การคุกคามโดยรัฐและความอยุติธรรม
1) รัฐ ประกอบด้วย กลุ่มผุ้ปกครอง และ กลุ่มผู้ถูกปกครองชนชั้นต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับว่า ผู้ปกครองคือใคร? และ ปกครองด้วยระบอบอะไร?
2)
กติกาการปกครองจึงเป็นไปตามที่อำนาจสูงสุดต้องการ
ถ้าเป็น ราชาธิปไตย กติกาก็เพื่อพระมหากษัตริย์
ถ้าเป็น ประชาธิปไตย กติกาก็เพื่อประชาชน
ถ้าเป็น เผด็จการ กติกาก็เพื่อผู้นำเผด็จการ
3)
ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามระบอบปกครอง ว่า
ความยุติธรรมของระบอบใด? และ ใครคือผู้มีอำนาจปกครอง?
ก็เขียนกติกาการปกครอง เพื่อให้ "ผู้ปกครอง" ควบคุมปกครอง "ผู้ถูกปกครอง" ง่าย ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่ต่อต้าน ไม่ลุกขึ้นทวงความยุติธรรม ไม่ลุกขึ้นทวงอำนายทางสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม
นี่เป็นเหตุผลที่รัฐคุกคามประชาชนเพื่อไม่ให้ลุกขึ้นสู้ผู้ปกครองหรือทวงอำนาจการปกครอง
ระบอบการปกครองแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบอบราชาธิปไตย, ระบอบประชาธิปไตย, ระบอบเผด็จการ หรือระบอบสังคมนิยม ล้วนแล้วแต่มีกฎหมายแตกต่างกันไม่เหมือนกัน
ความยุติธรรมจึงขึ้นอยู่กับกฎหมายและผู้ใช้บังคับว่าอยู่ในระบอบอะไร?
I ปรากฏการณ์
ก. กระบวนการสร้างและปล่อยข่าวเท็จ
ให้ร้ายนักศึกษา ประชาชนรวมทั้งนักการเมืองที่เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยและหรือต่อต้านเผด็จการทหาร ให้ประชาชนส่วนใหญ่เกลียดชัง อาทิ
1) เป็นขบวนการล้มเจ้า ทำลายสถาบันชาติ ศาสนา พระมหา
กษัตริย์
2) รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและนักการเมืองพรรคที่ชนะเลือก
ตั้งคอรัปชั่น โกงกิน
3) ขบวนการประชาชนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นขบวนการ ไม่บริสุทธิ์
3.1 เป็นของพรรคการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความจงรัก ภักดี ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
3.2 เป็นขบวนการที่เป็นของพรรคคอมมิวนิสต์
3.3 เป็นขบวนการที่มีต่างชาติหนุนหลัง
4) ขบวนการประชาชนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นขบวนการต่อสู้
ด้วยอาวุธ ใช้ความรุนแรง ใช้ระเบิด ใช้ปืน ใช้การเผาอาคาร
สถานที่
ข. กระบวนการข่มขู่คุกคามด้วยการใช้เจ้าหน้าที่ติดตาม ข่มขู่ กระทั่งลอบทำร้าย อุ้มหาย หรือฆ่าทิ้ง โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง (เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม) สำหรับคนที่เขาพิจารณาว่าเป็นอันตราย และการข่มขู่คุกคามโดยใช้กฎหมายและกำลังอาวุธ การดำเนินคดีด้วยกฎหมายพิเศษครั้งแล้วครั้งเล่า
ค. การสร้างกลุ่มมวลชนฝ่ายจารีต
เพื่อปะทะกับมวลชนและแกนนำฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย
1) เป็นมวลชนที่หน่วยงานความมั่นคงสร้างและควบคุมโดยเจ้า
หน้าที่รัฐโดยตรง เช่น กลุ่มเสธ.อ้าย, ลูกเสือชาวบ้าน, กระทิง
แดง, นวพล ฯลฯ
2) เป็นมวลชนที่มีแกนนำฝ่ายพลเรือนที่เสียประโยชน์จากการมี
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้รับชัยชนะท่วมท้น ตัวอย่างเช่น
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, กลุ่ม กปปส. ล่าสุด
คือ กลุ่มไทยภักดี
ง. การใช้องค์กรรัฐฝ่ายต่าง
ๆ คุกคาม จากน้อยไปหามาก
1) โรงเรียน สถานศึกษา
2) ส่วนงานต่าง ๆ ของมหาดไทย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การ
ปกครองส่วนท้องถิ่น ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ตำรวจ, อัยการ, ศาล การใช้กฎหมายจัดการ
4) กองทัพจากส่วนกลางและกองทัพภาค
5) องค์กรอิสระ, กกต., ปปช. ฯลฯ และศาลรัฐธรรมนูญ
จ. การปราบปรามด้วยกองกำลังอาวุธ ทหาร, ตำรวจ ประกาศกฎอัยการศึก, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปจนถึงยึดอำนาจ ทำรัฐประหาร
ฉ. การฟ้องร้องคดีความ ทั้งก่อนและหลังการปราบปราม คุกคามด้วยอาวุธและการคุกคามอื่น ๆ เป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง ตั้งแต่ตำรวจ การฟ้องร้อง การออกหมายจับ หมายขัง การฝากขัง การข่มขู่ผู้ถูกกล่าวหาและพยาน การเขียนสำนวนไปจนถึงอัยการสู่ศาล ทั้งอาญา, แพ่ง และเปิดโอกาสให้ประชาชนฟ้องร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญได้ ปัญหาการยุบพรรคครั้งแล้วครั้งเล่า การให้อำนาจองค์กรอิสระที่มาจากปีกเผด็จการจารีตนิยมมีอำนาจยาวนาน บางครั้งทำตัวดังเป็นศาลเอง มีอำนาจส่งฟ้องศาลอาญานักการเมืองหรือไม่ก็ได้ หรือกระทำการคุกคามนักการเมืองปีกที่เป็นปฏิปักษ์กับอำนาจอนุรักษ์นิยม ซึ่งก็คือปีกที่ประชาชนสนับสนุนนั่นเอง
ดิฉันไม่ขอก้าวล่วงไปยังกระบวนการยุติธรรมส่วนปลายของศาลต่าง ๆ ที่ควรเป็นอิสระคานอำนาจกัน และต้องมีอำนาจประชาชนฝ่ายอื่น ๆ มาคานอำนาจศาลได้ แต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อถึงจุดที่ฝ่ายจารีตนิยมเกรงว่าเอาไม่อยู่ สถานการณ์ฝ่ายภาคประชาชนและการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไปไกล เป็นอันตรายต่อฝั่งจารีตนิยม ก็เกิดการทำรัฐประหาร แล้วมีการรับรองโดยศาลว่ามีอำนาจถูกต้องทุกครั้ง นี่คือการสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง เป็นประชาธิปไตยจอมปลอมตลอดมา
II สาเหตุ
ก. มาจากปัญหาการยอมรับอำนาจในเชิงระบอบการเมืองการปกครองว่ายอมรับระบอบประชาธิปไตยแบบสากล หรือระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ (คณาธิปไตย, อำมาตยาธิปไตย, อัตตาธิปไตย)
เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำเพื่อระบอบที่ตนเองได้ประโยชน์ คือโครงสร้างอำนาจแบบโบราณ กับประชาชนที่ต้องการระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มีสิทธิ, เสรีภาพ และความเสมอภาค ตามระบอบประชาธิปไตยกติกาสากล
ข. องค์กรรัฐที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนทั้งหลาย ยังอยู่ในระบบอุปถัมภ์แบบจารีตนิยม กลายเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำจารีตนิยมที่ใช้ปกครองปราบปรามประชาชน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พลเรือน ทหาร องค์กรอิสระ และอำนาจตุลาการที่ขึ้นต่อรัฐจารีตนิยม ไม่ขึ้นต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเสรีของประชาชน
ค. มีกลุ่มทุนและปัญญาชน ขุนนาง กระทั่งกรรมกรรัฐวิสาหกิจขุนนางที่ได้ผลประโยชน์จากอำนาจรัฐจารีตนิยม และรัฐบาลเผด็จการทหารก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้อำนาจรัฐจารีตและรัฐเผด็จการสามารถดำรงอยู่ได้ในเวลานานขึ้น
ง. ความพ่ายแพ้ของพรรคการเมืองของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในการเลือกตั้งหลายครั้งติด ๆ กัน ทำให้ฝ่ายจารีตนิยมไม่อาจยอมรับกติกาและการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยได้
จ. ดังนั้น กติกาสากลในระบอบประชาธิปไตยและผลการเลือกตั้งเสรีทั่วไปจึงถูกปฏิเสธจากฝ่ายจารีตนิยม นั่นคือระบบรัฐสภาล้มเหลว ไม่อาจใช้เป็นเวทีแก้ปัญหาของแต่ละฝ่าย เมื่อมีการลุกขึ้นต่อสู้ของประชาชน การปราบปรามประชาชนเพื่อยึดอำนาจโดยการใช้กำลังทหารก็เป็นทางออกของฝ่ายชนชั้นนำจารีตนิยม
สุดท้ายความไม่สามารถของฝ่ายจารีตนิยมในการปรับตัวสู่ยุคสมัยทุนนิยมเสรีและการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ต้องมีการปราบปรามกดขี่ประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อทวงอำนาจประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยที่มีเพียงป้ายชื่อเท่านั้น
พรรคการเมืองจารีตนิยม ชนชั้นนำจารีตนิยม ข้าราชการ ทหาร พลเรือนกระทั่งทุนจารีตนิยม กลายเป็นเครือข่ายที่ร่วมด้วยช่วยกันในการจัดการกับผู้เรียกร้องทวงคืนอำนาจประชาชนอย่างเข้มข้น ทั้งในยุคสงครามเย็นต่อสู้คอมมิวนิสต์ และมาบัดนี้เป็นยุคที่ต่อสู้กับนายทุนรุ่นใหม่และมวลชนที่ตื่นตัวเพื่อระบอบประชาธิปไตย
องคาพยพของรัฐที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนจึงกลายเป็นเครือข่ายคุกคามเข่นฆ่าประชาชนได้อย่างโหดเหี้ยมไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านจน ๆ คนแก่ ผู้หญิง หรือเด็ก
ทั้งหมดนี้เพื่อพิทักษ์อำนาจการปกครองให้อยู่ในมือตนเองและเป็นการทำที่เหวี่ยงแห
ไม่มีข้อมูลข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้การปราบปรามเข่นฆ่าจึงป่าเถื่อนนองเลือด
III การแก้ไข
ก. ทำให้ระบอบประชาธิปไตยในกติกาสากลเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไปทุกชนชั้น
ข. ทำให้วิถีทางรัฐสภาเป็นทางออกในการแย่งชิงอำนาจการเมืองการปกครอง
ค. ถ้าทำไม่ได้ทั้ง 2 ข้อ การต่อสู้นอกเวทีรัฐสภาโดยประชาชนต้องกลายเป็นหนทางหลักในการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนโดยแท้จริง
การต่อสู้นอกเวทีรัฐสภานั้น ทั้งสองปีกได้ทำมาแล้ว แต่ฝ่ายชนชั้นนำมีเครื่องมือรัฐจารีตนิยม โครงสร้างอำนาจอื่นที่ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ ถูกนำมาใช้ปราบปรามประชาชน ทั้งทางกฎหมายและการปราบปรามอุ้มฆ่าประชาชน แต่ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยมีแต่การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเท่านั้นเป็นด้านหลัก ส่วนอำนาจกลไกรัฐเป็นของฝ่ายจารีตนิยมทั้งสิ้น
การเรียกร้องของประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยและการลุกขึ้นสู้ได้อย่างมีคุณภาพและปริมาณ จึงต้องมี
1) กระบวนการที่มีคุณภาพด้านข้อมูลและสื่อ เพื่อส่งถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และเป็นเรื่องจริงที่มีการกดขี่ปราบปรามประชาชน
2) ข้อเรียกร้องและการนำต้องเป็นเอกภาพ มีพลังของเหตุผลและความชอบธรรมที่ประชาชนเห็นชอบได้กว้างขวางที่สุด โดยมีเป้าหมายเฉพาะหน้าและระยะยาว
3) เปลี่ยนสถานะจากผู้ถูกกระทำมาเป็นฝ่ายกระทำอย่างมีจังหวะก้าว และแสวงหาแนวร่วมขบวนการในหมู่ประชาชนทุกภาคส่วน ในทุกวงการ ที่ต้องการเติบโตในอนาคต ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายพรรคการเมืองเท่านั้น
ธิดา
ถาวรเศรษฐ
25 ก.ย. 63