วานนี้ (25 ก.ย. 63) ที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เครือข่าย ศาลายาเนี่ยน , สามัญชน , ภาคีนักศึกษาศาลายา และ We Fair ร่วมจัดกิจกรรม "Salaya Democracy Fest"
โดยมีวงเสวนาต่าง ๆ อาทิ “ชุมชนชาวศาลายาในยุค COVID -19” วงเสวนา “การคุกคามโดยรัฐ และความอยุติธรรม” วงเสวนา “เหตุจำเป็นในการแก้รัฐธรรมนูญ รูปแบบ สสร. และการทำประชามติ” วงเสวนา “เปลี่ยนรัฐเผด็จการเป็นรัฐสวัสดิการ” และวงเสวนา “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”
ทั้งนี้ภายในกิจกรรม "สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล" ได้มีการจัดนิทรรศการเชิดชู "นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์" ผู้บุกเบิกและผลักดันโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และกลุ่ม"พิพิธภัณฑ์สามัญชน (Museum of the Commonners ) ได้จัดนิทรรศการชื่อว่า "Up rising 2020" ที่รวบรวมป้ายผ้าที่เขียนข้อความ เสื้อข้อความการต่อสู้เรียกร้อง ผ้าโพกหัว สคริปการปราศรัย และสารพัดสิ่งของการเมืองภาคประชาชน ที่นำมาใช้ในกิจกรรมชุมนุมต่าง ๆ ได้ส่งมารวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
และเวลา 17.15 น. เริ่มวงเสวนา “การคุกคามโดยรัฐ และความอยุติธรรม” โดยในส่วนของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึง "จากปรากฏการณ์สู่ธาตุแท้" โดยการต่อสู้ที่ผ่านมา การศึกษาบทเรียนการต่อสู้ของประชาชนไทยมาเป็นลำดับ เราต้องทำให้เป็นผลึกทางความคิด "จากปรากฏการณ์ เพื่อนำไปสู่ว่าธาตุแท้ของปัญหาคืออะไร" เพราะมิเช่นนั้นปรากฏการณ์ก็จะเกิดซ้ำ ๆ แล้วก็มีคนสูญเสีย คนล้มตาย บาดเจ็บ เราควรจะเข้าใจธาตุแท้ของมันและควรรู้ผลึกของปัญหา แม้ว่าการต่อสู้ของประชาชนจะยังไม่ได้รับชัยชนะแต่เป็นการต่อสู้อย่างเข้าใจ ด้วยเหตุและผล
- ทำไมรัฐต้องคุกคาม
- ทำไมความ"อยุติธรรม"จึลเกิดขึ้น
- ทำไมเรียกร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงไม่เกิดผล
อ.ธิดากล่าวว่า เพราะความยุติธรรมไม่ใช่"สิ่งสัมบูรณ์" จึงขึ้นอยู่กับระบอบว่ารัฐนั้นเป็นรัฐอะไร การเมืองการปกครองอะไร ถ้ารัฐที่เป็นการเมืองราชาธิปไตย รัฐที่เป็นเผด็จการ รัฐที่เป็นประชาธิปไตย ทั้งหมดนี้จะมีโครงสร้างทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง อุดมการณ์รวมทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่างกันหมด ท่ามกลางสังคมไทย เป็นเศรษฐกิจทุนนิยมลักษณะเฉพาะ การเมืองการปกครองของเรา รวมทั้งโครงสร้างชั้นบนจึงเป็นจารีตนิยมเต็มที่
อ.ธิดา ได้กล่าวถึงจากการเปิดนโยบายของ สมช. (สภาความมั่นคงแห่งชาติ) ด้วยบทบาทสำคัญในการคุกคามประชาชน จะแบ่งโดยนโยบายเป็นสองส่วน นโยบายหลักและนโยบายทั่วไป ซึ่งจะมีค่านิยม 12 ประการที่นำไปสู่นโยบายหลักของ สมช. อ่านแล้วไม่แปลกใจ ทั้ง 12 ข้อเป็นการวางนโยบายเกี่ยวข้องกับการคุกคามประชาชนทั้งสิ้น
การคุกคามประชาชนโดืยรัฐ จึงขึ้นอยู่กับรัฐนั้นเป็นรัฐอะไร เขาต้องการอยู่ในอำนาจนั้น จำเป็นต้องปรามปราม โดยวิธีไหนก็ได้ เพราะว่าสำคัญที่เป้าหมายก็คือให้อำนาจรัฐดำรงอยู่ เขาต้องคุกคามอำนาจส่วนที่จะทำให้รัฐนั้นกระทบกระเทือนเพราะฉะนั้นความยุติธรรม จึงไม่มี
เมื่อคนไม่เท่าเทียมกัน ความยุติธรรมก็เหมือนกฎหมายสมัยหิน กฏหมายชนเผ่า หรือรัฐธรรมนูญในปัจุบัน ขึ้นอยู่กับคนกลุ่มไหนมีอำนาจ และใช้กฏหมาย
ไม่มีความยุติธรรม และความเท่าเทียมตราบใดที่อำนาจไม่ได้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า การต่อสู้ทางการเมืองคือการต่อสู้ที่สำคัญที่สุดในทัศนะส่วนตัว เพราะว่าถ้าถามหาความยุติธรรม ถ้าการต่อสู้ทางการเมืองไม่บรรลุ ก็ไม่มีทางที่จะได้สิ่งที่เรียกว่าความยุติธรรมของประชาชน
ถ้าอยากจะต่อสู้ทางเศรษฐกิจ ปัญหากดขี่ทางชนชาติ การกดขี่ทุก ๆ ด้าน ขึ้นอยู่กับการต่อสู้ทางการเมืองทั้งสิ้น จึงต้องสามัคคีกันในการต่อสู้เพื่อใหัอำนาจเป็นของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันการช่วงชิงอำนาจระหว่างประชาชนและฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังไม่จบ (เกิดรัฐประหารเป็นระยะ ๆ) นับแต่ปี 2475 การเลือกตั้งแต่ละครั้งอย่าคิดว่าเป็นประชาธิปไตย เพราะเมื่อมองไปทางใดการต่อสู้ในระบอบไม่ได้ผล การต่อสู้จึงยืดยาว เพราะมีชัยชนะชั่วคราว แต่ไม่ใช่ชัยชนะอย่างแท้จริง
อ.ธิดายังได้กล่าวถึงนโยบายหลักของสภาความมั่นคง (สมช.) บอกชัดเรื่องศาสนาพุทธจะอธิบายได้อย่างไรในเมื่อเมืองไทยมีหลากหลายศาสนา มีหลายชนชาติเต็มไปหมด ไม่มีคนไทยจริงในประเทศไทย ดังนั้นการขดขี่ทางชนชาติไม่สามารถตอบสนองได้ ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ารัฐไทยเป็นรัฐจารีต แล้วถ้ายังเป็นแบบนี้ การปราบปรามประชาชน การเข่นฆ่าประชาชนจะเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะว่าเขามีหลักคิดแบบนี้ ดังนั้นจึงต้องต่อสู้กับวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง การต่อสู้ต้องไม่ใช่แต่เพียงเรื่องรัฐธรรมนูญ การต่อสู้กับวิธีคิดจารีตนิยมที่ไม่ถูกต้อง ต้องทำไปพร้อมกับการต่อสู้ทางการเมือง
จากนั้นอ.ธิดา รับมอบของที่ระลึก และเดินชมบูธนิทรรศการต่าง ๆ ภายในงาน
#UDDnews #หยุดคุกคามประชาชน #ภาคีนักศึกษาศาลายา
ประมวลภาพ