว่าประกอบด้วยข้าราชการทหารและพลเรือนนักกฎหมาย
ก็เป็นวิธีคิดแบบขุนนางขุนศึกที่ทันสมัยและยอมรับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
แต่ในการต่อสู้เพื่อให้ได้บรรลุนั้น
ตรงนี้ดิฉันถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงทำให้การตัดสินใจในช่วงเวลา 10 กว่าปีนั้น
เป็นการตัดสินใจที่หลายอย่างอาจารย์ปรีดีก็มาเรียกว่าวิจารณ์ตัวเองกันว่าควรจะทำได้ดีกว่านั้น
อันนี้ก็คือปัจจัยภายในที่สำคัญคือในกลุ่มคณะราษฎร
ปัจจัยที่สองก็คือว่า
ความรอบรู้
ตระหนักถึงขีดความสามารถและความร้ายกาจของสิ่งที่เขาใช้คำว่าระบอบเก่ายังไม่เพียงพอ
คือโลกสวย โลกยังสวย ก็คือคิดว่ายึดอำนาจรัฐได้แล้ว ตกลงกันได้แล้ว ก็คือเดินหน้า
ไม่ได้เคยคิดว่าจะต้องถูกบังคับให้ถอยหลัง แต่ว่าจะเดินหน้าอย่างแบบสามัคคี
ดังนั้นการเอาพระยามโนปกรณ์นิติธาดามา การประนีประนอมจนกระทั่งยอมเขียนรัฐธรรมนูญ
2475 ฉบับที่ไม่ใช่ฉบับชั่วคราว โดยมีอาจารย์ปรีดีอยู่คนเดียวในคณะร่างรัฐธรรมนูญ
อันนี้เป็นการแสดงถึงการที่ไม่ได้ อาจารย์ปรีดีวิจารณ์ตัวเองด้วยนะคะว่า
ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องที่จะมีการทำลายขบวนการอย่างหนักหน่วยและทำประเทศถอยหลัง
ไม่ได้ตระหนักเช่นนี้ เพราะว่ามองว่าต้องสามัคคี รวมทั้งกลุ่มคณะเจ้า คณะราษฎร
แล้วก็คณะประชาชนทุกฝ่าย ดิฉันพูดในประเด็นสำคัญอันนี้
มาปัจจัยที่สามก็คือ
ไม่ได้ปลูกฝังอุดมการณ์และวิธีการของประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนมากเพียงพอ
เพราะว่าท่านก็พยายามที่จะแก้ปัญหาโดยที่ยึดหลัก 6 ประการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเอกราชทางศาล ซึ่งตรงนี้ก็สำคัญมาก
แล้วก็มาเผชิญกับปัญหาสงครามโลก ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น
การกระจายอุดมการณ์ของระบอบประชาธิปไตย การพยายามกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นยังน้อย
ปัจจัยที่สี่ที่สำคัญก็คือ
ไม่มีการปฏิรูประบบตุลาการ และไม่มีการปฏิรูปกองทัพ
เพราะว่าอาจารย์ปรีดีก็อยู่ในกลุ่มของนักกฎหมายที่ให้เกียรตินักกฎหมายด้วยกัน (มุ่งแก้กฎหมายให้ทันสมัยมากกว่าทำโครงสร้างระบบตุลาการ)
พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาท่านก็คุมกองทัพได้หมด เพราะฉะนั้นทหารสำคัญ ๆ
มากระทั่งถึง 2516 ยังอยู่ในสายเดิมของคณะราษฎรมาเป็นลำดับ
จนกระทั่งหมดไปในช่วงหลัง ไม่ได้มีการปฏิรูปเพราะคิดว่ามันดีอยู่แล้ว
แต่ไม่ได้ปฏิรูปให้สอดคล้องกับระบอบการเมือง
และสองระบบนี้ก็กลายมาเป็นอาวุธที่มาจัดการกับประชาชนรุ่นหลังดังที่เกิดอยู่ในปัจจุบันในสังคมไทย
ทำรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่า จับเข้าคุกครั้งแล้วครั้งเล่า
เมื่อมีการประท้วงแต่ละครั้ง กลุ่มแกนนำต้องต่อสู้คดีเป็นสิบ ๆ ปี
ของกลุ่มนปช.ก็ยังสู้มาจนถึงทุกวันนี้ ยังไม่หมด
และดิฉันก็เชื่อว่าของเยาวชนก็ยังจะต้องถูกดำเนินคดีต่อไป
ระบบตุลาการกับระบบกองทัพไม่ได้มีการจัดการ!
ปัจจัยที่ห้า
ดิฉันก็ถือว่าสำคัญก็คือ
ไม่มีการวางแผนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเมืองมาช่วยอาจารย์ปรีดี
อาจารย์ปรีดีนั้นก็มีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจระดับหนึ่งที่จะนำไปสู่รัฐสวัสดิการ
แต่ว่าในเวลาอันรวดเร็วก็ถูกขอร้องแกมบังคับให้เขียนแผน
จนกระทั่งกลายมาเป็นปัญหาคือสมุดปกเหลือง
แล้วก็กลายเป็นสิ่งที่ถูกตีตราว่าเป็นฝ่ายซ้าย (เป็นบอลเชวิค) อันตรายต่อทั้งกลุ่มคณะเจ้าหรือว่ากลุ่มจารีต
และเป็นอันตรายต่อจักรวรรดินิยมในเวลานั้นก็หมายถึงการแบ่งค่าย ดังนั้น คณะราษฎรจึงมีปฏิปักษ์ทั้งกลุ่มคณะเจ้าแล้วก็กลุ่มจักรวรรดินิยม
แล้วเขาผนึกกำลังกัน รวมทั้งข้าราชการชั้นสูงด้วย
จึงกลายเป็นอาวุธที่ทิ่มแทงสำคัญในการที่ยึดอำนาจและคว่ำคณะราษฎร
ปัจจัยที่หกที่ดิฉันถือว่าสำคัญอีกเหมือนกันก็คือ
ไม่ได้ทำพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง แน่นอนมีอุปสรรค
เพราะดังที่ดิฉันบอกแล้วว่าการออกแบบเรื่องเศรษฐกิจกับเรื่องการเมืองนั้นจะต้องมีคนที่เชี่ยวชาญมาช่วยอาจารย์ปรีดีซึ่งมุ่งทำงานทางด้านกฎหมาย
(ให้ได้เอกราช) และทางด้านฟื้นฟูงานต่างประเทศและงานการคลัง
ปัจจัยที่เจ็ดก็คือ
จากการที่ไม่ได้วางแผนในเรื่องเศรษฐกิจการเมืองได้ดีพอให้สอดคล้องกับสังคมไทยในเวลานั้น
จึงทำให้เกิดการเติบใหญ่ของรัฐราชการ
กลายเป็นรัฐวิสาหกิจและอยู่ในระบบอุปถัมภ์ตั้งแต่บัดนั้น
ทำให้รัฐข้าราชการอยู่ในระบบอุปถัมภ์อย่างเติบใหญ่
ปัจจัยสุดท้าย
ปัจจัยภายในที่สำคัญก็คือ เมื่อมีการแตกแยกขัดแย้งความคิดกันภายในคณะราษฎรเอง
ก็เท่ากับถึงจุดจบ
อันนี้ก็ถือว่านำเสนอปัจจัยภายในอย่างรวดเร็ว
ดิฉันดูแล้วว่าเวลาเราคงจะเหลือสั้น สำหรับปัจจัยภายในมันเป็นปัจจัยหลัก
แต่ปัจจัยภายนอกก็มีปัญหาก็คือคำถามว่า มันสอดคล้องกับความเป็นจริงมั้ย?
ในสังคมไทยในขณะนั้นซึ่งเป็นกึ่งเมืองขึ้น นั่นก็คือหลังสงครามโลก
โดยเฉพาะหลังสงครามโลก สหรัฐฯและชาติตะวันตกทำสงครามเย็น
เมื่อถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้าย ร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มอินโดจีน
อันนี้ก็เท่ากับว่าไม่ได้รับการสนับสนุนเต็มที่จากตะวันตกเหมือนเช่นเดิม เพราะลักษณะสังคมกึ่งเมืองขึ้น
แล้วสถาบันกษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัย
ร.5 มาเป็นลำดับ คือเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้นจริง
เรายินยอมเสียดินแดนเพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์และสิ่งที่เรียกว่าสถาบันชาติไว้
แต่ความจริงอำนาจการเมืองการปกครองนั้นน้อยมาก
เพราะสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทำให้พระมหากษัตริย์ไทยไม่ได้มีพระราชอำนาจจริง ๆ
โดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นเอกราชทางศาลก็สำคัญมาก และทำให้ไม่มีเอกราชในทางการปกครอง
ในรายละเอียดดิฉันก็คงไม่สามารถพูด ณ เวลานี้ได้
เอาเป็นว่าลักษณะที่เป็นกึ่งเมืองขึ้น ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นโดยนิตินัย
แต่เป็นเมืองขึ้นโดยพฤตินัย ก็ทำให้สถาบันจารีตนิยมและสถาบันกษัตริย์ไทยดำรงอยู่ได้
ไม่เป็นอาณานิคม ไม่ถูกทำลาย และยังสามารถแข็งแกร่งด้วยสงครามเย็น
เพราะจะเป็นเครื่องมือชั้นดีของสหรัฐฯ ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์
ดังนั้น
จึงเท่ากับว่าพลังจารีตผนึกกำลังกับจักรวรรดินิยมกล้าแข็ง
และนี่ก็คือสิ่งที่ทำให้พลังจารีตอำนาจนิยมไทยกล้าแข็งเติบใหญ่แทนที่จะถูกทำลาย
เพราะถ้าประเทศเป็นอาณานิคมแบบพม่า แบบมาเลเซีย แบบกัมพูชา แบบเวียดนาม
สถาบันจารีตถูกกำจัดหมด เขาสามารถสถาปนาระบอบประชาธิปไตยได้ชั่วข้ามคืน
แต่ของเราสถาบันจารีตอำนาจนิยม ทหาร ตุลาการ รวมทั้งกลุ่มต่าง ๆ ยังดำรงอยู่ ไม่ได้ดำรงอยู่แบบโดดเดี่ยว
ดำรงอยู่อย่างเป็นเครือข่าย ดำรงอยู่อย่างมีฐานเศรษฐกิจรองรับด้วยไม่ได้ถูกทำลาย
ซึ่งเราก็คงจะประจักษ์ว่าในขณะนี้ความมั่งคั่งและรวมทั้งที่ดินนั้นไปกระจุกตัวอยู่ชนชั้นบน
ลักษณะพิเศษของศักดินาไทยก็คือที่ดินเป็นของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด ขุนนางตายไป ริบที่ดินก็ต้องกลับมาอยู่กับพระมหากษัตริย์
เพราะฉะนั้น อำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สิน เกี่ยวกับเศรษฐกิจก็ยังดำรงอยู่แข็งแรง
ทางการเมืองการปกครองก็อาจจะถูกลดบทบาทแบบประนีประนอมเท่านั้นเอง
นี่จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่คุกคามและทำให้คณะราษฎรไม่อาจบรรลุได้
อันที่สองก็ลักษณะของจารีตนิยมหรือว่าสังคมที่เป็นกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา
นอกจากปัญหาทรัพย์สินที่ดิน ขุนนางก็ไม่มีพลานุภาพไม่เหมือนอังกฤษที่เป็น Landlord
ของไทยไม่มี ที่ดินรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น
แล้วลักษณะของศักดินาในประเทศไทยนั้น มันมีอำนาจในระบบอุปถัมภ์ของในรัฐราชการ
ในกลุ่มเครือข่าย ในกองทัพ ในตุลาการ ในทุกสาย
อันนี้ก็เรียกว่าเป็นเครือข่ายที่ดิฉันเคยใช้คำว่า “เครือข่ายระบอบอำมาตยาธิปไตย”
หรือว่าที่ ดันแคน แมคคาร์โก เขาใช้คำว่าเป็น “เครือข่ายพระมหากษัตริย์” ตรง ๆ เลย
แต่ว่ามันเป็นเครือข่ายที่มันไม่ใช่เพียงแต่อำนาจเฉย
ๆ แต่มันหมายรวมถึงอุดมการณ์และความคิด พูดตรง ๆ
ว่าลักษณะไพร่กับขุนนางมันดำรงอยู่ยาวนาน กระทั่งปัจจุบัน เป็นไพร่สมัยใหม่
ขณะนี้ถ้าคุณลองไปสำรวจวิธีคิดแบบจารีตอำนาจนิยม กับแบบเสรีประชาธิปไตย
ยังมีอยู่ไม่ใช่น้อยนะ กลุ่มแนวคิดอนุรักษ์นิยม ดังที่ดิฉันได้บอกเลยว่า 30/30
แล้วก็อีก 30 ตรงกลางพร้อมที่จะสวิงไปอยู่กับจารีต หรืออีก 30
ตรงกลางนี้อาจจะสวิงมาอยู่กับเสรีนิยม แต่ในกรณีกรุงเทพฯ คนส่วนใหญ่ยังเป็นจารีต
คือคิดสองแบบ ถ้าเป็นคนจนก็คิดแบบไพร่ ถ้าเป็นคนชั้นกลางหรือขุนนางก็คิดแบบขุนนาง
นี่คือเป็นความคิดในระบบเก่าศักดินาที่ดำรงอยู่
ดังนั้น
นี่จึงเป็นอุปสรรคอย่างยิ่ง เพราะการเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยนั้น
มันต้องมีชนชั้นนายทุนอิสระ แต่เราขาดชนชั้นนายทุนอิสระ
ดิฉันเห็นบางท่านนั่งคิดอยู่ว่าทำไมนายทุนอิสระเมืองไทยถึงไม่มี
เพราะว่าสังคมศักดินาของไทยนั้นมันกล้าแข็งมาก เราไม่มีผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ทุกอย่างก็คือต้องทำให้วังให้วัด สำหรับไพร่คือเข้าเดือนออกเดือนอยู่ส่วนหนึ่ง
ดิฉันเองมีคนที่ทำงาน เขาก็ต้องไปทำนาอยู่ปีละ 4-5 เดือน
แล้วก็มาทำงานกับเราอีกส่วนหนึ่ง ก็ยังพูดขำ ๆ ว่าเหมือนเข้าเดือนออกเดือน
แต่ว่าเข้าหกเดือนออกหกเดือน แต่เข้านี่อันนี้ได้นะถ้าสมัยโบราณก็คือคุณไม่ได้
คุณต้องรับใช้พระมหากษัตริย์เท่านั้นอย่างเดียว แล้วเหลือเวลาอีกครึ่งไปทำมาหากิน
นี่ยกตัวอย่าง
ดังนั้นหมายความว่า
นอกจากทัศนะชนชั้นของคณะราษฎรและปัจจัยภายในอื่น ๆ แล้ว ปัจจัยภายนอกของสงครามเย็น
ของสภาพสังคมกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา มันเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง
เราไม่มีชนชั้นนายทุนอิสระมากพอ เมื่อไม่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในการผลิตเราก็ไม่มี
เราก็ไม่มีนายทุนการผลิตอุตสาหกรรม เรามีแต่นายทุนพาณิชย์ นายทุนการเงิน นายทุนที่สวามิภักดิ์กับระบอบเดิม
เรามีนายทุนที่ต้องการสายสะพาย อาจารย์บางคนก็ไประบุว่าอาจจะเป็นเพราะว่านายทุนประเทศไทยเป็นนายทุนเชื้อสายจีน
แล้วก็เลยไม่กล้าที่จะทำการ คือยังมีความคิดที่คิดว่าหนีร้อนมาพึ่งเย็น
อันนั้นก็ถูกเหมือนกัน แต่เอาเป็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมไพร่กับขุนนาง
นายทุนก็นำเข้า ส่วนใหญ่มาจากจีน กรรมกรเริ่มต้นก็นำเข้ามาจากจีน
แล้วทุกวันนี้คนไทยจำนวนมากถ้าจะเป็นกรรมกรก็ไปต่างประเทศหรือว่าทำงาน (กรรมกรในระบบ)
ระดับหนึ่ง เราก็ต้องนำเข้ากรรมกรจากประเทศข้างเคียงมาจนถึงปัจจุบัน
เพราะฉะนั้น
ปัญหาชนชั้นในสังคมไทยยังเป็นไพร่ ยังเป็นขุนนาง ยังเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง
ดิฉันก็เอาย่อ ๆ ตรงนี้ แล้วก็ทำนายไปถึงว่าแล้วต่อไปจะเป็นไง? นี่ 90 ปี 100 ปี อีก 10 ปีเท่านั้น
อ.ธิดาอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ตอนนั้น แต่พูดเอาไว้ก่อนว่าถ้าเรามองไปข้างหน้า ก็คือ
ปัญหาการฟื้นอำนาจจารีตนิยมยังอยู่ต่อไปมั้ย? เราลองดู Scenario (ฉากทัศน์)
Scenario
I ก็คือ 3ป. ยังอยู่ พปชร. สามารถทำพรรครวมกับ
ปชป. กับภูมิใจไทย เป็นแบบอัมโน เข้มแข็งขึ้น ใกล้ชิดขึ้น
อาจจะมีพรรคเล็กบางพรรคซึ่งไม่รู้จะสอบได้หรือเปล่า อันนี้นี่มองแบบว่าการเลือกตั้งต่อไปมีบัตรสองใบ
แล้วก็หารด้วย 100 ไม่ใช่หารด้วย 500 อันนี้ก็คืออยู่ต่อไป
นั่นก็แปลว่าอำนาจนิยม จารีตนิยม ยังดำรงอยู่ ก็อยู่อย่างนี้ แปลว่า 100 ปีก็อยู่อย่างนี้
เพราะว่าเขาได้สร้างความเข้มแข็งในช่วงเวลาหลังได้อย่างมากมาย
หรือ
Scenario II พรรคฝ่ายค้านรวมกันได้เป็นรัฐบาล คือได้คะแนนสูง
เพราะว่าคนเจนเนอเรชั่นใหม่ 100% ไม่เอาพรรคจารีต
ไม่เอาพรรคทหารแน่นอน แต่ก็ต้องไปสู้กับในบางพื้นที่ เช่น ภาคใต้ ภาคกลาง
และกรุงเทพฯ บางส่วนซึ่งยังมีประชาชนอนุรักษ์นิยม มันก็เป็นไปได้ Secnario
II ที่ว่าพรรคฝ่ายค้านจะชนะ แต่ดิฉันมองแล้วว่า ตราบใดที่ไม่สามารถทลายเครือข่ายจารีตนิยม
อำนาจนิยมได้ คุณยังมีรัฐธรรมนูญอันนี้อยู่ คุณยังมี ส.ว. ชุดนี้
ถ้ายังมีสิ่งเหล่านี้อยู่ครบ พรรคฝ่ายค้านเป็นรัฐบาลก็ต้องถูกจัดการ จัดการวิธีใดวิธีหนึ่งโดยที่คล้าย
ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วที่ประชาธิปัตย์เคยจัดการมาตลอด เช่น
บอยคอตการเลือกตั้ง ยุบสภาก็บอยคอตการเลือกตั้ง
เคยมีประมุขของบางประเทศที่เคยเจอกับดิฉันแล้วเขาบอกประเทศไทยนี่
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ควรยุบสภาง่าย ๆ เพราะว่ามันจะต้องเกิดปัญหาขึ้นมา
แล้วมันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยุคคุณทักษิณ หรือยุคคุณยิ่งลักษณ์ก็ตาม
ดังนั้น
มันก็จะเกิดการต่อสู้ทั้งทางความคิดและการกระทำอย่างขนานใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันใน 10
ปีข้างหน้า เยาวชนกลุ่มที่ถูกจับถูกคุมขังถูกดำเนินคดี คดีก็ยังอยู่นะคะ ดังนั้นใน
Scenario II
ก็คือฝ่ายประชาชนลุกขึ้นต่อสู้ทั้งวิถีทางรัฐสภาและนอกรัฐสภา และเมื่อเป็นเช่นนี้มันก็จะเกิด
Scenario III คือการทำรัฐประหาร
อันนี้เป็นสิ่งที่เรามองไปข้างหน้า นี่ก็อาจจะเกิดขึ้น
ดิฉันยังอยากให้มีการเติบใหญ่ของขบวนการประชาธิปไตย
ทั้งในเวทีรัฐสภาและในเวทีประชาชน ก็คือแบบที่สอง อาจจะไม่สำเร็จ
แต่ขอให้สะสมชัยชนะ ที่แล้วมาเราเหลียวหลังไปดู 90 ปี
ดูเหมือนว่าเราพ่ายแพ้ แต่ดังที่ได้บอกว่าเวลาเป็นของประชาชน
คนรุ่นใหม่ก็ไม่ใช่ฝ่ายจารีตนิยมดั้งเดิมแล้ว ดังนั้นต้องมีความสุขุมรอบคอบ
แล้วก็ต้องเข้าใจว่าเราได้สืบต่อการต่อสู้เพื่ออำนาจประชาชนมาเป็นเวลานาน
ประเทศที่เป็นเจ้าของอาณานิคมเอง กว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตยเขาใช้เวลานับร้อยปี
แต่นั่นสถาบันกษัตริย์มีการต่อสู้กับพวกขุนนาง เพราะว่าขุนนางลุกขึ้นมาต่อสู้
แล้วก็นายทุนลุกขึ้นมาต่อสู้ ของเราไม่มีขุนนางลุกขึ้นมาต่อสู้
มีแต่นายทุนที่ไปตั้งพรรคไม่ได้คิดจะมาต่อสู้ ก็ถูกคิดว่าจะมาต่อสู้
เราไม่มีขุนนางใหญ่ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ กลับเป็นส่วนเครือข่ายจารีตนิยม อำนาจนิยม
ปัญญาชนก็กลายเป็นขุนนาง กรรมกรก็กลายเป็นกรรมกรขุนนาง
เอ็นจีโอก็เป็นเอ็นจีโอขุนนาง ทั้ง ๆ
ที่สังสรรค์กับไพร่เพราะกลัวพรรคการเมืองนายทุนบอกว่าเป็นนายทุนสามานย์ กลายเป็นว่าไปร่วมกับเครือข่ายจารีตอำนาจนิยม
ตอนนี้มีพรรคการเมืองหลายพรรค
สถานการณ์มันมีทั้งบวกและมีทั้งลบ ด้านลบก็กลัวว่าจะแย่งเสียงกัน ด้านบวกก็คือช่วยกันพัฒนา
แต่ดิฉันมองด้านบวก ดิฉันคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นอีก 10 ปี
ดิฉันจะสามารถมานั่งพูดอย่างนี้ได้หรือเปล่า อยู่หรือไม่อยู่
หรืออยู่แล้วพูดไม่ไหวแล้วก็ได้ เพราะว่าเวลามัน 10 ปี
มันก็ไม่เร็วก็ไม่ช้าเหมือนกัน ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ว่าชัยชนะของประชาชนนั้นเป็นสัจธรรม
มันใช้เวลา แต่เวลาเป็นของประชาชน ก็คือ
ที่จริงฝั่งจารีตนิยมอำนาจนิยมเขาก็ทำแบบนี้นะ ก็คือ จะเรียกว่าการแก้แค้นก็ได้
หรือการเอากลับ เขาก็ใช้เวลา แล้วใช้ความพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีก
แต่ประชาชนจะเอากลับนั้นมันชอบธรรมกว่า มันถูกต้องกว่า มันมีอนาคตกว่า
ดังนั้นต้องพากเพียรและก็หลีกเลี่ยงความเสียหายมากที่สุด
ดิฉันคิดเอาว่า
100 ปี มันน่าจะเป็นเวลาที่ขบวนการประชาชนเติบใหญ่อย่างมากในทางความคิด
แล้วในเวทีรัฐสภาก็สามารถเติบใหญ่ได้เช่นกัน เพราะยิ่งนอกรัฐสภาถูกรังแกเท่าไร
ในรัฐสภาก็จะยิ่งได้คะแนนมากเท่านั้น เพราะว่าเรายังไงเราก็ต้องใช้ระบบสองขา
แต่ว่าเราไม่จำเป็นต้องเสริฟจานร้อน เสริฟจานเย็น แต่เสริฟให้มาก
มันก็ต้องตรงเข้าสักจานเหมือนกัน
#ธิดาถาวรเศรษฐ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์