วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

“ทนายกฤษฎางค์” บุกสนง.อัยการสูงสุด ขอความเป็นธรรม ระบุ “ตะวัน” ไม่มีโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ตร.ไม่สอบพยานฝ่ายตะวัน ร้องให้อสส.เป็นฝ่ายสอบสวนเอง

 


“ทนายกฤษฎางค์” บุกสนง.อัยการสูงสุด ขอความเป็นธรรม ระบุ “ตะวัน” ไม่มีโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ตร.ไม่สอบพยานฝ่ายตะวัน ร้องให้อสส.เป็นฝ่ายสอบสวนเอง


วันนี้ (23 พ.ค. 65) เวลา 15.00 น. ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะทนายความของ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ อายุ 20 ปี นักเคลื่อนไหวอิสระ ได้มายื่นหนังสือของความเป็นธรรม โดยมีนายอิทธิพร แก้วทิพย์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ลงมารับหนังสือด้วยตนเอง


นายกฤษฎางค์  กล่าวว่า ขณะนี้ น.ส.ทานตะวันไม่มีโอกาสได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ตำรวจไม่สอบพยานของ “ตะวัน” เลยในชั้นสอบสวน จึงอยากขอให้ท่านอัยการสูงสุดพิจารณา และได้ระบุพยานมาทั้งหมด 3 ปาก คือ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุผลเพราะท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเชิงประวัติศาสตร์ ว่าการกระทำของ “ตะวัน” ที่ไปรับเสด็จเป็นความผิดที่ราษฎรไม่บังควรทำหรือไม่?


ท่านที่ 2 เราเชิญท่าน อ.พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งท่านจะให้ความเห็นได้ชัดเจนว่า ความหมายของคำว่าสถาบันพระมหากษัตริย์กับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมันมีข้อกำหนดอย่างไร และการกระทำของ “ตะวัน” ไม่น่าจะเป็นความผิด


ท่านที่ 3 อ.รณกร บุญมี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านเป็นคนที่มาให้ความเห็นในหลาย ๆ กิจกรรมเกี่ยวกับมาตรา 112 ที่จะอธิบายคำว่าดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้ายคืออะไร ซึ่งอันนี้มันเป็นทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงในตัวของมันเอง


ทนายกฤษฎางค์ กล่าวว่า ตนหวังใจว่าทางอัยการสูงสุดท่านคงจะเห็นความจำเป็นที่จะให้ความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องมีข้อกังวลว่า “ตะวัน” จะหนีเมื่อครบกำหนดฝากขัง เพราะว่าเด็กคนนี้เมื่อตำรวจเรียกมาในครั้งแรกก็มาตามหมายเรียก ก็ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป ศาลเรียกมา ก็มาทุกครั้ง และเขาก็ไม่เคยคัดค้านว่าเด็กจะหลบหนี แม้คดีอาจจะต้องใช้เวลาเกินกว่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่กี่วัน ก็ไม่ได้เป็นประเด็น เพราะสามารถนำตัวของ “ตะวัน” มาขึ้นศาลได้อยู่แล้ว ผมว่าการนำตัว “ตะวัน” มาขึ้นศาลเป็นข้อสำคัญน้อยกว่าเรื่องสิทธิเสรีภาพและโอกาสที่จะต่อสู้คดีมากกว่า ผมว่าเราไม่ควรจะรีบร้อนทำอะไรไป เพราะถ้าเกิดความเสียหายต่อ “ตะวัน” ไป อย่างที่คุณถามเรื่องอดข้าว อันนี้ก็เป็นวิถีการต่อสู้ของแต่ละคน เพราะในประวัติศาสตร์เราก็เห็นว่านักต่อสู้ทั้งในไทยและต่างประเทศก็ใช้วิธีการต่อสู้แบบนี้เหมือนกัน ซึ่งอันนี้ก็เป็นทางเลือกของเขา ทนายความหรือคนอื่นก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปบงการอะไรได้ เพราะเมื่อไม่มีโอกาสออกมาต่อสู้ ถึงต้องใช้วิธีนี้ ทนายกฤษฎางค์ กล่าวในที่สุด


ด้านนายอิทธิพร เปิดเผยว่า เรื่องนี้คงต้องนำเสนอให้ อัยการสูงสุดพิจารณา ซึ่งทางเราจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ระยะเวลาฝากขังครั้งสุดท้าย ที่พนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องขอฝากขังเอาไว้ และจะครบภายในวันที่ 29 พ.ค.นี้ การที่ทางทนายของ น.ส.ทานตะวันได้มายื่นเอกสารวันนี้ทางเราก็จะรีบดำเนินการภายในวันนี้ทันที ส่วนจะมีคำสั่งอย่างไรต่อไปเป็นเรื่องดุลยพินิจของคณะกรรมการทำงาน ในส่วนของการให้ประกันตัวนั้นตนขอเรียนว่าเป็นอำนาจของทางศาล ที่ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาให้ฝากขังต่อหรือไม่ เพราะในคดีของมาตรา 112 เองก็มีผู้ต้องหาหลายคนที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เพราะไม่ได้มีการกระทำที่จะไปก่อความวุ่นวาย และกระทำความผิดซ้ำอีก


เมื่อถามความเห็นของอัยการต่อปัญหาสุขภาพของ น.ส.ทานตะวัน นั้น นายอิทธิพร กล่าวว่า บอกตามตรงก็ไม่อยากให้อดอาหาร การที่คุณถูกดำเนินคดีแล้วอดข้าวประท้วงก็ไม่ใช่ทางแก้ไขที่ดี เพราะควรจะมีสุขภาพสมบูรณ์ มาดำเนินคดีพิสูจน์ความจริงว่าเป็นอย่างไรมีเจตนาอย่างไร ก็ฝากว่าขอให้ทานอาหารเถอะ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหาหนังสือขอความเป็นธรรมนั้น ระบุไว้ดังนี้


เรื่อง ขอความเป็นธรรมและขอให้สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม คดีหมายเลขดำที่ 4 252/2555 ของศาลอาญา


ตามที่พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ได้ส่งสำนวนคดีอาญาที่ได้สอบสวน แล้วซึ่งมี น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ (อายุ 20 ปี) เป็นผู้ต้องหาเสนอมาที่พนักงานอัยการเพื่อพิจารณา และ ขณะนี้พนักงานอัยการได้รับสำนวนคดีดังกล่าวไว้แล้ว และได้ยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลอาญาไว้เมื่อวันที่ 20 พ.ค.65 รายละเอียดปรากฏตามสำนวนคดีดังกล่าว ซึ่งพนักงานอัยการได้รับไว้แล้ว


ข้าพเจ้าในฐานะทนายความของนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวดัง ปรากฏตามสำเนาใบแต่งทนายความที่ส่งมาพร้อมหนังสือฉบับนี้ มีความประสงค์ที่จะยื่นร้องขอความเป็น ธรรมจากอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหาในการพิจารณาสั่งคดี ทั้งนี้ผู้ต้องหารายนี้ ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสอบสวนของพนักงานสอบสวนอย่างมาก จนเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาไม่สามารถ พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองได้ตามกฎหมาย จึงขอความเป็นธรรมจากท่านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้


ข้อ 1 ในสำนวนคดีนี้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า พนักงานสอบสวนได้นำหมายจับของศาล ไปจับกุมตัวผู้ต้องหาตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 65 และแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่มีอายุ เพียง 20 ปีในข้อหาอุกฉกรรจ์หลายข้อหาดังปรากฏในสำนวนแล้ว ทั้งที่พฤติการณ์ที่อ้างมานั้นล้วนแต่เป็น ข้ออ้างที่เลื่อนลอยขาดเหตุผลรองรับข้อกล่าวหา โดยเจตนากลั่นแกล้งผู้ต้องหาซึ่งมีความคิดเห็นทางการเมือง ขัดแย้งกับรัฐบาลเท่านั้น


ข้อ 2 ภายหลังจากที่จับกุมตัวผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนได้ฝากขังผู้ต้องหาจนถึงบัดนี้ นับเป็นเวลา 78 วันแล้ว โดยพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวมาโดยตลอด ซึ่งในขณะนี้ผู้ต้องหา ถูกขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกรุงเทพ และโดยพฤติการณ์แห่งการสอบสวนคดี พนักงานสอบสวนเร่งรัดการ สอบสวนโดยสอบเฉพาะพยานของผู้กล่าวหาเท่านั้น โดยพนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนพยานของผู้ต้องหา แต่อย่างใด ทั้งที่ผู้ต้องหาร้องขอให้สอบสวนพยานของฝ่ายผู้ต้องหาหลายครั้ง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการ ละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา และเป็นการกระทำที่ผิดต่อประมวลวิธีพิจารณาความอาญาอย่างร้ายแรงเพราะ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่พิสูจน์ความผิดและความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม ต่อผู้ต้องหา


ข้อ 3 การที่ผู้ต้องหาถูกขังไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกรุงเทพจนบัดนี้จึงทำให้ไม่มีโอกาส ต่อสู้คดีนี้อย่างเต็มที่ในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด


ด้วยเหตุผลที่เรียนมาทั้งหมดข้างต้นผู้ต้องหาเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการ คดีนี้ ทั้งนี้โดยผู้ต้องหามีความประสงค์ที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนในชั้นสอบสวนเพื่อให้พนักงานอั คำสั่งไม่ฟ้องคดีนี้


ข้าพเจ้าในฐานะทนายความของผู้ต้องหาจึงขอเรียนขอความเป็นธรรมจากอัยการสูง พิจารณาและมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคดีนี้ทำการสอบสวนพยานผู้มีรายนามดังต่อไปนี้เพื่อพิสูจน์ บริสุทธิ์ของผู้ต้องหา


1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาส พิสูจน์ประเด็นเกี่ยวกับการกระทำขอผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาในเชิงธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติในประวัติศ ชาติไทยว่าไม่ได้เป็นการติดต่อประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด


2. อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศาสตร์ และอดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิสูจน์ประเด็นเกี่ยวกับการกระทำของผู้ต้องหาว่าไม่ ความผิดต่อกฎหมายและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นเสรีภาพที่ได้รับการปกป้องจากกฎหมาย


3. อาจารย์รณกร บุญมี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ เกี่ยวกับการกระทำของผู้ต้องหาว่าไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตราอื่นตามที่ กล่าวหาแต่อย่างใด


จึงขอให้อัยการสูงสุดได้พิจารณาให้ความเป็นธรรมและมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวน ดำเนินการสอบสวนพยานที่ระบุข้างต้นตามประเด็นที่ระบุไว้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาต่อไป อนึ่งเนื่องจากขณะนี้ผู้ต้องหาถูกคุมขังอยู่และมีสภาพร่างกายที่อิดโรยมากไม่สามารถ ขอความเป็นธรรมได้ด้วยตัวเอง ข้าพเจ้าในฐานะทนายความของผู้ต้องหาจึงมาดำเนินการแทน


#เมื่อตะวันส่องฟ้า #ปล่อยเพื่อนเรา

#ตะวัน #มาตรา112

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์