เปิดคำแถลงวัตถุประสงค์-องค์ประกอบ-การดำเนินงาน ของ คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553
(คปช.53)
คณะประชาชนทวงความยุติธรรม
2553 (คปช.53)
วัตถุประสงค์
การปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนหลังรัฐประหาร
2549 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา ปี 2553
ยังไม่สามารถทำให้ความจริงปรากฏชัดเจน ผู้ฆ่า, ผู้สั่งฆ่า ยังลอยนวลพ้นผิด กระบวนการยุติธรรมเริ่มเบี่ยงเบนและหยุดชะงักนับจากรัฐประหารปี
2557 เป็นต้นมาจนบัดนี้
เราจึงมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนของผู้ติดตามสถานการณ์ปี
2553 ที่ต้องการทวงความยุติธรรมทั้งในประเทศและสังคมโลกให้ผู้เสียชีวิต, บาดเจ็บ,
ถูกคุมขังโดยมิชอบ ซึ่งมีจำนวนมาก
เพื่อนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมทั้งในประเทศและศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพื่อมิให้เหตุการณ์ฆ่าคนความคิดต่างมือเปล่าตายกลางถนน
แล้วผู้สั่งการ, ผู้กระทำการลอยนวลพ้นผิด เกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต
องค์ประกอบ
1.
ญาติวีรชนคนเสื้อแดง ผู้สูญเสีย ผู้ถูกกระทำ ทั้งบาดเจ็บและถูกคุมขังโดยมิชอบ
2.
คนเสื้อแดงและประชาชนผู้รักความยุติธรรม
3.
ทนายความที่เคยดำเนินคดีคนเสื้อแดงถูกกระทำ คณะนักกฎหมายและทนายความ
4.
นักวิชาการและองค์กรที่ร่วมช่วยเหลือคนเสื้อแดงและผู้สูญเสียกรณี
2553
5.
แนวร่วมผู้ต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิต
การดำเนินงาน
1.
รวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตที่เข้าสู่การไต่สวนและยังไม่ได้ดำเนินงานไต่สวน เรียกร้องให้มีการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมชั้นต้น
ซึ่ง 10 ปีผ่านมายังไม่ดำเนินการ
2.
ให้มีคณะศึกษาการดำเนินคดีในประเทศว่าสามารถทำได้อย่างไร
การร้องทุกข์เพื่อให้คดีเดินหน้าในส่วนทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่ต้องรับผิดชอบ
3. ผลักดันให้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กรณีที่ทหารทำความผิดต่อพลเรือนให้ขึ้นศาลพลเรือน
4.
รวบรวมข้อมูลคดีที่คนเสื้อแดงถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีแล้วพบว่าไม่มีความผิด
เพื่อฟ้องร้องสังคมที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีและติดคุกฟรี ทุกกรณีที่ศาลยกฟ้องต้องให้การเยียวยา
การรื้อฟื้นคดีที่มีปัญหาความไม่เป็นธรรม
5.
การรวบรวมหลักฐานใหม่เพื่อส่งให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เพิ่มเติมจากในปี พ.ศ. 2555
6.
เรียกร้องต่อพรรคการเมืองและสังคมไทยให้รัฐบาลดำเนินการรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
เฉพาะกรณีปี 2553 เพราะไม่ขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมายใด ๆ
7.
เรียกร้องต่อพรรคการเมืองและสังคมไทยให้แก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวงที่ไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญา
หลักสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศของสหประชาชาติ และทำการออกกฎหมายสำหรับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติและธรรมนูญกรุงโรม
คำแถลงภาษาอังกฤษ
People’s Committee on Justice
of 2010 Manifesto
Since
the 2006 coup d’etat, justice for the victims of crackdown and slaughtering of people
of Thailand, especially those who lost their lives and their freedom from the
April-May 2010 bloodshed, are not reached. The perpetrators, including the
killers and the commanders, have never been held accountable. Judicial
proceedings of those cases have either been frozen or gone wayward after the
2014 coup d’etat.
We,
People’s Committee on Justice of 2010, want to pursue justice within Thailand
and on the international level for a large number of victims who were killed,
wounded, and persecuted, so that the mass murder of the people with different
political views on the street would not happen again and there would be no
impunity for perpetrators.
Composition
of the committee
- ·
Relatives
of the victims who were slaughtered, injured, and persecuted
- ·
Red
Shirt members and sympathizers
- ·
Lawyers
- ·
Academicians
- ·
Peoples
and other organizations who want justice for the victims
Goals
1. To gather information regarding the homicide cases related to the 2010 massacre, including the cases that already underwent preliminary examination of the death circumstance by the court and the cases that have not received preliminary examination of the death circumstance.
2 2. To
set up a legal study group that would explore opportunities on domestic legal
proceedings to move the cases against responsible politicians and governmental
officials forward.
3. To
propose amendments to the laws regarding the military tribunal. Any soldier who
commits an offense against a civilian must be trialled in the civilian court.
4 4. To
gather the information about the cases against the Red Shirts that were
acquitted after spending time in jails and received slanderous accusations for
a long time. These people should received compensation and recognition that
they were treated unfairly.
5 5. To
explore an opportunity to move the case forward at International Criminal Court
(ICC). We also plan to send new evidences and information to ICC.
6 6. To
demand the political parties, the government, and the society to accept the exercise
of jurisdiction by the ICC with respect to the crime of 2010 Thai massacre.
7. 7. To
demand the political parties and the society to amend any unfair laws that is inconsistent
with International rules, treaties, human rights declaration, and norms including
International Covenant on Civil and Political Right (ICCPR), International
Covenant on Economic, Social and Cultural Right (ICESCR) and Rome statute.
Contact
E-mail : thai.pcj2010@gmail.com
Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100087273881334
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #คปช53