แรงงานเมียนมาในไทย
เรียกร้องสิทธิที่ควรได้รับ
ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ค.ศ. 1990
วันนี้
(19 ธ.ค. 2565) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ บริเวณด้านหน้าสถานทูตเมียนมา
กลุ่มแรงงานชาวเมียนมาในไทย ได้มารวมตัวกัน เนื่องในโอกาสวันแรงงานข้ามชาติสากล (International Migrants
Day) ซึ่งเป็นวันที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัว
ค.ศ. 1990 ประกาศให้ทุกวันที่ 18 ธันวาคม เป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล (International
Migrants Day) เพื่อให้แรงงานข้ามชาติในประเทศต่าง ๆ
ได้รับการคุ้มครองทั้งสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน
และได้การปฏิบัติที่ดีจากรัฐบาลและภาคส่วนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งประเทศต้นทางและประเทศปลายทางโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
เพราะความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา สีผิว และเพศสภาพ
ในวันนี้กลุ่มแรงงานชาวพม่าในไทย
จึงได้มารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิที่ควรจะได้รับ โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้ .-
-
ให้ตำรวจไทยดำเนินคดีกับบริษัทนายหน้าผู้ทุจริตหลอกลวงตามกฎหมายอาญามาตรา 344
อย่างตรงไปตรงมา และกระทรวงแรงงานต้องเข้าช่วยเหลือเยียวยาแรงงานที่ตกเป็นเหยื่อโดยเร็ว
รวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
จะต้องไม่ปล่อยให้มีขบวนการข่มขู่แรงงานด้วยกฎหมายเพื่อทำการเก็บส่วย
กระทำการนอกเหนือจากหน้าที่ และความถูกต้องในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ใต้ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่
-
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานต้องมีการช่วยเหลือทางกฎหมาย
จัดหาทนายให้ในการฟ้องร้อง พนักงานตรวจแรงงานต้องให้ข้อมูลกับแรงงานอย่างครบถ้วน เพื่อให้แรงานสามารถเรียกสิทธิประโยชน์ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
รวมไปถึงการจัดให้มีการช่วยเหลือคำเดินทางเพื่อให้คนทำงานได้เข้าถึงกลไกกฎหมายแรงานได้ง่ายยิ่งขึ้น
และเพื่อให้คนทุกกลุ่มได้รับสิทธิแรงงานกับผลประโยขน์ต่าง
(รวมถึงประกันสังคมและเงินบำนาญตามการคุ้มครองตามกฎหมายไทยอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
-
โนระยะยาวนั้นกรมจัดทางานตังแก้ใขปัญหาการหลอกลวงไปค้ามนุษย์ด้วยการทำสัญญาจ้างแบบรัฐต่อรัฐ
ยกเลิกระบบนายหน้าเอกชนพร้อมจัดหาการชวยเหลือค้านกาษา
ทำระบบการร้องเวียนแบบที่เดียวจบ หรือ One Stop Service โดยไม่ผลักภาระให้ผู้ร้องเรียนต้องเดินเรื่องไปกระทรวงต่าง
ๆ หลายแห่งหลายครั้ง เร่งทำกระบวนกีทำเอกสารให้เรียบง่าย ค่าธรรมเนียมย่อมเยา การบริกรรของรัฐให้เข้าถึงใด้จริง
-
เอกสารที่จำเงินต่อการจ้างงานแรงงานข้ามชาติไม่ควรต้องรวมพาสปอร์ตตัวยเนื่องจากการแสดงตนซ้ำช้อนกับเอกสารอื่น
ๆ อย่างใบอนุญาตทำงาน นับเป็นการสร้างอุปสรรดทางเอกสารโดยไม่จำเป็น สถานทูตต่าง ๆ
จะต้องมีค่าธรรมเนียมที่โปร่งใสและย่อมเยา ช่วยให้แรงานเข้าถึงและดำรงสถานะถูกต้องตามกฎหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น
ซึ่งจะทำให้เข้าถึงการคุ้มครองตามกฎหมายได้อย่างตรงไปตรงมากด้วย
"วันนี้พวกเราจากกลุ่ม
Bight
Future ขอเรียกร้องให้เราทุกคนตั้งแต่ในภาครัฐ ภาคเอกชน
ไปจนถึงเพื่อนประชาชนทุกหนแห่ง ใช้หลักการสิทธิมนุษยชนเป็นที่ตั้ง
มีใช่ความเชื่อในลัทธิชาตินิยม มองคนให้เท่ากับคน และสร้างจิตสำนึกร่วมกันว่า เราล้วนต่างคือพี่น้องในวังวนการดิ้นรนทำงานหาเงินมาเลี้ยงชีพเฉกเช่นเดียวกัน
และเราจะไม่มีวันหลุดพันจากปัญหาเดิม ๆ
หากเราไม่ผนึกกำลังแล้วร่วมมือกันแก้ปัญหาของคน 9% ไปด้วยกัน
เพื่อที่สักวันหนึ่งเส้นพรมแดนจะต้องไม่ขวางกั้นความมั่นคงในปากท้องของคนทำงาน"
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #วันแรงงานข้ามชาติสากล