จากบทบรรยาย
"ยุทธการยิงนกในกรง"
(เหตุการณ์หลัง 10 เมษายน 2553 – 20 พฤษภาคม 2553)
หลังเหตุความรุนแรงในเหตุการณ์วันที่
10 เมษายน 2553 ยุติลง
และมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
ความชอบธรรมในการบริหารประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ดูเหมือนว่าจะหมดลง
เพราะการใช้กำลังในการปราบปรามประชาชนผู้บริสุทธิ์ และการกระทำการอันรุนแรง
จนทำให้เกิดความสูญเสียทั้งฝ่ายประชาชนและฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ
แทนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์จะแสดงความรับผิดชอบในครั้งนั้น
รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ใช้วาทกรรม “ชายชุดดำและกองกำลังติดอาวุธ” เป็นการแก้ปัญหา
และเหมือนว่าความพยายามในการอยู่ในอำนาจของเผด็จการอำมาตย์อย่างได้ผล
เพราะจากการที่ได้รับข้อมูลบางอย่างจากภาพถ่ายคลิปวีดีโอสั้น ๆ
ที่ซื้อมาจากช่างภาพไม่ปรากฏนามจากสำนักข่าวอัลจาชีรา
ที่นำเสนอภาพชายชุดดำได้ในเงาลาง ๆ ซึ่งน่าสังเกตว่า
มีสำนักข่าวนี้สำนักเดียวนำมาแสดง
และนั่นเป็นข้ออ้างที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้เพื่ออยู่ในอำนาจต่อไป
และรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีนโยบายที่ชัดเจนในการใช้การทหารเป็นกลไกหลักของการแก้ปัญหาทางการเมืองครั้งนี้
และเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้มีนโยบายที่ชัดเจนมากขึ้นในการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์
โดยสั่งการมายังกองทัพของรัฐบาลอภิสิทธิ์และเป็นที่มาของความรุนแรงของการปฏิบัติการในยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุม
อ้างอิงจากบทความเรื่อง “บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม พื้นที่ราชประสงค์ 14-19 พฤษภาคม
พ.ศ. 2553 จากวารสารเสนาธิปัตย์ ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2553” ซึ่งเขียนขึ้นโดยนายทหารในกองทัพ โดยเหตุผลของการเขียนบทความนี้
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการทางทหารกรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง
ซึ่งเป็นดำริของเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร
ซึ่งบทความนี้อาจกล่าวได้ว่า
เป็นข้อสรุปที่ภาคภูมิใจของกองทัพจากการปฏิบัติภารกิจที่เกิดขึ้นจริงของทหาร
ในการใช้ความรุนแรงเพื่อฆ่าประชาชนในเดือนพฤษภาคม 2553
ถ้าหากว่าความสำเร็จที่ทหารได้มาในครั้งนี้เป็นความสำเร็จด้วยการรบระหว่างทหารกับทหารแล้ว อาจจะถือว่าเป็นชัยชนะ แต่เมื่อยุทธการนี้ใช้กับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่เพียงแค่ต้องการให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยุบสภาแล้วลาออก คืนอำนาจให้กับประชาชน พร้อมรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของคนเสื้อแดง จึงเป็นคำถามของคนทั่วโลกว่าน่าภูมิใจหรือไม่? และควรหรือไม่ที่ใช้ยุทธศาสตร์ทางการทหารแทนที่จะใช้ยุทธศาสตร์ทางการเมืองในการแก้ปัญหา
หลังเหตุการณ์วันที่
10 เมษายนผ่านไป ทางด้านฟากฝั่งของทหารหลังจากเหตุการณ์นั้นก็ได้เก็บตัวอย่างเงียบเชียบ
ไม่มีปฏิบัติการใด ๆ ออกมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
และได้อาศัยช่วงเวลานั้นทำการประชุมอย่างเร่งด่วนเพื่อสรุปผลของยุทธการขอคืนพื้นที่ในวันที่
10 เมษา 53 และระดมความคิดเห็นเพื่อหายุทธวิธีในการซักซ้อมและปราบปรามประชาชนอย่างเคร่งเครียด
ซึ่งก็พบจุดอ่อนหลายจุดจากความพ่ายแพ้ในครั้งนั้น
รวมถึงพบยุทธวิธีที่ประสบความสำเร็จในเหตุการณ์ครั้งนั้น
การใช้พลซุ่มยิงและหน่วยสไนเปอร์เป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และได้เริ่มทำการฝึกฝนควบคู่ไปกับการซ้อมยุทธวิธีต่าง ๆ อย่างหนักภายในค่ายทหาร ในขณะที่คนเสื้อแดงยังชุมนุมและร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน เพราะไม่คิดว่าทหารจะกล้าใช้มาตรการอันโหดเหี้ยมกับประชาชน และเมื่อแผนการและขั้นตอนต่าง ๆ ได้ถูกวางแผนเสร็จสิ้น การดำเนินการต่าง ๆ ก็เริ่มขึ้นโดยทหารใช้ชื่อแผนยุทธการนี้ว่า “ยุทธการกระชับวงล้อม – พื้นที่ราชประสงค์”
#ยุติธรรมไม่มี12ปีเราไม่ลืม #คนเสื้อแดง
#UDDnews
#ยูดีดินิวส์
อ้างถึง : วารสารเสนาธิปัตย์ ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2553 ของกรมยุทธศึกษา กองทัพบก [ลิ้งค์ https://online.fliphtml5.com/hubo/wqrz/#p=76]