ธิดา ถาวรเศรษฐ : 10
ปีผ่านไป ปัญหา 112 จาก “อากง” ถึง “ลาซาด้า”
สวัสดีค่ะ
วันนี้ก็เป็นวันที่ดิฉันคิดว่าในเดือนพฤษภานั้นมันมีวันที่เราควรจะคุยกันในหลาย ๆ
เรื่อง แต่ในวันนี้ดิฉันขอคุยเรื่องของการรำลึกถึง “อากง” ปัญหาคดี 112
ซึ่งมาจนถึง “ลาซาด้า”
เนื่องจากความสำคัญของคดี อากง
ในแง่ปัญหาของ 112 ก็มีมากแล้ว แม้กระทั่งพูดเรื่องของอากงเอง กับปัญหาคดี 112
ก็มีเรื่องราวมากมาย
ดิฉันก็ส่วนหนึ่งอาจจะเขียนในแง่เกี่ยวข้องกับขบวนการประชาธิปไตย
แต่วันนี้ดิฉันก็ขอคุยอย่างตรงไปตรงมา เพราะว่าเรื่องของอากงนั้นเป็นเรื่องยาวนานตั้งแต่ปี
53-54-55 เสียชีวิตในปี 55 มาจนถึง 65 ปรากฏว่าปัญหาคดี 112 มีมากมาย
ขยายมาจนถึงบัดนี้กองทัพออกมาเรียงแถว ประหนึ่งทำสงครามขนาดใหญ่ในปัญหาคดี 112 กับใคร?
กับประชาชน กับประเทศอื่น หรือรบกับใคร?
เรายังไม่เคยเห็นปรากฏการณ์ที่เรื่องราวของคดีในประเทศถึงขนาดผู้บัญชาการเหล่าทัพออกมาเรียงหน้าพูด
ออกคำสั่ง
คำสั่งนั้นห้ามไม่ให้ทั้งกองทัพและคนในกองทัพทุกเหล่าทัพซื้อของออนไลน์ของแพลตฟอร์มลาซาด้า
ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่า 10 ปีผ่านไป ปัญหา 112 จากอากงสู่ลาซาด้า
อันที่จริงปัญหาของอากงนั้นถูกฟ้องร้องเมื่อกลางปี
53 แล้วก็มีการดำเนินคดีจนกระทั่งอากงเสียชีวิตในปี 55
ซึ่งถ้าพูดไปผู้ที่สนใจรายละเอียดส่วนหนึ่งก็อาจจะไปเสิร์ชดู
แม้กระทั่งในวิกิพีเดียซึ่งก็เขียนได้พอสมควรระดับหนึ่ง
และมีรายละเอียดอยู่พอสมควรว่าคดีเริ่มอย่างไรและลงเอยอย่างไร
ในช่วงเวลานั้น ในช่วงหลังการปราบปรามคนเสื้อแดงในปี
53 ก็เริ่มมีคดี 112 แล้วคดีของอากงก็น่าสนใจว่าผู้ที่ฟ้องร้องนั้น
เป็นเลขานุการส่วนตัวของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดังนั้น
หลังจากปัญหาความเหี้ยมโหดในการที่มีการร่วมมือกับกองทัพในการปราบปรามคนเสื้อแดงด้วยอาวุธจริงแล้ว
ความเหี้ยมโหดขั้นต่อมาก็คือการกระทำการที่เราขอยกตัวอย่าง คือ
นอกจากการจับกุมคุมขัง จับคนไปตั้งไม่รู้เท่าไหร่
แล้วก็มีประมาณเหมือนมีสินบนนำจับรายละ 3 หมื่นด้วย ดังที่ดิฉันเคยเล่าให้ฟัง
แล้วก็มาเรื่องคดี 112 ก็แม้กระทั่งตอนจับตำรวจก็ยังบอกว่าสงสัยว่าอากงเป็นนปช. หมายความว่าเป็นนปช.ก็เลยดูเหมือนสมจริงงั้นหรือ?
เรื่องราวของอากงนั้นดิฉันเข้าใจว่าพวกเราคงทราบถึงความไม่สมเหตุสมผลของการดำเนินคดีกับอากง
ซึ่งไม่รู้เทคโนโลยีในการส่งข้อความ แล้วก็อายุกับวัตรปฏิบัติของเขา
ชีวิตการดำรงชีวิตนั้นไม่สมเหตุสมผลในการที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาเลยทั้งสิ้น
ซึ่งดิฉันคิดว่าเราก็คงไม่สามารถใช้เวลาในวันนี้พูดมาก
แต่ความไม่สมเหตุสมผลที่สำคัญคือพูดตรง ๆ
ว่ามันมีตั้งแต่ต้นกระบวนการยุติธรรมจนถึงปลาย
เมื่ออากงเห็นว่าการขอประกันตัวในขั้นอุทธรณ์ไม่ได้
ก็เลยคิดยุติเพื่อหวังการอภัยโทษมากกว่า แล้วก็มีการเจ็บป่วยในระหว่างนั้น
ซึ่งเริ่มเจ็บป่วยตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 55 แล้วมาเสียชีวิตในวันที่ 8 พฤษภา
ถามว่า นปช. คือมีคนพยายามจะโจมตี
ดังที่ดิฉันได้เขียนไปแล้วว่า ระหว่างองค์กรกับบุคคลที่นึกจะจิ้มพูดอะไรออกมา
กับองค์กรมันต่างกัน เพราะการทำคำแถลงหรือท่าทีเรื่องสำคัญ ๆ นั้นมันต้องผ่านมติ
แต่ว่าในกรณีของอากง เราเป็นเจ้าภาพทันที และเราเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น
ซึ่งท่านจะติดตามได้ตามที่เราอ้างไว้เพื่อให้ท่านไปหาข้อมูล
ดิฉันท้าให้ไปดูในวิกิพีเดียก็ได้ว่าเราเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการที่จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพ
ก็มีตัวแทน มีคุณหมอเชิดชัย ตันติศิรินทร์ และคณะ ก็เข้าไปร่วม
และสุดท้ายก็ออกมาโดยนิติวิทยาศาสตร์ว่า สุดท้ายอากงก็เป็นมะเร็ง
ซึ่งคุณหมอเชิดชัยก็มีความเห็นเลยว่า เรื่องอย่างนี้มันต้องมันต้องมีประมาณมากว่า
6 เดือนแล้ว มันไม่ควรปล่อยจนถึงขนาดนี้ และควรจะได้สิทธิในการประกันตัวตั้งแต่ต้นในการที่ป่วย
ดังนั้น ถามว่าในส่วนที่เราทำได้
เราได้พยายามทำเต็มที่ และเราก็รำลึกถึงอากง 10 ปีที่แล้วว่า
ความพยายามในการที่จะทำเรื่องชันสูตรให้ชัดเจนว่าป่วยเป็นโรคอะไร
จนกระทั่งการทำพิธีและเป็นเจ้าภาพ ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. หลังจากที่ไปตั้งศพอยู่ที่ศาลอาญาโดยคณะบุคคล
เมื่อเข้าสู่ประเพณีตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. เราก็ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพตั้งแต่วันแรก
อ้างอิง
จากโพสต์ทูเดย์
: ธิดาส่งนปช.ร่วมชันสูตรศพอากง วันที่ 8 พ.ค. 55 ลิ้งค์
https://www.posttoday.com/politic/news/152695
จากคมชัดลึก
: แดงเล็งแห่ “ศพอากง” ไปทำเนียบฯ-สภา วันที่ 9 พ.ค. 55 ลิ้งค์ https://www.komchadluek.net/news/129895
จากผู้จัดการออนไลน์
: ศพ “อากง” ถึงวัดด่านสำโรงตั้งสวด 7 คืน วันที่ 10 พ.ค. 55 ลิ้งค์ https://mgronline.com/crime/detail/9550000057710
จากวิกิพีเดีย
: อำพล ตั้งนพกุล ลิ้งค์
อันนี้ก็เป็นเรื่องของอากง
ซึ่งเป็นเรื่องที่สะเทือน สะเทือนใจของผู้รักความยุติธรรม ผู้รักประชาธิปไตยทุกคน
ในเวลานั้นต้องยอมรับว่าเราต้องให้เครดิตคณะนิติราษฎร์และคณะปัญญาชนที่สนับสนุนในการแก้ไข
112 ซึ่งดิฉันเอง
ถ้าในฐานะส่วนตัวก็ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะส่วนตัวและในรายการเหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย
ซึ่งจะได้ย้อนดูได้ว่าดิฉันในขณะนั้นมีความเห็นต่อปัญหาคดี 112 อย่างไร สั้น ๆ
ก็ได้ โดยย่อก็คือมันไม่ใช่หมู หมา กา ไก่อะไรที่ฟ้อง ซึ่งประเดี๋ยวเราจะเห็นว่า
แม้ปัจจุบันการฟ้องในคดี 112 ปัจจุบันที่เป็นคดีแล้วใน 208 คดี และคนที่ถูกคดี 193
คน ประชาชนไม่รู้ใครไปฟ้องร้อง 97 คดี, กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ร้องทุกข์กล่าวโทษ 10 คดี, กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ 9 คดี, เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไปร้อง 1 คดี
ที่เหลือเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้กล่าวหา
ดิฉันใช้คำว่า
“หมูหมากาไก่” ถูกไหม? ตรงเลยค่ะ ใครก็ได้ไปฟ้อง
แล้วถ้าไม่มีใครฟ้องก็ตำรวจจัดการเอง พฤติกรรมเป็นเรื่องการปราศรัย 43 คดี,
ติดป้ายสติ๊กเกอร์ 52 คดี, ความคิดเห็นออนไลน์ 105 คดี, ไม่ทราบสาเหตุ 8 คดี
และเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี 16 ราย คดีที่อยู่ในชั้นศาลแล้ว 107 คดี แล้วจริง
ๆ ผู้ต้องขังที่คดียังไม่ถึงศาล 11 คน ก็มีส่วนหนึ่งก็คือคดี 112 ด้วย เอาง่าย ๆ
เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ 23 คดี, อานนท์ นำภา 14 คดี, รุ้ง ปนัสยา
สิทธิจิรวัฒนกุล 10 คดี, ภาณุพงศ์ จาดนอก 9 คดี, เบนจา อะปัญ 7 คดี, ชินวัตร
จันทร์กระจ่าง 5 คดี, พรหมศร วีระธรรมจารี 5 คดี, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา 4 คดี,
ชูเกียรติ แสงวงค์ 4 คดี, วรรณวลี ธรรมสัตยา 4 คดี, มายด์ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลผล 3
คดี, สมพล (นามสมมุติ) 6 คดี นอกจากนั้นก็ยังมีฝากขังเยอะแยะ มีทั้งตะวัน ใบปอ
บุ้ง ต่าง ๆ เหล่านี้
นี่คือบานปลายมาสู่เยาวชน
บานปลายมาสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่พอ ในประเด็นที่ว่าฟ้องร้อง
แล้วก็บานปลายมาจนถึงลาซาด้า
ย้อนกลับมาที่ดิฉันพูดว่า
ใครฟ้องก็ได้ ตำรวจมีปัญหาอะไร ไม่รู้ว่าถูกนายเร่งรัดยังไง ใส่ 112 ไปหมดเลย
เขาใส่เสื้อสั้นก็โดน 112 เขาใส่ชุดไทยก็โดน 112
เพราะฉะนั้นขณะนี้ภาพในโฆษณาลาซาด้าก็โดน112 ดิฉันยังไม่ลงในรายละเอียดตรงนี้นะ
เอาเป็นว่านี่คือภาพรวม 1) ใครฟ้องก็ได้ ตัวนี้ใช้ไม่ได้ คุณทำเหมือนอังกฤษซิ
ก็คือให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องร้อง คือที่เดียว
ต้องมีคนกลั่นกรอง (การกล่าวหา)
และอันที่
2) ที่ดิฉันพูดมานานแล้ว เข้าใจว่าจะเป็นคนแรก ๆ ที่พูดก็คือ คดีเมื่อ 100
ปีที่แล้วในสมัย ร.6 ไม่มีโทษขั้นต่ำ อันนี้มีโทษขั้นต่ำอย่างน้อย 3 ปี อากงเจอ 4
กรรม อ้างว่าส่งข้อความ 4 ข้อความ กรรมละ 5 ปี รวมจำคุก 20 ปี นี่ยกตัวอย่าง
แต่ในสมัย ร.6 มันไม่ได้มีคดีพร่ำเพรื่อและไม่มีโทษขั้นต่ำ
แล้วโทษขั้นสูงก็ไม่เกินเท่าที่ดิฉันจำได้ก็คือไม่ได้สูงกว่าโทษปัจจุบัน ประมาณ 3
ปี 4 ปี อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าอย่างน้อยที่สำคัญคือ ไม่ควรมีโทษขั้นต่ำ
แปลว่าอาจจะให้ทำงานสาธารณะ 7 วันก็ได้ ถูกลงโทษ 5 วัน 6 วันก็ได้ สองข้อนี้มีความสำคัญมาก
อันที่
3) ก็คือขอบเขตของการฟ้องร้อง ไม่ใช่โมเม พูดตรง ๆ คือมันต้องชัดเจนเช่น
พระมหากษัตริย์กับพระราชินี ปัจจุบันด้วย ไม่งั้นดูที่อาจารย์สุลักษณ์พูดถึงพระนเรศวร
ไม่รู้กี่ร้อยปีมาแล้วก็อ้างว่าหมิ่นพระนเรศวร นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น ดิฉันก็เอาย่อ
ๆ ว่า มาตรา 112 ยังไงก็ต้องแก้ ขอให้ไปลองดูในรายการเหลียวหลังฯ อันเก่า
แต่ว่าเมื่อเรามาขยายจนถึงปัจจุบัน
มันน่าเป็นห่วงมาก ดังที่ดิฉันอ่านไปแล้วว่าลงมาสู่เยาวชน
และแม้กระทั่งครั้งหลังที่เยาวชนไปทำโพล ใช้ข้อความเดียวกับกลุ่มปกป้องสถาบัน
เขียนข้อความเดียวกัน ใช้สถานที่เดียวกัน เมเจอร์รัชโยธิน ก็ปรากฏว่าถูกขัดขวาง
ยังไม่รู้ว่จะถูกจับกุมหรือเปล่า? ซึ่งเยาวชนเขาบอกเขาใช้ข้อความเดียวกัน ข้อความเดียวกันเลย
ทำไมกลุ่มนั้นทำได้ อีกกลุ่มหนึ่งทำไม่ได้ ดูชื่อกลุ่ม ดูหน้าคนเท่านั้นเองหรือ?
คำถามของดิฉันก็คือว่า
ถ้าเป็นอย่างนี้ ขยายเป้าหมายของ 112 คือการขยายเองของเจ้าหน้าที่
ขยายกระบวนการยุติธรรมในการลงโทษอย่างกว้างขวาง แล้วมาสุดท้ายจนถึงกรณีลาซาด้า
ก็คือ คนนอกกระบวนการยุติธรรม แต่คนที่อยู่ในเครือข่ายจารีต อำนาจนิยมออกมา
โดยเฉพาะกองทัพออกมาทั้งหมด มันหมายความว่าอะไร?
มันยิ่งกว่าการขยายเป้าหมายของคนที่จะถูกลงโทษ ขยายความผิด ขยายโทษ
แล้วก็นำไปสู่ความแตกแยกและการต่อต้านของสังคมที่มีความคิดต่างกัน
อันนี้มันยิ่งชัดเจนว่านี่มันไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยจริง
ๆ เพราะระบอบประชาธิปไตยไม่ต้องบอกแบบนปช.ก็ได้ที่บอกว่า
เราต้องการระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไทยอย่างแท้จริง
คำว่าประชาธิปไตยต้องอำนาจเป็นของประชาชน หมายความว่าคุณต้องมีความเท่าเทียม คุณต้องมีความยุติธรรม
เพราะอำนาจเป็นของประชาชน ประชาชนต้องเท่ากัน
โอเค
พระมหากษัตริย์มีลักษณะที่แตกต่าง
แต่ยังคงไว้ซึ่งความหมายของระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
ไม่ใช่ของกลุ่มเครือข่ายจารีตนิยม อำนาจนิยมที่ออกมาขู่เข็ญ ในระบอบประชาธิปไตยนั้นมันต้องควบคู่กับแนวคิดเสรีนิยม
ก็คือคนที่มีความเห็นต่างยังสามารถแสดงออกได้
เราสามารถใช้กฎหมายในการดูแลและควบคุมได้ แต่ว่าการขยายแนวคิดจารีตกับอำนาจนิยม
และโดยใช้กฎหมาย 112 เป็นเครื่องมือ ดิฉันมองว่าเป็นอันตรายมาก
จนหลายคนขณะนี้กำลังคิดอยู่ว่า เรื่องของลาซาด้าที่เกิดขึ้น
มันดูออกมาเรียงแถวคล้าย ๆ เหมือนกำลังจะมีการทำรัฐประหารอีกครั้งหรือยังไง?
เพราะว่ามันจำเป็นอะไรที่ทางแม่ทัพต้องออกมามากมายถึงขนาดนี้
ดิฉันคิดว่ามันเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้ม คือ (แม่ทัพ) ลงทุนออกมา ผลที่ได้ไม่คุ้มเลย
และมีแต่เสีย มันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำถึงขนาดนี้
ดิฉันคิดว่า
มองในแง่ของกองทัพกับของประเทศและของพระราชอำนาจเอง การกระทำตอบโต้ในกรณีลาซาด้านี้
มันมากเกินไปและมันเป็นผลเสีย
คือแทนที่คุณจะทำให้สังคมรู้สึกว่ามีคนจำนวนน้อยที่อาจจะมีความเห็นและอยากจะปฏิรูปสถาบัน
แต่ขณะนี้มันขยายให้เห็นว่ามันกลายเป็นเรื่องใหญ่โตถึงขนาดกองทัพ แม่ทัพใหญ่
ต้องออกมาเป็นแถว เรียงแถว ประหนึ่งว่ากำลังมีข้าศึกศัตรูใหญ่โต
ประหนึ่งว่าจะต้องออกมาป้องกัน ประหนึ่งว่าถ้าเป็นอย่างนี้อาจจะทำรัฐประหารก็ได้
หรือยังไง? ได้ไม่คุ้มเสียนะคะ
ในทัศนะของดิฉัน
มันไม่ดีต่อทั้งประเทศชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ที่พวกคุณคิดว่าคุณจะต้องปกปักรักษา
แต่ดิฉันว่ามันตรงข้ามนะ นี่คือการทำลาย!
#ธิดาถาวรเศรษฐ #มาตรา112
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์