ยูดีดีนิวส์ : 25 มิ.ย. 63 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้กล่าวในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์วันนี้ว่า เรื่องที่พูดในวันนี้ก็เกี่ยวข้องกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในประเด็น
สัญลักษณ์วัตถุหลายสิ่งหายไป
แต่ได้สัญลักษณ์ในหัวใจใหม่ ๆ ขึ้นมา
แต่ได้สัญลักษณ์ในหัวใจใหม่ ๆ ขึ้นมา
อ.ธิดากล่าวว่า ปรากฏการณ์เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (24 มิถุนา) ได้สะท้อนในสิ่งนี้ก็คือ ได้เกิดเรื่องราวและผู้คนที่น่าชื่นใจ
หลายคนเสียกำลังใจที่เราพูดถึงว่า สัญลักษณ์วัตถุหลายสิ่งหายไป!
เริ่มต้นเลยจาก "หมุดคณะราษฎร" ซึ่งเป็นเรื่องที่เรารู้กัน
"หมุดคณะราษฎร" ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 |
ทางประชาไทก็ได้รวบรวมเอาไว้ประมาณ 10 เรื่อง แต่หมุดคณะราษฎรนั้นเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญมาก ความจริงมันมีลักษณะของการที่คณะราษฎรพยายามทำสิ่งที่เรียกว่า "เจียมเนื้อเจียมตัว" เพราะหมุดนี้อยู่ที่พื้น ไม่ได้เป็นอนุสาวรีย์ใหญ่
สิ่งที่หายไปมีตั้งแต่อนุสาวรีย์ เช่น อนุสาวรีย์หลักสี่ หรืออนุสาวรีย์ที่บุรีรัมย์ มีการถูกทุบทิ้ง เป็นต้น และรวมทั้งเป็นหมุดที่อยู่ที่พื้น
หมุดคณะราษฎรก็เป็นอันหนึ่งที่หายไป ที่มีความหมายมาก ความจริงการหายไปของหมุดราษฎรไม่ได้หายครั้งเดียวนะ เคยหายไปครั้งหนึ่งในยุคจอมพลสฤษดิ์ (นั่นเขาเอาไปเก็บไว้) พอหลังจากยุคจอมพลสฤษดิ์ก็เอากลับมาไว้ใหม่
แต่เที่ยวนี้หายไปประมาณวันที่ 1-8 เมษายน 2560 ก็คงไม่ได้คืนมา
สิ่งที่หายไป นอกจากหมุด, อนุสาวรีย์ ก็มีรูปปั้น, ชื่อค่ายของนายทหารที่อยู่ในคณะราษฎร
สัญลักษณ์มรดกคณะราษฎร์ที่หายไป (ขอบคุณประชาไท) |
แน่นอน! อาจารย์ปรีดี ไม่ได้มีสัญลักษณ์อยู่ในที่สาธารณะ รูปปั้นของอาจารย์ปรีดีอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่ามีปัญหาอะไร (ของอาจารย์ปรีดี, อาจารย์ป๋วย)
ก็หมายความว่าในธรรมศาสตร์จะไม่มีเฉพาะรูปปั้นของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ก็มีรูปปั้นของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ขึ้นมาด้วย นี่อาจจะเป็นวิธีแก้เกมอีกแบบหนึ่งก็ได้ คือไม่ได้หายไป แต่ทำให้มีหลากหลายขึ้นมา ต้องถือเป็นวิธีที่ชาญฉลาด ซึ่งประชาชนไม่ได้มีปัญหา แต่ปัญหากับสิ่งที่หายไป
ดังนั้นก็มีความข้องใจในเรื่องวัตถุที่หายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฮือฮากันมากในช่วงหลัง ๆ อย่างอนุสาวรีย์ปราบกบฎหลักสี่ มีการขยับหลายรอบ แต่สุดท้ายก็หายไป
และการหายไปของวัตถุเหล่านี้ ในทัศนะของดิฉันก็คือ เป็นความพยายามในการที่จะลบเลือนวัตถุ เอาวัตถุไปและมีความพยายามเปลี่ยนประวัติศาสตร์เพื่อเขียนใหม่ตามความเชื่อที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวานนี้ก็มีการทำควบคู่กันไป คือมีการทำบุญให้กับกลุ่มของนายทหารกบฎบวรเดช!
ทบ. จัดพิธีทำบุญ ยกย่องทหารที่ทำรัฐหารไม่สำเร็จ |
ก็หมายความว่าบวรเดชไม่ใช่กบฎ
กบฎก็คือกลุ่มคณะราษฎร เป็นผู้ทำรัฐประหาร
แล้วกบฎบวรเดชก็เป็นการทำรัฐประหาร แต่ไม่สำเร็จ ดังนี้เป็นต้น
แล้วก็ได้รับการยกย่อง ปลดป้ายเก่าออก มีการใส่ป้ายชื่อ พระยาศรีสิทธิสงคราม และพระองค์เจ้าบวรเดช
ซึ่งถ้าเป็นเรื่องของประชาชนธรรมดาที่มีความหลากหลายทางความคิด...ก้เข้าใจได้ แต่ว่าถ้าเป็นบุคคลที่มีสถานะ หรือถ้าเป็นองค์กรที่มีสถานะก็ย่อมถูกตั้งข้อสังเกตและมีความคิดเห็นมากกว่าประชาชนทั่วไปได้
หลายคนก็พูดถึงในกรณีของอนุสาวรีย์จอมพล ป. ที่ตั้งอยู่ที่สถาบันป้องกันประเทศก็ถูกย้ายไปหยก ๆ เมื่อ 26 ม.ค. 63 (เร็ว ๆ นี้เอง) หรือว่าอนุสาวรีย์พลเอกพระยาพหลฯ ซึ่งอยู่ที่ศูนย์ทหารปืนใหญ่ ลพบุรี ค่ายพหลโยธินก็ถูกเคลื่อนย้ายไป และเข้าใจว่าชื่อค่ายฯ ก็มีการเปลี่ยนแปลง บ้านจอมพล ป. หรือค่ายพิบูลสงคราม เหล่านี้ก็คงต้องถูกเปลี่ยนชื่อหมด!
ความจริงผ่านมา 80 กว่าปี พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยังมีพิพิธภัณฑ์ ยังมีชื่อเหลืออย่างเดียวก็คือถนนพหลโยธิน ดีไม่ดีก็อาจจะถูกเปลี่ยนชื่ออีกหรือเปล่า?
สิ่งที่มองว่าวัตถุที่อาจจะหายไปอีก เช่น ป้ายชือ่ถนนพหลโยธิน หรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขณะกำลังก่อสร้าง |
"อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" ตั้งขึ้นเมื่อ 2482 หลังจากที่สัมฤทธิ์ผลเกี่ยวกับเรื่องการแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้หมด มีความพยายามที่จะทุบ คือตัวอนุสาวรีย์นั้นมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับผู้ก่อการทั้งหมด มีพระขรรค์ 6 อัน หมายถึงหลัก 6 ประการ พานสูง 3 เมตร หมายถึงเดือน 3
คือตัวเลขที่ประกอบกันเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นตัวเลขของคณะผู้ก่อการในการเปลี่ยนแปลงการปกครองทั้งสิ้น คือมีความหมาย
ความจริงคำว่า "อนุสาวรีย์" เขาทำในสิ่งที่จบไปแล้ว หรือเป็นอนุสรณ์ ดังนั้นจริง ๆ ชื่อ "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" ถ้าคิดว่าเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย ก็อาจจะคิดอย่างนั้นก็ได้ เพราะตั้งแต่ตอนต้นความหมายก็คือสัญลักษณ์ที่ผู้ก่อการได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ!
แล้วความพยายามที่จะทุบอนุสาวรีย์นี้มีตั้งแต่ในยุคจอมพล ป. แล้วท่านก็ไปเรื่อย ๆ (แม้จะมีการอนุมัติให้ทุบแล้วให้สร้างอนุสาวรีย์ใหม่) บอกว่าไม่มีงบประมาณ ก็เลยอยู่มาจนบัดนี้ แล้วก่อนหน้านี้ (ก่อน 14 ตุลา 16) พานรัฐธรรมนูญและตัวรัฐธรรมนูญก็ทาสีดำนะ ตอนหลังมาเปลี่ยนเป็นสีทอง ซึ่งในทางศิลปะอาจารย์ว่าแบบเก่ามันเข้ากันมากกว่า ดูเป็นศิลปะมากกว่า แต่ด้วยความเชื่อว่าสีดำจะเป็นลางไม่ดี ก็เลยเปลี่ยนเป็นสีทองจนกระทั่งมาถึงบัดนี้
อันนี้ก็ทำนายไปได้ว่าไม่รู้ในอนาคตจะถูกทุบหรือเปล่า? ถูกรื้อทิ้งหรือเปล่า? อาจจะมีการอ้างว่าจะต้องทำอุโมงค์อะไรหรือเปล่าดิฉันก็ไม่รู้? อันนี้ทำนายไว้ในอนาคต
ทั้งหมดนี้เป็นสัญลักษณ์ทางวัตถุ แม้กระทั่งป้ายชื่อ
การหายไปของสัญลักษณ์ทางวัตถุ
หวังว่าจะทำให้คนลืม
หวังว่าจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ประเทศได้
แต่ในทัศนะของดิฉันคิดว่า "ไม่ใช่" ยิ่งกลับทำให้คนจำ
อยากให้ลืม คนกลับจำ
ยกตัวอย่าง หมุด (คณะราษฎร) มันก็แปรมาเป็นแบบที่ท่านเห็นแบบนี้ (เป็นนาฬิกา) อันนี้เป็นฝีมือของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ (หนูหริ่ง) ดิฉันทราบว่าปัจจุบันนี้เป็นนาฬิกา เป็นเข็มกลัด เป็นคุกกี้ ก็มี
นาฬิกาหมุดคณะราษฎร โดย คุณสมบัติ บุญงามอนุงค์ (หนูหริ่ง) |
หมายความว่าตัวหมุด ซึ่งเป็นวัสดุทองเหลืองตรงนั้นถึงจะหายไป แต่มันเกิด "หมุดในใจ" และเป็นหมุดแบบใหม่เต็มไปหมด ดังนั้นผลมันจึงตรงกันข้าม
คือก่อนหน้านี้บางทีดิฉันก็เข้าใจว่าคนรุ่นใหม่เขาอาจจะไม่ได้สนใจ มันก็แค่หมุด แต่พอถูกทำให้หายไป คนก็สนใจว่า เอ๊ะ! ทำไมมันต้องหายไป
มันแปลก...ในประเทศอื่น ๆ พวกสัญลักษณ์ในเชิงประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปเขาก็ยังคงไว้ ยกเว้นปัจจุบันนี้ตั้งแต่มีเรื่องของ "จอร์จ ฟลอยด์" เริ่มมีการโค่น อันนั้นเป็นการโค่นอนุสาวรีย์ของบุคคลที่ในประวัติศาสตร์นั้นกดขี่คน กดขี่ทางผิว หรือทางเพศ หรือในด้านอาณานิคม เป็นต้น นั่นแปลว่าสิ่งที่ก้าวหน้ามาทำลายสิ่งที่ล้าหลัง เพื่อทำให้ประวัติศาสตร์ถูกชำระด้วยสิ่งที่ก้าวหน้า
แต่ว่าของเรามันประหลาด อันนี้สาธารณชนต้องดูเอาเอง
คุณเอาหมุดไป คนเริ่มสนใจ แต่เดี๋ยวนี้หมุดมันผุดเต็มขึ้นไปหมด หรือว่าตัวอนุสาวรีย์ปราบกบฎที่ถูกย้ายหายไป แต่ว่าเรื่องกบฎบวรเดช และการที่มีชัยชนะของคณะราษฎรต่อกบฎบวรเดช ก็จะกลับกลายเป็นเรื่องที่แพร่หลาย
ขณะนี้คนก็ต้องมาสนใจที่ท่านทำบุญให้กับพระองค์เจ้าบวรเดช หรือพระยาศรีสิทธิสงคราม ตัวดิฉันเองโดยส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาอะไร นี่เป็นเรื่องราวในทางประวัติศาสตร์ แต่ว่ามันจะทำให้คนสนใจ แต่คนสมัยใหม่จะสนใจในแง่ไหน นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่สิ่งที่ดิฉันอยากจะพูดตรงนี้ก็คือ อะไรที่ถูกทำให้หายไป มันกลายเป็นสิ่งใหม่ที่เข้าไปอยู่ในหัวใจประชาชน เพราะคนเริ่มสงสัย
จากไม่สนใจเรื่องหมุด...ก็จะมีหมุดทั่วไป
จากไม่สนใจเรื่องของกบฎบวรเดช...ก็หันกลับมาสนใจ มาหาข้อมูลเรื่องของกบฎบวรเดช
ซึ่งถ้าเรากลับไปดูพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 7 (ดิฉันจะพูดในครั้งต่อไป) ท่านวิพากษ์วิจารณ์ไม่ให้พวกเจ้ามาใช้กำลังทหาร หรือลงมากระทำการ แม้กระทั่งตั้งพรรคการเมืองเอง เพราะท่านบอกว่าจะทำให้เกิดปัญหามากมาย
หลายคนอาจจะหยิบยกประวัติศาสตร์มาด้วยการตีความ แต่ไม่ได้ลงลึกถึงเนื้อแท้จริง ๆ ดังนั้นสิ่งที่เป็นเรื่องจริงมันจะถูกทำให้ปรากฏ และการตีความแบบเขลา ๆ หรือปฏิบัติการแบบตื้น ๆ แทนที่จะได้ผลตามประสงค์ มันกลับได้ผลตรงข้าม
คิดจะให้คนลืม...เปล่า!!! คนไม่ลืม...กลับจำและรู้เรื่องใหม่ ๆ
หลายเรื่องที่คนต้องการให้ลืมก็ไม่รู้จริง
อยู่เฉย ๆ เสียยังดีกว่า ให้ประวัติศาสตร์นั้นคนได้เรียนรู้
แต่ดิฉันก็ชอบนะ ทำให้คนสนใจมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และคนรุ่นใหม่ ๆ ด้วย แม้กระทั่งคนรุ่นเก่าหลายคนก็อาจจะไม่ได้มองสิ่งเหล่านี้ แต่ความพยายามที่จะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ (เปลี่ยนประวัติศาสตร์) อาจจะมองว่ามีชัยชนะในปัจจุบัน นั่นก็คืออำนาจนิยม จารีตนิยม อยู่ในฐานะที่ครองอำนาจ แล้วจะกลับไปเอาประวัติศาสตร์ซึ่งครั้งหนึ่งคณะราษฎรได้เป็นรัฐบาล ครองอำนาจอยู่ 15 ปี หลังจากนั้นเอายุคจอมพล ป. ถึงแม้จอมพล ป. จะร่วมมือกับกลุ่มจารีตนิยม อำนาจนิยม แต่จอมพล ป. ก็ยังเป็นจอมพล ป. ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะราษฎรแต่ต้น
ถ้าว่าไปก็คือ 25 ปี ที่คุณปฏิเสธไม่ได้ถึงคุณูปการในสิ่งที่คณะราษฎรได้ทำไว้ให้กับประเทศไทย แล้ว "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" จริง ๆ แล้วก็คืออนุเสาวรีย์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้แก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยกเลิกเงินรัชูปการ กระทั่งโรงเรียนเทศบาล อาจารย์ธิดาเล้ก ๆ ยังได้เคยเห็น เข้าไปเรียนอยู่บางปี โรงเรียนเทศบาลนั้นมีอยู่ทั่วราชอาณาจักร แล้วก็อย่างองค์การเภสัชกรรมที่ผลิตยาอยู่ทุกวันนี้ รูปปั้น ดร.ตั้ว ลพานุกรม ที่อยู่ข้างหน้า นั่นก็เป็นผลงานของคณะราษฎรทั้งสิ้น
คือสิ่งที่ทำเอาไว้มีมากมาย ธนาคารชาติ ก็อาจารย์ปรีดีเป็นคนทำ การแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยกเลิกเงินรัชูปการที่หมายความว่าไพร่ต้องจ่าย แทนที่จะเข้าเวร (เข้าสังกัด) ก็คือยกเลิกไปหมด
ดิฉันเองก็ไม่ใช่เวลาที่จะมาบอกว่าคณะราษฎรได้ทำอะไรเอาไว้บ้าง นั่นเป็นเรื่องที่คนต้องไปศึกษาเอาเอง แต่ 25 ปี อาจจะมีจุดอ่อน แต่จุดที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นมีมากมาย ซึ่งมันเป็นประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้!!!
และนี่จึงเป็นเรื่องที่ดีที่ขณะนี้ ถ้าคุณเข้าไปในโลกออนไลน์ เรามีเวปไซต์ใหม่ ๆ ซึ่งน่าชื่นชมที่ได้พยายามนำเสนอเรื่องราว รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงการปกครองและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 2475 มาเป็นลำดับ
เมื่อวานนี้ดิฉันได้ยกตัวอย่างหนังสือหลายเล่มซึ่งเป็นหนังสือเล่มใหญ่ ๆ แม้กระทั่งหนังสือของพระยาพหลฯ กับจอมพล ป. ทหารก็เป็นคนทำขึ้นมา และบัดนี้เอาป้ายชื่อออก จะลืมหรือ? เพราะว่าพลเอกพระยาพหลฯ เป็นนายกฯ หลายสมัยนะ เป็นที่ประทับใจและชื่นชมว่าเป็นนายทหารที่เป็นนายกฯ ที่มีคนยกย่องมากที่สุด และเป็นหลายสมัย ดูเหมือนจะ 4 สมัยด้วยซ้ำ แล้วอยู่ ๆ ตอนนี้ลบชื่อออกจากค่ายทหารต่าง ๆ ทั้งหมด อันนี้ก็แล้วแต่นะ
แต่ประชาชนขณะนี้ ปรากฏการณ์ใหม่ ๆ เรื่องใหม่ ๆ และคนใหม่ ๆ ที่เข้าใจบริบทการเมืองไทยและต้องการให้การเมืองก้าวไปข้างหน้ามีเกิดขึ้นมากมาย ดิฉันมีความพึงพอใจในสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
สิ่งเก่าบางสิ่งเป็นวัตถุหายไป
แต่สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นคน เป็นองค์ความรู้ เป็นเนื้อหาของความก้าวหน้าและวิธีการ เทคนิคใหม่ ๆ ซึ่งจะทำลายวิธีคิดแบบเก่า คนเก่า ๆ และระบอบแบบที่เป็นตัวถ่วงรั้งประชาชนไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า
เพราะฉะนั้นดิฉันก็คิดว่า "คิดผิด" ถ้าอยู่ในฝั่งจารีตที่พยายามจะเขียนประวัติศาสตร์ ที่พยายามจะเอาวัตถุหายไป
แต่คิดผิดของท่านมันดีสำหรับประชาชนนะ สำหรับดิฉันมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเราได้สิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา
ดังนั้นไม่ต้องไปเสียใจถ้ามีการยกเลิกหรือยุบ "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งน่าท้าทาย หรือจะยกเลิกชื่อถนนพหลโยธิน (ค่ายฯ ยังยกเลิกไปได้แล้ว) นี่แหละที่คณะราษฎรตัดถนนไปสุดภาคเหนือ ไปสุดภาคใต้ นี่ก็เป็นผลงาน แต่ถ้าจะเปลี่ยนชื่อแล้วเอาผลงานไปใส่ชื่ออย่างอื่นก็แล้วแต่
ถ้าจะทำให้มากกว่านี้ก็ยินดีด้วยนะ เพราะว่านั่นจะทำให้คนหันมาสนใจ และมองเห็นว่าวัสดุหรือสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ทำไมกลุ่มจารีตนิยมและอำนาจนิยมไม่ต้องการให้ดำรงอยู่ ทำไมต้องการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่
"นี่เป็นสิ่งดีสำหรับประชาชนไทยที่จะก้าวต่อไป และดิฉันเชื่อว่าชนชั้นที่มีการเปลี่ยน มีเสรีชนมากขึ้น มีเยาวชนรุ่นใหม่มากขึ้น นิมิตหมายที่ดีในการที่จะก้าวไปข้างหน้า จะทำให้สิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะการกระทำที่พยายามจะทำลายสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าในอดีต ก็จะเกิดความก้าวหน้าใหม่อย่างรวดเร็วขึ้นมา" อ.ธิดากล่าวในที่สุด