ยูดีดีนิวส์ : 22 มิ.ย. 63 ในการทำเฟสบุ๊คไลฟ์ของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐวันนี้ อ.ธิดา กล่าวว่าขณะนี้มีเรื่องร้อน ๆ อยู่หลายเรื่อง ทั้งในสถานการณ์ COVID ปกติ แต่วิกฤตการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจ ค่อนข้างไม่ปกติ แต่เนื่องจากใกล้วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญยิ่งของการเมืองไทยที่ปักหมุดหมายจาก 2475 วันนี้ที่ดิฉันจะพูดก็คือ
88 ปี จากราชาธิปไตย ยังเป็นประชาธิปไตยปลอม ๆ
อ.ธิดากล่าวว่า คือการเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งมุ่งหวังจะให้ได้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตอนนั้นใช้คำว่า Constitutional monarchy แต่ถ้าเราไปดูที่ธรรมศาสตร์ (รูปปั้นที่มีท่านอาจารย์ปรีดีอยู่) ก็ใช้คำว่า เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย (สมบูรณาญาสิทธิราชย์) มาสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
เพราะฉะนั้นคำว่า Constitutional monarchy ก็ทำให้คนบางส่วนตีความหมายกำกวม แต่ในทัศนะทั่วไปในโลกนี้ Constitutional monarchy หมายถึง ระบอบการเมืองการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มันต่างกับว่ามีพระมหากษัตริย์และมีรัฐธรรมนูญ
ดิฉันก็คิดว่าขณะนี้เป็นที่เข้าใจในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับล้าหลังที่สุดของอำมาตย์อย่างไรก็ตาม เพื่อสถาปนาประชาธิปไตยจอมปลอม เขาก็เขียนว่า การเมืองการปกครองคือระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตรงกันหมด (ไม่นับฉบับที่ 1 ฉบับแรก)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" มาเติมเอาฉบับหลัง ๆ ไม่ได้มีตั้งแต่ต้น (เพื่อทำความเข้าใจ)
หลังมีการทำรัฐประหาร 2490 แล้ว และมีรัฐธรรมนูญที่ล้าหลัง ก็มีการแต่งเติมประโยคและวรรคต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างไป ถ้าคนที่ศึกษารัฐธรรมนูญเปรียบเทียบก็จะรู้ เช่น
อำนาจอธิปไตย "เป็นของ" ราษฎรทั้งหลาย
อำนาจอธิปไตย "เป็นของ" ประชาชน หรือว่า
อำนาจอธิปไตย "มาจาก"
แค่นี้ก็เถียงกัน! "เป็นของ" ก็ดูมันหนักแน่น แต่ถ้าอำนาจ "มาจาก" อันนี้ก็ไปอีกแบบหนึ่ง ก็แปลว่า "มาจาก" ประชาชน แต่ผู้ใช้อำนาจนั้นประมาณว่ามีอำนาจโดยที่ได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชน ตรงนี้ดิฉันจะข้ามไป
อ.ธิดากล่าวต่อไปว่า มันก็ถึงเวลาที่เราคงจะต้องตั้งคำถามว่า...ผ่านมา 88 ปีแล้ว เหตุไฉนประชาธิปไตยของเรายังไม่ถึงฝั่ง ยังเป็นประชาธิปไตยปลอม ๆ
เหตุผลที่ปลอมก็คือชัดเจนว่าอำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชน อาจจะอ้างว่ามาจากประชาชนเหมือนที่เขียนในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้เป็นของประชาชนเหมือนรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองฉบับแรก เราจึงยังต้องเรียกว่าประชาธิปไตยปลอม ๆ เพราะว่าถ้าเอารัฐธรรมนูญเป็นแก่นสารว่าใครจะมีอำนาจอย่างไรในแผ่นดินนี้ เราก็พบว่าในเนื้อหารัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีอำนาจจริง
อย่าว่าแต่ว่าจะพลิกแพลงนำไปปฏิบัติ แล้วบิดเบือน ทำให้อำนาจซึ่งควรจะมาจากประชาชน เป็นของประชาชนนั้น กลายไปเป็นอำนาจของคณะบุคคล ดังนั้นจึงเป็นคณาธิปไตย หรือเป็นคณาธิปไตยที่เป็นอำนาจนิยมและจารีตนิยม
ก่อนหน้านี้ดิฉันเคยเอาคลิปของอาจารย์ปรีดีที่ท่านวิจารณ์ตัวเองลงในเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ แต่ว่าถ้าวันนี้คนลองไปอ่านของบีบีซี ก็มีการถอดคลิปนั้นออกมาซึ่งตอนนั้นผ่านมา 50 ปี อาจารย์ปรีดีส่วนใหญ่ท่านก็วิพากษ์ตัวเอง วิพากษ์คณะราษฎร และวิพากษ์กลุ่มคณะที่ยึดอำนาจได้แต่รักษาอำนาจไว้ไม่ได้ และถูกฝั่งจารีตนิยมแย่งชิงอำนาจคืน นั่นเป็นชุดแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยึดอำนาจได้แต่รักษาอำนาจไม่ได้
ในทัศนะของอาจารย์ปรีดีนั้น ท่านให้ความขัดแย้งภายในและจุดอ่อนภายในคณะราษฎรเป็นหลัก ซึ่งมันก็ถูกต้องตามทฤษฎีก็คือ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ความขัดแย้งภายในและจุดอ่อนภายในต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ แม้นเรื่องภายนอกจะมีบทบาทสูง แต่ถ้าภายในแข็งแกร่งก็จะสามารถต้านอุปสรรคและเอาชนะฟันฝ่าไปได้
แต่สำหรับเรา เราก็ต้องดูทั้งปัญหาจุดอ่อนคณะราษฎร และจุดอ่อน ของฝ่ายประชาชนต่าง ๆ ในการที่จะขับเคลื่อนเพื่อที่จะสามารถทำให้ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง (ที่ประชาชนมีอำนาจแท้จริง)
ดิฉันไม่อยากใช้คำว่า "สมบูรณ์" เพราะหลายคนก็บอกว่าสมบูรณ์มันไม่มี คือระบอบประชาธิปไตยก็ต้องแก้ไขไปเรื่อย ๆ แต่หมายความว่าให้ความก้าวหน้านั้นมีมากกว่าความล้าหลัง เพราะประชาชนไทยก็มีการขับเคลื่อนตลอด แต่ว่ามา ณ บัดนี้เราก็จะมองว่าความล้าหลังมันน่าจะมากกว่าความก้าวหน้า นั่นคือปรากฏการณ์ของระบอบการเมือง
แต่ในทัศนะของดิฉัน ปรากฏการณ์ของระบอบการเมืองดูเป็นปรากฏการณ์ล้าหลังมากกว่าก้าวหน้า แต่ว่าประชาชนยังก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ถอยหลัง มันพิสูจน์ให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้หยุดการต่อสู้ เพียงแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละระยะเวลา
และในการเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละระยะเวลามันไม่อาจเปลี่ยนแปลงอำนาจการเมืองการปกครองได้เท่านั้นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะถอยหลัง ตรงข้าม...ประชาชนจะก้าวหน้า เพราะเราจะเห็นได้ว่า เมื่อคณะราษฎรหมดอำนาจไปในปี 2490 หลังจากนั้นการต่อสู้ของประชาชนก็มีมาเป็นลำดับ
ในส่วนของอาจารย์ปรีดีพูดถึงจุดอ่อน ความขัดแย้งภายใน แล้วก็การที่รักษาชัยชนะไว้ไม่ได้ นั่นก็คือยุทธวิธียังไม่ดีพอ และไม่ได้ตระหนักถึงการที่จะมีการฟื้น ฟื้นซากทัศนะเผด็จการทาสศักดินา ซึ่งเป็นการโต้อภิวัฒน์หรือ Counter Revolution คือไม่ได้ตระหนัก แล้วกลับมีส่วนร่วมในการที่ทำการตอบโต้สิ่งที่ได้ทำมา แล้วขาดยุทธวิธี ที่สำคัญที่น่าสนใจก็คือว่า มีความรู้ทางทฤษฎีที่ไม่เท่ากัน ขาดความชำนาญในการติดต่อกับราษฎรอย่างกว้างขวาง ในทัศนะของดิฉันก็คือขาดการทำงานมวลชนอย่างเข้มแข็ง
นี่คือในส่วนของอาจารย์ปรีดี นี่คือปัจจัยภายใน
แต่ในทัศนะดิฉันที่สำคัญมากก็คือว่า นอกจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกซึ่งดิฉันจะเน้นก็คือปัจจัยของภายนอกคณะราษฎร นั่นคือ "สังคมไทย"
ปัจจัยของสังคมไทยซึ่งจะต้องเข้าใจว่า สังคมไทยมีลักษณะแตกต่าง ถ้าเราดูพัฒนาการของสังคมในประเทศที่ก้าวเข้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะเสรีประชาธิปไตยได้อย่างดีปัจจุบันนี้ จะมีแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือประเทศเจ้าอาณานิคม หรือเป็นประเทศที่เข้าสู่ทุนนิยมได้อย่างรวดเร็ว นั่นคือตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 เข้าสู่ศตวรรษที่ 17-18
เมื่อเข้าสู่ยุคทุนนิยมได้อย่างรวดเร็ว ประการแรกคือเขามีองค์ความรู้ และประการที่สำคัญก็คือเขามีชนชั้นนายทุนที่แข็งแกร่ง มีกรรมกร มีความรู้เทคโนโลยี มีเสรีชน เมื่อมีชนชั้นใหม่เกิดขึ้นมา ชนชั้นใหม่ก็ต้องปรารถนาที่จะมีบทบาทในฐานะ "ผู้ปกครอง"
อย่างในอังกฤษ ขุนนางก็ลุกขึ้นมามีปัญหากับพระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีขนบธรรมเนียมแปลก ๆ เช่น เวลาพระมหากษัตริย์จะไปเข้าสภาขุนนาง ไปเคาะ ๆ ต้องมีการดันเอาไว้ หรือมีการตอบโต้อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นพิธีการ
ก็คือปัจจัยที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตย การเมือง การปกครอง ในทัศนะของดิฉันคิดว่ามันต้องมีชนชั้นที่แข็งแกร่งขึ้นมา
ทีนี้หันมาดูสังคมไทย ในทัศนะดิฉันยังเป็นสังคมจารีตนิยม อำนาจนิยม
ประเทศที่เข้าสู่ทุนนิยมได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็มีโภคทรัพย์ มีชนชั้นขึ้นมาต่อสู้เพื่อต้องการอำนาจอยู่ในมือนายทุน แทนที่จะอยู่ในมือของพระมหากษัตริย์ หรือขุนนาง หรือเจ้าที่ดิน ก็เกิดชนชั้นใหม่ เกิดนายทุน เกิดชนชั้นกลาง
อีกส่วนหนึ่งในประเทศอาณานิคม ปรากฏว่าเมื่อมีการล่าอาณานิคม ชนชั้นนำเดิมในระบอบศักดินา ถูกทำลายโดยจักรวรรดินิยม พูดง่าย ๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นโดยการสนับสนุนของเจ้าอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ เพราะว่าเมื่อเขาปลดปล่อย เขาต้องการให้ประชาชนมีอำนาจ ไม่ใช่เจ้าผู้ครองนครหรือพระมหากษัตริย์ชุดเดิม พูดง่าย ๆ ว่าจารีตนิยมถูกทำลายด้วยอาณานิคม
หันมาดูประเทศไทย!
ประเทศไทยเป็นกึ่งอาณานิคม ขบวนการจารีตนิยมและขบวนการเมืองการปกครองของเราไม่ได้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง อาจจะลดไปจำนวนหนึ่ง ต้องพูดตรง ๆ ว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองให้ทันสมัยขึ้นเป็นจำนวนมาก
และในช่วงรัชกาลที่ 4 เราสูญเสียเอกราชไปโดยปริยายจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ด้วยเหตุนี้พูดง่าย ๆ ว่าเจ้าอาณานิคมเขาไม่ต้องยึดการเมืองการปกครองประเทศไทย เพราะเราได้มอบให้เขาไปเกือบหมดแล้ว เขามีการแบ่งกันตรงกลางประเทศ (แม่น้ำเจ้าพระยา) โดยฝรั่งเศสมีอำนาจอิทธิมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งนี้ อังกฤษมาทางอินเดีย พม่า มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะฉะนั้นเวลาเราต้องการให้อังกฤษช่วยเมื่อฝรั่งเศสเข้ามารุกราน เขาก็จะทำเฉย ๆ เพราะความจริงเขาตกลงกันไว้เรียบร้อย กระทั่งเราจะให้คนเยอรมันสร้างรางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภาคใต้ยังไม่ได้เลย ต้องเป็นคนอังกฤษถึงจะทำได้ มีรายละเอียดหลายอย่างซึ่งเราจะไม่พูด ณ ที่นี้
ดิฉันพูดแต่เพียงภาพรวมก็คือ สังคมไทยยังเป็นจารีตนิยม ยังมีการเมืองการปกครองในระบอบศักดินา แต่ว่ามีการคลี่คลายให้ทันสมัยมากขึ้น เพราะความปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ มีการปลดปล่อยแรงงานจากทาส ไพร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ประเทศได้ชาวนาเสรีขึ้นมาจำนวนมาก แล้วก็ได้ "เงินอากรนา" ได้ "เงินรัชชูปการ" คือไม่ต้องเป็นไพร่แต่ต้องจ่ายเงิน ก็เกิดความมั่งคั่งขึ้นในประเทศมากมาย แทนที่จะให้พวกขุนนางคุมไพร่แล้วคุมความมั่งคั่ง ก็รวมศูนย์อำนาจ
มีนักวิชาการหลายคนก็ถือว่า Absolute monarchy หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยก็คือในยุครัชกาลที่ 5 นี่เอง เพราะก่อนหน้านี้ต้องแบ่งอำนาจให้ขุนนางอยู่เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นการปลดปล่อยแรงงานเพื่อเข้าสู่สมัยใหม่มาทำในรัชกาลที่ 5
แต่ยังไม่พอ!
จากรัชกาลที่ 6 มาถึงรัชกาลที่ 7 เรามาเจอกระแสเศรษฐกิจตกต่ำ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พยายามจะแก้ปัญหา แต่ก็แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง แล้วก็เกิดปัญหาที่ต้องดึงข้าราชการออก ข้าราชการเองก็มีความไม่พอใจ ประชาชนก็ทุกข์ยากเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย (ในสมัยรัชกาลที่ 6)
เพราะฉะนั้นสังคมไทยยังเป็นสังคมศักดินา ยังเป็นสังคมจารีตแบบเดิม แม้กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในขณะที่คนอื่นเขาเป็นทุนนิยม ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยจะเบ่งบานเกิดขึ้นได้ มันต้องมีชนชั้นที่แข็งแรง ของเราเป็นทุนนิยมที่ล้าหลัง เนื่องจากเราไม่มีแรงงานเสรีตั้งแต่ต้น เพราะเราใช้ระบบไพร่ ไพร่ก็เข้าไปอยู่ในสังกัด คนที่มีความรู้ก็ต้องมาเป็นข้าราชการเป็นขุนนางหมด
ดังนั้น สังคมไทย นอกจากพระมหากษัตริย์ ก็มีขุนนาง ซึ่งขุนนางก็มีตั้งแต่ศักดินาสูงจนกระทั่งศักดินาต่ำ และเมื่อไม่มีศักดินาแล้วก็ยังเป็นขุนนางแบบเดิม แม้กระทั่งคนที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ต้องพูดง่าย ๆ ว่าเป็นข้าราชการขุนนางระดับกลาง ระดับล่าง ๆ เพราะส่วนมากอายุยังน้อย เป็นขุน เป็นหลวง ประมาณนี้ และส่วนอื่นก็เป็นสามัญชนซึ่งเพิ่งออกมาจากไพร่
ในประเทศอื่น ๆ เขาจะมีช่างฝีมือแล้วพัฒนามาคล้าย ๆ SME ปัจจุบัน เป็นแรงงานอิสระ เพราะประเทศอื่น ๆ ในสังคมศักดินาเขานั้นที่ดินไม่ได้เป็นของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด แต่ในประเทศไทย ที่ดินเป็นของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด และมอบให้ขุนนางส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นเพิ่งจะมีการซื้อขายให้ประชาชนมีสิทธิถือครองที่ดินได้
พัฒนาการจากระบอบศักดินาเข้ามาสู่ทุนนิยมของเรานั้นช้า ชนชั้นของเราไม่มีชนชั้นนายทุนจริง นายทุนก็ต้องนำเข้า กรรมกรก็ต้องนำเข้า มีแต่ขุนนางกับไพร่
ดังนั้นความคิด ทัศนะ อุดมการณ์ ก็ยังเป็นจารีต ยังเป็นศักดินา ยังมีลักษณะรวมศูนย์และระบบอุปถัมภ์จนถึงปัจจุบัน จึงทำให้ข้าราชการไทยเป็นองค์กรที่ล้าหลัง แม้จะพยายามแก้ไขปรับปรุงแล้วก็ตาม เพราะว่าทัศนคติและระบบที่ดำเนินมานั้นเป็นจารีต เป็นระบบอุปถัมภ์ เราไม่มีไพร่สังกัด แต่คุณไปดูข้าราชการจะมีสังกัดใครขึ้นกับสายไหน สายนี้ได้เป็นปลัดฯ สายนี้ได้ขึ้น... มันก็ยังเป็นแบบเดิมอยู่
ดิฉันก็อยากจะมองว่า นอกจากปัญหา 88 ปีของเรา ฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้ามีจุดอ่อนก็จริง แต่ต้องเข้าใจว่าสังคมไทยไม่ใช่ประเทศที่เป็นเจ้าอาณานิคมที่ทุนนิยมเบ่งบาน
และก็ไม่ใช่ประเทศอาณานิคมที่ถูกเจ้าอาณานิคมหยิบยื่นและทำลายจารีตนิยมไป
ตรงนี้จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ ผู้ที่จะผลักดันและเปลี่ยนแปลงประเทศต้องคำนึงถึงความจารีตนิยมและสังคมชนชั้นในสังคมไทยที่ยังดำรงอยู่
หลายคนดูน่าจะก้าวหน้า แต่ความคิดในที่สุดก็กลายเป็น "ขุนนาง"
รัฐวิสาหกิจไทยก็เป็น "กรรมกรขุนนาง"
ข้าราชการก็เป็น "ขุนนาง"
ไม่ต้องพูดถึงองค์กรอิสระต่าง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับระบบอุปถัมภ์และรวมศูนย์ขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจเป็นใคร ถ้าหากว่าฝ่ายจารีตนิยมอำนาจนิยมสามารถยึดอำนาจได้ ใช้กำลังทหารยึดอำนาจ และตุลาการบอกว่า "ชอบแล้ว" เพราะท่านชนะได้อำนาจแล้ว ดังนั้นกฎหมายหรือคำสั่งของท่านที่ท่านเขียนมา (ตราเอาไว้) คือกฎหมายทั้งสิ้น
ถามว่า...แล้วข้าราชการไทยจะไปทางไหน?
ข้าราชการไทยก็ต้องขึ้นต่ออำนาจ และประชาชนซึ่งไม่ได้มีความคิดที่จะต่อสู้ด้วยอาวุธ (เพราะไม่มีอาวุธ) ในส่วนพรรคการเมืองที่เคยต่อสู้ด้วยอาวุธก็ล้มเหลว ส่วนหนึ่งก็คือ นอกจากปัจจัยภายใน อย่างที่คณะราษฎรอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ หรืออาจจะมีคนวิจารณ์คุณทักษิณและพรรคไทยรักไทย ก็วิจารณ์ได้ และมีจุดอ่อนได้เหมือนกัน
แต่ในขณะเดียวกันดิฉันก็อยากให้เข้าใจด้วยว่า สังคมไทย มันเป็นเช่นนี้ เป็นสังคมจารีตนิยม อำนาจนิยม ที่ยังไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน ด้วยปัจจุบัยที่อวยให้ประโยชน์ เพราะสงครามเย็นแทนที่จักรวรรดินิยมจะจัดการกับจารีตนิยม จักรวรรดินิยมกลับต้องการให้จารีตนิยมดำรงอยู่เพื่อสู้กับคอมมิวนิสต์
ดังนั้นสังคมจารีตนิยมจึงได้ลมหายใจและออกซิเจน ได้อาหาร จากจักรวรรดินิยม ไม่ได้ถูกทำลายนะ!
นี่จึงทำให้ประเทศไทยมีลักษณะพิเศษ!!!
แล้วปัญญาชนไทย ชนชั้นกลางไทย ก็กลายเป็น "ขุนนาง"
สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง นี่ก็เป็นสิ่งที่เขาคิดอยู่
เรียนไปก็เพื่อที่จะเป็นเจ้าคนนายคน นี่คือคติที่ยังเชื่ออยู่เช่นนี้
แม้บัดนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร แต่รากเหง้าความคิดจารีตนิยมและการสยบต่ออำนาจยังดำรงอยู่ในสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม ผ่านมา 88 ปี ดิฉันก็คิดว่าเรา
อาจจะไม่จำเป็นต้องไปโทษคณะราษฎร
อาจไม่จำเป็นต้องไปโทษ พคท.
อาจไม่จำเป็นต้องไปโทษ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ว่าได้อำนาจแล้วรักษาไม่ได้ (หมายถึงคณะราษฎรและดร.ทักษิณ) เพราะอย่างนั้น... เพราะอย่างนี้...
แต่ดิฉันคิดว่า เราควรมองไปข้างหน้าว่าวิธีคิดของสังคมไทยที่เป็นจารีตนิยม และทำให้คนมีความคิดที่อยากจะเป็นขุนนางทั้งหมด มันก็เสื่อมถอยไปมากแล้ว โอกาสใหม่ที่ระบอบประชาธิปไตยจะสามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยนั้น ดิฉันเชื่อว่าอย่างไรก็มีแน่ แต่ขณะนี้ดิฉันก็เชื่อเหมือนคนอื่นว่า เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่มันก็จะทำไม่ได้ เพราะเขาเขียนให้ "ฉีก" เขาไม่ได้เขียนให้ "แก้" เพราะฉะนั้นคนที่จะแก้รัฐธรรมนูญนี้ได้ก็คือต้องมาฉีกใหม่ด้วยอำนาจปากกระบอกปืน
คำถามว่า...
เมื่อเกิดคนรุ่นใหม่ขึ้นมามาก ๆ
เมื่อเกิดนายทุนใหม่ขึ้นมามาก ๆ
เมื่อเกิดความคิดที่เข้าใจ ต้องการความเท่าเทียม ความยุติธรรม ขึ้นมามาก ๆ
ความคิดแบบเก่า อำนาจแบบเก่า รัฐธรรมนูญแบบนี้
มันจะต้านทานกระแสประชาชนได้หรืออย่างไร?
ดิฉันยังมีความหวังค่ะ อ.ธิดากล่าวในที่สุด
เหตุผลที่ปลอมก็คือชัดเจนว่าอำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชน อาจจะอ้างว่ามาจากประชาชนเหมือนที่เขียนในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้เป็นของประชาชนเหมือนรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองฉบับแรก เราจึงยังต้องเรียกว่าประชาธิปไตยปลอม ๆ เพราะว่าถ้าเอารัฐธรรมนูญเป็นแก่นสารว่าใครจะมีอำนาจอย่างไรในแผ่นดินนี้ เราก็พบว่าในเนื้อหารัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีอำนาจจริง
อย่าว่าแต่ว่าจะพลิกแพลงนำไปปฏิบัติ แล้วบิดเบือน ทำให้อำนาจซึ่งควรจะมาจากประชาชน เป็นของประชาชนนั้น กลายไปเป็นอำนาจของคณะบุคคล ดังนั้นจึงเป็นคณาธิปไตย หรือเป็นคณาธิปไตยที่เป็นอำนาจนิยมและจารีตนิยม
ก่อนหน้านี้ดิฉันเคยเอาคลิปของอาจารย์ปรีดีที่ท่านวิจารณ์ตัวเองลงในเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ แต่ว่าถ้าวันนี้คนลองไปอ่านของบีบีซี ก็มีการถอดคลิปนั้นออกมาซึ่งตอนนั้นผ่านมา 50 ปี อาจารย์ปรีดีส่วนใหญ่ท่านก็วิพากษ์ตัวเอง วิพากษ์คณะราษฎร และวิพากษ์กลุ่มคณะที่ยึดอำนาจได้แต่รักษาอำนาจไว้ไม่ได้ และถูกฝั่งจารีตนิยมแย่งชิงอำนาจคืน นั่นเป็นชุดแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยึดอำนาจได้แต่รักษาอำนาจไม่ได้
ในทัศนะของอาจารย์ปรีดีนั้น ท่านให้ความขัดแย้งภายในและจุดอ่อนภายในคณะราษฎรเป็นหลัก ซึ่งมันก็ถูกต้องตามทฤษฎีก็คือ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ความขัดแย้งภายในและจุดอ่อนภายในต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ แม้นเรื่องภายนอกจะมีบทบาทสูง แต่ถ้าภายในแข็งแกร่งก็จะสามารถต้านอุปสรรคและเอาชนะฟันฝ่าไปได้
แต่สำหรับเรา เราก็ต้องดูทั้งปัญหาจุดอ่อนคณะราษฎร และจุดอ่อน ของฝ่ายประชาชนต่าง ๆ ในการที่จะขับเคลื่อนเพื่อที่จะสามารถทำให้ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง (ที่ประชาชนมีอำนาจแท้จริง)
ดิฉันไม่อยากใช้คำว่า "สมบูรณ์" เพราะหลายคนก็บอกว่าสมบูรณ์มันไม่มี คือระบอบประชาธิปไตยก็ต้องแก้ไขไปเรื่อย ๆ แต่หมายความว่าให้ความก้าวหน้านั้นมีมากกว่าความล้าหลัง เพราะประชาชนไทยก็มีการขับเคลื่อนตลอด แต่ว่ามา ณ บัดนี้เราก็จะมองว่าความล้าหลังมันน่าจะมากกว่าความก้าวหน้า นั่นคือปรากฏการณ์ของระบอบการเมือง
แต่ในทัศนะของดิฉัน ปรากฏการณ์ของระบอบการเมืองดูเป็นปรากฏการณ์ล้าหลังมากกว่าก้าวหน้า แต่ว่าประชาชนยังก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ถอยหลัง มันพิสูจน์ให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้หยุดการต่อสู้ เพียงแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละระยะเวลา
และในการเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละระยะเวลามันไม่อาจเปลี่ยนแปลงอำนาจการเมืองการปกครองได้เท่านั้นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะถอยหลัง ตรงข้าม...ประชาชนจะก้าวหน้า เพราะเราจะเห็นได้ว่า เมื่อคณะราษฎรหมดอำนาจไปในปี 2490 หลังจากนั้นการต่อสู้ของประชาชนก็มีมาเป็นลำดับ
ในส่วนของอาจารย์ปรีดีพูดถึงจุดอ่อน ความขัดแย้งภายใน แล้วก็การที่รักษาชัยชนะไว้ไม่ได้ นั่นก็คือยุทธวิธียังไม่ดีพอ และไม่ได้ตระหนักถึงการที่จะมีการฟื้น ฟื้นซากทัศนะเผด็จการทาสศักดินา ซึ่งเป็นการโต้อภิวัฒน์หรือ Counter Revolution คือไม่ได้ตระหนัก แล้วกลับมีส่วนร่วมในการที่ทำการตอบโต้สิ่งที่ได้ทำมา แล้วขาดยุทธวิธี ที่สำคัญที่น่าสนใจก็คือว่า มีความรู้ทางทฤษฎีที่ไม่เท่ากัน ขาดความชำนาญในการติดต่อกับราษฎรอย่างกว้างขวาง ในทัศนะของดิฉันก็คือขาดการทำงานมวลชนอย่างเข้มแข็ง
นี่คือในส่วนของอาจารย์ปรีดี นี่คือปัจจัยภายใน
แต่ในทัศนะดิฉันที่สำคัญมากก็คือว่า นอกจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกซึ่งดิฉันจะเน้นก็คือปัจจัยของภายนอกคณะราษฎร นั่นคือ "สังคมไทย"
ปัจจัยของสังคมไทยซึ่งจะต้องเข้าใจว่า สังคมไทยมีลักษณะแตกต่าง ถ้าเราดูพัฒนาการของสังคมในประเทศที่ก้าวเข้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะเสรีประชาธิปไตยได้อย่างดีปัจจุบันนี้ จะมีแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือประเทศเจ้าอาณานิคม หรือเป็นประเทศที่เข้าสู่ทุนนิยมได้อย่างรวดเร็ว นั่นคือตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 เข้าสู่ศตวรรษที่ 17-18
เมื่อเข้าสู่ยุคทุนนิยมได้อย่างรวดเร็ว ประการแรกคือเขามีองค์ความรู้ และประการที่สำคัญก็คือเขามีชนชั้นนายทุนที่แข็งแกร่ง มีกรรมกร มีความรู้เทคโนโลยี มีเสรีชน เมื่อมีชนชั้นใหม่เกิดขึ้นมา ชนชั้นใหม่ก็ต้องปรารถนาที่จะมีบทบาทในฐานะ "ผู้ปกครอง"
อย่างในอังกฤษ ขุนนางก็ลุกขึ้นมามีปัญหากับพระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีขนบธรรมเนียมแปลก ๆ เช่น เวลาพระมหากษัตริย์จะไปเข้าสภาขุนนาง ไปเคาะ ๆ ต้องมีการดันเอาไว้ หรือมีการตอบโต้อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นพิธีการ
ก็คือปัจจัยที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตย การเมือง การปกครอง ในทัศนะของดิฉันคิดว่ามันต้องมีชนชั้นที่แข็งแกร่งขึ้นมา
ทีนี้หันมาดูสังคมไทย ในทัศนะดิฉันยังเป็นสังคมจารีตนิยม อำนาจนิยม
ประเทศที่เข้าสู่ทุนนิยมได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็มีโภคทรัพย์ มีชนชั้นขึ้นมาต่อสู้เพื่อต้องการอำนาจอยู่ในมือนายทุน แทนที่จะอยู่ในมือของพระมหากษัตริย์ หรือขุนนาง หรือเจ้าที่ดิน ก็เกิดชนชั้นใหม่ เกิดนายทุน เกิดชนชั้นกลาง
อีกส่วนหนึ่งในประเทศอาณานิคม ปรากฏว่าเมื่อมีการล่าอาณานิคม ชนชั้นนำเดิมในระบอบศักดินา ถูกทำลายโดยจักรวรรดินิยม พูดง่าย ๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นโดยการสนับสนุนของเจ้าอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ เพราะว่าเมื่อเขาปลดปล่อย เขาต้องการให้ประชาชนมีอำนาจ ไม่ใช่เจ้าผู้ครองนครหรือพระมหากษัตริย์ชุดเดิม พูดง่าย ๆ ว่าจารีตนิยมถูกทำลายด้วยอาณานิคม
หันมาดูประเทศไทย!
ประเทศไทยเป็นกึ่งอาณานิคม ขบวนการจารีตนิยมและขบวนการเมืองการปกครองของเราไม่ได้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง อาจจะลดไปจำนวนหนึ่ง ต้องพูดตรง ๆ ว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองให้ทันสมัยขึ้นเป็นจำนวนมาก
และในช่วงรัชกาลที่ 4 เราสูญเสียเอกราชไปโดยปริยายจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ด้วยเหตุนี้พูดง่าย ๆ ว่าเจ้าอาณานิคมเขาไม่ต้องยึดการเมืองการปกครองประเทศไทย เพราะเราได้มอบให้เขาไปเกือบหมดแล้ว เขามีการแบ่งกันตรงกลางประเทศ (แม่น้ำเจ้าพระยา) โดยฝรั่งเศสมีอำนาจอิทธิมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งนี้ อังกฤษมาทางอินเดีย พม่า มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะฉะนั้นเวลาเราต้องการให้อังกฤษช่วยเมื่อฝรั่งเศสเข้ามารุกราน เขาก็จะทำเฉย ๆ เพราะความจริงเขาตกลงกันไว้เรียบร้อย กระทั่งเราจะให้คนเยอรมันสร้างรางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภาคใต้ยังไม่ได้เลย ต้องเป็นคนอังกฤษถึงจะทำได้ มีรายละเอียดหลายอย่างซึ่งเราจะไม่พูด ณ ที่นี้
ดิฉันพูดแต่เพียงภาพรวมก็คือ สังคมไทยยังเป็นจารีตนิยม ยังมีการเมืองการปกครองในระบอบศักดินา แต่ว่ามีการคลี่คลายให้ทันสมัยมากขึ้น เพราะความปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ มีการปลดปล่อยแรงงานจากทาส ไพร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ประเทศได้ชาวนาเสรีขึ้นมาจำนวนมาก แล้วก็ได้ "เงินอากรนา" ได้ "เงินรัชชูปการ" คือไม่ต้องเป็นไพร่แต่ต้องจ่ายเงิน ก็เกิดความมั่งคั่งขึ้นในประเทศมากมาย แทนที่จะให้พวกขุนนางคุมไพร่แล้วคุมความมั่งคั่ง ก็รวมศูนย์อำนาจ
มีนักวิชาการหลายคนก็ถือว่า Absolute monarchy หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยก็คือในยุครัชกาลที่ 5 นี่เอง เพราะก่อนหน้านี้ต้องแบ่งอำนาจให้ขุนนางอยู่เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นการปลดปล่อยแรงงานเพื่อเข้าสู่สมัยใหม่มาทำในรัชกาลที่ 5
แต่ยังไม่พอ!
จากรัชกาลที่ 6 มาถึงรัชกาลที่ 7 เรามาเจอกระแสเศรษฐกิจตกต่ำ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พยายามจะแก้ปัญหา แต่ก็แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง แล้วก็เกิดปัญหาที่ต้องดึงข้าราชการออก ข้าราชการเองก็มีความไม่พอใจ ประชาชนก็ทุกข์ยากเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย (ในสมัยรัชกาลที่ 6)
เพราะฉะนั้นสังคมไทยยังเป็นสังคมศักดินา ยังเป็นสังคมจารีตแบบเดิม แม้กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในขณะที่คนอื่นเขาเป็นทุนนิยม ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยจะเบ่งบานเกิดขึ้นได้ มันต้องมีชนชั้นที่แข็งแรง ของเราเป็นทุนนิยมที่ล้าหลัง เนื่องจากเราไม่มีแรงงานเสรีตั้งแต่ต้น เพราะเราใช้ระบบไพร่ ไพร่ก็เข้าไปอยู่ในสังกัด คนที่มีความรู้ก็ต้องมาเป็นข้าราชการเป็นขุนนางหมด
ดังนั้น สังคมไทย นอกจากพระมหากษัตริย์ ก็มีขุนนาง ซึ่งขุนนางก็มีตั้งแต่ศักดินาสูงจนกระทั่งศักดินาต่ำ และเมื่อไม่มีศักดินาแล้วก็ยังเป็นขุนนางแบบเดิม แม้กระทั่งคนที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ต้องพูดง่าย ๆ ว่าเป็นข้าราชการขุนนางระดับกลาง ระดับล่าง ๆ เพราะส่วนมากอายุยังน้อย เป็นขุน เป็นหลวง ประมาณนี้ และส่วนอื่นก็เป็นสามัญชนซึ่งเพิ่งออกมาจากไพร่
ในประเทศอื่น ๆ เขาจะมีช่างฝีมือแล้วพัฒนามาคล้าย ๆ SME ปัจจุบัน เป็นแรงงานอิสระ เพราะประเทศอื่น ๆ ในสังคมศักดินาเขานั้นที่ดินไม่ได้เป็นของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด แต่ในประเทศไทย ที่ดินเป็นของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด และมอบให้ขุนนางส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นเพิ่งจะมีการซื้อขายให้ประชาชนมีสิทธิถือครองที่ดินได้
พัฒนาการจากระบอบศักดินาเข้ามาสู่ทุนนิยมของเรานั้นช้า ชนชั้นของเราไม่มีชนชั้นนายทุนจริง นายทุนก็ต้องนำเข้า กรรมกรก็ต้องนำเข้า มีแต่ขุนนางกับไพร่
ดังนั้นความคิด ทัศนะ อุดมการณ์ ก็ยังเป็นจารีต ยังเป็นศักดินา ยังมีลักษณะรวมศูนย์และระบบอุปถัมภ์จนถึงปัจจุบัน จึงทำให้ข้าราชการไทยเป็นองค์กรที่ล้าหลัง แม้จะพยายามแก้ไขปรับปรุงแล้วก็ตาม เพราะว่าทัศนคติและระบบที่ดำเนินมานั้นเป็นจารีต เป็นระบบอุปถัมภ์ เราไม่มีไพร่สังกัด แต่คุณไปดูข้าราชการจะมีสังกัดใครขึ้นกับสายไหน สายนี้ได้เป็นปลัดฯ สายนี้ได้ขึ้น... มันก็ยังเป็นแบบเดิมอยู่
ดิฉันก็อยากจะมองว่า นอกจากปัญหา 88 ปีของเรา ฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้ามีจุดอ่อนก็จริง แต่ต้องเข้าใจว่าสังคมไทยไม่ใช่ประเทศที่เป็นเจ้าอาณานิคมที่ทุนนิยมเบ่งบาน
และก็ไม่ใช่ประเทศอาณานิคมที่ถูกเจ้าอาณานิคมหยิบยื่นและทำลายจารีตนิยมไป
ตรงนี้จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ ผู้ที่จะผลักดันและเปลี่ยนแปลงประเทศต้องคำนึงถึงความจารีตนิยมและสังคมชนชั้นในสังคมไทยที่ยังดำรงอยู่
หลายคนดูน่าจะก้าวหน้า แต่ความคิดในที่สุดก็กลายเป็น "ขุนนาง"
รัฐวิสาหกิจไทยก็เป็น "กรรมกรขุนนาง"
ข้าราชการก็เป็น "ขุนนาง"
ไม่ต้องพูดถึงองค์กรอิสระต่าง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับระบบอุปถัมภ์และรวมศูนย์ขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจเป็นใคร ถ้าหากว่าฝ่ายจารีตนิยมอำนาจนิยมสามารถยึดอำนาจได้ ใช้กำลังทหารยึดอำนาจ และตุลาการบอกว่า "ชอบแล้ว" เพราะท่านชนะได้อำนาจแล้ว ดังนั้นกฎหมายหรือคำสั่งของท่านที่ท่านเขียนมา (ตราเอาไว้) คือกฎหมายทั้งสิ้น
ถามว่า...แล้วข้าราชการไทยจะไปทางไหน?
ข้าราชการไทยก็ต้องขึ้นต่ออำนาจ และประชาชนซึ่งไม่ได้มีความคิดที่จะต่อสู้ด้วยอาวุธ (เพราะไม่มีอาวุธ) ในส่วนพรรคการเมืองที่เคยต่อสู้ด้วยอาวุธก็ล้มเหลว ส่วนหนึ่งก็คือ นอกจากปัจจัยภายใน อย่างที่คณะราษฎรอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ หรืออาจจะมีคนวิจารณ์คุณทักษิณและพรรคไทยรักไทย ก็วิจารณ์ได้ และมีจุดอ่อนได้เหมือนกัน
แต่ในขณะเดียวกันดิฉันก็อยากให้เข้าใจด้วยว่า สังคมไทย มันเป็นเช่นนี้ เป็นสังคมจารีตนิยม อำนาจนิยม ที่ยังไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน ด้วยปัจจุบัยที่อวยให้ประโยชน์ เพราะสงครามเย็นแทนที่จักรวรรดินิยมจะจัดการกับจารีตนิยม จักรวรรดินิยมกลับต้องการให้จารีตนิยมดำรงอยู่เพื่อสู้กับคอมมิวนิสต์
ดังนั้นสังคมจารีตนิยมจึงได้ลมหายใจและออกซิเจน ได้อาหาร จากจักรวรรดินิยม ไม่ได้ถูกทำลายนะ!
นี่จึงทำให้ประเทศไทยมีลักษณะพิเศษ!!!
แล้วปัญญาชนไทย ชนชั้นกลางไทย ก็กลายเป็น "ขุนนาง"
สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง นี่ก็เป็นสิ่งที่เขาคิดอยู่
เรียนไปก็เพื่อที่จะเป็นเจ้าคนนายคน นี่คือคติที่ยังเชื่ออยู่เช่นนี้
แม้บัดนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร แต่รากเหง้าความคิดจารีตนิยมและการสยบต่ออำนาจยังดำรงอยู่ในสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม ผ่านมา 88 ปี ดิฉันก็คิดว่าเรา
อาจจะไม่จำเป็นต้องไปโทษคณะราษฎร
อาจไม่จำเป็นต้องไปโทษ พคท.
อาจไม่จำเป็นต้องไปโทษ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ว่าได้อำนาจแล้วรักษาไม่ได้ (หมายถึงคณะราษฎรและดร.ทักษิณ) เพราะอย่างนั้น... เพราะอย่างนี้...
แต่ดิฉันคิดว่า เราควรมองไปข้างหน้าว่าวิธีคิดของสังคมไทยที่เป็นจารีตนิยม และทำให้คนมีความคิดที่อยากจะเป็นขุนนางทั้งหมด มันก็เสื่อมถอยไปมากแล้ว โอกาสใหม่ที่ระบอบประชาธิปไตยจะสามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยนั้น ดิฉันเชื่อว่าอย่างไรก็มีแน่ แต่ขณะนี้ดิฉันก็เชื่อเหมือนคนอื่นว่า เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่มันก็จะทำไม่ได้ เพราะเขาเขียนให้ "ฉีก" เขาไม่ได้เขียนให้ "แก้" เพราะฉะนั้นคนที่จะแก้รัฐธรรมนูญนี้ได้ก็คือต้องมาฉีกใหม่ด้วยอำนาจปากกระบอกปืน
คำถามว่า...
เมื่อเกิดคนรุ่นใหม่ขึ้นมามาก ๆ
เมื่อเกิดนายทุนใหม่ขึ้นมามาก ๆ
เมื่อเกิดความคิดที่เข้าใจ ต้องการความเท่าเทียม ความยุติธรรม ขึ้นมามาก ๆ
ความคิดแบบเก่า อำนาจแบบเก่า รัฐธรรมนูญแบบนี้
มันจะต้านทานกระแสประชาชนได้หรืออย่างไร?
ดิฉันยังมีความหวังค่ะ อ.ธิดากล่าวในที่สุด