ยูดีดีนิวส์ : 11 มิ.ย. 63 การทำเฟสบุ๊คไลฟ์ทางเพจ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐประเด็นสนทนาในวันนี้ (เป็นประเด็นต่อเนื่องจากการพูดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา) นั่นก็คือ
การต่อสู้ของ "ผู้ถูกกดขี่" เพื่อความเท่าเทียมและความยุติธรรม
ในรอบที่แล้วเราพูดถึงการต่อสู้ของผู้ถูกปกครองต่อสู้กับผู้ปกครอง และที่สำคัญคือการต่อสู้ทางชนชั้น ในการต่อสู้สองอย่างนี้จริง ๆ แล้วมันมีการต่อสู้ในเรื่องชาติพันธุ์ เรื่องผิว เรื่องเพศ กระทั่งเรื่องอายุ เป็นเด็ก มีการเรียนมาน้อย นี่คือเรื่องของความไม่เท่าเทียม!
ดังนั้นอาจจะดูว่าการเหยียดผิวดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ
หรือในประเทศดูเรื่องปัญหาการอุ้มหายดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ เพราะอ้างว่าเป็นเด็กหนุ่มคนหนึ่งเท่านั้น
แต่จริง ๆ มันไม่เล็ก เพราะว่าทั้งหมดนี้ดิฉันขอใช้คำว่า เป็นการต่อสู้ของ "ผู้ถูกกดขี่"
แล้วขณะนี้ได้บานปลายเป็นการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและความยุติธรรม
แน่นอนในสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้เป็นการต่อสู้ทั่วโลกแล้ว เป็นการต่อสู้ของ "ผู้ถูกกดขี่" ที่ถูกทำไม่ให้เท่าเทียม ไม่เกิดความยุติธรรม ซึ่งมีรากเหง้ายาวนานมาตั้งแต่การค้าทาส การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติในฐานะคนผิวสี คนแอฟริกัน นั่นก็คือการต่อสู้ทางชนชั้นนั่นเอง
ดังนั้น ต่อให้กฎหมายในสหรัฐฯ หรือประเทศอื่น ๆ บอกว่า "คนเท่าเทียมกัน" แต่รูปการณ์จิตสำนึกไม่เท่าเทียมกัน จึงแปรเป็นการปฏิบัติของผู้คน และการออกระเบียบหรือกฎหมายในมลรัฐต่าง ๆ ยังกีดกัน คือเห็นคนไม่เท่าเทียมกัน
ดิฉันเคยพูดแล้วว่า "ความยุติธรรมไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์"
"ความยุติธรรม" ขึ้นอยู่กับระบอบการเมืองการปกครอง
แค่นี้ยังไม่พอ ยังอยู่ที่ ถ้าคุณเห็นคนเป็นคนเท่ากันเมื่อไหร่ ความยุติธรรมมันจึงจะเกิดขึ้นจริง! แต่ถ้าคุณยังเห็นคนไม่เท่าเทียมกัน ในกรณีของสหรัฐฯ ก็เป็นเรื่องของกลุ่มสีผิวซึ่งถูกค้าทาส เป็นแรงงานทาส อันนี้เป็นการกดขี่ทางชนชั้นและสีผิว แต่เราต้องใช้คำที่หนักกว่าสีผิวก็คือเป็นการเหยียดและเป็นการกดขี่ทางชนชั้นนั่นเอง
ดังนั้น ในขณะนี้ก็เลยบานปลายไปในประเทศต่าง ๆ ดังที่เราได้ทราบกัน ขนาดในสหรัฐฯ รูปปั้นของ "โคลัมบัส" ยังถูกโค่นล้ม ยังมีอนุสาวรีย์นายพลโรเบิร์ต อี.ลี. เหล่านี้เป็นนายพลของสมาพันธรัฐภาคใต้ สงครามกลางเมืองระหว่างเหนือกับใต้ เหนือนั้นเข้าสู่ทุนนิยม ต้องการแรงงาน แต่ใต้ในสหรัฐฯ ยังเป็นการใช้แรงงานทาสในเกษตรกรรม
เพราะฉะนั้นสงครามที่ยาวนานและมีคนเสียชีวิตมากมายนั้น ที่จริงดูว่าเป็นการปลดปล่อยแรงงานทาสในภาคใต้ แต่มันก็เข้าสู่แรงงานในฐานะผู้ใช้แรงงานในภาคเหนือ เพราะว่าทุนนิยมก็ต้องการแรงงานเช่นกัน และแรงงานทาสในภาคใต้นั้นไม่สอดคล้องกับประเทศสหรัฐฯ ซึ่งต้องการต่อสู้กับความเท่าเทียมพอสมควร เพราะเขาต้องต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม
ในขณะนี้น่าสนใจมาก ถ้าหากพวกเราติดตามข่าวว่าในประเทศต่าง ๆ แม้แต่ในประเทศอังกฤษ เบลเยี่ยม อนุสาวรีย์กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ก็ถูกจัดการ ในบางเมืองของอังกฤษ พ่อค้าทาสที่ประสบผลสำเร็จ เอ็ดเวิร์ด โคลส์ตัน และนายเฮนรี่ ดันดาส แสดงให้เห็นว่าปัญหาการเหยียดผิว เหยียดชาติพันธุ์ ทั้งหมดนี้มันก็คือการต่อสู้ทางชนชั้นและการต่อสู้เพื่อให้คนเท่ากัน และเรียกหาความยุติธรรม
นี่เป็นสิ่งซึ่งไม่น่าเชื่อ และก็บานปลายแม้กระทั่งในประเทศออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่าวิถีของอารยชนในยุคนี้ (นี่ขนาดมีโควิด) ต้องการเป้าหมายก็คือความเท่าเทียมและความยุติธรรม
ซึ่งดังที่ดิฉันได้บอกว่า ความยุติธรรมมันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนเท่าเทียมกัน ต่อให้มีกฎหมาย มีรัฐธรรมนูญว่าคนเท่าเทียมกัน ก็ยังอุตส่าห์ไปออกกติกาย่อย ๆ เช่น ในสหรัฐฯ ที่มีปัญหามาตั้งแต่หลายสิบปีมาแล้ว ก็คือต่อให้ระบุว่ามีความเท่าเทียมกันก็ถูกกีดกัน มีการพยายามจะลอบฆ่า ลอบอุ้ม เช่น กลุ่มคูคลักซ์แคลน (Ku Klux Klan หรือ KKK) ที่ใส่หมวกทรงสูง ใส่ชุดขาว ออกตามล่าทาสในตอนกลางคืน
ไม่น่าเชื่อว่านับมาเป็นร้อย ๆ ปีจากสี่ร้อยกว่าปีแล้วที่ทาสมาจากแอฟริกาเอามาลงที่สหรัฐฯ ในตอนนั้น แรก ๆ เลยประมาณสิบกว่าล้านคน จากนั้นแรงงานทาสก็ไปสู่ยุโรป ไปอังกฤษ ฯลฯ
และรูปการณ์จิตสำนึกของคนผิวขาว ซึ่งมีความเชื่อว่าตัวเองเป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ที่ฉลาดกว่า เจริญกว่า สมควรเป็นนาย สมควรที่จะกระทำใด ๆ ก็ได้ ขนาดออกกฎหมายว่าคนเท่ากัน ปรากฏว่ายังมีการแบ่งแยกว่าที่นั่งผิวดำนั่งไม่ได้ หรือผิวดำต้องไปอยู่อีกที่หนึ่ง จะไปอยู่ตรงผิวขาวไม่ได้ โรงเรียนก็ไปเรียนรวมกับผิวขาวไม่ได้ คือมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน
นี่แสดงให้เห็นว่าความเป็นอารยที่แท้จริงนั้น เส้นทางใช้เวลายาวนาน
ปัจจุบันการต่อสู้ของคนในยุโรป คนในสหรัฐฯ คนในออสเตรเรีย ดิฉันชื่นชมว่านี่เขาคืออารยชน เขาไม่ใช่คนผิวดำที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ให้คนผิวดำเท่ากับคนผิวขาว
แต่เขาต่อสู้เพื่อให้คนเท่ากันและเกิดความยุติธรรมที่แท้จริง
ดิฉันเคยพูดว่า ถ้ามีความยุติธรรมในระบอบการเมือง ก็จะรักษาระบอบนั้นได้ แต่ถ้าความอยุติธรรมเกิดขึ้น ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
เพราะฉะนั้นขณะนี้อนุสรณ์ของผู้ค้าทาส ของความเป็นนักล่าอาณานิคม ก็จะถูกเจ้าของประเทศเอง คนที่มีความคิดก้าวหน้าบอกว่าล้มมันให้หมด โค่นทิ้งให้หมด มันไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ เขาต้องการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีงามและถูกต้อง ตรงนี้สำคัญมาก!
ที่แล้วมาผู้เขียนประวัติศาสตร์ก็คือผู้ชนะ นี่เป็นสัจธรรม!!!
เมื่อเวลาผ่านมาเราจะเห็นว่า การต่อสู้ แม้กระทั่งในประเด็นเหยียดผิว เหยียดชาติพันธุ์ ใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีก็ยังไม่หมด เราจะเห็นทิศทางพัฒนาการของสหรัฐฯ และในยุโรป ก็จะเป็นทิศทางไปในทางที่ก้าวหน้า
แน่นอน! ประเทศเขาเข้าสู่ทุนนิยม เขาเคยเป็นนักล่าอาณานิคม แล้วเขาปฏิบัติไม่ถูกต้องต่อชนชาติอื่น ลูกหลานเขาออกมารับผิดและไม่ชื่นชมในสิ่งที่เกิดขึ้น
แต่คนส่วนหนึ่งในอดีตชื่นชมเพราะว่าเขาร่ำรวยขึ้นมาจากการล่าอาณานิคมจากแรงงานทาส และนี่คือทิศทางของอารยชนที่ดิฉันชื่นชม นั่นก็คือลุกขึ้นมาต่อสู้!
การกระทำต่อ "จอร์จ ฟลอยด์" นั้น สมาคมเพื่อความก้าวหน้าคนผิวสีแห่งชาติ ระบุว่า "ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันโดนจำคุกมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาวถึง 5 เท่า แม้จะมีอัตราการใช้ยาเสพติดเท่า ๆ กัน" ในคดีอาญาความผิดแบบเดียวกัน คนผิวสีก็โดนมากกว่าเป็นหลายเท่า นอกจากนั้นยังเป็นปัญหาด้านสังคม สาธารณสุข
พูดง่าย ๆ ว่ามันเห็นชัดว่ามีความไม่เท่าเทียมกัน
แต่นี่ไม่ได้สู้เพื่อ "จอร์จ ฟลอยด์" แต่เป็นการรำลึกประวัติศาสตร์ของความโหดร้ายป่าเถื่อน เป็นการสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของมนุษย์และนำไปสู่ความยุติธรรม คือถ้าคนยังไม่เท่าเทียม ความยุติธรรมก็ไม่เกิด กฎหมายเขาไม่ต้องการให้นายตำรวจไปกระทำต่อประชาชนเช่นนั้น แต่ว่ามันมีกฎระเบียบ มีคำสั่งอะไรต่าง ๆ ซึ่งทำให้ "จอร์จ ฟลอยด์" ถูกกระทำ และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดมามากมาย น่าจะ 400-500 คนภายในไม่กี่ปีมานี้ (ท่านผู้ชมอาจตามตัวเลขได้จาก VOA, BBC
ดิฉันอาจจะใช้เวลากับในต่างประเทศมากสักหน่อย แต่นั่นคือทิศทางของอารยชนซึ่งเคยได้รับผลประโยชน์จากการค้าทาส จากนักล่าอาณานิคม แต่ลูกหลานเขาปัจจุบันลุกขึ้นมาต่อสู้ เขาไม่ได้ไปหลงไหลได้ปลื้มกับทุนนิยม หลายคนคิดว่าอุดมการณ์นั้นตายไปแล้วหลังจากสงครามเวียดนาม
แต่ว่าการต่อสู้ในกรณี "จอร์จ ฟลอยด์" ทำให้ดิฉันมีความชื่นชมและสบายใจขึ้นว่า จริง ๆ แล้วมีอุดมการณ์อยู่ในมนุษย์ เขายังต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและความยุติธรรม ไม่ได้พูดถึงเรื่องสงครามเย็น ถ้าคุณไม่เท่าเทียม คุณยังเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ อยู่ที่ไหน? ไม่ว่าการปกครองเป็นอย่างไร? ก็ต้องมีการต่อสู้
สำหรับในประเทศไทย ดิฉันมองว่าสิ่งที่รัฐบาลอาจจะประมาทไปในกรณีของ "วันเฉลิม" ซึ่งทำให้เยาวชนและกลุ่มต่าง ๆ (กลุ่มคณาจารย์, กลุ่มนักเรียน, นักศึกษา แม้กระทั่งเด็กมัธยม) ออกมา เพราะทุกคนคิดว่าความยุติธรรมและความเท่าเทียมนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
สหรัฐฯ เขาไม่ได้สู้ในเรื่องการเมืองการปกครอง
ของเรานั้นเป็นการกดขี่ไม่ใช่สีผิว แต่เป็นการกดขี่ทางการเมืองการปกครอง และในท่ามกลางการต่อสู้นั้นได้เกิดการปราบปราม เกิดการอุ้มฆ่า เกิดการนำเข้าสู่คดีความมากมาย เท่าที่ดิฉันเห็นของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนชี้ว่า หลังการทำรัฐประหารปรากฏว่าคนที่ถูกเล่นงานประมาณ 400 กว่าคน (472 รายชื่อที่ถูก คสช. เรียกให้ไปรายงานตัว) คดีมีอายุความ 10 ปี
จากที่คนมาโต้กันถึงเหตุผลว่าทำไม "วันเฉลิม" ถึงต้องหนีไป และทางฝ่ายรัฐบาลออกมากล่าวว่าไม่มีข้อหา ม.112 แต่ในความเป็นจริงตำรวจก็มีความสงสัย
แต่ "วันเฉลิม" เขาประกาศชัดว่าเขาไม่รับรองการทำรัฐประหาร ไม่รับรองการใช้อำนาจ นอกจากนั้นการใช้อำนาจนี้เป็นการใช้อำนาจในการจัดการกับเขาอย่างไม่ถูกต้อง และก่อนหน้านี้ก็ไปติดตามในครอบครัวเขา (คุณแม่เขา)
สถานการณ์ค่อนข้างชัดเจนว่า "น่าจะ" เกี่ยวข้องกับการกดขี่โดยใช้อำนาจการปกครองของรัฐไทย มัน "น่าจะ" ดิฉันใช้คำพูดว่า "น่าจะ" ดิฉันจะไม่ใช้คำว่า "ฟันธง" หรืออะไร? เพราะดูตามหลักการแล้วมัน "น่าจะ" เป็นอย่างนั้น
แล้วก็เคยทำมาแล้ว...มีคนเสียชีวิต...แล้วก็อุ้มหายไป...
นี่มันเป็น Old normal ไม่ใช่ New normal
เป็น Ole normal ของอำนาจนิยมไทยที่กระทำมาตลอด เพราะฉะนั้นสังคมไทยไม่ว่าเด็กหรือคนแก่ ก็ค่อนข้างจะเชื่อว่าก็ทำกันมาอย่างนี้แหละในการจัดการคนที่เห็นต่าง คนที่ต่อต้านการทำรัฐประหาร ต่อต้านการยึดอำนาจ
คุณไม่ต้องสงสัยว่าทำไมเขาไม่อยู่ในประเทศไทย
ก็เขาไม่อยากอยู่!!! ไม่ใช่เพราะว่าเขากลัว แต่เขาไม่ชอบ เขาต้องการแสดงให้เห็นว่าเขารับไม่ได้กับการทำรัฐประหาร เพราะถ้าอยู่แล้วเขาไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ นั่นเท่ากับเขายอมจำนน!
ดิฉันก็พูดได้เพียงแค่นี้แหละว่าความคิดของเขา ทำไมเขาไม่อยู่ ก็เขาไม่อยากอยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจ แล้วจัดการกับคนที่อ้างว่าไม่มารายงานตัว ขณะนี้คดียังไม่จบไม่ว่าจะเป็นคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อายุความ 10 ปี ผ่านไปแล้ว 6 ปี ยังเหลืออายุความอีก 4 ปี
ไม่รู้...คุณอาจจะอยู่ 20 ปี แล้วคุณก็มีการทำรัฐประหารใหม่อีกทีก็ได้
ในวันนี้ดิฉันก็อยากจะจบตรงที่ว่า การต่อสู้ในประเทศต่าง ๆ สร้างกำลังใจกับมนุษย์และคนที่มีอุดมการณ์ว่า คนยังต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของคน ไม่ได้เกี่ยวกับลัทธิการเมือง การเหยียดสีผิว การกระทำต่อผู้ที่อยู่ใต้อาณานิคม หรือสีผิวต่าง ๆ หรือการกระทำต่อมนุษย์ที่ไม่เท่าเทียมกันและไม่ยุติธรรม จะมีการต่อสู้ร่วมกัน ซึ่งดิฉันคิดว่านี่คือธงของการต่อสู้ที่ถูกต้อง และน่าจะเป็นเช่นเดียวกันในประเทศไทย อ.ธิดากล่าวในที่สุด
ดิฉันเคยพูดแล้วว่า "ความยุติธรรมไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์"
"ความยุติธรรม" ขึ้นอยู่กับระบอบการเมืองการปกครอง
แค่นี้ยังไม่พอ ยังอยู่ที่ ถ้าคุณเห็นคนเป็นคนเท่ากันเมื่อไหร่ ความยุติธรรมมันจึงจะเกิดขึ้นจริง! แต่ถ้าคุณยังเห็นคนไม่เท่าเทียมกัน ในกรณีของสหรัฐฯ ก็เป็นเรื่องของกลุ่มสีผิวซึ่งถูกค้าทาส เป็นแรงงานทาส อันนี้เป็นการกดขี่ทางชนชั้นและสีผิว แต่เราต้องใช้คำที่หนักกว่าสีผิวก็คือเป็นการเหยียดและเป็นการกดขี่ทางชนชั้นนั่นเอง
ดังนั้น ในขณะนี้ก็เลยบานปลายไปในประเทศต่าง ๆ ดังที่เราได้ทราบกัน ขนาดในสหรัฐฯ รูปปั้นของ "โคลัมบัส" ยังถูกโค่นล้ม ยังมีอนุสาวรีย์นายพลโรเบิร์ต อี.ลี. เหล่านี้เป็นนายพลของสมาพันธรัฐภาคใต้ สงครามกลางเมืองระหว่างเหนือกับใต้ เหนือนั้นเข้าสู่ทุนนิยม ต้องการแรงงาน แต่ใต้ในสหรัฐฯ ยังเป็นการใช้แรงงานทาสในเกษตรกรรม
รูปปั้น "คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส" ถูกทำลาย (ขอบคุณภาพจาก THE STANDARD) |
รูปปั้น นายพล โรเบิร์ต อี.ลี. ผู้บัญชาการฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐฯ เตรียมรื้อถอนเนื่องจากถูกทำลายระหว่างการประท้วงเพื่อ "จอร์จ ฟลอยด์" |
เพราะฉะนั้นสงครามที่ยาวนานและมีคนเสียชีวิตมากมายนั้น ที่จริงดูว่าเป็นการปลดปล่อยแรงงานทาสในภาคใต้ แต่มันก็เข้าสู่แรงงานในฐานะผู้ใช้แรงงานในภาคเหนือ เพราะว่าทุนนิยมก็ต้องการแรงงานเช่นกัน และแรงงานทาสในภาคใต้นั้นไม่สอดคล้องกับประเทศสหรัฐฯ ซึ่งต้องการต่อสู้กับความเท่าเทียมพอสมควร เพราะเขาต้องต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม
สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม ผู้ถูกจดจำมากที่สุดในการเข้าไปยึด สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นอาณานิคมด้วยความโหดเหี้ยม |
ในขณะนี้น่าสนใจมาก ถ้าหากพวกเราติดตามข่าวว่าในประเทศต่าง ๆ แม้แต่ในประเทศอังกฤษ เบลเยี่ยม อนุสาวรีย์กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ก็ถูกจัดการ ในบางเมืองของอังกฤษ พ่อค้าทาสที่ประสบผลสำเร็จ เอ็ดเวิร์ด โคลส์ตัน และนายเฮนรี่ ดันดาส แสดงให้เห็นว่าปัญหาการเหยียดผิว เหยียดชาติพันธุ์ ทั้งหมดนี้มันก็คือการต่อสู้ทางชนชั้นและการต่อสู้เพื่อให้คนเท่ากัน และเรียกหาความยุติธรรม
ผู้ประท้วงในอังกฤษช่วยกันทำลายรูปปั้น เอ็ดเวิร์ด โคลส์ตัน พ่อค้าทาสยุคศตวรรษที่ 17 |
นี่เป็นสิ่งซึ่งไม่น่าเชื่อ และก็บานปลายแม้กระทั่งในประเทศออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่าวิถีของอารยชนในยุคนี้ (นี่ขนาดมีโควิด) ต้องการเป้าหมายก็คือความเท่าเทียมและความยุติธรรม
ซึ่งดังที่ดิฉันได้บอกว่า ความยุติธรรมมันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนเท่าเทียมกัน ต่อให้มีกฎหมาย มีรัฐธรรมนูญว่าคนเท่าเทียมกัน ก็ยังอุตส่าห์ไปออกกติกาย่อย ๆ เช่น ในสหรัฐฯ ที่มีปัญหามาตั้งแต่หลายสิบปีมาแล้ว ก็คือต่อให้ระบุว่ามีความเท่าเทียมกันก็ถูกกีดกัน มีการพยายามจะลอบฆ่า ลอบอุ้ม เช่น กลุ่มคูคลักซ์แคลน (Ku Klux Klan หรือ KKK) ที่ใส่หมวกทรงสูง ใส่ชุดขาว ออกตามล่าทาสในตอนกลางคืน
กลุ่มคูคลักซ์แคลน (Ku Klux Klan หรือ KKK) |
และรูปการณ์จิตสำนึกของคนผิวขาว ซึ่งมีความเชื่อว่าตัวเองเป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ที่ฉลาดกว่า เจริญกว่า สมควรเป็นนาย สมควรที่จะกระทำใด ๆ ก็ได้ ขนาดออกกฎหมายว่าคนเท่ากัน ปรากฏว่ายังมีการแบ่งแยกว่าที่นั่งผิวดำนั่งไม่ได้ หรือผิวดำต้องไปอยู่อีกที่หนึ่ง จะไปอยู่ตรงผิวขาวไม่ได้ โรงเรียนก็ไปเรียนรวมกับผิวขาวไม่ได้ คือมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน
นี่แสดงให้เห็นว่าความเป็นอารยที่แท้จริงนั้น เส้นทางใช้เวลายาวนาน
ปัจจุบันการต่อสู้ของคนในยุโรป คนในสหรัฐฯ คนในออสเตรเรีย ดิฉันชื่นชมว่านี่เขาคืออารยชน เขาไม่ใช่คนผิวดำที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ให้คนผิวดำเท่ากับคนผิวขาว
แต่เขาต่อสู้เพื่อให้คนเท่ากันและเกิดความยุติธรรมที่แท้จริง
ดิฉันเคยพูดว่า ถ้ามีความยุติธรรมในระบอบการเมือง ก็จะรักษาระบอบนั้นได้ แต่ถ้าความอยุติธรรมเกิดขึ้น ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
เพราะฉะนั้นขณะนี้อนุสรณ์ของผู้ค้าทาส ของความเป็นนักล่าอาณานิคม ก็จะถูกเจ้าของประเทศเอง คนที่มีความคิดก้าวหน้าบอกว่าล้มมันให้หมด โค่นทิ้งให้หมด มันไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ เขาต้องการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีงามและถูกต้อง ตรงนี้สำคัญมาก!
ที่แล้วมาผู้เขียนประวัติศาสตร์ก็คือผู้ชนะ นี่เป็นสัจธรรม!!!
เมื่อเวลาผ่านมาเราจะเห็นว่า การต่อสู้ แม้กระทั่งในประเด็นเหยียดผิว เหยียดชาติพันธุ์ ใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีก็ยังไม่หมด เราจะเห็นทิศทางพัฒนาการของสหรัฐฯ และในยุโรป ก็จะเป็นทิศทางไปในทางที่ก้าวหน้า
แน่นอน! ประเทศเขาเข้าสู่ทุนนิยม เขาเคยเป็นนักล่าอาณานิคม แล้วเขาปฏิบัติไม่ถูกต้องต่อชนชาติอื่น ลูกหลานเขาออกมารับผิดและไม่ชื่นชมในสิ่งที่เกิดขึ้น
แต่คนส่วนหนึ่งในอดีตชื่นชมเพราะว่าเขาร่ำรวยขึ้นมาจากการล่าอาณานิคมจากแรงงานทาส และนี่คือทิศทางของอารยชนที่ดิฉันชื่นชม นั่นก็คือลุกขึ้นมาต่อสู้!
การกระทำต่อ "จอร์จ ฟลอยด์" นั้น สมาคมเพื่อความก้าวหน้าคนผิวสีแห่งชาติ ระบุว่า "ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันโดนจำคุกมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาวถึง 5 เท่า แม้จะมีอัตราการใช้ยาเสพติดเท่า ๆ กัน" ในคดีอาญาความผิดแบบเดียวกัน คนผิวสีก็โดนมากกว่าเป็นหลายเท่า นอกจากนั้นยังเป็นปัญหาด้านสังคม สาธารณสุข
พูดง่าย ๆ ว่ามันเห็นชัดว่ามีความไม่เท่าเทียมกัน
แต่นี่ไม่ได้สู้เพื่อ "จอร์จ ฟลอยด์" แต่เป็นการรำลึกประวัติศาสตร์ของความโหดร้ายป่าเถื่อน เป็นการสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของมนุษย์และนำไปสู่ความยุติธรรม คือถ้าคนยังไม่เท่าเทียม ความยุติธรรมก็ไม่เกิด กฎหมายเขาไม่ต้องการให้นายตำรวจไปกระทำต่อประชาชนเช่นนั้น แต่ว่ามันมีกฎระเบียบ มีคำสั่งอะไรต่าง ๆ ซึ่งทำให้ "จอร์จ ฟลอยด์" ถูกกระทำ และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดมามากมาย น่าจะ 400-500 คนภายในไม่กี่ปีมานี้ (ท่านผู้ชมอาจตามตัวเลขได้จาก VOA, BBC
ดิฉันอาจจะใช้เวลากับในต่างประเทศมากสักหน่อย แต่นั่นคือทิศทางของอารยชนซึ่งเคยได้รับผลประโยชน์จากการค้าทาส จากนักล่าอาณานิคม แต่ลูกหลานเขาปัจจุบันลุกขึ้นมาต่อสู้ เขาไม่ได้ไปหลงไหลได้ปลื้มกับทุนนิยม หลายคนคิดว่าอุดมการณ์นั้นตายไปแล้วหลังจากสงครามเวียดนาม
แต่ว่าการต่อสู้ในกรณี "จอร์จ ฟลอยด์" ทำให้ดิฉันมีความชื่นชมและสบายใจขึ้นว่า จริง ๆ แล้วมีอุดมการณ์อยู่ในมนุษย์ เขายังต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและความยุติธรรม ไม่ได้พูดถึงเรื่องสงครามเย็น ถ้าคุณไม่เท่าเทียม คุณยังเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ อยู่ที่ไหน? ไม่ว่าการปกครองเป็นอย่างไร? ก็ต้องมีการต่อสู้
สำหรับในประเทศไทย ดิฉันมองว่าสิ่งที่รัฐบาลอาจจะประมาทไปในกรณีของ "วันเฉลิม" ซึ่งทำให้เยาวชนและกลุ่มต่าง ๆ (กลุ่มคณาจารย์, กลุ่มนักเรียน, นักศึกษา แม้กระทั่งเด็กมัธยม) ออกมา เพราะทุกคนคิดว่าความยุติธรรมและความเท่าเทียมนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
สหรัฐฯ เขาไม่ได้สู้ในเรื่องการเมืองการปกครอง
ของเรานั้นเป็นการกดขี่ไม่ใช่สีผิว แต่เป็นการกดขี่ทางการเมืองการปกครอง และในท่ามกลางการต่อสู้นั้นได้เกิดการปราบปราม เกิดการอุ้มฆ่า เกิดการนำเข้าสู่คดีความมากมาย เท่าที่ดิฉันเห็นของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนชี้ว่า หลังการทำรัฐประหารปรากฏว่าคนที่ถูกเล่นงานประมาณ 400 กว่าคน (472 รายชื่อที่ถูก คสช. เรียกให้ไปรายงานตัว) คดีมีอายุความ 10 ปี
จากที่คนมาโต้กันถึงเหตุผลว่าทำไม "วันเฉลิม" ถึงต้องหนีไป และทางฝ่ายรัฐบาลออกมากล่าวว่าไม่มีข้อหา ม.112 แต่ในความเป็นจริงตำรวจก็มีความสงสัย
แต่ "วันเฉลิม" เขาประกาศชัดว่าเขาไม่รับรองการทำรัฐประหาร ไม่รับรองการใช้อำนาจ นอกจากนั้นการใช้อำนาจนี้เป็นการใช้อำนาจในการจัดการกับเขาอย่างไม่ถูกต้อง และก่อนหน้านี้ก็ไปติดตามในครอบครัวเขา (คุณแม่เขา)
สถานการณ์ค่อนข้างชัดเจนว่า "น่าจะ" เกี่ยวข้องกับการกดขี่โดยใช้อำนาจการปกครองของรัฐไทย มัน "น่าจะ" ดิฉันใช้คำพูดว่า "น่าจะ" ดิฉันจะไม่ใช้คำว่า "ฟันธง" หรืออะไร? เพราะดูตามหลักการแล้วมัน "น่าจะ" เป็นอย่างนั้น
แล้วก็เคยทำมาแล้ว...มีคนเสียชีวิต...แล้วก็อุ้มหายไป...
นี่มันเป็น Old normal ไม่ใช่ New normal
เป็น Ole normal ของอำนาจนิยมไทยที่กระทำมาตลอด เพราะฉะนั้นสังคมไทยไม่ว่าเด็กหรือคนแก่ ก็ค่อนข้างจะเชื่อว่าก็ทำกันมาอย่างนี้แหละในการจัดการคนที่เห็นต่าง คนที่ต่อต้านการทำรัฐประหาร ต่อต้านการยึดอำนาจ
คุณไม่ต้องสงสัยว่าทำไมเขาไม่อยู่ในประเทศไทย
ก็เขาไม่อยากอยู่!!! ไม่ใช่เพราะว่าเขากลัว แต่เขาไม่ชอบ เขาต้องการแสดงให้เห็นว่าเขารับไม่ได้กับการทำรัฐประหาร เพราะถ้าอยู่แล้วเขาไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ นั่นเท่ากับเขายอมจำนน!
ดิฉันก็พูดได้เพียงแค่นี้แหละว่าความคิดของเขา ทำไมเขาไม่อยู่ ก็เขาไม่อยากอยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจ แล้วจัดการกับคนที่อ้างว่าไม่มารายงานตัว ขณะนี้คดียังไม่จบไม่ว่าจะเป็นคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อายุความ 10 ปี ผ่านไปแล้ว 6 ปี ยังเหลืออายุความอีก 4 ปี
ไม่รู้...คุณอาจจะอยู่ 20 ปี แล้วคุณก็มีการทำรัฐประหารใหม่อีกทีก็ได้
ในวันนี้ดิฉันก็อยากจะจบตรงที่ว่า การต่อสู้ในประเทศต่าง ๆ สร้างกำลังใจกับมนุษย์และคนที่มีอุดมการณ์ว่า คนยังต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของคน ไม่ได้เกี่ยวกับลัทธิการเมือง การเหยียดสีผิว การกระทำต่อผู้ที่อยู่ใต้อาณานิคม หรือสีผิวต่าง ๆ หรือการกระทำต่อมนุษย์ที่ไม่เท่าเทียมกันและไม่ยุติธรรม จะมีการต่อสู้ร่วมกัน ซึ่งดิฉันคิดว่านี่คือธงของการต่อสู้ที่ถูกต้อง และน่าจะเป็นเช่นเดียวกันในประเทศไทย อ.ธิดากล่าวในที่สุด