วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ธิดา ถาวรเศรษฐ : "ความยุติธรรม" ไม่ใช่ "สิ่งสัมบูรณ์"


ความยุติธรรมในระบอบที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยก็จะเป็นอย่างนี้
ถ้าคุณอยู่ข้างที่พยายามจะให้อำนาจเป็นของประชาชน
กับซึกที่ไม่ต้องการให้อำนาจเป็นของประชาชน
มันก็จะมีความยุติธรรมคนละอย่างกัน

อ.ธิดากล่าวอีกว่า นี่เป็นความเข้าใจ แต่เราก็เลือกหนทางที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาบ้านเมืองไม่เรียบร้อย และเราเข้าใจว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง เราต้องรับชะตากรรมตราบเท่าที่ประชาชนยังไม่มีอำนาจจริง ตราบใดเท่าที่คนยังเห็นคนไม่เท่ากัน มันจะไม่มีความยุติธรรมเลย

แม้แต่ความเป็นธรรมในปี 53 ก็จะขึ้นอยู่อย่างนี้ แต่ในประเทศต่าง ๆ เมื่อบ้านเมืองกลับมาสู่สถานการณ์ที่ระบอบประชาธิปไตยเป็นของประชาชนจริง เช่น อาร์เยนตินา ผ่านไปเป็นสิบ ๆ ปี คดีต่าง ๆ ก็ฟื้นมาได้ สามารถที่จะทวงถามความเป็นธรรม ไม่ใช่แก้แค้นนะ

แต่ทำให้ "วีรชน" เขายังเป็น "วีรชน" ไม่ใช่ "ทรชน"
คนที่ทำผิดต้องสารภาพผิด
ความเป็นจริงต้องปรากฏ

ความเป็นจริงจะปรากฏได้ก็ต่อเมื่อในบ้านเมืองนั้น คนต้องเท่ากัน อำนาจเป็นของประชาชน ผู้ถูกกระทำจึงจะได้รับความยุติธรรม นี่เป็นสัจธรรม ดังนั้นประชาชนรอคอยได้ และให้รู้ว่าสุดท้ายการเมืองเป็นตัวตัดสินความยุติธรรม

ไม่ใช่ความยุติธรรมจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

ต้องการเมืองเปลี่ยน  ความยุติธรรมจึงจะเปลี่ยน

เพราะความยุติธรรมไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์

ความยุติธรรมขึ้นอยู่กับว่าระบอบการเมืองเป็นอย่างไร?
และกฎหมายที่เขียนโดยผู้ปกครองเขียนอย่างไร?
ผู้ใช้กฎหมายอยู่ภายใต้อำนาจอะไร?

"ทั้งหมดนี้เราขเ้าใจและยอมรับกติกา เพราะเรารู้ว่าการเมืองยังไม่ใช่เป็นการเมืองของประชาชน" อ.ธิดา กล่าวในที่สุด