หลายมาตราในรัฐธรรมนูญ 60 เป็นมาตราที่ยึดโยงเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนเท่าที่ควร ถ้าเราอยากได้รัฐธรรมนูญที่มีความโปร่งใสต่อทุก ๆ ฝ่ายจริง ประชาชนต้องเริ่มเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
ยูดีดีนิวส์
: เมื่อวันที่ 29
ส.ค. 63 คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
(ครช.) ได้จัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "ผ่าทางตันรัฐธรรมนูญไทย
ไม่แก้ไข...เขียนใหม่เท่านั้น" ที่ ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ซึ่งหนึ่งในผู้ร่วมเวทีเสวนาและเป็นประธานร่วมภาคีนักศึกษาศาลายา คือ
"รวี" ณวิบูล ชมภู่ ซึ่งได้แสดงทัศนะต่อรัฐธรรมนูญ 60 ไว้อย่างน่าสนใจ มีรายละเอียดดังนี้
รวี
เริ่มเสวนาด้วยการยกมาตราต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญ 60 ที่กล่าวถึงอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา
(ส.ว.) ในการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(มาตรา 204), คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 238), ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(มาตรา 241), คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 246)
จากที่อ้างถึงจะเห็นได้ว่า
ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ 60 นี้ มีอำนาจมากมาย
จึงอยากถามว่าสมาชิกวุฒิสภานั้นมาจากประชาชนหรือเปล่า? จุดนี้เองทำให้ผมคิดว่า
ส.ว. เป็นอะไรที่ค่อนข้างอิสระมาก เพราะคุณไม่ได้รับเลือกโดยประชาชน
คุณได้รับเลือกโดยกระบวนการของ คสช. ซึ่งมาจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
แล้วให้อำนาจ ส.ว. ได้เสนอชื่อบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่จริงแล้วควรจะให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ
นี่คือความพิสดารของวุฒิสภา
ซึ่งผมมองว่าถ้าเรายังใช้รัฐธรรมนูญ 60 ต่อไป
อำนาจจะเป็นของคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนอย่างแท้จริง
ซึ่งเป็นอะไรที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยอย่างมาก
และในท้ายที่สุดผมก็คิดว่า ส.ว. ก็ควรยกเลิกอยู่ดี
ต่อมา
“รวี” กล่าวว่า วุฒิสภาที่นำมาใช้ในประเทศไทยมีต้นแบบมาจากรัฐธรรมนูญของอังกฤษ United Kingdom ซึ่งทางอังกฤษเองเขาใช้คำว่า “สภาขุนนาง” และจากที่ค้นคว้า
สภาขุนนางของอังกฤษมีอำนาจแค่ตรวจสอบรัฐบาล ถ้าพบว่ารัฐบาลมีความไม่ชอบธรรม
หน้าที่ของสภาขุนนางอังกฤษคือประสานกับ “ควีน” เมื่อ “ควีน” เห็นชอบด้วย
จึงมีหน้าที่ยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลทั่วไปของประชาชน
เขามีศาลที่เป็นธรรมมากกว่าเรา
ถ้าบ้านเราก็ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าศาลรัฐธรรมนูญของเราใครเป็นคนแต่งตั้ง?
นี่คือความต่างของ 2 ระบบ แต่เขาอ้างอิงว่าเขาเอามาจากระบบของอังกฤษ
รวีแสดงทัศนะว่า
ระบบของอังกฤษมีความเป็นประชาธิปไตยแนวอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่างกับไทยอย่างมาก ซึ่งผมมองว่าของไทยเป็นระบบแบบเผด็จการ
Authority
constitutional ที่ผู้เป็นใหญ่ใช้กลไกของรัฐในการควบคุมประชาชนทางอ้อมโดยการเขียนรัฐธรรมนูญเป็นต้น
ด้วยหลาย
ๆ มาตราที่ได้กล่าวถึง
เป็นมาตราที่ยึดโยงเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนเท่าที่ควร
ถ้าเราอยากได้รัฐธรรมนูญที่มีความโปร่งใสต่อทุก ๆ ฝ่ายจริง
ประชาชนต้องเริ่มเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้
สุดท้ายนี้
รัฐธรรมนูญ 60 ก็ควรยกเลิก เขียนใหม่และยึดโยงกับประชาชนอย่างแท้จริงครับ