“ทนายกฤษฎางค์”
ฝากให้คิดว่าทำอย่างไร เด็ก ๆ ถึงได้รับการปล่อยตัว
ต้องช่วยกันเรียกร้องให้ศาลปฏิบัติตามกฎหมาย
วานนี้
(14 พ.ค. 65) มีการจัดวงเสวนา “การประกันตัว:
ผดุงกระบวนการยุติธรรมหรือกดปราบประชาชน?” ที่ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาเเละมนุษยวิทยา
ชั้น 4 ตึกคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง - คนส. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
(ครช.) และ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group – DRG
ทั้งนี้
ทนาย กฤษฎางค์ นุตจรัส (จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) กล่าวว่า
มีประสบการณ์ที่ขมขื่นมากกับการต้องทำเรื่องปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันตัวให้กับนักกิจกรรมทางการเมืองและเยาวชน
ฟังดูเหมือนเป็นความฝันนะว่าประเทศนี้มีระบบตรวจสอบผู้พิพากษามีการใช้ดุลยพินิจอย่างไร
แล้วก็มีสำนักงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราว
ผมเชื่อว่าถ้ามีการแก้ไขให้เป็นแบบนี้ในประเทศไทย เราก็จะได้ระบบห่วย ๆ ขึ้นมากอีก
เพราะคนของประเทศเรามันเฮงซวย
ผมยังโทษคณะนิติศาสตร์ที่ผมจบมาว่า
เราเป็นโรงงานผลิตใครเขาไปสู่ระบบตุลาการว่ะ เราผลิตคนที่สอบเนฯ ได้
จำข้อกฎหมายได้ แต่เป็นคนที่ไม่มีจิตสำนึกในความยุติธรรม ผมเข้าใจว่าโดยระบบการถ่ายทอดอาจจะมีผู้พิพากษา
อัยการ หรือตำรวจ ฟังอยู่ด้วย ผมอยากจะบอกว่าอย่างนี้ครับ ก่อนจะเข้าเรี่องนะ ผมสิ้นหวังในสิ่งที่พวกท่านทำ
ตั้งแต่พนักงานสอบสวน อัยการ และศาล ผมว่าขาดความกล้าหาญ เรียกร้องเป็นแต่เงินเดือนและตำแหน่งหน้าที่
แต่ความจริงแล้วคนที่จบกฎหมายแล้วไปทำงานตรงนี้มันไม่ใช่มีหน้าที่แค่ทำงานยศฐาบรรดาศักดิ์
ต้องพร้อมที่จะตายไปกับความยุติธรรม
ตำรวจ
สน. ที่เราได้ยินชื่อหมด สำราญราษฎร์ นางเลิ้ง ปทุมวัน ชนะสงคราม มันไม่ได้มีความหมายอะไรเลย
ถ้าท่านฟังอยู่ผมจะถามว่าคุณเคยกล้าที่จะตัดสินใจทำอะไรดีๆ บ้างมั้ย? กับประชาชน
คือผมอยู่กับตรงนี้มาตั้งแต่รัฐประหาร ประยุทธ์ 57 มาจนถึงทุกวันนี้
ผมเห็นอะไรบางอย่างว่าการปล่อยตัวชั่วคราวหรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่าประกันตัว
ก็คือเครื่องมือของรัฐที่ใช้ในการกำราบผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน
เอาเหตุการณ์ปัจจุบันตอนนี้คือ วันนี้เป็นวันที่ 24 แล้วที่ “ตะวัน”
อดอาหาร “ตะวัน” เด็กอายุ 20 เรียนหนังสืออยู่ที่สิงคโปร์
แสดงความคิดเห็นโดยการทำโพลรับเสด็จว่าขบวนเสด็จทำความเดือดร้อนให้คุณหรือเปล่า?
ก็เขาทำทั้งสองอัน เดือดร้อน/ไม่เดือดร้อน
ผมไม่เห็นว่ามันหนักหนาสาหัสอะไรจนต้องเอาเด็กไปขังเอาไว้
คุณไม่ให้โอกาสเขาต่อสู้คดีเลย “ตะวัน” กับผม หลังจากเขาเข้าคุกไปแล้ว
เจอกันทางจอทีวีที่เขาถ่ายทอดเท่านั้นเอง เอกสารที่เอามาให้ดู “ตะวัน” ไม่เคยได้ดู
อะไรคือหลักที่ว่าให้เขาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ผมถามอธิบดีศาลอาญา
ประธานศาลฎีกาด้วย คุณกำลังทำลายระบบยุติธรรม ทำให้ผู้คนเขาหมดศรัทธา
วันก่อน
เมื่อวันพฤหัส ผมไปเข้าพบอธิบดีศาลอาญา คุยกันหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งที่เขาอยากฝากมา
ผมก็จะบอกฝากพวกเรา เขาบอกว่าการที่ศาลอาญาไม่ให้ประกันเด็ก ๆ ที่ตอนนี้ติดคุกอยู่
11 คน ไม่มีใครสั่งนะ เป็นดุลยพินิจของศาลเอง แต่ละคน แต่ละคดี
นี่ผมได้ทำหน้าที่ของผมแล้วนะฮะท่านอธิบดี คือได้มาบอกว่าท่านได้พูดแบบนี้
แต่จะมีใครเชื่อท่านหรือเปล่า? ผมไม่การันตี เพราะมันเห็นชัดเจนอยู่แล้ว ในวันที่
ที่เมื่อกี้มีน้องเมพูดถึงเรื่องคุณสมบัติ ทองย้อย ศาลชั้นต้นลงโทษ 1 ปี อุทธรณ์ฎีกาไม่ให้ประกันตัว ในวันเดียวกัน
นี่ผมไม่ได้เทียบว่าใครถูกใครผิด เพราะตัวจำเลยเขาก็มีสิทธิ์ต่อสู้อยู่แล้ว 2 กปปส. ที่ไปปิดสถานีโทรทัศน์ NBT ถูกจำคุก 1 ปี ข้อหาร้ายแรงกว่าสมบัติเยอะแยะ ให้ประกันตัวโดยไม่ส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์ฎีกาเป็นคนตัดสิน
สั่งเลย กล้าทำกันแบบนี้กลางเมืองหลวง ไม่คิดถึงศักดิ์ศรีของตัวเองเลย
เพราะฉะนั้น
ตอบคำถามตรงนี้ที่ถามว่า การประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว มันเป็นกับดัก น้องทานตะวันไม่เคยพูดกับผมสักครั้งว่า
รวมทั้ง โสภณ-เก็ท ด้วย ว่าเขาจะประกันตัว ผมยังหวั่นใจอยู่ว่าเขาจะไม่ประกันตัว
เราเคยอ่านข่าวใช่มั้ย ทนายความหญิงของตุรกีอดอาหาร 283 วัน
ตายในคุก เป็นตัวประท้วงระบบอันโสมมของมัน นี่ผมไม่เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยอาศัยศาลยุติธรรมได้
เพราะเราล้าหลังเกินไป!
อย่างที่เราย้อนกลับมา
เราเอาคนที่ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มาใช้ดุลยพินิจ เวลาเราเรียนหนังสือ
น้อยคนที่จะสอนเราว่าคุณต้องอย่างนี้นะเพื่อประชาชน หรือตัดสินใจบนพื้นฐานหลักสิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย
เพราะฉะนั้นทุกคนต่างใช้ดุลยพินิจในการไม่ปล่อยชั่วคราวเพื่อให้ผ่าน ๆ ไป
ไม่โดนนายเหนือหัวด่า ใครจะเชื่อก็เชื่อนะ ที่อธิบดีศาลอาญาบอกว่าไม่มีใครสั่งเขาได้
ใครจะเชื่อก็เชื่อนะ เดี๋ยวเราทำโพลข้างหน้านี้เลยก็ได้
ทีนี้ปัญหาว่าทำไมเราต้องพูดเรื่องนี้
เราเน้นเลยว่าเราพูดถึงเรื่องคดีของเยาวชน พูดถึงเรื่องคดี 112
เรื่องประกันตัว เพราะไอ้คดีอื่นผมได้ดูข่าวเดือนมีนาคมปีที่แล้ว
ที่โฆษกศาลยุติธรรมแถลงที่อาจารย์สาวตรีมาเล่าให้เราฟัง 91%
เขาให้ประกันตัวนะ เพราะฉะนั้น ช่วงนั้นที่เขามาแถลงเพราะอะไร เพราะทั้งอานนท์,
ไผ่, ไมค์, สมยศ อยู่ในคุก เพนกวิน, รุ้ง, เบนจา แล้วทุกคนก็เดินไป “ยืนหยุดขัง”
ไปเรียกร้องที่ศาล แล้วมีคดีที่เขาให้ประกันตัวกับไอ้พวกนักโทษคดีอื่น ๆ เยอะแยะ
เขาก็เลยแถลงว่าเขามีดุลยพินิจที่ดีนะ คนตั้ง 100% ให้ตั้ง 91%
ผมเห็นแถลงแบบนี้แล้วนะ
ผมกลับรู้สึกอีกอย่างหนึ่งว่า ทำไมมันโง่ขนาดนี้วะ? เพราะต่อให้ประกัน 99%
แต่อีก 1% เขายังเป็นคนบริสุทธิ์
แล้วเขาถูกกล่าวหาถูกกลั่นแกล้งโดยกระบวนการของตำรวจ แล้วคุณไม่ให้เขา
นักกฎหมายไม่ได้อยู่ตรงเปอร์เซ็นนะ เราไม่ใช่คุณแม่ของคุณแตงโมที่พูดอะไรเป็นเปอร์เซ็น
บอกมาได้ไงว่า 91% ทั้ง 91% มันมีคดีอะไรบ้าง
ขับรถเมาสุรา, ผิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน, กลับบ้านกลางคืนเกินเวลา รวมอยู่ในพวกนี้หมด
นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าพอเราได้คนอย่างนี้มาเป็นโฆษกศาลยุติธรรม
เราจะหวังอะไรว่ามันจะมาใช้ดุลยพินิจ ผมถึงบอกว่าผมขมขื่นที่ต้องมาพูดวันนี้เพราะว่า
จริง ๆ ไม่อยากจะพูด อยากจะบอกอาจารย์อนุสรณ์ตั้งแต่แรกแล้วว่า
ผมไม่ควรจะอยู่ในฐานะที่มาพูดได้ เพราะว่าถ้ามาพูดแล้วผมจะเป็นจำเลยที่ 3
ก่อนสมยศ เพราะว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาผมขมขื่นมาครับกับสิ่งที่ศาลยุติธรรมทำ
ผมมีเรื่องจะเล่าให้ฟังว่าอย่างนี้ครับ
เงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว จริง ๆ หลักเป็นอย่างที่อาจารย์ว่า หลักคือต้องให้ประกัน
มันมาจากไหน? มันมาจากรัฐธรรมนูญปี 40 มาจากปฏิญญาสากล ข้อกำหนดต่าง
ๆ ที่เราไปเซ็นกับเขาไว้ และหลักนิติปรัชญาที่เราเรียนมา เพราะในระบบที่เรามีศาล
ตั้งแต่เราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้วนะ ถ้าเป็นสมัยก่อนก็ให้ไปดำน้ำลุยไฟ แต่นี่คือตำรวจไปกล่าวหาเขา
เขามีสิทธิที่จะตั้งทนายสู้คดี แล้วไม่มีใครมีสิทธิพรากเอาเสรีภาพของเขาไปในระหว่างต่อสู้คดี
อันนี้เป็นหลัก พูดภาษาชาวบ้านก็คือทฤษฎีที่ว่า
รัฐธรรมนูญถึงเขียนไว้เป็นหลักประกันเลยว่า จะไปปฏิบัติต่อเขา (คนที่ยังไม่ตัดสิน)
เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้นะ แปลว่าห้ามเอาเขาไปขัง
การขังไว้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ คือต้องปล่อยตัวชั่วคราว โดยหลักคำร้องขอปล่อยตัวคุณต้องให้เขา
เพราะเขายังไม่ผิด อันนี้เป็นหลักที่เราเรียนกันมา
และประชาชนที่อยู่ในนี้หรือที่อยู่ที่บ้านรู้เลยว่า ตำรวจไม่มีสิทธิจับเรา
จับต้องส่งศาล กฎหมายให้ศาลเป็นคนสั่ง ก็ไม่รู้ว่า “เตะหมูเข้าปากหมา” หรือเปล่า?
ศาลก็สั่ง ก็อุตส่าห์ให้ปล่อยตัวชั่วคราวตั้ง 91%
เด็กจะมาเอาอะไรกับกูอีกวะ? ใช่มะ ที่เขาแถลง
ทีนี้ปัญหาก็คือ
ในคดีของเยาวชนมันมีความที่ขัดแย้งกันอยู่เยอะ เช่น คุณปล่อยตัวชั่วคราวมาเพราะคนเรียกร้อง
ต่างประเทศมาดูหลักที่อาจารย์พูดมา
ศาลไทยไปเยือนต่างประเทศไม่ได้เพราะเดี๋ยวเขาถามแล้วทำไง? คนก็ด่ากันทั้งโลก ปรากฏว่าให้เหมือนกัน
แรกสุดน่ะให้ แล้วมีข้อกำหนดว่าไง จำได้มั้ยมีบางคนที่ว่าห้ามออกจากบ้าน 24 ชั่วโมง
แรกสุดนะ คืออย่างนี้ก็อยู่คุกดีกว่า ในนั้นไม่ต้องซื้อข้าวด้วย
นี่มันบอกให้ติดคุกเสร็จ โอเคผ่อนคลาย ให้อยู่บ้านกลางคืน 12
ชั่วโมง ติด EM (กำไลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไปไหนคนก็รู้ว่าเป็นนักโทษ)
อันนี้ก็โอเคละ มันมีเหตุผลที่ว่าอยากจะจำกัดความเคลื่อนไหวทางการเมือง
ผมถามว่าอีก 2 ข้อบอกว่าห้ามไปกระทำการใด ๆ
ในข้อที่ถูกกล่าวหาอีก ผมดูที่เขียนแล้วผมงงว่าแปลว่าอะไร? ก็ที่เขาถูกกล่าวหาเขายังไม่ได้ตัดสินไม่ใช่หรือว่าผิด/ไม่ผิด ตำรวจไทยมันตั้งข้อหาใครก็ได้ใช่มั้ย
ใส่เสื้อก็ยังหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ พูดคำว่า “จ้า” ก็ไม่ได้ พูดคำว่า “ขอบใจ
กล้ามาก เก่งมาก” ก็ไม่ได้ ที่ศาลก็คงรู้ว่าตำรวจมาตรฐานขนาดไหน
ถ้าคุณมาตั้งเงื่อนไขแบบนี้นะ ตอนนั้นนอกออกไปปุ๊บมันก็ต้องข้อหาใหม่
ก็ไม่ได้ประกันอีก เพราะฉะนั้นเขาจะตั้งข้อหาใครก็ได้ เพราะว่าเขายังไม่มีความผิด
จะไปห้ามเขากระทำการใด ๆ มันเป็นสิทธิเขา
เล่าให้ฟัง
หลายคนอาจจะอยู่ในห้องพิจารณาวันนั้น วันที่ถอนประกัน “ตะวัน” เป็นที่มาของคำพูดที่ผมอยากจะลาออกจากการเป็นนักกฎหมายจริง
ๆ ตำรวจไม่ได้ถอนประกันในเรื่องที่ใส่เสื้อดำ ศาลเขาไปหาเอกสารมาว่าวันนั้นคุณใส่เสื้อดำ
วันที่ในหลวงเสด็จ “ตะวัน” ก็เหวอเลย ผมก็...แล้วมันผิดอะไรวะ ใส่เสื้อดำ
แกบอกว่าคุณไปงานแต่งงาน งานมงคลสมรส แล้วคุณใส่เสื้อดำ ใครเขาจะให้คุณเข้า
การที่คุณไปรับเสด็จแล้วใส่เสื้อดำมันผิด!
ศาลเห็นว่าเป็นการก่อให้เกิดความวุ่นวาย พูดนะ แต่ไม่ได้จดในรายงาน แต่ผมมีพยานที่ได้ยินกันมันเยอะ
ผมบอกคนแบบนี้ที่มีวิจารณญาณแค่นี้ ประเทศเราถึงมีอนาคตที่สั้น
หรือมีเงื่อนไขข้อหนึ่งที่ห่วยมาก
ห้ามไปกระทำการใด ๆ ที่เป็นการเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาล
มีเติมด้วยนะ “และศาล” ผมบอกเฮ้ย อะไรวะ
ถ้าฟังอยู่ทางออนไลน์ก็ชี้แจงประชาชนเอาเองก็แล้วกันนะ เพราะความจริงเขียนอย่างนั้น
“ห้ามไปกระทำการใด ๆ ที่เป็นการเสื่อมเสีย” คุณเขียนอย่างนี้ได้ไง
เพราะว่าการกระทำ ถ้าไปทำให้เกิดความเสื่อมเสีย ตำรวจก็จับเขาดิ
ตั้งข้อหามาฝากขังใหม่ดิ และเกี่ยวกับศาลคุณก็มีกฎหมายลงโทษไว้เยอะ มันมีคดีของนักการเมือง
วันนั้นผมก็ดูอยู่เวลาจะยื่นประกันผู้ต้องหาพวกเราสักคน ใครจำไม่ได้ละ
รองหัวหน้าพรรคการเมืองเก่าแก่ที่ลาออกไปแล้วนะ เรื่องข้อหาอนาจารหรือข่มขืน
เขามายื่นประกัน เหมือนกับคดีน้อง ๆ นี่แหละ ยื่นวันเดียวกับเราด้วยผมจำชื่อผู้ต้องหาไม่ได้
ปรากฎว่าของเราไม่ได้ อีกคนหนึ่งได้ แต่ถ้าเราคนที่ได้ก็จะเขียนยาวเลย ห้ามกระทำการใด
ๆ ที่เสื่อมเสีย, ห้ามออกนอกบ้าน, ติด EM อย่างที่เรียนมา แต่ของท่านรองหัวหน้าพรรค
มีเงื่อนไขว่าห้ามออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล ผมก็คิดอยู่ว่าอยากจะขึ้นไปถามตอนนั้นเลยนะ
เพราะประกันพร้อมกัน ก็ไปแอบดูเงื่อนไขเขา
ทำไมไม่ตั้งเงื่อนไขว่าห้ามไปกระทำการแบบเดียวกันอีก หรือไม่ก็เขียนว่าห้ามไปอยู่ใกล้ผู้หญิงอายุต่ำกว่า
18 มันเขียนได้นี่หว่า ถ้ามันยุติธรรมจริงนะ มันต้องเขียนเลย
ห้ามไปกระทำการใด ๆ อันให้เสื่อมเสียต่อสุภาพสตรีหรือเยาวชนหญิง ห้ามทำอนาจาร
อันนี้เห็นความไม่เป็นธรรมนะ ไม่มีเงื่อนไขอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่โทษหนักหนาสาหัสกว่าพวกเราเยอะ
และโทษก็กระทำซ้ำหลายครั้ง ถ้าจริงนะ แต่โดยหลักผมยังถือว่าเขาบริสุทธิ์อยู่ แต่ที่ถูกกล่าวหามันเป็น
14-15 คดีแล้ว ศาลก็ยังดันทุรังให้ประกันตัว
ผมตั้งใจว่าจะไปถามสักทีเรื่องนี้ ถ้า “ตะวัน” มันยอมประกันนะ
ก่อนจบก็เล่าให้ฟังว่า
น้อง ๆ ที่อยู่ข้างในทุกคนที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่มีใครเสียกำลังใจ
ทุกคนฝากบอกมาว่าเขายังสู้อยู่และแกร่ง จะไม่ยอมให้เอาเรื่องการประกันตัวมาบีบ
สร้างเงื่อนไขให้เขายุติสิ่งที่เขาคิด โอเค เขาออกมาเขาอาจจะไม่ทำอะไรเลยก็ได้
แต่ไม่ใช่คุณมาบังคับเขา เพราะเขาก็เป็นเด็ก ตอนนี้มีเด็กอายุ 13 โดนดำเนินคดี
มีพลอยที่โกนหัว ที่ยังไม่รู้ว่าจะถูกถอนประกันเมื่อไหร่
ซึ่งเรื่องนี้เดี๋ยวเล่ากันอีกทีก็แล้วกัน
ผมจะสรุปอย่างนี้ว่า
ข้อแรกทำอย่างไรเด็กถึงได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว พูดแบบตรงไปตรงมาเลย เราต้องร่วมกันเรียกร้อง
เพราะสิ่งที่อาจารย์พูดก็ดี หรือทุกคนพูดมันชัดเลยว่ามันผิดหลักกฎหมาย
เราไม่พึงที่จะให้คนเหล่านี้มาตัดสินอนาคตของชาติอีกแล้ว เพราะฉะนั้น
คุณต้องทำให้เป็นไปตามกฎหมาย เพราะศาลเป็นตัวแทน
เราใช้อำนาจอธิปไตยทางตุลาการผ่านศาล เป็นของเรา ทุกคนมีสิทธิที่จะไปเรียกร้องที่ศาลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
นี่คือสิ่งเดียว
คือผมไม่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่เด็กจะได้ออกมาโดยวิธีการร้องขออีกต่อไปแล้ว
ถ้าได้ยินสิ่งที่ผมพูดนะ ผมคิดว่าต้องทำ ต้องใช้วิธีนี้ ไม่เช่นนั้นไม่มีทาง
แต่ว่าจะทำยังไงก็ฝากไว้ให้คิด
ข้อสุดท้าย
ความสำเร็จที่เคยเกิดขึ้นก็คือ กองทุนราษฎรประสงค์ นี่ช่วยมากที่สุด
ถ้าไม่มีก็คงมาไม่ถึงวันนี้ ต้องให้กำลังใจอาจารย์ ทราบว่ามรสุมหนักมากนะครับ
ขอบคุณครับ
#มาตรา112
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์